LOOKING ON EVERYTHING ?
EXPLORE ON EVERYTHING

Baan Floated Tree เปลี่ยนบ้านให้เป็นเวที
ที่ลอยตัวจากทุกบรรทัดฐานการอยู่อาศัยส่วนตัว
Architect:
Anonym
Phongphat Ueasangkhomset
Parnduangjai Roojnawate
Interior Designer:
Anonym
Phongphat Ueasangkhomset
Parnduangjai Roojnawate
Napapash Siraputtipat
www.anonymstudio.com
Location:
Bangkok, Thailand
Area:
550 Sq.m.
Project Year:
2019
Photography:
W Workspace
Writer:
Rujira Jaisak

เปิดรับวิวธรรมชาติจากหน้าบ้านสู่ห้องรับแขกโถงใหญ่ชั้นสอง ด้วยการเจาะผนังทึบออก 2 เมตรซึ่งเป็นระยะที่พอดีให้นั่งเล่นพร้อมพักสายตามองวิวต้นไม้สีเขียว

การร้อยเรียงกันระหว่างฟาซาดสองชั้นที่เชื่อมไปยังส่วนของกระบะต้นดอกพุดกุหลาบที่ลอยตัวจากระเบียงสู่พื้นที่คอร์ทยาร์ดของบ้าน
บ้าน หรือโชว์รูมแกลเลอรี่ เป็นขอบเขตการรับรู้ที่คาบเกี่ยวเมื่อเราได้เห็นตัวอาคารหลังหนึ่งเปิดโล่งเกินกว่าภาพลักษณ์บ้านทั่วไป ไม่เขินอาย และไม่หลบซ่อนจากสายตาสาธารณะ แม้จะตั้งอยู่ในระยะไม่เกินสิบกว่าเมตรจากสะพานข้ามแยกเส้นสำคัญแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ก็ตาม ทั้งยังจงใจสร้าง “เวที” ของอาคารที่ลอยเด่นออกมาชวนให้ผู้คนภายนอกพินิจเข้าไปในความแปลกตาอันเปิดเผย ที่นี่คือ “Baan Floated Tree” ที่ลอยตัวจากบรรทัดฐานบ้านทั่วไป แต่ยืนพื้นบนการสร้างสมดุลของความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่กับช่วงเวลา และระหว่างธรรมชาติของผู้อยู่อาศัยกับบริบทโดยรอบ ผลงานออกแบบโดย Anonym Studio ที่ใช้ชั้นเชิงในการร้อยเรียงที่ว่างให้เกิดการเชื่อมโยงมิติการมองระหว่างภายในและภายนอกของบ้านหลังนี้ให้ยิ่งไม่ธรรมดา

บ้านฝั่งที่หันหน้าสู่ถนนสาธารณะในระยะไม่เกินสิบกว่าเมตร ถูกออกแบบให้มีทั้งมุมมองส่วนเปิดและส่วนปิดของอาคาร
“Baan Floated Tree” เป็นบ้านของครอบครัวพ่อแม่ลูกสองคน ที่มีขนาดเนื้อที่ประมาณ 100 ตารางวา โดยส่วนข้างบ้าน (ทิศใต้) และหน้าบ้าน (ทิศตะวันตก) หันหน้าสู่สะพานข้ามเดินรถข้ามแยก ที่หากเป็นบ้านทั่วไป สถาปนิกคงใช้วิธีการปิดมุมมองบ้านฝั่งที่หันเข้าสู่พื้นที่สาธารณะ เพื่อหลบแดด หลบสะพาน และรักษาความเป็นส่วนตัวให้ผู้อยู่อาศัย แต่บ้านหลังนี้ทลายขนบเชิงสถาปัตยกรรมเหล่านั้นทิ้งไป เพื่อให้ตอบโจทย์เชิงปัจเจกของเจ้าของบ้าน ที่ต้องการความรู้สึกแตกต่างในการอยู่อาศัย และยินดีหากจะเปิดบางมุมมองของบ้านให้คนภายนอกได้ชื่นชม

ห้องรับแขกโถงใหญ่ถูกโอบล้อมสามด้านด้วยผนังกระจกโครงเหล็กที่ร้อยเรียงเป็นตัว U ซ้อนทับด้วยฟาซาดคอนกรีตเพื่อช่วยกรองแสง และปิดมุมมองบางส่วนสร้างความเป็นส่วนตัว
ด้วยรูปทรงของที่ดินที่ผอมยาว (หน้ากว้าง 12 เมตร และลึกถึง 32 เมตร) บวกกับโจทย์ของเจ้าของบ้านที่ต้องการพื้นที่จอดรถให้ได้ 6 คัน จึงทำให้การออกแบบโครงสร้างบ้านหลังนี้ถูกยกใต้ถุนสูงคล้ายเรือนไทย ที่พื้นที่ใช้สอยหลักถูกยกไปสู่ชั้น 2 และชั้น 3 พร้อมกับคว้านอาคารฝั่งทิศใต้ที่หันหน้าสู่ถนน ให้เกิดที่ว่างเว้าสองส่วน คล้ายกับเป็นคอร์ทยาร์ดกึ่งภายนอกของบ้านสไตล์ Sino-Portuguese ด้วยดีไซน์นี้จึงทำให้ห้องรับประทานอาหาร (ชั้น 2) และห้องนั่งเล่นในห้องนอนมาสเตอร์ (ชั้น 3) ที่อยู่ตรงกลางระหว่างสองคอร์ทยาร์ด ถูกเปลือยผนังให้ดูลอยเด่นออกจากส่วนที่เหลือของบ้าน พร้อมกับเปลี่ยนโปรแกรมพื้นที่ใช้สอยสองห้องนี้ให้กลายเป็น “เวทีของบ้าน” ที่คนภายนอกสามารถมองเข้ามาในส่วนนี้ได้เด่นชัด ในขณะเดียวกันผู้อยู่อาศัยในบ้านก็สามารถเปิดรับทัศนียภาพของสะพานด้านนอกได้ชัดเจนด้วย เป็นการสร้างสภาวะการอยู่อาศัยที่ดูแปลกเหนือจริงกว่าการอยู่อาศัยทั่วๆ ไป
แต่เพื่อไม่ให้การเปิดเปลือยนั้นวาบหวามจนเกินไป ทาง Anonym จึงสร้างความสมดุลของการอยู่อาศัย โดยออกแบบให้มีทั้งส่วนเปิดจากผนังและหน้าต่างกระจกโครงเหล็ก และมีส่วนปิดเป็นผนังทึบที่เจาะช่องตรงมุม ร่วมกับองค์ประกอบการวางกระบะต้นไม้ในส่วนคอร์ทยาร์ด เพื่อสร้างเลเยอร์ในการกรองแสงแดดจากทางทิศใต้ และทิศตะวันตก พร้อมทั้งช่วยบังสายตาจากภายนอกไม่ให้รุกล้ำเข้ามาจนคนในบ้านรู้สึกอึดอัด

ห้องรับประทานอาหารชั้นสองที่อยู่ตรงกลางระหว่างคอร์ทยาร์ดสองห้อง ทำให้เกิดการปลดเปลือยพื้นที่เหมือนเป็นเวทีของบ้าน ที่เชื่อมการมองระหว่างบ้าน และพื้นที่สาธารณะ อย่างถนนและสะพานข้ามแยกได้
อีกหนึ่งไฮไลท์ของบ้าน คือห้องรับแขกชั้น 2 ที่ถูกออกแบบดับเบิ้ลสเปซให้เป็นโถงใหญ่ของบ้าน และโดดเด่นด้วยการร้อยเรียงกันของเส้นสายที่เชื่อมต่อเนื่องเป็นตัว U จากบานกระจกโครงเหล็กสูงตั้งแต่พื้นจรดเพดานที่โอบล้อมทั้งสามด้าน เกิดความลื่นไหลของสเปซที่สวยงามน่าทึ่ง


ไฮไลท์ของบ้านคือห้องรับแขกเปิดดับเบิ้ลสเปซพร้อมโชว์ดีเทลงานตู้ไม้แกะสลักที่ขนาบเคียงไปกับผนังบันไดจากชั้นสองถึงชั้นสาม พร้อมเปิดมุมมองทะลุคอร์ทยาร์ดสู่ห้องรับประทานอาหารชั้น 2

ด้วยห้องรับแขกนั้นเป็นส่วนที่ตั้งอยู่ใกล้กับถนน และสะพานที่สุด สถาปนิกจึงออกแบบให้มีผนังสองเลเยอร์ ที่ชั้นในเป็นผนังบานกระจกโครงเหล็ก ส่วนชั้นนอกเป็นผนังปูนทึบที่เจาะช่องว่างสี่เหลี่ยมในมุมต่างๆ ไว้ เพื่อควบคุมไม่ให้ความร้อนจากแดดทะลุเข้ามาในอาคารมากจนเกินไป แต่ในขณะเดียวกันยังพอเปิดรับแสงบางส่วนให้สามารถส่องทแยงเพิ่มความมีชีวิตชีวาให้กับห้องได้ โดยช่องด้านบนเปิดให้เห็นท้องฟ้าสร้างความรู้สึกปลอดโปร่งทางสายตา ส่วนช่องเจาะตรงหน้าต่างฝั่งที่หันสู่หน้าบ้านนั้น ทำให้สามารถนั่งเล่นพร้อมชมวิวสีเขียวจากต้นไม้ใหญ่หน้าบ้านได้ ทำให้สมาชิกของบ้านอยากใช้เวลาอยู่ในห้องนี้นานขึ้น

ทางเดินเชื่อมระหว่างตัวบ้านเป็นมุมที่สามารถมองเห็นได้จากฝั่งถนนใหญ่


ตู้ไม้แกะสลักที่ดีไซน์ขึ้นใหม่ ทำให้บ้านเจือกลิ่นอายสไตล์ยุโรป

บันไดตอนเดียวทำให้ประหยัดพื้นที่ และเลือกใช้วัสดุที่คอนทราสต์กันระหว่างผนังไม้ พื้นหินอ่อน และราวบันไดทองเหลืองที่ซ่อน LED ไว้ข้างใน
ส่วนคอร์ทยาร์ดทั้งสองส่วนของบ้าน ถือเป็นส่วนเชื่อมพื้นที่ในแต่ละฟลอร์ให้ผู้อยู่อาศัยสามารถมองเห็นต้นไม้ในส่วนของ Plantation ที่ลอยตัว (Floated Tree) ได้ในทุกจุดของบ้าน ไม่ว่าจะจากห้องนั่งเล่น โต๊ะอาหาร หรือที่จอดรถ ซึ่งเป็นกุศโลบายหนึ่งของสถาปนิกที่ต้องการนำธรรมชาติเข้ามาปรับสมดุลอารมณ์ของผู้อยู่อาศัยให้รู้สึกผ่อนคลายและลดทอนจังหวะการใช้ชีวิตให้ช้าลง โดยเฉพาะเจ้าของบ้านที่ในชีวิตทำงานต้องรับมือกับความเครียดและเร่งรีบอยู่ตลอดเวลา
บ้านหลังนี้จึงไม่ใช่ความแปลกที่เกิดจากการสร้างรูปทรงที่ไม่คุ้นตา แต่เกิดจากการร้อยเรียงพื้นที่ให้เข้ากับบริบทสิ่งแวดล้อมและจริตของผู้อยู่อาศัย แม้จะก่อให้เกิดรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกเทศและแตกต่างจากขนบของบ้านทั่วไป แต่สำหรับผู้อยู่อาศัยบ้านหลังนี้นี่คือความจริงที่สะท้อนความเป็นปัจเจกของพวกเขาได้อย่างไม่ผิดเพี้ยน
Baan Floated Tree เปลี่ยนบ้านให้เป็นเวที ที่ลอยตัวจากทุกบรรทัดฐานการอยู่อาศัยส่วนตัว
/
ถึงแม้วงการสื่อสารมวลชนโดยทั่วไปจะจับตาและสนใจในงานออกแบบสถาปัตยกรรมโครงการใหญ่ๆ อย่างการออกแบบสํานักงาน, พิพิธภัณฑ์, วิหาร, ศาสนสถาน ไปจนถึงอาคารรัฐสภาต่างๆ หากยังมี งานสถาปัตยกรรมที่โครงการไม่ใหญ่นัก แต่ถือว่าเป็นปัจจัยสําคัญอันจําเป็นสําหรับมนุษย์ที่สุดอย่าง หนึ่ง นั่นก็คือ ที่อยู่อาศัยที่เราเรียกกันว่า “บ้าน” นั่นเอง
/
“Pong House” บ้านที่พร้อมเปิดสเปซมากที่สุดสำหรับการเชื่อมปฏิสัมพันธ์สู่ธรรมชาติ และเผยมุมมองน้อยที่สุดสู่พื้นที่สาธารณะ เพื่อความเป็นส่วนตัว โดยมี ‘คอร์ตยาร์ต’ เป็นหัวใจของบ้าน ในการสอดแทรกพื้นที่สีเขียวเข้ากับพื้นที่อยู่อาศัย ภายใต้ดีไซน์ที่คลี่คลายสู่ความเรียบง่าย และพร้อมเป็นพื้นที่ปลอดภัยสบายใจให้แก่ผู้อยู่อาศัยในทุกมุมของบ้าน
/
“One for the Road” หรือ “วันสุดท้าย . . ก่อนบายเธอ” ภาพยนตร์ไทยที่สร้างกระแสตั้งแต่ก่อนเข้าฉาย และได้ผลตอบรับที่ดีทั้งจากตัวหนัง ผู้อำนายการสร้าง ผู้กำกับ บท เพลง นักแสดง ไปจนถึงบ้านของนักแสดงนำซึ่งมีเอกลักษณ์ และถูกพูดถึงมากกว่าเจ้าของ ไอซ์ซึ หรือ คุณณัฐรัตน์ นพรัตยาภรณ์ เลือกการปลูกบ้านขึ้นใหม่จากสถาปนิกที่เขาเลือกเอง JUNSEKINO A+D เพื่ออาศัยอยู่กับแฟนและแมว
/
HOUSE 362 ของครอบครัวพงษ์สุรพิพัฒน์ อันเป็นฝีมือการออกแบบของเพื่อนสถาปนิกอย่าง จูน เซคิโน จาก Junsekino Architect and Design / Junsekino Interior Design ที่นอกจากจะสวยงามด้วยเค้าโครงสถาปัตยกรรมอันเรียบง่ายแล้ว ยังสร้างการเชื่อมโยงให้สมาชิกภายในบ้าน ได้สัมผัสกับธรรมชาติอย่างไร้ขอบเขตผ่านดีไซน์ประตู หน้าต่างบานเลื่อน และหน้าต่างบานกระทุ้งของ Double Space อันเป็นพื้นที่หัวใจหลักของบ้าน
By TOSTEM/
บ้านวิภา 41 เป็นผลงานที่เริ่มต้นโครงการเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ในช่วงยุคเริ่มต้นก่อตั้งสตูดิโอ ANONYM ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงสร้างผลงานบ้าน และเน้นย้ำแก่นเอกลักษณ์ของตนจนมีความโดดเด่นทางผลงานสถาปัตยกรรมประเภทที่พักอาศัยเช่นในปัจจุบัน
/
เมื่อบ้านเดี่ยวสองชั้นเดิมในหมู่บ้านจัดสรรของครอบครัวที่มีสมาชิก 5 คน ของคน 3 รุ่น มีพื้นที่ใช้สอยไม่เพียงพอสำหรับการใช้งานอีกต่อไป การต่อเติมบ้านบนแปลงที่ดินรูปทรงพิเศษตามการจัดสรรเดิมในรั้วบ้านซึ่งมีโจทย์ของการต่อเติมอย่างไรให้กลมกลืนจึงเกิดขึ้น
We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )