LOOKING ON EVERYTHING ?
EXPLORE ON EVERYTHING
ในบ้านเรามีศิลปินแนว ‘Papercutting’ อยู่ไม่มากเมื่อเทียบกับศิลปินแนวอื่น ๆ และในจำนวนไม่มากนั้น ชื่อของ บัว-วรรณประภา ตุงคะสมิต หรือ “บัว สมิต” เป็นคนแรก ๆ ที่เรานึกถึง เพราะตลอดเวลาสิบกว่าปีที่ “บัว สมิต” ทำงานศิลปะตัดกระดาษ เริ่มจากการทำภาพประกอบแนวคอลลาจในโปรเจคต์ “Collagecanto” สู่การพัฒนายกระดับขึ้นไปเป็นเปเปอร์คัตติ้ง จนกลายเป็นที่ชื่นชอบของใครหลายคน และทำให้ศิลปะแนว ‘Papercutting’ เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น และยิ่งโดดเด่นมากขึ้นอีกเมื่องานตัดกระดาษของเธอคว้า 2 รางวัลสำคัญ (Bronze Lion และ Gold Lion)จากเวที Cannes Lions จากงาน ‘Artquarium’ ในปี 2016 นั่นทำให้ชื่อของเธอกลายเป็นศิลปินแถวหน้าของแวดวง ‘Papercutting’ หรือ ‘Paper Art’

ล่าสุด “บัว สมิต” ได้รับเลือกให้เป็นศิลปินคนที่สองของโครงการ “Artist in Residence” ที่จัดโดยโรงแรม The Peninsula Bangkok ซึ่งเฟ้นหาศิลปินไทยร่วมสมัยมาทำงานศิลปะในแบบของตนที่โรงแรม นอกจากเป็นการสนับสนุนยกย่องศิลปินในประเทศแล้วยังเปิดโอกาสให้แขกที่มาพักอาศัยในโรงแรมได้มีส่วนร่วมกับศิลปะด้วย โดยงานของ “บัว สมิต” มีชื่อว่า “A Lacy Christmas” เป็นผลงานตัดกระดาษอันซับซ้อนที่เธอเนรมิตให้เป็นสวนพฤกษศาสตร์ และสรรพสัตว์ที่ดูมีชีวิตชีวา แฝงรายละเอียดที่มีกลิ่นอายของวันคริสต์มาส และปีใหม่ เปิดให้ผู้ชมได้เข้าชมได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 6 มกราคม 2563 ณ โรงแรมเพนนินซูล่า กรุงเทพ
Everything ได้รับโอกาสพูดคุยกับเธอถึงความเป็นมาของงานชิ้นนี้ เราไปพบเธอถึงห้องพักสุดหรูหรา น่าพักผ่อนของเพนนินซูล่า เรานั่งดื่มกาแฟและพูดคุยถึงที่มาตลอดจนแรงบันดาลใจ และเรื่องราวที่ผ่านมากว่าจะกลายมาเป็นศิลปิน ‘Papercutting’ คนสำคัญของประเทศอย่างทุกวันนี้ (ขอขอบคุณ โรงแรมเพนนินซูล่า กรุงเทพฯ)

คุณสนใจศิลปะแนว ‘Papercutting’ ได้ยังไง
สมัยเด็ก ๆ บัวจะชอบวาดรูปเล่น แต่เป็นการวาดรูปเล่นเฉย ๆ ไม่ได้อยากเป็นศิลปินหรือทำงานศิลปะอะไร ศิลปะในวัยเด็กของเรามันออกแนวจัดบอร์ดในห้องเรียนสมัยมัธยมอะไรอย่างนี้ แต่ถ้าให้ไปประกวดอะไรแบบนั้นไม่เอา เคยโดนทางโรงเรียนบังคับไปประกวดทีนึง เราไม่อยากไปแต่ก็ต้องไปรีบวาดแล้วก็รีบกลับบ้าน (หัวเราะ) คือไม่ชอบอะไรที่ต้องแข่งขันรู้สึกว่ามันไม่สนุก โตมาเราเลือกเรียนสื่อสารมวลชนด้วยซ้ำ แต่ความชื่นชอบในงานศิลปะมันก็คงยังอยู่ในตัวเราแหละ ทีนี้ตอนเราเรียนมหาวิทยาลัย นิตยสาร a day เขารับสมัครเด็กนักศึกษาไปทดลองทำงาน เราก็ไปสมัครเป็น a day junior รุ่นที่สอง รุ่นเดียวกับ เต๋อ (นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์) พอไปทดลองทำงานที่ a day เป็นกองบรรณาธิการ เขียนต้นฉบับ ทำสัมภาษณ์ทั่วไป เราก็ได้ไปงานต่าง ๆ ไปออกกอง ไปทำข่าว เราก็ได้เห็นว่าวงการศิลปะ หรือวงการสร้างสรรค์เขาไปถึงไหน เขาทำอะไรกันบ้าง ทีนี้พอจบจากการเป็น อะเดย์ จูเนียร์ แล้วเราก็ ไปทำงานอีกสอง-สามแห่ง จนได้มาทำงานที่นิตยสาร Waltz ซึ่งเป็นที่มาของการเริ่มทำงานตัดกระดาษนี่แหละ เพราะเป็นบริษัทเล็ก ๆ เราก็เลยค่อนข้างได้ทำเยอะ มีส่วนร่วมเยอะขึ้น ผู้ใหญ่เขาให้อิสระด้วยแหละ เหมือนเราอยากทำอะไรเราก็ทำ ตอนนั้นก็เลยแอบเอางานเปเปอร์คัต งานคอลลาจของตัวเอง ที่เคยทำเล่น ๆ เป็นงานอดิเรกไปลง


ทำไมถึง เปเปอร์คัต ถึงเป็นงานอดิเรก ทั้ง ๆ ที่มันทำอย่างอื่นก็ได้ เช่นวาดรูป เขียนบล็อก ฯลฯ ตอนนั้นเราก็ลองวาดรูปนะ แต่ก็รู้สึกว่าเราวาดไม่เก่งแหละ แล้วพอช่วงนั้นได้ไปเจอเว็บไซต์ชื่อ ‘Illustration Friday’ ที่เปิดโอกาสให้ใครก็ได้มาทำงานศิลปะ โดยทุกวันศุกร์เขาจะโยนหัวข้อมาให้ เช่นศุกร์นี้หัวข้อคือคำว่า ‘Happy’ อะไรอย่างนี้ แล้วทีนี้ถ้าใครอยากมีส่วนร่วม คุณก็ทำงานศิลปะ อะไรก็ได้ที่เกี่ยวกับหัวข้อแล้วโยนลิงค์ลงไป เขาก็จะแบ่งเป็น category แล้วเราก็สามารถไปดูงานของคนอื่นได้ คนอื่นก็สามารถมาดูงานของเราได้ เราก็เลยคิดว่าไหน ๆ ก็ไหน ๆ แล้วทำงานที่เราชอบก็แล้วกัน ก็เริ่มมาเป็น collage ที่เราทำคอลลาจเพราะรู้สึกว่ามันง่าย เราไม่ต้องวาดก็ได้ เราแค่ตัดแปะง่าย ๆ เลย ตอนนั้นสเกลมันยังแค่ตัดแล้วเอามาแปะ ยังไม่ไปถึงการตัดกระดาษอย่างทุกวันนี้

เราก็เอางานคอลลาจนั้นแหละมาลงบล็อก แล้วมีคนเห็นก็ชวนเราไปทำภาพประกอบคอลัมน์ในนิตยสาร ก็เริ่มจาก a day นี่แหละ ก็ทำงานภาพประกอบที่เป็นคอลลาจใช้ชื่อว่า ‘Collagecanto’ ได้สักระยะหนึ่งเราก็เริ่มลดงานตัดแปะ แล้วใส่งานเปเปอร์คัต ใส่งานตัดกระดาษซึ่งมีรายละเอียดมากกว่าลงไปให้มากขึ้นเพราะเราไปเจองาน เปเปอร์คัตติ้งที่แบบ ‘เฮ้ย น่ารักสวย’ อะไรแบบนี้ อย่างงานของคุณ ร็อบ ไรอัน คุณ โบวี่ ลี ต่าง ๆ พวกนี้ มันก็เปิดโลกเราไปเรื่อย ๆ เพราะงานเขามีรายละเอียดมาก ๆ แล้วเราก็รู้สึกว่า เอ้อ พอเราเริ่มทำ แล้วมันทำได้ ทำได้นี่หมายถึงว่า ไม่ได้ออกมาสวยแต่ก็ไม่ได้รู้สึกว่ามันยากเกินที่จะพยายามทำ เราก็ตั้งใจว่าจะลองทำงานเปเปอร์คัตติ้งให้จริงจังมากขึ้น ประกอบกับช่วงนั้นเรากลายมาเป็นฟรีแลนซ์เต็มตัวแล้วด้วย (หัวเราะ) ก็เลยมีเวลาว่าง ได้ลองทำทุกวัน ทำเสร็จก็ถ่ายรูปลงบล็อก ประกอบกับช่วงนั้นเริ่มมี IG มี เฟซบุค เราก็เอางานตัดกระดาษที่ทำนี่แหละโพสต์ลงไป คนก็เห็น ก็เริ่มมีคนติดตามมากขึ้น แค่มีคนมาคอมเมนต์แค่คน-สองคนเราก็ดีใจจะตายแล้ว (หัวเราะ) เราไม่ได้คิดว่าจะต้องดังหรืออะไร เราอยากแค่มีที่หนึ่งสำหรับเก็บงานของเรา
ให้เราได้ทดลองอะไรมากขึ้นด้วย"
แล้วตอนไหนที่งานของเราเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น
ก็ช่วงที่ลดงาน คอลลาจแคนโต้ แล้ว และทำงานภาพประกอบให้เป็นเปเปอร์คัตมากขึ้นนั้นแหละ คนเห็นมากขึ้น เขาก็แชร์ออกไป เพื่อนแชร์บ้าง เราแชร์บ้าง ก็เริ่มมีคนชวนไปทำนู่นนี่ เราก็พยายามทำงานให้มันได้เยอะ ๆ เพราะเราก็อยากรู้ด้วยว่าถ้าเราทำอย่างนั้นอย่างนี้ได้ไหม ใช้กระดาษแบบนี้แล้วก็เปลี่ยนเป็นใช้กระดาษแบบนี้ได้ไหมอะไรอย่างนี้ การมีคนมาชวน ทำอะไรเยอะขึ้นก็เปิดโอกาสให้เราได้ทดลองอะไรมากขึ้นด้วย
ทดลองที่ว่านั้นเช่นอะไรบ้าง ยกตัวอย่างให้ฟังหน่อย
อย่างตอนแรกที่ทำ เปเปอร์คัต บัวใช้กระดาษสีดำ เพราะว่ามันหาง่าย ๆ เราก็ไปซื้อตามร้านเครื่องเขียน เพราะที่ใช้กระดาษสีดำ เพราะเวลาเราวาดเส้น เราวาดด้วยดินสอสี พอวาดแล้วมันก็ตัดได้ง่าย ๆ ทีนี้พอทำด้วยกระดาษสีดำมาพักหนึ่ง เราก็อยากลองเปลี่ยนมาเป็นกระดาษสีขาวบ้าง เพราะกระดาษสีขาวมันถ่ายรูปสวยดี มันแบบเล่นแสงเล่นอะไรสวยกว่าอะไร แม้มันจะทำงานยากขึ้น แต่ก็สนุกดี ก็จะกลายเป็นชอบตัดงานที่มันมีความละเอียดมาก ๆ เพราะว่าชิ้นเล็ก ๆ เนี่ยบัวชอบมากกว่า เพราะว่ามันคอนโทรลง่ายกว่า

แต่ถ้าเผลอนิดเดียวมันก็ขาด
ใช่ เผลอนิดเดียวมันก็ขาด แต่มันก็สนุกดีที่จะทำยังไงไม่ให้มันขาด หรือว่าจะทำยังไงให้มันสวยเรียบเนียน

ความสนุกของงานเปเปอร์คัตมันอยู่ตรงไหน
มันสนุกตอนที่เราได้นั่งทำ เหมือนอารมณ์คนเล่นดนตรี หรือคนที่ทำอะไรบางอย่างที่เข้าไปในโลกของมันแล้ว มันก็จะมีสมาธิ มันทำให้รู้สึกว่าเราใช้เวลาอย่างมีประโยชน์ แล้วก็จะชอบเวลาที่เราจะทำไปได้ครึ่งหนึ่งแล้ว พลิกดู เอ้อ มันใช่อย่างที่คิดด้วย แล้วก็ชอบตอนที่มันเสร็จมาแล้วก็ เอ้อเสร็จแล้ว ทำอะไรต่อดีอะไรแบบนี้
งานลงมีดละเอียด ๆ แบบนี้ เวลาหงุดหงิดทำได้ไหม
ก็ทำได้ แต่ทำได้ไม่นาน
ทำไมล่ะ
ก็มันหงุดหงิดน่ะสิ (หัวเราะ) หงุดหงิดคือมันไม่มีสมาธิใช่ไหม แล้วงานแบบนี้มันต้องใช้สมาธิ ถ้าในหัวเรา มีเรื่องนู้นเรื่องนี้ หงุดหงิดหรือเสียใจ เราก็ทำได้ไม่ต่อเนื่อง ไปนอนดีกว่า (หัวเราะ) อะไรแบบนี้ จริง ๆ ให้ทำมันก็ทำได้นะ แต่ทำได้ไม่นาน หรือทำได้แต่งานมันดูออกว่างานมันไม่ละเอียด ไม่คม ไม่เก็บนู่นเก็บนี่ ให้เรียบร้อย หรือบางมีเห็นรอยสเก็ต รอยแบบ อะไรแบบนี้
ใจเย็นเฉพาะกับงานตัดกระดาษ มันแยกกัน"



งาน เปเปอร์คัต เป็นงานที่ละเอียดและบอบบางมาก ต้องใช้สมาธิและความตั้งใจสูง เนื่องจากเผลอหรือใจลอยนิดเดียว ก็อาจตัดจนขาดหรือตัดผิดได้ การทำงาน เปเปอร์คัต นาน ๆ มันช่วยเปลี่ยนตัวตนหรือ mindset ของคุณบ้างไหม
ตลกดีที่ งานนี้มันทำให้เราเป็นคนที่มีสมาธิมากขึ้น แต่...บัวค้นพบว่า บัวมีสมาธิกับการทำสิ่งนี้อย่างเดียวเท่านั้นนะ ไม่ได้มีสมาธิกับสิ่งอื่นนะ คือมันไม่ได้ช่วยให้บัวใจเย็นกับสิ่งอื่นนะ ใจเย็นเฉพาะกับงานตัดกระดาษ มันแยกกัน

เรื่องอื่นก็ยังใจร้อนอยู่
เรื่องอื่นก็ยังเบ๊อะ ๆ บ๊ะ ๆ อยู่ เดินชนนู่นนั่นนี่อะไรแบบนี้ เพียงแต่ว่าพอมันเป็นงาน เราก็นิ่ง เอาตัวเองเข้าอยู่ในงาน มันก็ทำให้เรารู้สึกว่ามันได้ใช้เวลาค่อนข้างคุ้มค่ามากกว่าการทำอย่างอื่น แต่ว่าช่วงหลังเราจะไม่เพลินหรือสนุก กับการตัดกระดาษมากไปเพราะมันปวดหลังมาก

งานของคุณไปที่คานส์ได้ยังไง
ประมาณปี 2013-14 เป็นช่วงแรก ๆ ที่เราทำงานเปเปอร์คัตเต็มตัว เราได้ทำงานกับ โอกิลวี่ฯ เขาก็ส่งงานเราไปที่ คานส์ ไลออนส์ งานที่ทำตอนนั้นใช้ชื่อว่า ‘Olfa’ เป็นยี่ห้อคัตเตอร์ชื่อ Olfa จริง ๆ ตอนนั้นตัวโปรเจคต์หลักไม่ใช่บัว มีศิลปินที่เขาทำงานหลักเป็นแบบสเกลใหญ่จัดการอยู่ แต่ว่า มันจะมีงานที่เป็นแบบพวกงานเครื่องประดับ พวกแพ็กเกจจิ้ง ซึ่งตัวนี้ยังไม่มีคนทำ เขาก็เลยหาคนที่แบบนี้ได้ บังเอิญว่าเพื่อนบัวที่ทำกับเอเจนซี่เขาแนะนำบัว เขาก็เลยเรียกบัวเข้าไปดูว่าทำได้ไหม เราตอบว่าทำได้ ก็เลยได้ไปทำ แต่ตอนนั้นบัวก็ไม่ได้คิดว่า มันจะได้รางวัลอะไรนะ แค่คิดว่างานพวกแพกเกจจิ้ง accessory อะไรอย่างนี้เรายังไม่เคยทำ ตอนนั้นมั่นใจมาเต็มที่ว่าทำได้ ทั้งที่เวลาทำน้อยด้วย แล้วพอมันมีโปรดักชั่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย มีทีมงานมาร่วมด้วยก็ยากขึ้นอีกหน่อยแต่งานเราก็ถูกถ่ายโดยทีมงานที่เขาคิดมาดีแล้ว ดังนั้นการที่งานได้รางวัล Gold ที่คานส์ฯ บัวมองว่าเป็นรางวัลของกลุ่มมากกว่ารางวัลของเรา เหมือนจัดบอร์ดกับเพื่อนแล้วได้รางวัลร่วมกันอะไรอย่างนี้ (หัวเราะ)
ตลอดเดือนเมษาเราอยู่ในห้อง ไม่มีสงกรานต์ ไม่มีเฟสติวัลใด ๆ"


นั่นก็ทำให้เริ่มมีคนจับตาเรามากขึ้น
มันก็ทำให้เราเริ่มมีโปรไฟล์ แล้วเราก็จะมีคอนเน็คชั่นกับเอเจนซี่ด้วยมากกว่า หลังจากงานนั้น เราก็ได้ทำงานในปีต่อมาก็คืองาน ‘Artquarium’ ตัดกระดาษใส่ลงไปในตู้ปลา อันนั้นก็เป็นงานที่ค่อนข้างเปลี่ยนชีวิตเราเหมือนกันคือเราได้ทำคนเดียวเลย ตอนนั้นโอกิลวี่ฯ เขาเรียกไปเพราะว่าเขามีโปรเจ็กต์ ‘Artquarium’ อยู่แล้วบังเอิญมันเหมาะกับสิ่งที่เราอยากทำพอดี คือหนึ่ง ตอนนั้นบัวใช้กระดาษขาวเต็มตัวแล้ว กับสองคือบัวชอบงานที่มันเป็นเลเยอร์อยู่แล้ว รูปร่างบัวก็ชอบอะไรที่มันคล้าย ๆ พืชน้ำ หรืออะไรที่มันเป็นแบบมีรายละเอียดอะไรแบบนี้ ทุกอย่างมันก็เลยลงตัวกันพอดี ความท้าทายของงานนี้ก็คือเขาต้องการให้งานเราอยู่ในน้ำจริง ๆ มีปลาว่ายจริง ๆ เพราะลูกค้าคือกระดาษที่ทนน้ำได้ระดับหนึ่ง เราก็ต้องเอากระดาษตัวนั้นน่ะมาตัด มันหนา แล้วเคลือบกันน้ำด้วย คือหนาประมาณแบบสองร้อยแกรมกว่า ๆ เราก็แบบเอาเว้ย ตัดก็ตัด (หัวเราะ) ตัดไปห้าตู้ ตัดตู้ใหญ่แล้วก็เป็นตู้เล็กต่อ ตัดอย่างเดียวเดือนเมษายนเต็ม ๆ จำได้ว่า ตลอดเดือนเมษาเราอยู่ในห้อง ไม่มีสงกรานต์ ไม่มีเฟสติวัลใด ๆ แต่ก็ออกมาดี อันนี้ก็ได้ Gold เหมือนกัน

งาน Artquarium ค่อนข้างโดดเด่นมาก หลังจากนั้นเป็นยังไง เรากลายมาเป็นศิลปินเต็มตัวหรือยัง
พอหลังจากนั้นก็เหมือนเริ่มจริงจังมากขึ้นในแง่ที่เริ่มคิดว่าจะต้องขายงานบ้างแล้วอะไรอย่างนี้ เริ่มมีงานที่มีคอมมิสชั่น ไม่ใช่ภาพประกอบอย่างเดียว มีงานที่ดูจริงจังมากขึ้น สามารถที่จะขายได้ โชว์ได้ ก็ไปพวกงานโฮเต็ล อาร์ตแฟร์ต่างๆ เริ่มไปออกร้านบ้างตามพวกงานของTCDCที่เค้าทำพวกครีเอทีฟมาร์เก็ต แล้วก็มีเวิร์คช็อปด้วย เหมือนเพิ่มกิจกรรมอื่น ๆ ให้ตัวเองมากขึ้น เริ่มรู้สึกว่านอกจะตัด ฉึบ ฉึบ ฉึบไปเฉย ๆ เราควรจะมาใส่ใจในการขายของบ้าง (หัวเราะ) เพราะว่าถึงเราจะบอกว่าเราทำงานนี้เป็นงานศิลปะแต่เราไม่ได้ถึงกับว่าต้องไปดูนิทรรศการทุกงาน ต้องอินกับทุกย่าง ต้องรู้จักทุกคนในวงการ ซึ่งเราไม่ใช่ เราไม่ได้เรียนศิลปะ ไม่มีเพื่อนหรือคอมมูนิตี้ที่เป็นรุ่นพี่รุ่นน้องที่เป็นอาจารย์ศิลปะ ช่วงหลังถ้ามีสัมมนา มีเวิร์คช็อป อื่น ๆ เราก็พยายามเอาตัวเราเข้าไปอยู่ตรงนั้น เพราะว่าเราก็อยากรู้จักคนอื่น อยากจะไปจอยกับคนอื่นบ้าง เพราะว่าบางทีทำงานเปเปอร์คัตอย่างเดียวมันก็ปิดตัวเองนะ เราก็อยากเรียนรู้เทคนิคอื่นบ้าง อยากรู้ว่ามันเอาไปทำอย่างอื่นได้ไหม เราต้องหนทางอื่น ๆ ด้วยนะ เพราะว่ามันก็คืออาชีพของเราแล้ว

แล้วกลายมาเป็น Artist in residence ที่เพนนินซูลาได้ยังไง
ทางโรงแรมก็ติดต่อมา ปีนี้น่าจะเป็นปีแรกที่ทำโครงการนี้นะ เขาทำทุก ๆ สามเดือน บัวเป็นคนที่ 4 แล้ว ก่อนหน้านี้สามคนก็เป็นศิลปินแขนงอื่น ๆ ของเรา เขาก็คงจะสนใจงาน เหมือนเคยเห็นงานกันอยู่ พอเขาติดต่อเข้ามาบัวก็ตกใจ เพราะเราต้องมาอยู่ที่นี่ 3 เดือน แล้วก็ทำงาน โรงแรมเขาก็มีคอนเซ็ปต์ว่าอยากทำ ในธีมคริสต์มาส เพราะเราเป็นคนสุดท้ายของปีพอดี เราก็กลับไปคิดว่าจะสร้างงานอะไรให้เป็นคริสต์มาส ก็เลยได้คอนเส็ปต์ว่าเป็น ‘My lacy Christmas’ เพราะว่าบัวชอบลูกไม้ (lacy) ชอบลวดลายของลูกไม้ คือก่อนหน้านั้นบัวเคยตัดลูกไม้มาเหมือนกัน มันขยึกขยึยดี (หัวเราะ) บัวชอบลูกไม้ที่เป็นลูกไม้จริง ๆ ไม่ใช่ดราฟต์เวกเตอร์แล้วเอามาตัด ตอนแรกก็เกร็ง ๆ ว่าที่นี่เขาจะแฮปปี้ไหมนะ งานมันจะโอเคไหม แต่คนก็ชอบกัน อย่างที่ดิสเพลย์ที่ล็อบบี้โรงแรมสามชิ้นนั่นก็เป็นงานชิ้นใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยทำ บัวเป็นคนทำงานเล็กนะ ดังนั้นนี่จึงเป็นอะไรที่ท้าทายบัวมาก ๆ

Bed, Blade and Breakfast with Bua Smith
/
เป็นอีกปีที่เราได้ไปเยือนจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย นอกจากจะได้เที่ยวชม Art scene สัมผัสวัฒนธรรมของเมืองแล้ว ที่นี่ยังเป็นสถานที่จัดแสดง Art Jakarta 2024 เทศกาลศิลปะร่วมสมัยที่มีบทบาทช่วยขับเคลื่อนวงการศิลปะร่วมสมัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้มีสีสันและเป็นที่จับตาของคนรักศิลปะทั่วโลกมาตั้งแต่ปี 2009 เทศกาลนี้มีอะไรน่าสนใจ แล้วทำไมถึงควรค่ากับการกลับไปซ้ำอีกในปีหน้า
/
ท่ามกลางไฟสงครามจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล - ปาเลสไตน์ ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตนับหมื่นคน รวมถึงผู้บาดเจ็บหลายหมื่นคน และผู้พลัดฐิ่นฐานบ้านเกิดนับแสนคน และสงครามยังคงมีทีท่าว่าจะไม่ยุติลงง่ายๆ ซึ่งความขัดแย้งที่ว่านี้ไม่เพียงเกิดจากสาเหตุทางเชื้อชาติและความแตกต่างทางศาสนาเท่านั้น หากแต่ยังเกิดจากการแทรกแซงของชาติมหาอำนาจจากโลกตะวันตกอีกด้วย
/
หลังจากคลายล็อคดาวน์ให้ผู้คนสามารถออกไปใช้ชีวิตได้มากขึ้นนิดหน่อย เราสามารถออกไปทานข้าว นั่งคาเฟ่ เดินห้างสรรพสินค้า หรือกระทั่งออกไปชื่นชมงานศิลปะ สิ่งเหล่านี้ที่เราต่างเคยทำมันในชีวิตประจำวันจนเป็นเรื่องปกติ กระทั่งเราได้รับรู้ว่าการขาดสิ่งเหล่านี้ไปเป็นระยะเวลานานในช่วงเวลาเช่นนี้ คงยิ่งทำให้ใครหลายๆ คนรู้สึกหดหู่หัวใจไม่มากก็น้อย เพราะการใช้ชีวิตทุกวันอยู่ให้ห้องสี่เหลี่ยม ขาดความหลากหลาย ขาดสีสัน ไร้ซึ่งการพบปะผู้คนมันช่างหมองหมน จึงขอพาทุกคนออกมาจากห้องสี่เหลี่ยมของตนไปรับชมศิลปะพร้อมกับเปิดรับความรู้สึกใหม่ภายในตัวเรากับการแสดงนิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกของ ก้าม ธรรมธัช สายทอง ที่มีชื่อว่า ROOM063
/
ในช่วงเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ ที่จะถึงนี้ นอกจากจะเป็นช่วงเวลาแห่งการเริ่มต้นใหม่ของปีที่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ รอบตัวเราอย่างมากมายแล้ว ผู้สนใจติดตามความเคลื่อนไหวของวงการศิลปะในเมืองไทย จะยังมีได้โอกาสชมผลงาน ของอาจารย์ อนันต์ ปาณินท์ ในนิทรรศการที่ชื่อว่า Rhythm of Heartbeat ซึ่งจะจัดที่ MOCA Bangkok ในระหว่างวันที่ 16 มกราคม ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2564
/
นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่ อ้าย เวยเวย (ai weiwei) ศิลปินชาวจีนและนักเคลื่อนไหวทางการเมืองวัย 63 ผู้มีผลงานด้านศิลปะหลากหลายรูปแบบ และได้รับการยอมรับจากทั่วโลกในฐานะผู้วิพากษ์วิจารณ์สังคมและวัฒนธรรมจีน ได้เปิดนิทรรศการผลงานศิลปะของตัวเองที่ชื่อ "Year of the Rat" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในงาน Bangkok Art Biennale 2020 โดยนิทรรศการได้เปิดให้ชมแล้วที่ Tang Contemporary Art ชั้น 2 ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก ถนนสี่พระยา
/
หากเป็นช่วงเวลาปกติ ตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา อาจารย์ สมบูรณ์ หอมเทียนทอง จะจัดแสดงนิทรรศการชุด “Die Schöne Heimat” (ดี-เชินเน-ไฮมัท) ซึ่งเปิดให้ชมทาง JWD Art Space (ซอยจุฬาลงกรณ์ 16) ไปจนถึงราวกลางเดือนมิถุนายน
We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )