LOOKING ON EVERYTHING ?
EXPLORE ON EVERYTHING

เปิดวิสัยทัศน์ ชนะ สัมพลัง
ผู้สมัครรับเลือกตั้ง นายกสมาคม
สถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์
หมายเลข 4 วาระปี พ.ศ. 2563-2565
ชนะ สัมพลัง หรือที่สถาปนิกทุกคนรู้จักกันดีในชื่อ “พี่โอ๋” ปัจจุบันเป็นผู้บริหารบริษัทสถาปนิก 49 (A49) ที่วันนี้ตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่งนายกสมาคมสถาปนิกสยาม (หมายเลข 4) กับบทสัมภาษณ์ที่เผย 4 นโยบายสำคัญที่เขาเชื่อว่าจะเปลี่ยนวงการ และสร้างความสัมพันธ์ให้กับสถาปนิกทุกคนได้

ทำไมคุณถึงตัดสินใจลงรับสมัครเลือกตั้งนายกสมาคมฯในครั้งนี้
ผมคิดว่ามันถึงเวลาที่สมาคมฯ น่าจะมีความเปลี่ยนแปลงบ้างแล้ว เปลี่ยนแปลงทั้งวิธีการทำงานและการพัฒนาให้ขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง ผมคิดว่าด้วยอายุประมาณผม สามารถสื่อสารกับสถาปนิกได้ทุกระดับ ทั้งที่เด็กกว่า ทั้งที่อายุเท่ากัน หรือแม้แต่รุ่นพี่ๆ ผู้ใหญ่ และผมคิดว่าด้วยโพสิชั่นและความเป็นตัวของผม นั้นสามารถทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เช่นสภาฯ หรือสมาคมวิชาชีพอื่นๆ ซึ่งผมก็มีความสัมพันธ์อันดี ผมคิดว่าด้วยสิ่งที่ผมมีมันทำให้สมาคมสถาปนิกน่าจะทำงานร่วมกับส่วนอื่นๆ หรือเป็นศูนย์กลางของบางอย่างได้ ก็เลยเกิดความคิดว่าเราน่าจะมีศักยภาพพอที่จะทำงานให้สมาคมสถาปนิกฯ มีทิศทางใหม่ๆ ไปอีกระดับหนึ่งได้


นโยบายของคุณแตกต่างจากคนอื่นอย่างไร
ผมมีนโยบายหลักอยู่ 4 ข้อ ข้อที่หนึ่งได้แก่ การทำให้คนในวงการสถาปนิกมีความภาคภูมิใจในวิชาชีพของตัวเอง อันนี้เป็นข้อที่สำคัญที่สุดเพราะสถาปนิกไม่ใช่มีแค่ดีไซเนอร์อย่างเดียว แต่มันรวมถึงฝ่ายตรวจงาน โปรดัคชั่น คนออกแบบ ล้วนเป็นสถาปนิกทั้งหมด แม้กระทั่งดราฟต์แมน คนทั่วไปจะเข้าใจว่าคนออกแบบบ้านเป็นสถาปนิกอย่างเดียว ถ้าสมาคมสามารถทำให้สถาปนิกแต่ละคน ในแต่ละกลุ่มภูมิใจในหน้าที่ได้ มันก็น่าจะเป็นการยกระดับไปอีกขั้นหนึ่ง ผมคิดว่าตรงนี้ถ้าเราออกแบบโครงสร้างดีๆ มีโอกาสให้สถาปนิกแต่ละคนทำงานที่เขาภาคภูมิใจได้มันก็มีโอกาสที่ทำให้วงการสถาปนิกช่วยขยับประเทศได้อีกระดับหนึ่งเช่นกัน ผมคิดว่าสมาคมต้องยกเรื่องนี้มาให้ความสำคัญ ทำได้หรือไม่ได้ ได้ตอนไหนก็อีกเรื่อง แต่มันเป็นเรื่องที่เราต้องหยิบยกขึ้นมา แต่ผมคิดว่าผมสามารถทำได้ มีความเป็นไปได้สูง

นโยบายข้อที่สอง คือการทำให้งาน “อาษาอะวอร์ดส์” ซึ่งเป็นงานแจกรางวัลทางสถาปัตยกรรมที่สถาปนิกไทยภาคภูมิใจทุกคนให้กลายเป็นงานที่คนต่างชาติรู้จัก ให้มันเป็นรางวัลระดับนานาชาติ อย่างงาน WAF (World Architecture Festival) มันเพิ่งเกิดขึ้นมาไม่กี่ปี แต่ทำไมทุกคนรู้จักหมด ทุกคนจำได้ เพราะฉะนั้นเราจะทำยังไงให้งานอาษาฯ มันกลายเป็นงานระดับนานาชาติ ให้คนต่างชาติรู้จัก ทั้งๆ ที่รางวัล “อาษา อะวอร์ดส์” เป็นรางวัลที่เราได้รับพระราชทานจากพระเทพฯ (สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี) ซึ่งมีความสำคัญมาก เราอยากทำให้มันสำคัญขึ้นไปอีก

นโยบายข้อที่สามคือการสร้างหน่วยงานที่ช่วยแก้ไขปัญหาให้สถาปนิก ผมว่าสถาปนิกทุกคนที่ทำงานน่าจะเจอปัญหานี้เหมือนกันหมด นั่นคือไม่รู้กฎหมาย ไม่รู้ว่าควรจะจดทะเบียนบริษัทยังไง ไม่รู้ว่าเมื่อออกไปทำงานนอกประเทศแล้วจะเซ็นสัญญาในลักษณะไหนที่จะไม่ทำให้เราเจ็บตัวกลับมา ไม่เสียเปรียบเขา ผมว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องรู้เป็นพื้นฐานสำหรับสถาปนิก ซึ่งจริงๆ ในปัจจุบันสมาคมฯ ก็พยายามทำอยู่แล้วนะ มีเว็บไซต์ให้อ่าน แต่ผมว่ามันต้องไปอีกขั้นหนึ่งเลย นั่นคือมีหน่วยงานที่สถาปนิกทุกคนเดินเข้ามาขอคำปรึกษา มีคนคอยให้คำปรึกษาได้ หรือแม้แต่ใครที่จะถูกฟ้องร้องจากหน่วยงานองค์กรไหน ก็สามารถมาขอความช่วยเหลือได้ ข้อนี้ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่สมาคมควรสนับสนุนให้สมาชิกได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องไปด้วย และทำให้สมาชิกก็อยากเป็นส่วนหนึ่งของสมาคม แต่ปัจจุบันนี้หลายคนยังคิดว่าเป็นสมาชิกเพียงเพื่อไปฟังเลคเชอร์อย่างเดียว มันก็คงไม่เกิดประโยชน์อะไรมากนัก
นโยบายข้อที่สี่ก็คือ...ถ้าเป็นภาษาราชการเขาเรียกการกระจายอำนาจ แต่ผมเป็นนักกิจกรรม ผมเชื่อในนักกิจกรรม มากกว่าการตั้งนายกฯ แล้วให้นายกฯ ไปตั้งทีมทำงานเพื่อให้เกิดกิจกรรม เราเป็นนักกิจกรรม เวลาที่เราอยากทำอะไรเราจะชูมือขึ้นมาแล้วบอกว่า เราอยากทำตรงนี้ เคลื่อนไหวในทางสถาปัตยกรรมให้พื้นที่ตรงนี้มีชีวิตชีวา ผมเชื่อว่าเราควรสนับสนุนให้สถาปนิกนักกิจกรรมในแต่ละภูมิภาคได้เคลื่อนไหวมากขึ้น เช่นทำไมเราไม่เคยมีกิจกรรมทางสถาปัตยกรรมทางตะวันออกเลย ทั้งที่พัทยา ตราด มีงานดีๆ เยอะแยะ มีสถาปนิกเยอะ อาจจะมีนักกิจกรรมเยอะ ถ้าเขาชูมือขึ้นมาว่าอยากทำอะไร เราก็จัดกลุ่มให้เขาได้ทำ เรามองว่ามันเป็นการกระจายอำนาจไปยังส่วนต่างๆ ด้วยเหมือนกัน ทำให้สถาปนิกนักกิจกรรมมีความยืดหยุ่น พร้อมที่จะทำ ที่ผ่านมามีความพยายามรวมกลุ่มนะ เช่นในภาคใต้เขาก็มีกลุ่มของเขา แต่มันก็ทำงานยากเพราะยังไงก็ต้องรวมศูนย์ แล้วก็เกิดการซ้อนทับกัน เราต้องไปบริหารจัดการให้เขาทำงานได้สะดวกขึ้น คล่องตัวขึ้น ไม่ทับซ้อนกัน


ดูเหมือนคุณมีความพยายามต้องการในการประสานสถาปนิกจากสถาบันต่างๆให้รวมกันเป็นสมาคมในวิชาชีพเดียวกัน โดยไม่มีการแบ่งแยกเป็นสถาบัน
ถ้าคุณเชื่อว่าสถาปนิกมันแบ่งสถาบันจริงๆ ก็แปลว่ามันมีจริงๆ ส่วนตัวผมไม่เคยเห็นว่าสถาบันต่างๆ จะมีส่วนกีดกั้นการทำงานของสถาปนิก ประเด็นนี้ไม่ใช่คำถามของผมเลย ผมคิดว่าถ้าจะแบ่งเป็นสถาบันมันก็เกิดขึ้นแค่ตอนเรียนในมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เปิดสอนสถาปัตยกรรมเท่านั้น แต่พอจบออกมาทำงานแล้วมันก็เท่าเทียมกันทั้งนั้น น้องๆ ก็อาจจะเก่งกว่าพี่ๆ ก็ได้ พี่ๆ ก็ต้องพยายามมากขึ้นไปอีก มันเป็นการแบ่งด้วยเจเนอเรชั่นมากกว่าการแบ่งเป็นสถาบัน ผมไม่เชื่อเรื่องนั้น มันก็มีจริงๆ แหละเส้นที่เขาเอามาแบ่งกันด้วยสถาบัน แต่มันเอามาเพื่อตีกัน แต่ถ้าเราเชื่อว่าพอทำงานแล้วมันไม่หรอกสถาบัน ผมคิดว่ามันจะทำให้เราพัฒนาได้เร็วขึ้น กว้างขึ้น และแบ่งปันถ่ายทอดความรู้กันและกันได้ง่ายขึ้น ถ้าเราไม่แบ่งแยกกัน A49 เคยได้อะไรมา เราก็ไม่หวงที่จะแบ่งปันความรู้ให้น้องๆ เพื่อนๆ ซึ่งเราก็ไม่ได้รู้ทุกเรื่องหรอกแต่นั่นเราก็แบ่งปันกันในฐานะเพื่อน แต่ถ้าสมาคมมีการแบ่งปันความรู้แบบนี้มันก็ช่วยพัฒนาสถาปนิกทุกคนได้อย่างเป็นเรื่องเป็นราว เราหาคนที่รู้แง่มุมต่างๆ เช่นการอนุรักษ์ การทำงานบนอาคารเก่า เราก็หาคนที่รู้เรื่องแบบนี้มาส่งมอบกันได้



คิดว่าถ้าคุณได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมฯ คุณจะแก้ปัญหาอะไรได้บ้าง
ผมแยกเป็นสองเรื่องได้แก่กิจกรรมกับการบริหารสมาคม ซึ่งผมมองมันเป็นการบริหารองค์กรอีกแบบหนึ่ง เอาเรื่องกิจกรรมก่อน ผมมองว่ามันเป็นเรื่องดี ไม่มีกิจกรรมไหนที่ต้องแก้ไข มันดีหมดเลย มีก็แค่ว่าเราจะทำยังไงให้กิจกรรมต่างๆ มันมีประสิทธิภาพ ให้มันสื่อสารได้ตรงประเด็น รวดเร็ว สมมติว่าเกิดเหตุแผ่นดินไหว แล้วเราจะจัดกิจกรรมให้ความรู้ในทันที ในเวลาอันสั้นได้ยังไง ที่ผ่านมาการทำงานของสมาคมฯ ก็อาจจะช้า ส่วนเรื่องการทำงานในสมาคมฯ คือถ้าเรารวมคนทั้งประเทศมา มานั่งคุยกันทั้งวัน แปดชั่วโมง ได้เรื่องเดียว ผมคิดว่าแบบนี้มันไม่ค่อย effective เพราะฉะนั้นถ้าเราแก้สองเรื่องนี้ได้คือทำกิจกรรมให้สนุก ตรงประเด็น กระชับ คนที่ทำกิจกรรมมีเวลากลั่นกรองสิ่งต่างๆ ทำงานได้ในเวลาอันสั้น การทำงานของสมาคมก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น แก้ปัญหาให้สมาชิกได้มากขึ้น
คิดว่าจะทำยังไงให้เกิดการร่วมมือกันระหว่างสถาปนิกรุ่นใหม่กับรุ่นเก่ามากขึ้น
ผมคิดว่าถ้าคนที่เป็นหัวหน้า เขามีความยืดหยุ่น รับฟังความเห็นทุกคน สื่อสารได้อย่างเข้าใจกัน มันก็จะทำให้เกิดการประสานกัน ผมหมายถึงว่าใครก็ได้นะ ไม่จำเป็นต้องเป็นผมก็ได้ ที่ทำแบบนี้ได้ มีสามส่วนนี้ชัดเจนก็จะทำให้สถาปนิกทุกคนอยากวิ่งเข้ามา ถามว่าในแต่ละองค์กร ไม่ว่าจะเป็นสมาคมฯ สภา สมาคมวิชาชีพอื่นๆ หรือแม้แต่องค์กรของรัฐ ถ้าสื่อสารที่ดีไม่แบ่งส่วน แยกเขาแยกเรา มีการสื่อสารกันประจำปีละ 2-3 ครั้ง สร้างให้เกิดอีเวนต์ร่วมกันได้จริงๆ ผมว่าเชิญเขา เขาก็มาไม่มีใครปฏิเสธหรอก เพียงแค่มันยังไม้เกิดเหตุการณ์นั้น ต่างคนก็เลยต่างทำ ต่างคนก็ยุ่ง เพราะฉะนั้นคนที่จะทำให้ทุกคนมาร่วมกันได้ก็ต้องมีพาวเวอร์ มีความทุ่มเท มีสัมพันธภาพที่เหมาะสม มันถึงจะเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ได้ ผมเรียนจบมา 20-30 ปีแล้วมั้ง ผมก็ยังไม่เห็นว่ามันจะเกิดขึ้น วันนี้ถ้าผมได้ทำผมก็จะทำให้มันเกิดขึ้นเสียที
เคยคิดว่าถ้างาน “อาษาอะวอร์ดส์” ของเรามันกลายเป็นแบบงาน Milan fair แต่เจ๋งกว่าเพราะมีอินทีเรีย มีแบรนด์เฟอร์นิเจอร์ชั้นนำของโลกมาแสดงงาน มีฮอลล์หนึ่งที่มีต้นไม้ทั้งฮอลล์ เดินเข้าไปอยากรู้จักต้นอะไร ซื้อต้นอะไรก็มี มีฮอลล์เป็นผลงานของสถาปนิก มีฮอลล์หนึ่งเป็นเรื่องของผังเมือง คือถ้ามีคนที่เชื่อมทุกอย่างเข้าด้วยกันได้แบบนั้น ซึ่งผมก็อยากทำจุดนั้นนะ มันอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นในปี สองปีข้างหน้า แต่มันจะเป็นแผนระยะยาวได้ แล้วผมว่าเมืองไทยจะกลายเป็นเป้าหมายของวงการสถาปัตยกรรมของเอเชีย ไม่ต้องบินไปที่มิลาน บินมาที่เรา แล้วถามว่านายกฯ ของมัณฑนากรทำได้ไหม ผมว่าทำได้ สมมติว่าผมเป็นนายกฯ ของสถาปนิก ผมทำได้ แม้แต่นายกสภาฯ ที่เขาเป็นคนรุ่นใหม่ ผมก็เชื่อว่าเขามีแรง มีศักยภาพที่จะทำได้ มันจะสร้างความเคลื่อนไหวใหม่ๆ ได้



มีความมั่นใจแค่ไหนในการลงรับสมัครเลือกตั้งครั้งนี้
ผมว่าผมเป็นตัวเต็งคนหนึ่งนะ ผมเชื่อว่าหลายคนคงกลัวว่าผมจะปลุกสถาปนิกเด็กรุ่นใหม่ที่ลืมบัตรเลือกตั้ง ให้หยิบบัตรแล้วกาส่งไปรษณีย์มาได้ ผมเชื่อว่าผมคอนเน็คต์กับเด็กๆ ได้ ผมแตะคนรุ่นเดียวกับผม หรือทำงานกับรุ่นพี่รุ่นใหญ่ๆ ได้ ผมเป็นเหมือนเจเนอเรชั่นที่เชื่อมตรงกลาง ความที่ผมเป็นคนชอบทำกิจกรรมแล้วยังทำอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งทุกคนก็เห็นกันตามสื่ออยู่แล้ว มันก็บอกอะไรบางอย่างแล้วว่ามีคนรู้จักผมเยอะ เยอะกว่าที่ผมรู้จักพวกเขาด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นผมก็ไม่ใช่คนของแค่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ไม่ใช่แม้แต่คนของ a49 ผมค่อนข้างกว้าง ถามว่ามั่นใจไหม ผมคิดว่ามั่นใจมากและยากสำหรับผู้รับสมัครคนอื่น
มีอะไรฝากถึงสถาปนิกผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งไหม
เช็คไปรษณียบัตร เช็คตู้ไปรษณีย์ ศึกษาว่าส่งอย่างไร (หัวเราะ) ถ้าทุกคนได้รับจดหมายก็อยากให้ช่วยกันส่ง เลือกใครก็ได้ เลือกผมก็ขอบคุณ แต่ทำยังไงก็ได้ให้การออกเสียงครั้งนี้มากกว่า 1,000 คน ที่ผ่านมาเรามีแค่ประมาณพันคน ถ้าวันนี้มีคนส่งมามากๆ ถ้าวันนี้ผมเกิดชนะขึ้นมา ในบรรดาผู้รับสมัคร 7 ท่าน มีหนึ่งคนที่เด็กที่สุดชนะขึ้นมา ผมว่ามันเป็นสัญญาณที่บอกอะไรบางอย่าง มันเล่าอะไรบางอย่างว่าในอนาคตนายกสมาคมสถาปนิกฯ จะเป็นใครก็ได้ วันนี้มันจะเป็นจุดเริ่มต้นการหมุน ผมเชื่อแบบนั้น เลือกเบอร์ 4 ครับ (หัวเราะ)
เปิดวิสัยทัศน์ ชนะ สัมพลัง ผู้สมัครรับเลือกตั้งตำแหน่ง นายกสมาคมสถาปนิกสยามฯ หมายเลข 4
/
เราเคยนำเสนอ 3 โปรเจกต์ออกแบบของ Jenchieh Hung + Kulthida Songkittipakdee / HAS design and research ที่สร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับงานรีเทลด้วยการผสานรูปแบบพิพิธภัณฑ์เข้ากับความเป็นโชว์รูมเฟอร์นิเจอร์ชั้นนำระดับโลก ที่ตั้งอยู่ในเมืองเหอเฝย์ ประเทศจีน ครั้งนี้เรายังมีอีก 2 โปรเจกต์ซึ่งตั้งอยู่ภายนอกอาคาร ประกอบด้วย Simple Art Museum และ Simple Design Archive โดยเรื่องของบริบทเชิงพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นที่สภาพแวดล้อม ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และสังคม ยังคงนำมาเป็นส่วนประกอบในแนวคิดการออกแบบที่ถ่ายทอดผ่านภาษาทางสถาปัตยกรรมในแบบ HAS design and research อยู่
/
บ้านหลังแรกที่สร้างขึ้นเองของคุณออมมี่ และคุณแบงค์ -ปรีดากร เมรเกรียงชัย Co-Founder แห่งแบรนด์ Gentle RAM บ้าน ที่ตอบโจทย์รสนิยมของทั้งสองที่หลงใหลในความ Timeless และการอยู่อาศัยที่อยู่สบาย เรียบง่าย พร้อมจัดระเบียบชีวิตในบ้านได้อย่างลงตัว บ้านที่ทุกพื้นที่ และทุกฟังก์ชั่นที่ทาง THE OTHERS ผู้ออกแบบได้ขบคิดมาอย่างพิถีพิถันไม่ต่างกับเสื้อผ้าที่เทรลเลอร์เมดให้พอดีกับเจ้าของบ้าน
/
หนึ่งในกิจกรรมจากเวที TOSTEM Asia Design Award (TADA) ซึ่งจัดขึ้นโดย TOSTEM เพื่อเฟ้นหาผลงานสถาปัตยกรรมในเอเชีย ที่มุ่งให้ความสำคัญกับเรื่องของธรรมชาติ ผสานเข้ากับนวัตกรรมการอยู่อาศัยสมัยใหม่ ตอบโจทย์ทั้งผู้ใช้งาน และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ซึ่งนอกจากผู้ชนะรางวัลจะได้ร่วมเดินทางไปรับรางวัลที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว ยังได้พบปะกับ Akihisa Hirata สถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงระดับโลก ที่มาแชร์มุมมองแนวคิดการออกแบบโปรเจกต์ต่าง ๆ ตั้งแต่งาน Installation Art บ้านพักอาศัย จนถึงอาคารสาธารณะ ซึ่งความน่าสนใจนอกเหนือจากเอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่ถ่ายทอดผ่านฟอร์ม และสเปซที่โดดเด่น และเป็นที่จดจำแล้วนั้น สำคัญคือปรัชญาหลักที่เป็นรากฐานความคิดของ Hirata สู่การพัฒนาเป็นสถาปัตยกรรมน่าทึ่งเหล่านั้น ซึ่งเราจะมาเจาะลึกแนวคิดที่ว่านั้นกัน
By TOSTEM/
ผสานบริบทธรรมชาติ สอดรับกับวัฒนธรรมท้องถิ่นได้อย่างลึกซึ้ง พร้อมถ่ายทอดสู่เอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรม ที่เติมเต็มทั้งสุนทรียศาสตร์ และตอบโจทย์การใช้ชีวิตผู้อยู่อาศัยได้ทุกมิติ คือจุดร่วมหลักของสองผลงานออกแบบบ้านที่ตั้งอยู่ใน 2 จังหวัดทางภาคเหนือ ที่คว้ารางวัล TOSTEM ASIA DESIGN AWARD 2024 (TADA 2024) ในกลุ่มประเภท “Special Mention for Sustainable Living” มาครอง
By TOSTEM/
ขึ้นชื่อว่าเป็นโปรเจกต์ออกแบบโดย HAS design and research ของสองสถาปนิกฝีมือแถวหน้าอย่าง คุณเจอร์รี่ หง (Jenchieh Hung) และคุณป้อ-กุลธิดา ทรงกิตติภักดี (Kulthida Songkittipakdee) แล้วนั้นรับรองว่ามิติที่ลึกซึ้งกว่าเรื่องของฟอร์มอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ทุกคนต่างทึ่งไปกับงาน“Aluminum Grotto and Public Ground” งานอินสตอลเลชันสุดอลังการที่จัดแสดงในงานสถาปนิก’67 ก็เป็นตัวอย่างของการผสานองค์ประกอบเรื่องของพื้นผิว-พื้นที่-โครงสร้าง-ฟังก์ชั่นให้เป็นหนึ่งเดียว ภายใต้ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ และเชื่อมระหว่างภูมิทัศน์ธรรมชาติ ศิลปะเชิงช่าง และวัสดุอุตสาหกรรมได้อย่างน่าตื่นตา มาถึงโปรเจกต์ใหม่ที่เป็นงานออกแบบรีเทลนี้ ทาง HAS ได้พยายามข้ามขนบบางอย่างของการออกแบบพื้นที่เชิงพาณิชย์ทั่วไป เพื่อสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับผู้ที่ได้ไปเยือน
/
กลายเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ในซอยจ่าโสด เมื่อเราได้พบกับอาคารสถาปัตยกรรมโมเดิร์นเรียบเท่ที่เต็มไปด้วยไดนามิคของเส้นสาย ส่วนคว้านโค้งซึ่งออกแบบมาเพื่อฟังก์ชั่น และเพื่อแสงธรรมชาติ เป็นอาคารโทนสีขาวสะอาดตาแต่ทำให้เราไม่อาจละสายตา กับเอกลักษณ์ดีไซน์ของอาคารที่ทอดตัวยาวพร้อมมีประภาคารเล็ก ๆ นี่คือ SANS STUDIO BANGKOK สตูดิโอแห่งใหม่ที่ก่อตั้งขึ้นโดยเจ้าของผู้สนใจในงานสถาปัตยกรรมและศิลปะการถ่ายภาพ หลังจากเรียนจบมาจากฝรั่งเศส โดยให้เป็นสตูดิโอที่รองรับงานถ่ายภาพ โปรดัคชั่น จนถึงอีเวนต์ ที่ได้ทาง PHTAA LIVING DESIGN มาเป็นบริษัทสถาปนิกออกแบบให้
We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )