‘ลดทอน’ เพื่อ ‘ขยาย’ ในความหมายใหม่ของที่อยู่อาศัย กับโปรเจ็กต์ Bann 33
การลดทอนในเชิงสถาปัตยกรรมนั้น จัดได้ว่าเป็นความท้าทายประเภทหนึ่ง ท่ามกลางข้อจำกัดที่แปลงสภาพตนเองเป็นโจทย์ให้ผู้ออกแบบได้ขบคิด เพื่อพิชิตซึ่งฟังก์ชันการใช้งาน และความสวยงามทางด้านสถาปัตย์ มีชิ้นงานอยู่ไม่มากที่สามารถเข้าถึงสมดุลดังกล่าวได้อย่างลงตัว และนี่คือหนึ่งในชิ้นงานดังว่า ที่หาจุดที่เหมาะสมได้จากการตัดทอนส่วนไม่จำเป็น เพื่อนำสู่ความหมายใหม่ด้านที่อยู่อาศัย
เราอาจจะผ่านตากับงานสถาปัตย์ที่อยู่อาศัยแบบผสมผสานกันมานักต่อนัก แต่สำหรับ Bann 33 ของ Stu/D/O แห่งนี้ มันคือความท้าทายอย่างถึงที่สุด เพราะไม่ใช่แค่ข้อจำกัดทางด้านพื้นที่ที่เป็นโจทย์ตั้งต้น หากแต่การจะต้องรวมทั้งที่อยู่อาศัยจำนวนหกห้องนอน เข้ากับเซอร์วิสอพาร์ทเมนต์สี่ยูนิต โดยให้ทุกพื้นที่มีความเป็นส่วนตัวอย่างสูงสุดแต่ยังเชื่อมโยงเข้าถึงกัน มันดูแทบจะเป็นไปไม่ได้ ภายใต้ไซต์งานขนาด 740 ตารางเมตร ซอยสุขุมวิท 27 ที่ทุกคูหานั้นถูกบีบรัดเข้ามาอย่างไม่อาจเลี่ยง
นั่นทำให้เราได้เห็นถึงความโดดเด่นของการจัดสรรพื้นที่เพื่อเสริมพลังอย่างมีนัยสำคัญ โปรแกรมหลักของอาคารถูกแบ่งด้วย Circulation ของทางเดินสองชุด ทางทิศตะวันออกและทิศใต้สำหรับเซอร์วิสอพาร์ทเมนต์ ที่ถูกขนาบด้วยอาคารสูงเพื่อนบ้าน และทางเดินในแนวตั้ง ที่ถูกจัดวางเอาไว้สำหรับที่อยู่อาศัยส่วนบุคคล ที่พาดผ่านกลางระหว่างทางเดินอีกชุดหนึ่ง สร้างความเชื่อมโยงแต่ชัดเจนในแง่ของฟังก์ชัน และเพิ่มความเป็นส่วนตัวโดยไม่ก่อให้เกิดความพลุกพล่านมากจนเกินไป
การ ‘ลดทอน’ ก้อนมวลของอาคาร ช่วยสร้างความเป็นส่วนตัว และเสริมความเปิดโปร่งของพื้นที่ขึ้นไปได้อย่างมาก
ในส่วนของการใช้งาน ผู้ออกแบบใช้การ ‘ลดทอน’ ก้อนมวลอาคารตามส่วนต่างๆ เพื่อสร้างความลื่นไหลของอากาศ และพื้นที่ของแสงที่จะเข้ามาเล่นไล้ภายใน นอกไปจากนั้น การลดมวลอาคารยังทำหน้าที่ในการแบ่งฟังก์ชันการใช้งานในเชิงสถาปัตยกรรม ที่พื้นที่ส่วนเซอร์วิสอพาร์ทเมนต์ ทำหน้าที่ห่อหุ้มและโอบล้อมตัวอาคารหลัก เพื่อลดอุณหภูมิของแสงแดดที่จะตกกระทบเข้ามาตามช่วงเวลาในทิศตะวันตก เพิ่มการระบายอากาศ และลดการใช้การปรับอากาศให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น
การลดทอนยังไม่จบเพียงเท่านั้น เพราะการทอนมวลของพื้นที่ส่วนกลางที่พาดยาวขึ้นไปถึงบริเวณพื้นที่เปิดส่วนดาดฟ้า สอดคล้องกันดีกับหลักอากาศพลศาสตร์ เพิ่มการระบายอากาศ นอกจากนั้น ยังเพิ่มการตกแต่งภายในด้วยการปลูกต้นไม้ตามระเบียงและพื้นที่ว่างส่วนกลาง ให้ทัศนียภาพภายในที่ปลอดโปร่งสบายตา และให้ร่มเงากับอากาศในยามกลางวัน ที่ออกแบบไปพร้อมกับการใช้วัสดุอย่างอลูมิเนียมเบาโทนสีขาวทั่วอาคารและระแนงตาถี่ เพื่อเสริมพลังของการทอนก้อนมวล ให้อาคารมีความเย็นสบายอย่างเป็นธรรมชาติ
การจัดวางพื้นที่ใช้สอยเพื่อตอบสนองต่อฟังก์ชันก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่ควรกล่าวถึง เพราะผู้ออกแบบทำตามโจทย์ในเรื่องความเป็นส่วนตัวในทุกฟังก์ชันอย่างเคร่งครัด ส่วนพักอาศัยส่วนตัวอยู่บริเวณชั้นล่างที่ใกล้กับบริบทของธรรมชาติและโอบรับกับทัศนียภาพหลักมากที่สุด ไล่เรียงกันขึ้นมาในชั้นที่สองถึงห้า ที่เซอร์วิสอพาร์ทเมนต์ได้ทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบของอาคารหลัก ที่เชื่อมโยงด้วยทางเดินกลาง และพื้นที่ส่วนกลางที่ผู้ออกแบบได้จัดวางเอาไว้บริเวณดาดฟ้า ที่สามารถเข้าถึงได้จากทุกฟังก์ชัน ก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งาน โดยไม่เสียซึ่งความเป็นส่วนตัวไป
สำหรับงานสถาปัตย์ภายใต้พื้นที่จำกัดนั้น นับว่าเป็นความท้าทายในตัวของมันเองระดับหนึ่ง แต่มีไม่บ่อยครั้งที่เราจะเห็นการเข้าหาโจทย์ด้วยการ ‘ลดทอน’ มวลอาคารส่วนนั้นบ้าง ส่วนนี้บ้าง เพื่อสงวนซึ่งภาพหลักใหญ่ทางด้านการใช้งานและความเป็นส่วนตัว และ Bann 33 จากทีม Stu/D/O ก็ดูจะเข้าใจ และปรับใช้แนวคิดดังกล่าวได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพ สมประโยชน์ตรงตามความต้องการ และทำให้เราเข้าใจได้ถึงแนวคิดแบบ ‘ทำน้อย ได้มาก’ ที่ยังคงงดงามทางด้านสถาปัตยกรรมอยู่เสมอๆ
Location: Sukhumvit 27, Bangkok, Thailand Type: Architecture Design Program: Residential (5-storey Apartment) Client: Ketwalee Sermchuvitkul
Site Area: 740 sqm. Built Area: 1,200 sqm. Design: 2014 Completion: 2019 Stu/D/O Project Team: Apichart Srirojanapinyo Chanasit Cholasuek Picsacha Na Songkhla Tirayu Preechavibul
Interior Architect: Little Enjoy Studio Structural Engineer: Ittipon Konjaisue Mechanical Engineer: MEE Consultants Consultants: Chanin Limapornvanich Contractor: Sittanant Photography: DOF Skyground, Stu/D/O
TAG
architecture design house Bann 33 ‘ลดทอน’ เพื่อ ‘ขยาย’ ในความหมายใหม่ของที่อยู่อาศัย กับโปรเจ็กต์ Bann 33
CONTRIBUTORS
EVERYTHING TEAM
DESIGN / HOUSE
“Pong House” เชื่อมปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติผ่านคอร์ต พร้อมตอบโจทย์ความ Privacy
“Pong House” บ้านที่พร้อมเปิดสเปซมากที่สุดสำหรับการเชื่อมปฏิสัมพันธ์สู่ธรรมชาติ และเผยมุมมองน้อยที่สุดสู่พื้นที่สาธารณะ เพื่อความเป็นส่วนตัว โดยมี ‘คอร์ตยาร์ต’ เป็นหัวใจของบ้าน ในการสอดแทรกพื้นที่สีเขียวเข้ากับพื้นที่อยู่อาศัย ภายใต้ดีไซน์ที่คลี่คลายสู่ความเรียบง่าย และพร้อมเป็นพื้นที่ปลอดภัยสบายใจให้แก่ผู้อยู่อาศัยในทุกมุมของบ้าน
EVERYTHING TEAM 3 years ago
DESIGN / HOUSE
ICE.SU HOUSE BY JUNSEKINO A+D บทสนทนาระหว่างการสร้างบ้านที่ย้อนแย้งแต่ชัดเจนบนสเกล 1:1
“One for the Road” หรือ “วันสุดท้าย . . ก่อนบายเธอ” ภาพยนตร์ไทยที่สร้างกระแสตั้งแต่ก่อนเข้าฉาย และได้ผลตอบรับที่ดีทั้งจากตัวหนัง ผู้อำนายการสร้าง ผู้กำกับ บท เพลง นักแสดง ไปจนถึงบ้านของนักแสดงนำซึ่งมีเอกลักษณ์ และถูกพูดถึงมากกว่าเจ้าของ ไอซ์ซึ หรือ คุณณัฐรัตน์ นพรัตยาภรณ์ เลือกการปลูกบ้านขึ้นใหม่จากสถาปนิกที่เขาเลือกเอง JUNSEKINO A+D เพื่ออาศัยอยู่กับแฟนและแมว
Nada Inthaphunt 3 years ago
DESIGN / HOUSE
HOUSE 362 บ้านที่เปิด “ช่อง” เชื่อมโยงชีวิตเข้ากับธรรมชาติ
HOUSE 362 ของครอบครัวพงษ์สุรพิพัฒน์ อันเป็นฝีมือการออกแบบของเพื่อนสถาปนิกอย่าง จูน เซคิโน จาก Junsekino Architect and Design / Junsekino Interior Design ที่นอกจากจะสวยงามด้วยเค้าโครงสถาปัตยกรรมอันเรียบง่ายแล้ว ยังสร้างการเชื่อมโยงให้สมาชิกภายในบ้าน ได้สัมผัสกับธรรมชาติอย่างไร้ขอบเขตผ่านดีไซน์ประตู หน้าต่างบานเลื่อน และหน้าต่างบานกระทุ้งของ Double Space อันเป็นพื้นที่หัวใจหลักของบ้าน
By TOSTEM
EVERYTHING TEAM 4 years ago DESIGN / HOUSE
BAAN VIPHA 41 BY ANONYM บทสนทนาของตัวตนและประสบการณ์อย่างที่ใจตามหา
บ้านวิภา 41 เป็นผลงานที่เริ่มต้นโครงการเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ในช่วงยุคเริ่มต้นก่อตั้งสตูดิโอ ANONYM ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงสร้างผลงานบ้าน และเน้นย้ำแก่นเอกลักษณ์ของตนจนมีความโดดเด่นทางผลงานสถาปัตยกรรมประเภทที่พักอาศัยเช่นในปัจจุบัน
Nada Inthaphunt 4 years ago
DESIGN / HOUSE
House COVE(R) by TOUCH Architect ต่อเติมบ้านหัวมุมให้ต่อเนื่องกับบ้านหลังเก่า
เมื่อบ้านเดี่ยวสองชั้นเดิมในหมู่บ้านจัดสรรของครอบครัวที่มีสมาชิก 5 คน ของคน 3 รุ่น มีพื้นที่ใช้สอยไม่เพียงพอสำหรับการใช้งานอีกต่อไป การต่อเติมบ้านบนแปลงที่ดินรูปทรงพิเศษตามการจัดสรรเดิมในรั้วบ้านซึ่งมีโจทย์ของการต่อเติมอย่างไรให้กลมกลืนจึงเกิดขึ้น
Nada Inthaphunt April 2021
DESIGN / HOUSE
BAAN SAILOM BY ANONYM บ้านที่สายลมมีร่างกายให้จับต้อง
เอกลักษณ์ของผลงาน ANONYM คือการดึงตัวตนของเจ้าของบ้านออกม่านงานได้อย่างหลากมิติ รวมถึงความใส่ใจในรายละเอียดที่ทำให้ภาพรวมของผลงานออกมาเนี้ยบทุกชิ้น แต่ “ตัวกลาง” ของ “บ้านสายลม” กลายเป็นสิ่งปลดล็อคความเป็น ANONYM อีกแบบที่อนุญาตให้เจ้าของบ้านเข้ามาตัวตนอีกมุมซึ่งแตกต่างจากผลงานชิ้นอื่น
Nada Inthaphunt March 2021
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
SUBMIT
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION