Arrom Orchid : Aesthetic of Bamboo with Sunlight | IAMEVERYTHING.CO

LOOKING ON EVERYTHING ?

EXPLORE ON EVERYTHING

Arrom Orchid
Aesthetic of Bamboo with Sunlight


เรื่อง : สาโรช พระวงค์ / ภาพ : Spaceshift Studio

  วัสดุที่เริ่มมีความนิยมในฐานะทางเลือกใหม่ให้กับสถาปัตยกรรมบนโลกที่ถามหาความยั่งยืน เราคงไม่สามารถปฏิเสธได้ถึงการมาของไผ่ในศตวรรษนี้ได้ แม้ว่าช่วงที่ผ่านมาไผ่ได้ถูกหลงลืมไป และมักฝังตัวเองไปกับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเสียมาก แต่ในปัจจุบันไผ่ได้มีบทบาทแสดงตัวในฐานะวัสดุชูโรงให้กับสถาปัตยกรรมร่วมสมัยอย่างมาก ดูเป็นเทรนด์ที่ไม่อาจปฏิเสธได้ถึงการตอบโจทย์ในบริบทปัจจุบันนี้

  ขึ้นไปทางภาคเหนือ ที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ มีสวนกล้วยไม้ชื่อว่า สวนบัวแม่สาออร์คิด ที่ดำเนินกิจการสำหรับให้คณะทัวร์มาชมกล้วยไม้มากว่า 30 ปี จนถึงวันหนึ่งที่ต้องมีการปรับปรุงสวนกล้วยไม้นี้ ให้เติบโตรับกับยุคสมัย จึงมีการปรับปรุง และเพิ่มกิจกรรมใหม่เข้าไป ประกอบไปด้วยร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก ในชื่อ อารมณ์ ออร์คิด ที่มีจุดขายคือร้านอาหารในสวนกล้วยไม้ โจทย์ที่มาถึงสถาปนิก Studio Miti โดย เผดิมเกียรติ สุขกันต์ และธนกร วัฒนโชติ คือการผสานเรื่องราวเก่าและใหม่ ให้มีลมหายใจใหม่แบบร่วมสมัยด้วยไผ่

  สิ่งที่สถาปนิกใช้เริ่มต้นงานการเข้าไปสำรวจพื้นที่เดิม โครงสร้างเดิมถูกนำพิจารณาถึงเป็นสิ่งแรกในการกำหนดทิศทาง ด้วยเป็นการออกแบบปรับปรุง ต่อเติม จากแต่เดิมเป็นเรือนเพาะชำกล้วยไม้ที่มีวัสดุเป็นโครงสร้างเหล็กในขนาด 3.00x3.00 เมตร เรียงตัวเป็นตารางคลุมพื้นที่กว้าง หากหมอศัลยกรรมคือผู้รับหน้าที่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างเดิมของมนุษย์ให้ดูดีขึ้น สำหรับงาน renovation สถาปนิกก็คือผู้สร้างศัลยสถาปัตยกรรมด้วยการเข้าไปศัลยกรรมพื้นที่เดิม ทั้งเฉาะเฉือน ต่อเติม สเปซเก่าให้ใหม่ขึ้นมา ในงานนี้พื้นที่เดิมทางปีกตะวันตกถูกเข้าไปตัดต่อให้มีขนาดเล็กลอง และยังคงกริดขนาด 3.00x3.00 เมตร กลายเป็นส่วนเรือนเพาะชำ ส่วนปีกตะวันออกเปลี่ยนกิจกรรมเป็นภัตตาคาร ส่วนบริการ ถูกคลุมด้วยกริดขนาด 6.00x6.00 เมตร ในพื้นที่อาคารเดิมทางด้านทิศเหนือปรับเป็นร้านกาแฟ ส่วนต้อนรับ แลบกล้วยไม้

(คลิกภาพเพื่อดูภาพใหญ่)

  ส่วนพิเศษของการปรับปรุงครั้งนี้คือการเลือกใช้ไผ่มาเป็นวัสดุหลัก ไผ่ถูกล้อมไปกับโครงสร้างเสา คานหลังคา แต่ส่วนที่สะดุดตาคือไผ่เรียงแนวตั้งเป็นแผงยาวไปตลอด ทั้งส่วนที่เป็น parapet และแทรกเป็นแผงยาวไปตามเส้นตารางอย่างสงสัยในหน้าที่ของพวกมัน การสร้างแพทเทิร์นเหล่านี้มาจากกระบวนหาจังหวะของกริดหลังคา กับการทำงานร่วมกันกับแสงอาทิตย์

  พื้นที่ส่วนเรือนเพาะชำถูกจัดให้เป็นสวนในร่ม มีทั้งกล้วยไม้ พืชที่ต้องการแสงในร่ม การออกแบบพื้นที่ส่วนนี้จึงลดความจัดจ้าของแสงอาทิตย์ที่เชียงใหม่ด้วยผืนบังแดดแบบที่ใช้ในโรงเกษตร และการใช้แผงบังแดดที่หลังคาทำจากไผ่แนวตั้งล้อมส่วนบนไว้ในขนาด 3.00x3.00 เมตร แผงแนวตั้งทั้ง 4 ด้านจะบังแดดทาบซ้อนไปมา ทำให้การออกแบบในส่วนที่แผงบังแดดสูงจะมีระยะห่างของกริดมาก มีทั้ง 3.00x6.00 เมตร และ6.00x6.00 เมตร ทำให้พื้นที่ส่วนสวนกล้วยไม้มีแสงสลัวที่เข้ม จาง เป็นระดับต่าง ๆ กันไป ไม่สม่ำเสมอตามพันธุไม้ที่ถูกวางไว้

  พื้นที่ส่วนปรับปรุงใหม่ กลายเป็นพื้นที่ภัตตาคารภายใต้กริดขนาด 6.00x6.00 เมตร และเสริมเป็นกริดย่อยขนาด 2.00x2.00 เมตร ภายในตัวมันเอง การควบคุมแสงอาทิตย์ในส่วนนี้ถูกควบคุมให้สลัวจาก parapet โดยรอบ และแผงไผ่แนวตั้งในกริด 2.00x2.00 เมตร แสงที่ลอดผ่านแผงไผ่ พร้อมผืนผ้าที่เป็นฝ้ากรองแสง จะสร้างเงาสลัวให้มีบรรยากาศเหมาะกับพื้นที่รับประทานอาหาร ด้วยเงาระดับต่าง ๆ ตามช่วงเวลาของวันไปพร้อมกับแสงซี่เล็ก

(คลิกภาพเพื่อดูภาพใหญ่)

  เผดิมเกียรติ design director ของ Studio Miti เอ่ยถึงความเป็นมาของชุดหลังคาว่า
  “ถ้ามองไปที่หลังคา เราออกแบบให้มันมีหน้าที่แยกกัน แต่ผสานการทำงานกัน ที่ layer บนสุดเป็นหลังคามีหน้าที่กันฝนให้ด้านล่างใช้งานได้ตลอด ส่วนแผงไม้ไผ่แนวตั้งมีหน้าที่กรองแสงอาทิตย์ลงมา มุมของแสงที่ส่องลงมามีมุมต่าง ๆ กันไปของวัน มันซ้อนทับกันมากน้อยตามเวลา ทำให้ควบคุมเงาสลัวตลอดวัน จนเกิดบรรยากาศที่เราต้องการ”
  มองมาที่งานนี้แล้วชวนให้คิดถึง Louis Kahn เคยถามนักศึกษาในห้องบรรยายว่า อิฐอยากเป็นอะไร?
  แล้วไผ่ละ อยากเป็นอะไร?

Project name : Arrom Orchid
Architecture Firm : Studio Miti
Contact e-mail : [email protected]
Facebook Page : https://www.facebook.com/studiomitidesign/

Address : Bangkok , Thailand

Year of Complete : 2019
Area : 432 Sq.m.
Location : Mae Rim , Chaing Mai

Architect : Padirmkiat Sukkan , Thanakorn Watthanachote
Interior : Padirmkiat Sukkan


Photo credit : Spaceshift Studio


Owner : Weerachai Jumnuan
Landscape : Padirmkiat Sukkan
Engineering : Jedsadapong Jumderm
    TAG
  • architecture
  • design
  • Studio Miti
  • เผดิมเกียรติ สุขกันต์
  • ธนกร วัฒนโชติ
  • Arrom Orchid

Arrom Orchid : Aesthetic of Bamboo with Sunlight

ARCHITECTURE/Architecture
May 2020
CONTRIBUTORS
Xaroj Phrawong
RECOMMEND
  • DESIGN/Architecture

    SANS STUDIO BANGKOK by PHTAA LIVING DESIGN สตูดิโอที่สร้างเอกลักษณ์ภายนอก จากการนำแสงธรรมชาติเข้าสู่ฟังก์ชั่นภายใน

    กลายเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ในซอยจ่าโสด เมื่อเราได้พบกับอาคารสถาปัตยกรรมโมเดิร์นเรียบเท่ที่เต็มไปด้วยไดนามิคของเส้นสาย ส่วนคว้านโค้งซึ่งออกแบบมาเพื่อฟังก์ชั่น และเพื่อแสงธรรมชาติ เป็นอาคารโทนสีขาวสะอาดตาแต่ทำให้เราไม่อาจละสายตา กับเอกลักษณ์ดีไซน์ของอาคารที่ทอดตัวยาวพร้อมมีประภาคารเล็ก ๆ นี่คือ SANS STUDIO BANGKOK สตูดิโอแห่งใหม่ที่ก่อตั้งขึ้นโดยเจ้าของผู้สนใจในงานสถาปัตยกรรมและศิลปะการถ่ายภาพ หลังจากเรียนจบมาจากฝรั่งเศส โดยให้เป็นสตูดิโอที่รองรับงานถ่ายภาพ โปรดัคชั่น จนถึงอีเวนต์ ที่ได้ทาง PHTAA LIVING DESIGN มาเป็นบริษัทสถาปนิกออกแบบให้

    EVERYTHING TEAM9 months ago
  • DESIGN/Architecture

    “สถาปนา/สถาปัตยกัม” นิทรรศการแห่งการเฉลิมฉลอง 90 ปี ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะสถาปัตยกรรมแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีการเปิดให้เรียนในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมศาสตร์ ก่อตั้งโดย อาจารย์นารถ โพธิประสาท ในปี พ.ศ. 2476 และมีการเปิดใช้ตึกคณะสถาปัตยกรรมครั้งแรกในปี พ.ศ. 2484 จนต่อมาในปี พ.ศ. 2485 ภายใต้รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มี “ประกาศปรับปรุงอักสรไทย” ขึ้นเพื่อให้การสะกดคำในภาษาไทยกะทัดรัดและลดความซ้ำซ้อนของตัวอักษรลง ชื่อคณะสถาปัตยกรรม จึงถูกเปลี่ยนแปลงและใช้ชื่อว่า คณะสถาปัตยกัม อยู่นานถึงสองปี ก่อนจะมีการกลับมาใช้ชื่อเดิมอีกครั้ง (หลังจบสงคราม) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2487 เป็นต้นไป

    EVERYTHING TEAMa year ago
  • DESIGN/Architecture

    MIRIN HOUSE by AAd - Ayutt and Associates design

    นี่ไม่ใช่บ้านที่ออกแบบตามค่านิยมทั่วไป เพราะจะมีบ้านหลังไหนที่ต้องเดินลัดเลาะผ่านเส้นทางคดเคี้ยวและบันไดสูงเหมือนเดินขึ้นภูเขาก่อนเข้าถึงตัวบ้าน อีกทั้งในเวลาฝนตกอาจต้องยอมเดินเปียกปอน ผ่านแลนด์สเคปซับซ้อน ที่ทำให้เรามีเวลามากขึ้นกับการซึมซับบรรยากาศรอบตัวผ่านทุกประสาทสัมผัส บ้านในเมืองหลังไหนที่จะรองรับการขยายพื้นที่สีเขียวได้มากเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ ที่สำคัญไม่ได้มุ่งเน้นแค่การสร้าง
สุนทรียภาพเฉพาะสำหรับผู้อยู่อาศัย แต่ยังคำนึงถึงผู้คนบ้านใกล้เรือนเคียงด้วย เรากำลังพูดถึงบ้าน Mirin House ออกแบบโดย AAd - Ayutt and Associates Design ที่ให้ความเป็นส่วนตัว กับการสอดแทรกธรรมชาติสู่การอยู่อาศัยได้โดยไม่ต้องยึดติดรูปแบบบ้านล้อมคอร์ต และกล้าออกนอกกรอบแนวคิดการออกแบบบ้านทั่วไป ซึ่งนี่อาจเป็นตัวอย่างที่จะทำให้เจ้าของบ้านหรือสถาปนิกในวงการได้เปิดมุมมองการออกแบบใหม่ ๆ
 ต่อขยายเรื่องของประสบการณ์ ประสาทสัมผัส ธรรมชาติ และความงามของการอยู่อาศัยที่หลับตาแล้วยังสัมผัสได้ถึงมันอยู่

    EVERYTHING TEAMMay 2023
  • DESIGN/Architecture

    SIR DAVID ADJAYE OBE การสร้างเรื่องเล่าจากการเปลี่ยนแปลงของ RIBA Royal Gold Medal ประจำปี 2021

    เป็นประจำของทุกปีที่ Royal Institute of British Architects (RIBA) จะประกาศชื่อสถาปนิกรับเหรียญเชิดชูซึ่งได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 โดยตรง ซึ่งเป็นกิจกรรมเริ่มต้นมาก่อนรัชสมัยของพระองค์ตั้งแต่ปี 1848 ให้แก่สถาปนิกที่มีทั้งอิทธิพลและมีชื่อเสียงทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งผู้รับรับเหรียญทองประจำปี 2021 นี้คืออัศวินด้านสถาปัตยกรรมผู้เพิ่งได้รับการแต่งตั้งยศในปี 2017 ได้แก่ Sir David Adjaye OBE

    Nada InthaphuntJune 2021
  • DESIGN/Architecture

    Goose Living บูติกโฮเทลและคาเฟ่แห่งใหม่ย่านสุขุมวิท กับแนวคิด “Living a goose life”

    จากโมเมนต์ประทับใจในสวนสาธารณะกลางมหานครนิวยอร์ก นำมาสู่ “GOOSE Living” บูติกโฮเทลและคาเฟ่สไตล์โมเดิร์นทรอปิคัลใจกลางย่านสุขุมวิท ผลลัพธ์จากการตีความการพักผ่อนรูปแบบใหม่ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Living a goose life...wild, fresh and free” ที่ชวนทุกคนมาใช้ชีวิตในไลฟ์สไตล์ที่เรียบง่าย ยืดหยุ่น แต่แฝงด้วยมุมมองที่กล้าจะทดลองประสบการณ์ใหม่

    EVERYTHING TEAMMarch 2021
  • DESIGN/Architecture

    Kyoto Institute of Technology '60th Anniversary Hall' Blending steel sheet by monocoque architecture

    สถาปัตยกรรมแบบทั่วไปประกอบด้วยองค์ประกอบที่มาจากเสา คาน ห่อด้วยผนังที่มีเปลือกตามสมัยนิยม นิยามของผนังคือระนาบกั้นระหว่างภายนอกและภายใน หรือภายในด้วยกันเอง ทำหน้าที่แบ่งพื้นที่และปกป้องสเปซภายใน ระนาบผนังวางตัวในแนวตั้งอยู่ระหว่างพื้น เพดาน ในขณะที่ผนังภายนอกถูกแยกออกด้วยระนาบพื้นและหลังคา ในบางส่วนของงานสถาปัตยกรรมแบบ Postmodern architecture มีความพยายามจะสลายระนาบต่าง ๆ เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน

    Xaroj Phrawong4 years ago
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION

We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )