5 เคล็ดลับในการรีโนเวตบ้าน ให้ประหยัดและคุ้มค่าในช่วงล็อคดาวน์ | IAMEVERYTHING.CO

LOOKING ON EVERYTHING ?

EXPLORE ON EVERYTHING

DESIGN:——

HOUSE

5 เคล็ดลับในการรีโนเวตบ้าน ให้ประหยัด และคุ้มค่าในช่วงล็อคดาวน์

  แม้ตอนนี้ ศบค. ยังไม่ประกาศล็อคดาวน์ครั้งที่สองอย่างเป็นทางการ แต่จากแนวโน้มของสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ครั้งที่ 2 นี้ก็ส่อเค้าว่าพวกเราอาจต้องกลับไป work from home อยู่กับบ้านให้มากขึ้นกันอีกครั้ง ถ้าหากเกิดขึ้นจริง ทุกคนน่าจะรับมือและปรับตัวให้เข้ากับการทำงานที่บ้านได้ดีขึ้น และกิจกรรมที่เริ่มซาลงไปอย่างการปลูกต้นไม้ การหัดทำอาหาร หรือการออกกำลังกายในบ้านก็จะกลับมาได้รับความนิยมมากขึ้นเหมือนเมื่อกลางปีที่แล้ว เช่นเดียวกับการรีโนเวทบ้าน
  เอ๊ะ-อภิชัย ไผ่สุวัฒน์ Account Manager ของ บริษัท ดัคต์สโตร์ เดอะ ดีไซน์ กูรู จำกัด ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากพิษ “โควิด 19” ที่ทำให้เมื่อปีที่แล้ว เขาต้องทำงานอยู่บ้านเป็นหลัก เขาจึงใช้โอกาสนี้ในการปรับปรุงต่อเติมบ้านครั้งใหญ่นานนับสี่เดือน จนได้บ้านที่เดิมเป็นทาวน์เฮาส์สองชั้นอายุ 30 กว่าปีให้ออกมาสวยงามได้อย่างที่เขาต้องการในงบประมาณที่ไม่ถึงสองล้านบาท

  Iameverything ไปคุยกับเขาเพื่อให้เขาเผย 5 เคล็ดลับในการรีโนเวทบ้านแบบฮาวทูไปทีละข้อ เผื่อว่าหากต้องมีการล็อคดาวน์ครั้งที่สองขึ้นมาจริงๆ อาจมีใครสนใจนำแนวทางหรือเคล็ดลับของเขาไปปรับใช้ให้เข้ากับบ้านของตัวเองดู

1.ต้องรู้จักบ้านและสภาพแวดล้อมบ้านของตัวเองให้ดี
  อภิชัย บอกว่ากฎข้อแรกของการรีโนเวทบ้านของเขาก็คือต้องทำความรู้จักบ้านที่จะปรับปรุงต่อเติมให้ดีพอ ซึ่งแตกต่างจากการรู้ว่าบ้านตนเองเป็นอย่างไรในแบบทั่วๆ ไป เพราะเมื่อต้องรีโนเวทนั่นแปลว่าทุกโครงสร้างของบ้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งทาวน์เฮาส์เก่าย่านพัฒนาการอย่างบ้านของเขาจะต้องถูกรื้อและทำใหม่ ซึ่งหากไม่รู้จักโครงสร้างดีพอก็อาจทำให้เกิดปัญหาส่งผลกระทบกับบ้านข้างๆ หรือแม้แต่สิ้นเปลืองงบประมาณมากขึ้น

  “อย่างบ้านหลังนี้เป็นบ้านที่แม่ผมซื้อไว้นานแล้ว เมื่อเกือบสามสิบปีที่แล้ว เป็นทาวน์เฮาส์ที่ตอนนั้นก็คงสวยในระดับหนึ่งเลย ปัจจุบันแม่ไปอยู่บ้านอีกหลังแล้ว ผมเลยอยู่ที่นี่คนเดียว พอปีที่แล้วที่รู้ว่าต้อง wfh ยาวแน่ๆ ผมจึงตัดสินใจขอแม่รีโนเวทบ้าน แม่บอกว่าจะทำอะไรก็ทำขออย่างเดียวตู้กดน้ำหยอดเหรียญหน้าบ้านนี่อย่ารื้อทิ้ง เพราะมีคนมากดน้ำอยู่ตลอดและก็ทำเงินได้มากอยู่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นโจทย์ข้อแรกก็คือห้ามเอาตู้กดน้ำออก” เขาเริ่มเล่าพร้อมเสียงหัวเราะ

  “มันก็โชคดีอย่างหนึ่งที่ทาวน์เฮาส์หลังนี้โครงสร้างมันสวยมากครับ มันมีซุ้มประตูโค้งในบ้าน เป็น arch ที่สวย สมัยนั้นคงเก๋น่าดู ผมก็เลยอยากเก็บตรงนี้ไว้ และอีกอย่างคือเราอยู่บ้านนี้มา 30 ปี เราพอรู้ละว่าปัญหาของบ้านหลังนี้มันมีอะไรบ้าง อะไรที่ควรเก็บเอาไว้ อะไรที่ต้องแก้ไข จากนั้นเราก็ลองวาง plan บ้านใหม่ว่ามี function อะไรบ้างที่เราอยากได้ เรามองว่า บ้านที่รีโนเวทใหม่มันต้องตอบโจทย์การใช้ชีวิตและไลฟ์สไตล์ของเรา โชคดีน้องสาวเป็น interior เราก็ได้น้องเป็นที่ปรึกษาช่วยดู พวก mood & tone ให้ และเราก็หา reference เอาไว้ด้วย ส่วนใหญ่ก็ดูจากเว็บไซต์ออกแบบตกแต่งบ้านนี่ล่ะครับ ชอบแบบไหนก็เซฟเก็บเอาไว้ พอได้ภาพครบทุกจุดแล้วก็เริ่มหาผู้รับเหมา และเตรียมเรื่องเอกสารกู้เงินกับธนาคาร”

2.สำรวจตัวเองให้มากพอกับทำความรู้จักบ้าน
   เพราะบ้านนั้นสะท้อนพฤติกรรมของผู้อยู่อาศัย ขณะเดียวกันบ้านก็มีส่วนกำหนดพฤติกรรมของผู้อยู่อาศัยด้วยเช่นกัน อภิชัย รู้ความจริงข้อนี้ ก่อนจะทำการรีโนเวตบ้านเขาจึงสำรวจตัวเองอย่างถี่ถ้วนว่าเราเป็นคนแบบไหน อยากทำอะไร ซึ่งคำตอบของมันจะมาช่วยสร้างภาพของบ้านที่กำลังจะปรับปรุง

  “ผมว่าตั้งแต่อายุเข้าสามสิบเป็นต้นมา พฤติกรรมของผมเปลี่ยนไปเยอะ เช่นเมื่อก่อนผมเป็นคนชอบเก็บ ได้อะไรมาก็เก็บๆ ไว้ เก็บไว้เยอะๆ บางทีก็ไม่ได้ใช้ นานวันเข้าก็กลายเป็นของรกบ้าน แล้วก็ต้องหาพื้นที่ในการจัดเก็บวุ่นวาย แต่พอเราอายุมากขึ้นเราเริ่มคิดได้ว่าเก็บไปก็เท่านั้น รกก็รก เราก็เลยให้คนอื่นไปบ้าง บริจาคบ้าง และทิ้งไปบ้าง พอมารีโนเวทบ้านผมก็อยากให้บ้านดูโล่งที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ผมเลยวางแผนทำตู้เก็บขอใต้บันได้ให้เป็นเรื่องเป็นราวไปเลย เนื่องจากพื้นที่ใต้บันได มันเป็นพื้นที่ที่จัดการอะไรค่อนข้างยาก เข้าไปนั่งก็ติดหัว ดังนั้นทำตู้เก็บของดีที่สุด อันนี้เราก็ได้ ไอเดียมาจาก Pinterest

  “อีกเรื่องที่ผมตั้งใจไว้ก็คือ ผมอยากลองเข้าครัวทำกับข้าวอย่างจริงจังดูบ้าง เมื่อก่อนผมติดนิสัยกินจากข้างนอก หรือไม่ก็สั่งมากิน พอมารีโนเวทบ้านและเราก็อยากดูแลสุขภาพมากขึ้น มันเลยทำให้เรามี passion ในการทำอาหาร มันก็เริ่มทำให้ผมอยากลองทำอะไรกินเอง ผมเลยขยายขนาดพื้นที่ของครัวให้ใหญ่กว่าเดิม จริงๆ พื้นที่ที่เป็นส่วนครัวของบ้านหลังนี้เดิมมันเล็กนิดเดียวอยู่หลังบ้าน ผมเลยทุบแล้วขยายมันออกจนเกือบเท่าโซนพักผ่อน ผมต้องการครัวใหญ่ๆ ที่วางไอส์แลนด์ตรงกลางได้ ด้านหลังเจาะวางกระจกเพื่อให้แสงสว่างส่องลงมาได้ มันจะได้ไม่อับชื้น อากาศระบาย ผมคิดว่าการมีครัวแบบนี้น่าจะทำให้ผมมีความสุขกับการทำอาหาร”

3.เลือกผู้รับเหมาให้เหมือนเลือกแฟน
  ขั้นตอนต่อมาซึ่งเป็นขั้นตอนที่ อภิชัย ย้ำว่าสำคัญมากก็คือการเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างและรีโนเวท ซึ่งเขาบอกว่าขั้นตอนนี้มีความสำคัญมากถึงขึ้นชี้เป็นชี้ตายได้เลย บ้านจะออกมาดีหรือไม่ดี หรือเลวร้ายที่สุดคือบ้านไม่เสร็จก็ขึ้นอยู่กับผู้รับเหมาเป็นสำคัญ

  “ผมเลือกผู้รับเหมาอย่างละเอียดมากนัดคุยกันหลายรอบครับ ขอดูผลงานที่ผ่านมาของเขาอย่างละเอียด ชวนเขาคุยเรื่องทั่วๆ ไปดูบ้างเพื่อศึกษาว่าเขาเป็นคนแบบไหน มีความรับผิดชอบไหม เก่งแต่พูดหรือเปล่า เมื่อถึงจุดที่เลวร้ายที่สุดเขาจะทิ้งงานหรือว่าหนีหรือเปล่า ซึ่งแน่นอนว่าเรามีสัญญาว่าจ้างผูกมัดอยู่ขั้นหนึ่งป้องกันการทิ้งงานอยู่แล้วก็ตาม แต่ก็ต้องมั่นใจว่าเขาจะไม่ทำชุ่ยๆ ให้ครบตามสัญญาด้วยเหมือนกัน ผมให้ความสำคัญกับขั้นตอนนี้มาก จนคนรอบตัวผมแซวว่าทำอย่างกับเลือกคู่ชีวิต คบกับแฟนยังไม่ละเอียดขนาดนี้ (หัวเราะ) แต่ตรงนี้สำคัญจริงๆ นะครับ เพราะผู้รับเหมาคือคนที่จะคอยควบคุมช่างต่างๆ ให้เรา เราต้องคุยแล้วเข้าใจกัน สื่อสารกันรู้เรื่อง อันนี้สำคัญ เราก็เลยต้องเลือกให้ดี

  “ซึ่งผมโชคดีที่เลือกถูกคน ผู้รับเหมาของผมเขาดีมาก เราทำงานกันเหมือนเพื่อน ด้วยความที่เราเป็นคนลงดีเทลทุกๆ อย่างในการทำบ้านเองทั้งการเลือกวัสดุ หรือการแก้ไขปัญหาต่างๆของบ้านที่มีมาอยู่ก่อน ผู้รับเหมาก็ให้คำปรึกษาในการแก้ปัญหาต่างๆ ทำให้งานก่อสร้างราบรื่นและไม่เกินงบ”

4.เลือกซื้อของต้องแบ่งเป็นสองหมวด
  เมื่อได้ผู้รับเหมาแล้ว เคล็ดลับข้อที่สามที่มีความสำคัญไม่แพ้กันนั่นก็คือการเลือกวัสดุอุปกรณ์ในการต่อเติมบ้านด้วยตัวเอง เพราะนอกจากได้ของที่ถูกใจตัวเองแล้วยังควบคุมงบประมาณได้ด้วย ซึ่งอภิชัยบอกว่าขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่โดยส่วนตัวแล้ว เขารู้สึกสนุกกับมันที่สุด เพราะเป็นคนช่างเลือกนั่นเอง

  “ผมแบ่งของเป็นสองหมวดนะครับ หมวดแรกคือของที่เกี่ยวกับโครงสร้างของบ้าน อาทิ ท่อ หลังคา เหล็ก ปูน ฯลฯ อันนี้ผมให้ผู้รับเหมาและช่างเป็นคนจัดหามาให้และให้เขาเป็นคนเลือก เพราะงานโครงสร้างมันเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของบ้านเป็นหลัก เราไม่มีความรู้เรื่องนี้ เพราะฉะนั้นจะเอาที่เราชอบไม่ได้ เราต้องฟังช่าง ฟังผู้รับเหมา ถ้าผู้รับเหมาดีเขาจะเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้เราเพราะสุดท้ายบ้านจะอยู่กับเราไปตลอด เราคงไม่มีโอกาสรีโนเวทบ้านบ่อยๆ เป็นแน่ อันนี้ถือคติว่าอย่างก เอาความปลอดภัยเป็นหลัก

  “หมวดที่สองคือของที่มองเห็นจากภายนอกของที่เน้นความสวยงาม อย่างสีทาบ้านภายนอกภายใน กระเบื้อง พื้นผิววัสดุต่างๆ อันนี้ให้เลือกจากที่เราชอบ เพราะบ้านเรา เราต้องเลือกเองครับ อย่าฟังคนโน้นคนนี้ว่าอันโน้นอันนี้ดี แล้วเราก็เลยเลือกตามเพราะถ้าไม่ได้อย่างที่เราอยากได้ เราก็คาใจ สุดท้ายก็ต้องเปลี่ยนใหม่อยู่ดี คราวนี้จะยุ่งกว่าเก่า ขั้นตอนนี้อย่าให้ใครมาชี้นำเราครับ เลือกอย่างที่ชอบไปเลย ผมเป็นคนชอบดูของแต่งบ้านอะไรแบบนี้อยู่แล้ว แล้วช่วงนั้นทำงานอยู่บ้าน ผมเลยมีเวลาเลือกละเอียดหน่อย บางทีนั่งสั่งซื้อของออนไลน์ทั้งคืนเลยครับ สนุกดี แล้วของแต่งบ้านที่ผลิตในจีนถ้าเลือกดีๆ เราจะได้ของดีราคาถูกกว่าท้องตลาดด้วย ผมชอบแบบนี้ครับ (หัวเราะ) แอบงกนิดนึง เพราะมันประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากทีเดียว

5.คาถาวิเศษสุดท้ายที่ท่องไว้ได้ใช้แน่ๆ “ทำใจ”
  การปรับปรุงต่อเติมบ้านไม่เหมือนกับการซื้อบ้านโครงการหรือแม้แต่การปลูกบ้าน เพราะการซื้อบ้านนั้นผู้สร้างได้ทำทุกอย่างมาให้แล้วเรียบร้อย และการปลูกบ้านใหม่นั้นเราสามารถกำหนดทุกอย่างได้เองทั้งหมด แต่การรีโนเวทบ้านนั้นคือการ “หาความเป็นไปได้ใหม่บนเงื่อนไขเดิมที่มีอยู่” ย่อมต้องเจอข้อจำกัดด้านโครงสร้าง หรือเงื่อนไขต่างๆ เป็นธรรมดา อภิชัยบอกว่า ไม่มีทางเลยที่จะได้ดังใจเราทั้งหมดร้อยเปอร์เซ็นต์

 

  “แน่นอนครับว่าเมื่อบ้านเสร็จแล้วมันไม่มีทางที่จะตรงกับภาพที่เราคิดไว้แต่แรกแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ เท่าที่ผมไปคุยกับหลายคนที่รีโนเวทบ้านเหมือนกันเขาก็พูดตรงกันว่าเป็นไปไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นเราต้องรู้จักทำใจ ยอมปลงครับ อะไรที่ผ่านได้ก็ผ่าน อะไรที่ไม่ได้ก็ต้องซ่อมหรือทำใหม่ให้ได้ คือต้องรู้จักประนีประนอมในเรื่องที่ต้องประนีประนอม ปล่อยผ่านในเรื่องที่ไม่ร้ายแรงอะไร และอะไรที่สำคัญกับเรา เราต้องยืนกรานสู้เพื่อมันครับ ยอมไม่ได้แม้แต่นิดเดียว ของแบบนี้เราต้องรู้ด้วยตัวเองว่าอะไรเป็นแบบไหน ผมว่าผมเรียนรู้ชีวิตหลายอย่างจากการรีโนเวทบ้านครั้งนี้เหมือนกันครับ” อภิชัยกล่าวปิดท้ายด้วยรอยยิ้ม

5 Problems V 5 Solutions of Aphichai’s House
“ปัญหามาปัญญามี” 5 ไฮไลต์สำคัญที่อภิชัยใช้การออกแบบเพื่อแก้ปัญหา ของบ้านจนดูเหมือนไม่มีปัญหาอะไรเลย!

ตู้กดน้ำหน้าบ้านที่กลมกลืนไปกับบ้าน : โจทย์ที่ได้มาจากแม่ของเขาคือห้ามเอาตู้กดน้ำหน้าบ้านออก เขาจึงจับมันทาสีใหม่ให้กลมกลืนไปกับสีขาวของบ้าน และกั้นให้เป็นสัดเป็นส่วน

façade ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ : เนื่องจากระเบียงหน้าบ้านชั้นบนที่เปิดโล่งเป็นส่วนที่ต้องรับทั้งแสงและลม เขาจึงออกแบบ façade ด้วยการสั่งให้ตัดเหล็กขึ้นเป็นพิเศษเพื่อปิดทั้งสามด้านให้มีความเป็นส่วนตัวและปลอดภัย และเจาะเหล็กให้ลมโกรกและแสงผ่าน ช่องยาวขอบมนจะช่วยให้แส่งที่ส่องทะลุลงมาเกิด shape กระทบกับพื้นสวยงามและเปลี่ยนมุมไปตามการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์เกิดมิติที่น่าสนใจ

Modern Loft สไตล์ที่ตอบโจทย์ : ปัญหาหลักของบ้านส่วนใหญ่คือ “หนู” บ้านหลังนี้เลยเปลือยฝ้าชั้นล่าง ออกแบบให้เป็นสไตล์ Modern Loft แก้ปัญหาเรื่องหนูวิ่งใต้ฝ้า และอีกอย่างพวกท่อต่างๆ เราก็บังสายตาด้วยกล่องเหล็กฉีก ทำให้ service ได้ง่ายในอนาคต หากเกิดปัญหา

สำคัญที่แสงสว่าง : ขยายพื้นที่ด้านหลังให้ครัวใหญ่ขึ้น ทำหลังคาด้วยกระจกหนาที่แสงลอดเข้ามาได้ เพิ่มความสว่างภายในบ้าน ช่วยประหยัดพลังงานได้ด้วย

เก็บส่วนที่เป็นสัญลักษณ์ของบ้านเก่า : ถ้าเปลี่ยนบ้านให้ใหม่หรือโมเดิร์นไปหมด บ้านก็ไร้เอกลักษณ์ หาเอกลักษณ์สำคัญที่เป็นเสน่ห์ของบ้านเก่า และทำให้มันโดดเด่นแบบที่บ้านใหม่ๆ ไม่มี!

    TAG
  • design
  • architecture
  • interior
  • house
  • Work from home
  • COVID-19

5 เคล็ดลับในการรีโนเวตบ้าน ให้ประหยัดและคุ้มค่าในช่วงล็อคดาวน์

ARCHITECTURE/HOUSE
January 2021
CONTRIBUTORS
EVERYTHING TEAM
RECOMMEND
  • DESIGN/HOUSE

    “Pong House” เชื่อมปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติผ่านคอร์ต พร้อมตอบโจทย์ความ Privacy

    “Pong House” บ้านที่พร้อมเปิดสเปซมากที่สุดสำหรับการเชื่อมปฏิสัมพันธ์สู่ธรรมชาติ และเผยมุมมองน้อยที่สุดสู่พื้นที่สาธารณะ เพื่อความเป็นส่วนตัว โดยมี ‘คอร์ตยาร์ต’ เป็นหัวใจของบ้าน ในการสอดแทรกพื้นที่สีเขียวเข้ากับพื้นที่อยู่อาศัย ภายใต้ดีไซน์ที่คลี่คลายสู่ความเรียบง่าย และพร้อมเป็นพื้นที่ปลอดภัยสบายใจให้แก่ผู้อยู่อาศัยในทุกมุมของบ้าน

    EVERYTHING TEAM3 years ago
  • DESIGN/HOUSE

    ICE.SU HOUSE BY JUNSEKINO A+D บทสนทนาระหว่างการสร้างบ้านที่ย้อนแย้งแต่ชัดเจนบนสเกล 1:1

    “One for the Road” หรือ “วันสุดท้าย . . ก่อนบายเธอ” ภาพยนตร์ไทยที่สร้างกระแสตั้งแต่ก่อนเข้าฉาย และได้ผลตอบรับที่ดีทั้งจากตัวหนัง ผู้อำนายการสร้าง ผู้กำกับ บท เพลง นักแสดง ไปจนถึงบ้านของนักแสดงนำซึ่งมีเอกลักษณ์ และถูกพูดถึงมากกว่าเจ้าของ ไอซ์ซึ หรือ คุณณัฐรัตน์ นพรัตยาภรณ์ เลือกการปลูกบ้านขึ้นใหม่จากสถาปนิกที่เขาเลือกเอง JUNSEKINO A+D เพื่ออาศัยอยู่กับแฟนและแมว

    Nada InthaphuntMay 2022
  • DESIGN/HOUSE

    HOUSE 362 บ้านที่เปิด “ช่อง” เชื่อมโยงชีวิตเข้ากับธรรมชาติ

    HOUSE 362 ของครอบครัวพงษ์สุรพิพัฒน์ อันเป็นฝีมือการออกแบบของเพื่อนสถาปนิกอย่าง จูน เซคิโน จาก Junsekino Architect and Design / Junsekino Interior Design ที่นอกจากจะสวยงามด้วยเค้าโครงสถาปัตยกรรมอันเรียบง่ายแล้ว ยังสร้างการเชื่อมโยงให้สมาชิกภายในบ้าน ได้สัมผัสกับธรรมชาติอย่างไร้ขอบเขตผ่านดีไซน์ประตู หน้าต่างบานเลื่อน และหน้าต่างบานกระทุ้งของ Double Space อันเป็นพื้นที่หัวใจหลักของบ้าน

    By TOSTEM
    EVERYTHING TEAM4 years ago
  • DESIGN/HOUSE

    BAAN VIPHA 41 BY ANONYM บทสนทนาของตัวตนและประสบการณ์อย่างที่ใจตามหา

    บ้านวิภา 41 เป็นผลงานที่เริ่มต้นโครงการเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ในช่วงยุคเริ่มต้นก่อตั้งสตูดิโอ ANONYM ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงสร้างผลงานบ้าน และเน้นย้ำแก่นเอกลักษณ์ของตนจนมีความโดดเด่นทางผลงานสถาปัตยกรรมประเภทที่พักอาศัยเช่นในปัจจุบัน

    Nada InthaphuntMay 2021
  • DESIGN/HOUSE

    House COVE(R) by TOUCH Architect ต่อเติมบ้านหัวมุมให้ต่อเนื่องกับบ้านหลังเก่า

    เมื่อบ้านเดี่ยวสองชั้นเดิมในหมู่บ้านจัดสรรของครอบครัวที่มีสมาชิก 5 คน ของคน 3 รุ่น มีพื้นที่ใช้สอยไม่เพียงพอสำหรับการใช้งานอีกต่อไป การต่อเติมบ้านบนแปลงที่ดินรูปทรงพิเศษตามการจัดสรรเดิมในรั้วบ้านซึ่งมีโจทย์ของการต่อเติมอย่างไรให้กลมกลืนจึงเกิดขึ้น

    Nada InthaphuntApril 2021
  • DESIGN/HOUSE

    BAAN SAILOM BY ANONYM บ้านที่สายลมมีร่างกายให้จับต้อง

    เอกลักษณ์ของผลงาน ANONYM คือการดึงตัวตนของเจ้าของบ้านออกม่านงานได้อย่างหลากมิติ รวมถึงความใส่ใจในรายละเอียดที่ทำให้ภาพรวมของผลงานออกมาเนี้ยบทุกชิ้น แต่ “ตัวกลาง” ของ “บ้านสายลม” กลายเป็นสิ่งปลดล็อคความเป็น ANONYM อีกแบบที่อนุญาตให้เจ้าของบ้านเข้ามาตัวตนอีกมุมซึ่งแตกต่างจากผลงานชิ้นอื่น

    Nada InthaphuntMarch 2021
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION

We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )