LOOKING ON EVERYTHING ?
EXPLORE ON EVERYTHING
สัดส่วนที่พอเหมาะ...นำมาซึ่งบ้านที่พอดี ผลงานการออกแบบของ Backyard Architect กับบ้านที่มาพร้อมกับ Magic Number คน 3 ส่วน ธรรมชาติ 1 ส่วน
พอดีไม่มีโจทย์ใดๆ เป็นที่ตั้ง... แต่พอดีมีคนอยู่อาศัย... แล้วพอดีก็อยากมีธรรมชาติไว้ใกล้ชิด... สถาปนิกจึงคิดถึงความสัมพันธ์ระหว่างทุกตัวแปรในบ้าน ทั้งที่ดินกับทิศทางของแสงแดด ประกอบเข้ากับเส้นทางของสายลม ผสมผสานกันเป็นแนวคิดในการออกแบบที่ทำให้เกิดเป็น “บ้านพอดี” บ้านซึ่งแบ่งพื้นที่ให้คนและธรรมชาติอยู่ร่วมกันแบบพอเหมาะพอเจาะพอดิบพอดี “เจ้าของบ้านไม่มีโจทย์ในการออกแบบ เลยให้ผมไปดูที่ดิน และถามผมว่าทำอะไรดี?” มีชัย เจริญพร ผู้ก่อตั้ง Backyard Architect กล่าว “ผมจึงมองหาปัญหาเรื่องแดด ลม มุมมองของบ้าน และการมองเห็นจากภายนอก เก็บมาคิดเป็นตัวเริ่มต้น แล้วผมก็ได้เสนอการแบ่งสัดส่วนในการอยู่ของคนและธรรมชาติ”

3:1 คือสัดส่วนที่ลงตัวระหว่างคนกับธรรมชาติในบ้านหลังนี้ พื้นที่บ้าน 3 ส่วนได้รับการออกแบบให้มีพื้นที่สำหรับธรรมชาติอยู่อย่างน้อย 1 ส่วน เกิดเป็นบ้านที่มีอาคาร 2 ฝั่งวางตัวทำมุมขนาบพื้นที่สวน “ผมแบ่งสัดส่วนจากพื้นที่การใช้งานสู่ธรรมชาติ และนำมันมาแก้ปัญหาต่าง ๆ (แดด ลม และมุมมอง)” มีชัยอธิบาย “ผมเอาตัวบริบท มาคิดตำแหน่งต่างๆ และใช้สัดส่วนแก้ปัญหา อย่างเช่น สัดส่วน Mass ก้อนซ้ายที่เยอะกว่า Mass ก้อนขวา ใช้บังแสงและทำให้เกิดเงาในพื้นที่สวนกลางบ้าน”

Mass ของรูปทรงอาคารนั้นเกิดจากการแบ่งพื้นที่ในบ้านเป็นกลุ่มตามลักษณะการใช้งาน ตั้งแต่ที่จอดรถ สำนักงาน ห้องแม่บ้าน ห้องครัว ห้องนั่งเล่น ไปจนถึงห้องนอนและห้องพระ โดยพื้นที่แต่ละกลุ่มนี้ ทำให้เกิดเป็นรูปทรงอาคารที่มีขนาดแตกต่างลดหลั่นกันไป พื้นที่ส่วนตัวและส่วนรวมแยกออกจากกันอย่างชัดเจน แล้วตัดเส้นทางให้ธรรมชาติวิ่งผ่านตรงกลาง เกิดเป็นถนนสีเขียวเข้ามาคั่นระหว่าง Mass อาคารทั้งสองส่วนที่ตำแหน่งสวนกลางบ้าน

มีชัยกล่าว “เหมือนการจัด Composition แต่มีหลายมิติ แล้วนำเรื่องทุกเรื่องมาร้อยเรียงกัน”
แสงกลายเป็นองค์ประกอบทางธรรมชาติที่มีสัดส่วนเข้ามาสร้างความสัมพันธ์กับพื้นที่ภายในบ้านอย่างแนบแน่น ห้องโถงกลางบ้านได้รับการออกแบบให้มีลักษณะเป็นห้องเพดานสูงและมีผนังกระจกผืนใหญ่เปิดรับแสงธรรมชาติจากสวนเข้ามาได้อย่างเต็มที่ ทำให้ห้องนี้ทำหน้าที่กระจายแสงไปยังส่วนต่างๆ ของบ้านได้อย่างทั่วถึง นอกจากนั้น บริเวณโถงนี้ยังเป็นพื้นที่ซึ่งช่วยเชื่อมความสัมพันธ์ของผู้อยู่อาศัยในบ้าน ทำให้ทุกส่วนของบ้านสามารถมองเห็นกันได้ “ผมอยากให้พื้นที่ตรงกลางบ้านรับแดดและเป็นโถงที่ พื้นที่ต่าง ๆ ในอาคารมองเห็นกัน” มีชัยอธิบาย “แต่พื้นที่รับแขกนี้จะโดนแดดในช่วงบ่ายโมงถึงห้าโมงเย็น โดยคร่าวๆ คือในหนึ่งวัน เราจะใช้มันได้ 3 ส่วน อีก 1 ส่วนนั้นเราแก้ปัญหาให้ห้องกินข้าวไม่โดนแดด แล้วไปใช้ส่วนนั้นแทน โดยเราเชื่อมพื้นที่เข้าหากัน”
ตัวเลขสัดส่วน 3:1 นี้ไม่เพียงจำกัดอยู่แค่สัดส่วนพื้นที่การใช้งานของบ้านและธรรมชาติเท่านั้น หากยังสะท้อนออกมาเป็นสัดส่วนของรูปทรงอาคารและการเลือกใช้วัสดุในส่วนต่างๆ ในบ้านอีกด้วย “ผมมองบ้านนี้ในแต่ละมุม และคิดว่าถ้าสีมันเสมอกันไปหมด หรือMass เท่ากันไปหมด คงไม่สวย เลยพยายามวางสัดส่วนของแต่ละองค์ประกอบด้วย” มีชัยอธิบาย “จาก Mass สู่ช่องเปิดที่มีสัดส่วน 3:1 จนมาถึงวัสดุที่ใช้ ก็เลือกใช้แค่ 75% และใช้วัสดุอื่นเสริมขึ้นมา 25% เป็นแบบนี้ในทุกๆ วัสดุ ระแนง กระเบื้อง และโทนสี”
การจัดสรรรูปทรงอาคาร ผนัง และช่องเปิดต่างแบ่งสัดส่วนที่สัมพันธ์กันอย่างสวยงาม แม้กระทั่งการใช้สีและลวดลายขององค์ประกอบในบ้านก็ได้รับการจับคู่จัดวางอย่างน่าสนใจ ระแนงกันแดดบนผนังมีการเลือกใช้สีที่แตกต่างกันในแต่ละจุด แม้แต่แนวเส้นตั้งและเส้นนอนในแผงระแนงก็ยังได้รับการออกแบบให้แตกต่างกันตามความเหมาะสมด้านการใช้งาน “ผมอยากผสมสีขาว สีดำ และสีเทาเข้าด้วยกัน เหมือนเราจัดองค์ประกอบมัน และสีเหล่านี้ก็ตัดกับสีต้นไม้ได้ดี” มีชัยอธิบาย “ผมอยากให้ Mass ของอาคารให้ความรู้สึกแผ่ออกและดูเรียวยาว เลยเลือกที่จะใช้ระแนงแนวนอน ส่วนรั้วด้านหน้าใช้ระแนงเป็นแนวตั้งเนื่องจากการใช้งาน ทำให้ไม่สามารถปีนได้ และผมว่ามันได้แสงเงาที่ทอดไปยังทางเดินเข้าบ้านได้ดี”

ที่บ้านหลังนี้ มีธรรมชาติจับคู่กับพื้นที่อยู่อาศัย มีพื้นที่ส่วนรวมอยู่ร่วมกับพื้นที่ส่วนตัว รูปทรงเล็กใหญ่ในอาคาร ผนังทึบและช่องเปิด สีสันกับลวดลายในบ้าน ทุกองค์ประกอบได้รับการออกแบบโดยมีความสัมพันธ์กันอย่างลงตัวภายใต้สัดส่วน 3:1 เกิดเป็นการผสมผสานที่พอเหมาะต่อการรองรับวิถีชีวิตของสมาชิกทุกคนในบ้านได้อย่างพอดิบพอดี
บ้านพอดี I คน 3 ธรรมชาติ 1 สัดส่วนในบ้านที่พอดิบพอดีโดย Backyard Architect
/
บ้านหลังแรกที่สร้างขึ้นเองของคุณออมมี่ และคุณแบงค์ -ปรีดากร เมรเกรียงชัย Co-Founder แห่งแบรนด์ Gentle RAM บ้าน ที่ตอบโจทย์รสนิยมของทั้งสองที่หลงใหลในความ Timeless และการอยู่อาศัยที่อยู่สบาย เรียบง่าย พร้อมจัดระเบียบชีวิตในบ้านได้อย่างลงตัว บ้านที่ทุกพื้นที่ และทุกฟังก์ชั่นที่ทาง THE OTHERS ผู้ออกแบบได้ขบคิดมาอย่างพิถีพิถันไม่ต่างกับเสื้อผ้าที่เทรลเลอร์เมดให้พอดีกับเจ้าของบ้าน
/
หนึ่งในกิจกรรมจากเวที TOSTEM Asia Design Award (TADA) ซึ่งจัดขึ้นโดย TOSTEM เพื่อเฟ้นหาผลงานสถาปัตยกรรมในเอเชีย ที่มุ่งให้ความสำคัญกับเรื่องของธรรมชาติ ผสานเข้ากับนวัตกรรมการอยู่อาศัยสมัยใหม่ ตอบโจทย์ทั้งผู้ใช้งาน และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ซึ่งนอกจากผู้ชนะรางวัลจะได้ร่วมเดินทางไปรับรางวัลที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว ยังได้พบปะกับ Akihisa Hirata สถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงระดับโลก ที่มาแชร์มุมมองแนวคิดการออกแบบโปรเจกต์ต่าง ๆ ตั้งแต่งาน Installation Art บ้านพักอาศัย จนถึงอาคารสาธารณะ ซึ่งความน่าสนใจนอกเหนือจากเอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่ถ่ายทอดผ่านฟอร์ม และสเปซที่โดดเด่น และเป็นที่จดจำแล้วนั้น สำคัญคือปรัชญาหลักที่เป็นรากฐานความคิดของ Hirata สู่การพัฒนาเป็นสถาปัตยกรรมน่าทึ่งเหล่านั้น ซึ่งเราจะมาเจาะลึกแนวคิดที่ว่านั้นกัน
By TOSTEM/
ผสานบริบทธรรมชาติ สอดรับกับวัฒนธรรมท้องถิ่นได้อย่างลึกซึ้ง พร้อมถ่ายทอดสู่เอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรม ที่เติมเต็มทั้งสุนทรียศาสตร์ และตอบโจทย์การใช้ชีวิตผู้อยู่อาศัยได้ทุกมิติ คือจุดร่วมหลักของสองผลงานออกแบบบ้านที่ตั้งอยู่ใน 2 จังหวัดทางภาคเหนือ ที่คว้ารางวัล TOSTEM ASIA DESIGN AWARD 2024 (TADA 2024) ในกลุ่มประเภท “Special Mention for Sustainable Living” มาครอง
By TOSTEM/
ขึ้นชื่อว่าเป็นโปรเจกต์ออกแบบโดย HAS design and research ของสองสถาปนิกฝีมือแถวหน้าอย่าง คุณเจอร์รี่ หง (Jenchieh Hung) และคุณป้อ-กุลธิดา ทรงกิตติภักดี (Kulthida Songkittipakdee) แล้วนั้นรับรองว่ามิติที่ลึกซึ้งกว่าเรื่องของฟอร์มอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ทุกคนต่างทึ่งไปกับงาน“Aluminum Grotto and Public Ground” งานอินสตอลเลชันสุดอลังการที่จัดแสดงในงานสถาปนิก’67 ก็เป็นตัวอย่างของการผสานองค์ประกอบเรื่องของพื้นผิว-พื้นที่-โครงสร้าง-ฟังก์ชั่นให้เป็นหนึ่งเดียว ภายใต้ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ และเชื่อมระหว่างภูมิทัศน์ธรรมชาติ ศิลปะเชิงช่าง และวัสดุอุตสาหกรรมได้อย่างน่าตื่นตา มาถึงโปรเจกต์ใหม่ที่เป็นงานออกแบบรีเทลนี้ ทาง HAS ได้พยายามข้ามขนบบางอย่างของการออกแบบพื้นที่เชิงพาณิชย์ทั่วไป เพื่อสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับผู้ที่ได้ไปเยือน
/
กลายเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ในซอยจ่าโสด เมื่อเราได้พบกับอาคารสถาปัตยกรรมโมเดิร์นเรียบเท่ที่เต็มไปด้วยไดนามิคของเส้นสาย ส่วนคว้านโค้งซึ่งออกแบบมาเพื่อฟังก์ชั่น และเพื่อแสงธรรมชาติ เป็นอาคารโทนสีขาวสะอาดตาแต่ทำให้เราไม่อาจละสายตา กับเอกลักษณ์ดีไซน์ของอาคารที่ทอดตัวยาวพร้อมมีประภาคารเล็ก ๆ นี่คือ SANS STUDIO BANGKOK สตูดิโอแห่งใหม่ที่ก่อตั้งขึ้นโดยเจ้าของผู้สนใจในงานสถาปัตยกรรมและศิลปะการถ่ายภาพ หลังจากเรียนจบมาจากฝรั่งเศส โดยให้เป็นสตูดิโอที่รองรับงานถ่ายภาพ โปรดัคชั่น จนถึงอีเวนต์ ที่ได้ทาง PHTAA LIVING DESIGN มาเป็นบริษัทสถาปนิกออกแบบให้
/
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะสถาปัตยกรรมแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีการเปิดให้เรียนในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมศาสตร์ ก่อตั้งโดย อาจารย์นารถ โพธิประสาท ในปี พ.ศ. 2476 และมีการเปิดใช้ตึกคณะสถาปัตยกรรมครั้งแรกในปี พ.ศ. 2484 จนต่อมาในปี พ.ศ. 2485 ภายใต้รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มี “ประกาศปรับปรุงอักสรไทย” ขึ้นเพื่อให้การสะกดคำในภาษาไทยกะทัดรัดและลดความซ้ำซ้อนของตัวอักษรลง ชื่อคณะสถาปัตยกรรม จึงถูกเปลี่ยนแปลงและใช้ชื่อว่า คณะสถาปัตยกัม อยู่นานถึงสองปี ก่อนจะมีการกลับมาใช้ชื่อเดิมอีกครั้ง (หลังจบสงคราม) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2487 เป็นต้นไป
We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )