LOOKING ON EVERYTHING ?
EXPLORE ON EVERYTHING

เมื่อ “ศิลปะ” ไม่ได้บอกเล่าแค่ในห้องเรียนหรือผ่านตำรา แต่ยังเชื่อมโยงกับสถาปัตยกรรมที่จุดประกายความคิดสร้างสรรค์ให้กับผู้ใช้พื้นที่ ทำให้อาคารเรียนหลังใหม่ของโรงเรียนบ้านคลองบอน บนเกาะยาวใหญ่ จังหวัดพังงา ที่ถูกสร้างขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง Vin Varavarn Architects และ The Build Foundation ได้เพิ่มบทบาทให้โรงเรียนเป็นทั้งสถานศึกษาของเด็กๆ เป็นอาร์ตสเปซของชุมชน และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแห่งใหม่บนเกาะสำหรับนักท่องเที่ยวได้ด้วย
เรารู้ดีว่าบนเกาะยาวใหญ่นั้นมีธรรมชาติสวยงามเงียบสงบ เคียงคู่อยู่กับวิถีชุมชนชาวมุสลิมที่เรียบง่าย แต่น้อยคนนักจะรู้ว่าความโดดเด่นอีกอย่างของเกาะนี้ คือทักษะความสามารถทางด้านศิลปะของเยาวชนในโรงเรียนบ้านคลองบอน ที่ผลงานภาพวาดของเด็กๆ สามารถคว้ารางวัลประกวดในระดับประเทศได้เลยทีเดียว ดังนั้นเมื่อทางมูลนิธิฯ และทีมสถาปนิกได้ตั้งใจที่จะออกแบบก่อสร้างอาคารเรียนใหม่ทดแทนอาคารเรียนเดิมที่เก่าทรุดโทรม และเพิ่มขนาดพื้นที่ห้องเรียนให้รองรับจำนวนเด็กนักเรียนที่มากขึ้น จึงเกิดไอเดียการออกแบบ “โรงเรียนที่มากกว่าห้องเรียน” โดยมีพื้นที่ส่งเสริมทักษะและสามารถด้านศิลปะให้กับเด็ก จากเดิมที่มีห้องศิลปะอยู่เพียงห้องเดียวเล็กๆ กับครูสอนศิลปะอยู่หนึ่งคน ชื่อ ครูไข่



“เรานำ ‘ศิลปะ’ มาใช้บอกเล่าเรื่องราวสำหรับอาคารเรียนหลังใหม่นี้” หม่อมหลวงวรุตม์ วรวรรณ แห่งบริษัทสถาปนิก Vin Varavarn Architects กล่าวถึงแนวคิดการออกแบบโปรแกรมพื้นที่ โดยปรับผังจากทางโรงเรียนที่วางไว้ให้มีห้องเรียนติดๆ กัน ด้วยการเพิ่มพื้นที่สำหรับกิจกรรมทางศิลปะเข้ามา

เป็นที่มาของแปลนชั้น 1 ที่ออกแบบเป็นพื้นที่ส่วนกลางเชื่อมโยงหลากกิจกรรมทางด้านศิลปะเข้าด้วยกััน ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุด ห้องเรียนศิลปะ และจัดแสดงงาน ที่สามารถเข้าถึงการใช้งานในแต่ละส่วนได้อย่างต่อเนื่องกัน ในห้องเวิร์กช็อปและจัดแสดงงานที่อยู่ในพื้นที่เดียวกันทางปีกซ้ายของอาคารนั้น ก็ใช้ฉากกั้นแบ่งพื้นที่เป็นเพียงม่านเชือกถักเรียบๆ เท่านั้น
สถาปนิกยังเล็งเห็นความสำคัญของเปิดโลกการเรียนรู้ศิลปะที่มากกว่าภาพวาด แต่รวมไปถึงการเรียนรู้ผ่านสื่อดิจิทัลต่างๆ ด้วย จึงได้ใช้ประโยชน์จากบริเวณบันไดกลางอาคาร ที่ถูกสร้างขึ้นบนพื้นที่ลาดเอียงต่างระดับกัน โดยออกแบบขั้นบันไดปูนสำหรับปรับระดับพื้นที่ให้เป็นอัฒจันทร์เล็กๆ สำหรับให้เด็กๆ ได้นั่งดูวิดีโอที่ฉายบนผนังจากโปรเจกเตอร์ในมุมนี้ได้ด้วย


ในขณะที่ชั้น 2 เป็นโซนของห้องเรียน 4 ห้อง และห้องพักครู 1 ห้อง ที่ทางสถาปนิกได้ปรับแบบจากทางโรงเรียนที่วางแปลนมาให้ โดยการหมุนแปลนห้องชั้นบนออก 90 องศา ทำให้ลักษณะของห้องยื่นออกจากตัวอาคาร เพื่อให้เกิดดับเบิ้ลสเปซตรงกลางภายในอาคารที่เปิดโล่งชั้น 1 และชั้น 2 เชื่อมมุมมองสองชั้นเข้าด้วยกัน ดังนั้นเมื่อชั้นล่างมีกิจกรรมอะไร คนชั้นบนก็สามารถมองเห็นได้
ในส่วนของโครงสร้างอาคารก่อสร้างขึ้นจากระบบ Precast หรือระบบผนังคอนกรีตสำเร็จรูป ที่สามารถขนส่งผนังแต่ละชิ้นมาทางเรือเพื่อนำมาประกอบขึ้นเป็นโครงสร้างอาคารได้อย่างรวดเร็ว (ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างเพียง 2 เดือนเท่านั้น) ก่อนตกแต่งผนังด้วยไม้ไผ่บางส่วนเพื่อเพิ่มมู้ดความเป็นธรรมชาติให้กับอาคารเรียนหลังนี้ ในขณะที่ส่วนของบานหน้าต่างและประตูเป็นโครงเหล็กที่ติดด้วยแผ่นโพลีเอสเตอร์เรซินแบบโปร่งแสง เพื่อให้ภายในห้องยังได้รับแสงธรรมชาติอย่างพอเพียงโดยไม่ร้อนเกินไป ในขณะเดียวกันก็ลดอันตรายเมื่อเด็กวิ่งชนได้ด้วย

“นอกเหนือจากแนวคิดด้านศิลปะแล้ว ทาง The Build Foundation ยังมีพันธมิตรเป็นเครือข่ายโรงแรมที่ช่วยสนับสนุนโครงการนี้ด้วย เมื่อเราทำพื้นที่ศิลปะในโรงเรียนเพิ่มขึ้น ก็สามารถดึงดูดให้นักท่องเที่ยวบนเกาะยาวใหญ่ มีกิจกรรมที่ได้มาสัมผัสกับวิถีชุมชน ได้ทำงานศิลปะกับเด็กๆ หรือ ได้ซื้อผลงานศิลปะของเด็กนักเรียน หรืองานฝีมือของชุมชน เพราะอย่างโซนห้องสมุดนั้นสามารถปรับฟังก์ชั่นเป็นโถงอเนกประสงค์สำหรับจัดอาร์ตมาร์เก็ตก็ได้ ในขณะเดียวกันเด็กนักเรียนได้ฝึกพูดภาษาอังกฤษจากนักท่องเที่ยวด้วย จึงเป็นกิจกรรมที่ได้ประโยชน์ทั้งเด็กนักเรียน ชุมชน และนักท่องเที่ยว”
โปรเจกท์ Barn Klong Bon School & Art Spaces เป็นความร่วมมือครั้งที่ 2 ระหว่างองค์กรไม่แสวงหากำไร The Build Foundation และบริษัทสถาปนิก Vin Varavarn Architects หลังจากเคยร่วมกันสร้างอาคารเรียนป้องกันแผ่นดินไหวให้กับโรงเรียนบ้านฮ่องแฮ่ ที่อำเภอแม่สาย จังหวัดตาก ในปี 2018 โดยปรับแบบจากอาคารใหม่ของโรงเรียนห้วยส้านยาววิทยา อำเภอแม่ลาว ที่เคยออกแบบไว้ในโครงการออกแบบอาคารเรียนพอดี พอดี เมื่อครั้งที่ Vin Varavarn Architects เคยเป็น 1 ใน 9 บริษัทสถาปนิกผู้ร่วมออกแบบอาคารเรียนป้องกันแผ่นดินไหวให้กับโรงเรียน 9 แห่่ง ในจังหวัดเชียงราย

“ผมชอบและมีความสุขเวลาได้ทำโปรเจกท์แบบนี้ จึงเป็นที่มาของความตั้งใจของเราที่จะทำงานเพื่อผู้ด้อยโอกาสควบคู่กับโปรเจกท์ปกติของบริษัท อย่างตอนอาคารเรียนของโรงเรียนบ้านคลองบอนสร้างเสร็จ ทุกคนทั้งประหลาดใจและแฮปปี้มาก โดยเฉพาะอาจารย์สอนศิลปะดูมีความสุขมากเป็นพิเศษ จากเดิมที่ต้องยืมพื้นที่ในห้องเรียนมาสอนศิลปะ จนขยับขยายมาเป็นห้องศิลปะเล็กๆ ห้องหนึ่ง และตอนนี้ศิลปะกลายเป็นตัวเอกในการเล่าเรื่องของโรงเรียนนี้ได้”

เมื่ออาคารเรียนรองรับความคิดสร้างสรรค์ และเชื่อมสัมพันธ์กับวิถีชุมชน จึงส่งเสริมไปด้วยกันทั้งคุณค่าทางสถาปัตยกรรม คุณภาพการเรียนรู้ และความมีส่วนร่วมของชุมชน
อาคารเรียนหลังใหม่บนเกาะยาวใหญ่ ที่ใช้ “ศิลปะ” เป็นตัวเอกบอกเล่าทางสถาปัตยกรรม
/
บ้านหลังแรกที่สร้างขึ้นเองของคุณออมมี่ และคุณแบงค์ -ปรีดากร เมรเกรียงชัย Co-Founder แห่งแบรนด์ Gentle RAM บ้าน ที่ตอบโจทย์รสนิยมของทั้งสองที่หลงใหลในความ Timeless และการอยู่อาศัยที่อยู่สบาย เรียบง่าย พร้อมจัดระเบียบชีวิตในบ้านได้อย่างลงตัว บ้านที่ทุกพื้นที่ และทุกฟังก์ชั่นที่ทาง THE OTHERS ผู้ออกแบบได้ขบคิดมาอย่างพิถีพิถันไม่ต่างกับเสื้อผ้าที่เทรลเลอร์เมดให้พอดีกับเจ้าของบ้าน
/
หนึ่งในกิจกรรมจากเวที TOSTEM Asia Design Award (TADA) ซึ่งจัดขึ้นโดย TOSTEM เพื่อเฟ้นหาผลงานสถาปัตยกรรมในเอเชีย ที่มุ่งให้ความสำคัญกับเรื่องของธรรมชาติ ผสานเข้ากับนวัตกรรมการอยู่อาศัยสมัยใหม่ ตอบโจทย์ทั้งผู้ใช้งาน และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ซึ่งนอกจากผู้ชนะรางวัลจะได้ร่วมเดินทางไปรับรางวัลที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว ยังได้พบปะกับ Akihisa Hirata สถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงระดับโลก ที่มาแชร์มุมมองแนวคิดการออกแบบโปรเจกต์ต่าง ๆ ตั้งแต่งาน Installation Art บ้านพักอาศัย จนถึงอาคารสาธารณะ ซึ่งความน่าสนใจนอกเหนือจากเอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่ถ่ายทอดผ่านฟอร์ม และสเปซที่โดดเด่น และเป็นที่จดจำแล้วนั้น สำคัญคือปรัชญาหลักที่เป็นรากฐานความคิดของ Hirata สู่การพัฒนาเป็นสถาปัตยกรรมน่าทึ่งเหล่านั้น ซึ่งเราจะมาเจาะลึกแนวคิดที่ว่านั้นกัน
By TOSTEM/
ผสานบริบทธรรมชาติ สอดรับกับวัฒนธรรมท้องถิ่นได้อย่างลึกซึ้ง พร้อมถ่ายทอดสู่เอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรม ที่เติมเต็มทั้งสุนทรียศาสตร์ และตอบโจทย์การใช้ชีวิตผู้อยู่อาศัยได้ทุกมิติ คือจุดร่วมหลักของสองผลงานออกแบบบ้านที่ตั้งอยู่ใน 2 จังหวัดทางภาคเหนือ ที่คว้ารางวัล TOSTEM ASIA DESIGN AWARD 2024 (TADA 2024) ในกลุ่มประเภท “Special Mention for Sustainable Living” มาครอง
By TOSTEM/
ขึ้นชื่อว่าเป็นโปรเจกต์ออกแบบโดย HAS design and research ของสองสถาปนิกฝีมือแถวหน้าอย่าง คุณเจอร์รี่ หง (Jenchieh Hung) และคุณป้อ-กุลธิดา ทรงกิตติภักดี (Kulthida Songkittipakdee) แล้วนั้นรับรองว่ามิติที่ลึกซึ้งกว่าเรื่องของฟอร์มอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ทุกคนต่างทึ่งไปกับงาน“Aluminum Grotto and Public Ground” งานอินสตอลเลชันสุดอลังการที่จัดแสดงในงานสถาปนิก’67 ก็เป็นตัวอย่างของการผสานองค์ประกอบเรื่องของพื้นผิว-พื้นที่-โครงสร้าง-ฟังก์ชั่นให้เป็นหนึ่งเดียว ภายใต้ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ และเชื่อมระหว่างภูมิทัศน์ธรรมชาติ ศิลปะเชิงช่าง และวัสดุอุตสาหกรรมได้อย่างน่าตื่นตา มาถึงโปรเจกต์ใหม่ที่เป็นงานออกแบบรีเทลนี้ ทาง HAS ได้พยายามข้ามขนบบางอย่างของการออกแบบพื้นที่เชิงพาณิชย์ทั่วไป เพื่อสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับผู้ที่ได้ไปเยือน
/
กลายเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ในซอยจ่าโสด เมื่อเราได้พบกับอาคารสถาปัตยกรรมโมเดิร์นเรียบเท่ที่เต็มไปด้วยไดนามิคของเส้นสาย ส่วนคว้านโค้งซึ่งออกแบบมาเพื่อฟังก์ชั่น และเพื่อแสงธรรมชาติ เป็นอาคารโทนสีขาวสะอาดตาแต่ทำให้เราไม่อาจละสายตา กับเอกลักษณ์ดีไซน์ของอาคารที่ทอดตัวยาวพร้อมมีประภาคารเล็ก ๆ นี่คือ SANS STUDIO BANGKOK สตูดิโอแห่งใหม่ที่ก่อตั้งขึ้นโดยเจ้าของผู้สนใจในงานสถาปัตยกรรมและศิลปะการถ่ายภาพ หลังจากเรียนจบมาจากฝรั่งเศส โดยให้เป็นสตูดิโอที่รองรับงานถ่ายภาพ โปรดัคชั่น จนถึงอีเวนต์ ที่ได้ทาง PHTAA LIVING DESIGN มาเป็นบริษัทสถาปนิกออกแบบให้
/
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะสถาปัตยกรรมแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีการเปิดให้เรียนในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมศาสตร์ ก่อตั้งโดย อาจารย์นารถ โพธิประสาท ในปี พ.ศ. 2476 และมีการเปิดใช้ตึกคณะสถาปัตยกรรมครั้งแรกในปี พ.ศ. 2484 จนต่อมาในปี พ.ศ. 2485 ภายใต้รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มี “ประกาศปรับปรุงอักสรไทย” ขึ้นเพื่อให้การสะกดคำในภาษาไทยกะทัดรัดและลดความซ้ำซ้อนของตัวอักษรลง ชื่อคณะสถาปัตยกรรม จึงถูกเปลี่ยนแปลงและใช้ชื่อว่า คณะสถาปัตยกัม อยู่นานถึงสองปี ก่อนจะมีการกลับมาใช้ชื่อเดิมอีกครั้ง (หลังจบสงคราม) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2487 เป็นต้นไป
We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )