Chandigarh | UTOPIA CITY ดินแดนที่สมบูรณ์หรือยูโทเปียชำรุด? | IAMEVERYTHING.CO

LOOKING ON EVERYTHING ?

EXPLORE ON EVERYTHING

Story & Photos :
Pahparn Sirima Chaipreechawit

เรากำลังพูดถึงหมุดหมายการเดินทางในครั้งนี้ อินเดียตอนเหนือ เมืองหลวงใหม่ของรัฐปัญจาบ เมืองที่ไม่ติดอันดับยอดฮิตเมื่อพูดถึงการเดินทางท่องเที่ยวอินเดีย แม้แต่กับชาวอินเดียด้วยกันเองก็ยังถือว่าเป็นเมืองที่ไม่มีอะไร แต่สำหรับนักเดินทางที่สนใจสถาปัตยกรรม ที่นี่คือแรร์ไอเทมที่พลาดไม่ได้โดยเด็ดขาด หนึ่งในผลงานมาสเตอร์พีซของสถาปนิกผู้ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งในโมเดิร์นเวิร์ด Chandigarh - ยูโทเปียซิตี้ ของ เลอ คอร์บูซิเยร์

Story & Photos :
Pahparn Sirima Chaipreechawit

เรากำลังพูดถึงหมุดหมายการเดินทางในครั้งนี้ อินเดียตอนเหนือ เมืองหลวงใหม่ของรัฐปัญจาบ เมืองที่ไม่ติดอันดับยอดฮิตเมื่อพูดถึงการเดินทางท่องเที่ยวอินเดีย แม้แต่กับชาวอินเดียด้วยกันเองก็ยังถือว่าเป็นเมืองที่ไม่มีอะไร แต่สำหรับนักเดินทางที่สนใจสถาปัตยกรรม ที่นี่คือแรร์ไอเทมที่พลาดไม่ได้โดยเด็ดขาด หนึ่งในผลงานมาสเตอร์พีซของสถาปนิกผู้ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งในโมเดิร์นเวิร์ด Chandigarh - ยูโทเปียซิตี้ ของ เลอ คอร์บูซิเยร์

เมืองที่ขึ้นชื่อว่าสะอาดที่สุด มีรายได้ของประชากรต่อหัวสูงที่สุด และตัวเมืองได้รับการจัดการที่ดีที่สุด ทั้งถนน เส้นทางเดินเท้า เลนจักรยาน รวบเรื่องการเดินทางที่ออกแบบอย่างลงตัว โดดเด่นในการวางผังเมืองที่ชัดเจนอย่างเป็นระบบระเบียบ นี่คือเมืองในจินตนาการที่เกิดขึ้นจริงของสถาปนิกระดับโลกสัญชาติสวิส-ฝรั่งเศส เลอ คอร์บูซิเยร์

ย้อนกลับไปช่วงปี 1951 เลอ คอร์บูซิเยร์ ได้รับเชิญจากนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นให้เป็นที่ปรึกษาของรัฐบาลปัญจาบ ในการก่อสร้างเมืองหลวงแห่งใหม่นี้ ภาพแปลนเมืองอุดมคติของโลกโมเดิร์น Plan Voisin ที่เลอ คอร์บูซิเยร์ เคยออกแบบไว้สำหรับนครปารีส เมืองหลวงของฝรั่งเศส นั้นไม่เคยถูกทำให้เกิดขึ้นจริง แต่ถูกนำเค้าโครงทางความคิดมาปรับเปลี่ยนและสร้างให้เกิดขึ้นจริงที่นี่ ภายใต้คอนเซปต์ของ Urban Design ในรูปแบบหน้าตาที่แตกต่างออกไป เริ่มจากการวางผังเมือง โดยแบ่งพื้นที่เมืองใหม่ออกเป็น Sector กำกับแต่ละเขตด้วยหมายเลข ตามการใช้งานหลัก 4 รูปแบบ ทั้งส่วนของที่อยู่อาศัย / พื้นที่การทำงาน / พื้นที่สีเขียว-สวนสาธารณะ และการเดินทางสัญจร โดยเปรียบเทียบเมืองกับร่างกายของมนุษย์แต่ละส่วน เชื่อมต่อกันด้วยถนนที่เปรียบเสมือนเส้นเลือดในร่างกายที่คอยหล่อเลี้ยงและเชื่อมโยงทุกการทำงานเข้าด้วยกัน

อยากเห็นว่ากริดเนี้ยบกริ้บขนาดไหน เปิด google map เซิร์ท chandigarh ลงไป คุณก็จะสามารถมองเห็นเส้นตารางที่แบ่งเมืองนี้ออกเป็นบล๊อคสีเหลี่ยม จากมุมมองแบบ god eyes view

He who understands history knows how to find continuity between that which was, that which is, and that which will be.
- Le Corbusier

เมื่อถึงเมือง Chandigarh เตรียมพาสปอร์ตให้พร้อม แล้วมุ่งหน้าขึ้นเหนือสุดที่ Sector 1 กับผลงานการออกแบบสถาปัตยกรรมของ เลอ คอร์บูซิเยร์ ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของยูเนสโก ‘Capitol Complex’ ศูนย์กลางการทำงานบริหารราชการของรัฐ ที่นี่ประกอบด้วยหลายอาคารที่ตั้งอยู่ไกลแบบพอให้มองเห็นกันอยู่ลิบๆ ทั้งอาคารศาลสูงและห้องพิจารณาคดี High Court, อาคารรัฐสภา Palace of Assembly และ อาคารสำนักงานเลขานุการ Secretariat พร้อมสัญลักษณ์ประจำเมือง ประติมากรรม Open Hand ที่ตั้งโดดเด่นอยู่กลางแดด พร้อมๆ กับ Tower of Shadows ที่อยู่ไม่ไกลกันนัก

Early bird catches the worm | นกที่ตื่นเช้าคือนกที่ได้....เข้าชมตึกในรอบแรกกกก

Capitol Complex เปิดทัวร์ให้บริการนักท่องเที่ยวได้จาริกแสวงสถาปัตยกรรมฟรี โดยแบ่งเป็นวันละ 3 รอบ 10:00 / 12:00 / 14:00 ไปก่อนเวลาซักเล็กน้อย ยื่นพาสปอร์ตแล้วเตรียมพร้อมเดินเท้ากลางแจ้ง พร้อมผู้นำชมในเครื่องแบบที่จะคอยเล่าแนวคิดเบื้องหลังสถาปัตยกรรมในแต่ละจุด เปิดตัวด้วยการเล่าถึงประวัติศาสตร์โดยรวมของ Capitol Complex ขอสารภาพด้วยใจสัตย์ซื่อว่าทันทีที่ได้เห็น High Court ตั้งตระหง่านด้วย 3 เสาหลัก เขียว-เหลือง-แดง และอาคารรูปทรงกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ทอดยาว ใจก็เตลิดไม่สนข้อมูลอีกต่อไป งานออกแบบด้วยคอนกรีตยักษ์พาย้อนเวลากลับเข้าไปอยู่ในหนังไซไฟยุค 80’s ที่พูดถึงโลกในอนาคต เซอร์เรียลมากขึ้นเมื่อได้เห็นผู้คนที่กำลังทำงานอยู่จริง เดินกันขวักไขว่ภายใต้อาคารใหญ่ยักษ์นี้ ผู้นำชมต้องคอยออกเสียงห้ามดังๆ เมื่อคณะลูกทัวร์ขวางพื้นที่การทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือบุคคลในแวดวงกฎหมายด้านการพิจารณาคดี - ไม่มีใครเตือนว่าเวลามีน้อยให้ใช้สอยอย่างประหยัด ผ่านไปประมาณ 15 นาที ยังไม่ทันหายประทับใจปนตกใจในความอลังการ ในขณะที่เราเพิ่งจะได้ยกกล้องขึ้นถ่ายภาพแรก ผู้นำชมก็เชิญให้เราไปต่อกันในจุดที่ 2 ของการทัวร์

Open Hand Monument ถูกสร้างขึ้นหลังจากเลอ คอร์บูซิเยร์เสียชีวิตไปกว่า 20 ปี ในความหมายที่พูดถึงสันติภาพ ‘To Give and To Receive’ ซึ่งกลายมาเป็นสัญลักษณ์ประจำเมืองชาดิการ์ ตัวประติมากรรมมือยักษ์สร้างขึ้นด้วยโลหะบางที่สามารถบิดหมุนได้ 360 องศาตามแรงของลมที่มาปะทะ แต่ส่วนที่ทำให้จุดนี้พิเศษมากขึ้นกว่าเดิมคือฐานที่ตั้ง ลักษณะเป็นแอ่งคอนกรีตสีเหลี่ยมเหมือนสระว่ายน้ำ และมีโพเดียมที่โผล่อยู่ใจกลาง เหมือนห้องประชุมกลางแจ้งขนาดใหญ่ ที่ไม่ธรรมดาด้วยเส้นสายของสโลปทางเดินลงและอัฒธจรรย์ที่นั่ง รวมถึงขั้นบันไดขนาดยาวล้อมรอบ ลองขึ้นไปยืนบนโพเดียมแล้วพูดด้วยเสียงดังฟังชัด จะพบว่าเสียงที่ผ่านออกไปก้องกังวาลด้วยระบบเซอร์ราวด์ตามธรรมชาติอีกด้วย

กว่าจะอิ่มเอมกับ Open Hand คณะทัวร์อีกส่วนก็เกือบจะจบการบรรยายในส่วนของ Tower of Shadows ซึ่งเป็นจุดถัดไปแล้ว เสียดายที่ทั้งเวลาน้อยและไม่ใช่ช่วงเวลาที่ดีที่สุดของการดูงานชิ้นนี้ ด้วยแสงอาทิตย์ที่เกือบขนานกับพื้น ทำให้ไม่เกิดเงาตามภาพสวยๆ ที่กูเกิ้ลสปอยล์ตัวเองเอาไว้ก่อนหน้านี้ แต่ก็ถือเป็นหนึ่งจุดพักในร่มที่การออกแบบช่วยคลายร้อนในวันที่ร้อนระอุได้เป็นอย่างดี ตรงไปอีกหน่อยเป็น Palace of Assembly ที่ไม่อนุญาตให้เข้าชมด้านใน แต่เฉพาะแค่รูปทรงอาคารจากด้านนอกที่มีสระน้ำขนาดใหญ่สะท้อนตัวตึก พร้อมประตูทางเข้าด้านหน้าก็เรียกร้องความสนใจไว้ได้ ด้วยผลงานภาพวาดศิลปะของเลอ คอร์บูซิเยร์เอง

ตึกสุดท้ายกับ อาคารสำนักงานเลขานุการ Secretariat ซึ่งขอแนะนำว่านี่คือไฮไลต์! หลังจากฝากของทุกชิ้นและรับทราบโดยทั่วกันว่าห้ามถ่ายภาพด้านในโดยเด็ดขาด ผู้นำชมก็พาเราเดินขึ้นทางสโลปด้านในอาคารสู่ชั้น 2 ที่ห้องรัฐสภาทรงกลม ภาพเพ้นท์ติ้งมหาตะมะ คานธี ตั้งตระหง่านอยู่ด้านหลังที่นั่งสูงสุด นอกจากความแปลกตาของผนังโค้งไล่สีแดงเหลือง เฉดเดียวกับตึก High Court พร้อมรูปทรงคล้ายก้อนเมฆสีดำตามผนังที่มีไว้เพื่อระบายอากาศแล้ว เรายังตื่นเต้นไปกับคอกที่นั่งที่กั้นด้วยแผ่นคอนกรีตทรงโค้งภายใน เฟอร์นิเจอร์ไม้ โต๊ะ-เก้าอี้บุหนังสีน้ำตาลสลับเขียวทุกชิ้น ถูกออกแบบให้เข้ากันอย่างลงตัวกับภาพห้องโดยรวม ในหนึ่งปีห้องนี้จะถูกใช้ประมาณ 3 ครั้งสำหรับการประชุมใหญ่เท่านั้น และถ้าใครไปเยี่ยมชมในวันที่มีการประชุมก็จะอดเข้าอาคารด้านในไปตามระเบียบ

จบทัวร์รอบแรกด้วยความประทับใจแต่ไม่สะใจ เพราะทุกอย่างเกิดขึ้นและผ่านไปไวเหมือนทัวร์รถบัสหย่อนขา การชมงานสถาปัตยกรรมนั้นต้องการเวลา เพราะไม่ใช่สิ่งที่จะเข้าใจได้จากการแค่มองดูภายนอก แต่มาจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อได้ก้าวเท้าเข้าไปรับความรู้สึกจากภายใน พวกเราจึงขอเข้าชมช่วง 14:00 อีกซักครั้งก่อนต้องลา Chandigarh ไป - ได้ความว่า 1 คน | เข้าได้เพียง 1 ครั้ง | ใน 1 วัน - ใจสลาย อ้อนวอนขอความเห็นใจว่าที่เดินทางไกลจากกรุงเทพฯ ก็เพื่อมาเยี่ยมชมที่นี่เท่านั้น หลังจากเจ้าหน้าที่นับจำนวนผู้เข้าชมรอบบ่ายที่มีไม่มากเท่ารอบเช้า ลูกตื้อนี้ก็สำเร็จ อนุญาตให้พวกเราร่วมเดินได้ แต่ผู้นำชมคนเดิมคงจะเอือมระอากับอาการเดินช้าไม่ทันคนอื่น จึงจัดคนดูแลพิเศษ พร้อมแบมือเรียกเงินไป 1,000 รูปี - ถึงรู้ว่าเค้าหลอกแต่เต็มใจให้หลอก

รอบ 2 เริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง เดจาวู เหมือนสิ่งนี้เพิ่งเกิดขึ้น ขณะที่เจ้าหน้าที่นำชมพูดเปิดในประโยคเดิมและนำเสนอข้อมูลครบถ้วนแบบรอบแรก กลุ่มพิเศษพันรูปีก็เดินนำหน้าลิ่วไปที่ตึก High Court เป็นกลุ่มแรก ฝนเริ่มตกเล็กน้อย กลายเป็นว่ารอบนี้โชคดีกว่าเดิม เพราะเจ้าหน้าที่อนุญาตให้คณะทัวร์เดินขึ้นไปชั้นบนสุดด้วยสโลปทางเดินใหญ่กลางอาคาร ที่รอบแรกเราได้แต่มองตาปริบๆ จากด้านล่าง เมื่อเดินขึ้นไปแต่ละชั้นก็ทำให้ได้เห็นงานออกแบบชิ้นนี้ในมุมที่ต่างออกไป โดยเฉพาะการเข้ามุมของแผ่นคอนกรีต บันไดขนาดเล็กที่แอบอยู่ด้านข้างที่เรามองไม่เห็นจากด้านหน้า หรือช่องสี่เหลี่ยมคล้ายบานหน้าต่าง ที่ถึงจะเห็นได้ชัดจากด้านหน้า แต่เมื่อมองจากด้านในขณะที่มีแสงส่องเข้ามาก็สร้างเงาที่สวยสะกดทุกสายตาคนที่เดินผ่าน รอบนี้คุ้มค่ามากกว่ากว่าเดิม เพราะได้รับอนุญาตพิเศษเข้าชมห้องพิจารณาคดีของตึก ขนาดห้องไม่ใหญ่โอ่อ่าแต่ติดตาด้วยผ้าผืนยาวที่ลากผ่านผนังฝั่งขวาด้วยผลงานภาพวาดของ เลอ คอร์บูซิเยร์ - Open Hand Monument คือจุดที่สองตามเส้นการเดิน ระหว่างทางมีโอกาสได้คุยกับผู้นำชมของกลุ่มย่อยของเรา - คุณคิดยังไงกับที่นี่? คำถามที่เราโต้ตอบกลับทันที “รู้สึกเหมือนไม่ได้อยู่ในอินเดีย ไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหน เหมือนเป็นทั้งอดีตและอนาคตในเวลาเดียวกัน แต่ที่แน่ๆ คือมันมหัศจรรย์ แต่พวกคุณต้องมาเดินแบบนี้ทุกวัน เห็นตึกพิเศษนี้จนชินตา ความตื่นตาน่าจะหายไป สำหรับคุณที่นี่เป็นยังไง? - เจ้าหน้าที่พิเศษ “รู้สึกว่าระยะทางของแต่ละตึกที่ก็ไม่ได้ไกลกันมาก จริงๆ แล้วมันไกลกันเกินไป” เป็นประโยคบอกเล่าลอยๆ ที่ทำให้ได้ตั้งคำถามกับตัวเองถึงพื้นที่การทำงานของ Capitol Complex ศูนย์กลางหลักการทำงานของเมือง รวมถึงตัวเมือง Chandigarh ส่วนอื่นๆ ที่ถูกออกแบบและจัดสรรทุกส่วนด้วยการคำนึงถึงประโยชน์การใช้สอยอย่างลงตัว เมืองที่น่าจะกลายเป็นเมืองต้นแบบของยุคใหม่ แต่ทำไมที่นี่กลับร้างไร้ชีวิตกว่าเมืองอื่นๆ หรือว่าเมืองในอุดมคติ คนเราต้องลดละความสะดวกสบายส่วนตัวและพยายามมากขึ้นกว่าเดิมเพื่อส่วนรวม เมื่อเปรียบกับยุคนี้ที่ความรวดเร็วและความแตกต่าง ดูเหมือนจะเป็นใจความสำคัญที่ไม่อาจลงรอยกัน

    TAG
  • Chandigarh
  • UTOPIA CITY
  • ยูโทเปียซิตี้
  • เลอ คอร์บูซิเยร์
  • Le Corbusier
  • india
  • architecture

Chandigarh | UTOPIA CITY ดินแดนที่สมบูรณ์หรือยูโทเปียชำรุด?

CULTURE/Architecture
4 years ago
CONTRIBUTORS
Pahparn Sirima Chaipreechawit
RECOMMEND
  • DESIGN/Architecture

    SANS STUDIO BANGKOK by PHTAA LIVING DESIGN สตูดิโอที่สร้างเอกลักษณ์ภายนอก จากการนำแสงธรรมชาติเข้าสู่ฟังก์ชั่นภายใน

    กลายเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ในซอยจ่าโสด เมื่อเราได้พบกับอาคารสถาปัตยกรรมโมเดิร์นเรียบเท่ที่เต็มไปด้วยไดนามิคของเส้นสาย ส่วนคว้านโค้งซึ่งออกแบบมาเพื่อฟังก์ชั่น และเพื่อแสงธรรมชาติ เป็นอาคารโทนสีขาวสะอาดตาแต่ทำให้เราไม่อาจละสายตา กับเอกลักษณ์ดีไซน์ของอาคารที่ทอดตัวยาวพร้อมมีประภาคารเล็ก ๆ นี่คือ SANS STUDIO BANGKOK สตูดิโอแห่งใหม่ที่ก่อตั้งขึ้นโดยเจ้าของผู้สนใจในงานสถาปัตยกรรมและศิลปะการถ่ายภาพ หลังจากเรียนจบมาจากฝรั่งเศส โดยให้เป็นสตูดิโอที่รองรับงานถ่ายภาพ โปรดัคชั่น จนถึงอีเวนต์ ที่ได้ทาง PHTAA LIVING DESIGN มาเป็นบริษัทสถาปนิกออกแบบให้

    EVERYTHING TEAM5 months ago
  • DESIGN/Architecture

    “สถาปนา/สถาปัตยกัม” นิทรรศการแห่งการเฉลิมฉลอง 90 ปี ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะสถาปัตยกรรมแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีการเปิดให้เรียนในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมศาสตร์ ก่อตั้งโดย อาจารย์นารถ โพธิประสาท ในปี พ.ศ. 2476 และมีการเปิดใช้ตึกคณะสถาปัตยกรรมครั้งแรกในปี พ.ศ. 2484 จนต่อมาในปี พ.ศ. 2485 ภายใต้รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มี “ประกาศปรับปรุงอักสรไทย” ขึ้นเพื่อให้การสะกดคำในภาษาไทยกะทัดรัดและลดความซ้ำซ้อนของตัวอักษรลง ชื่อคณะสถาปัตยกรรม จึงถูกเปลี่ยนแปลงและใช้ชื่อว่า คณะสถาปัตยกัม อยู่นานถึงสองปี ก่อนจะมีการกลับมาใช้ชื่อเดิมอีกครั้ง (หลังจบสงคราม) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2487 เป็นต้นไป

    EVERYTHING TEAM9 months ago
  • DESIGN/Architecture

    MIRIN HOUSE by AAd - Ayutt and Associates design

    นี่ไม่ใช่บ้านที่ออกแบบตามค่านิยมทั่วไป เพราะจะมีบ้านหลังไหนที่ต้องเดินลัดเลาะผ่านเส้นทางคดเคี้ยวและบันไดสูงเหมือนเดินขึ้นภูเขาก่อนเข้าถึงตัวบ้าน อีกทั้งในเวลาฝนตกอาจต้องยอมเดินเปียกปอน ผ่านแลนด์สเคปซับซ้อน ที่ทำให้เรามีเวลามากขึ้นกับการซึมซับบรรยากาศรอบตัวผ่านทุกประสาทสัมผัส บ้านในเมืองหลังไหนที่จะรองรับการขยายพื้นที่สีเขียวได้มากเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ ที่สำคัญไม่ได้มุ่งเน้นแค่การสร้าง
สุนทรียภาพเฉพาะสำหรับผู้อยู่อาศัย แต่ยังคำนึงถึงผู้คนบ้านใกล้เรือนเคียงด้วย เรากำลังพูดถึงบ้าน Mirin House ออกแบบโดย AAd - Ayutt and Associates Design ที่ให้ความเป็นส่วนตัว กับการสอดแทรกธรรมชาติสู่การอยู่อาศัยได้โดยไม่ต้องยึดติดรูปแบบบ้านล้อมคอร์ต และกล้าออกนอกกรอบแนวคิดการออกแบบบ้านทั่วไป ซึ่งนี่อาจเป็นตัวอย่างที่จะทำให้เจ้าของบ้านหรือสถาปนิกในวงการได้เปิดมุมมองการออกแบบใหม่ ๆ
 ต่อขยายเรื่องของประสบการณ์ ประสาทสัมผัส ธรรมชาติ และความงามของการอยู่อาศัยที่หลับตาแล้วยังสัมผัสได้ถึงมันอยู่

    EVERYTHING TEAM10 months ago
  • DESIGN/Architecture

    SIR DAVID ADJAYE OBE การสร้างเรื่องเล่าจากการเปลี่ยนแปลงของ RIBA Royal Gold Medal ประจำปี 2021

    เป็นประจำของทุกปีที่ Royal Institute of British Architects (RIBA) จะประกาศชื่อสถาปนิกรับเหรียญเชิดชูซึ่งได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 โดยตรง ซึ่งเป็นกิจกรรมเริ่มต้นมาก่อนรัชสมัยของพระองค์ตั้งแต่ปี 1848 ให้แก่สถาปนิกที่มีทั้งอิทธิพลและมีชื่อเสียงทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งผู้รับรับเหรียญทองประจำปี 2021 นี้คืออัศวินด้านสถาปัตยกรรมผู้เพิ่งได้รับการแต่งตั้งยศในปี 2017 ได้แก่ Sir David Adjaye OBE

    Nada Inthaphunt3 years ago
  • DESIGN/Architecture

    Goose Living บูติกโฮเทลและคาเฟ่แห่งใหม่ย่านสุขุมวิท กับแนวคิด “Living a goose life”

    จากโมเมนต์ประทับใจในสวนสาธารณะกลางมหานครนิวยอร์ก นำมาสู่ “GOOSE Living” บูติกโฮเทลและคาเฟ่สไตล์โมเดิร์นทรอปิคัลใจกลางย่านสุขุมวิท ผลลัพธ์จากการตีความการพักผ่อนรูปแบบใหม่ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Living a goose life...wild, fresh and free” ที่ชวนทุกคนมาใช้ชีวิตในไลฟ์สไตล์ที่เรียบง่าย ยืดหยุ่น แต่แฝงด้วยมุมมองที่กล้าจะทดลองประสบการณ์ใหม่

    EVERYTHING TEAM3 years ago
  • DESIGN/Architecture

    Kyoto Institute of Technology '60th Anniversary Hall' Blending steel sheet by monocoque architecture

    สถาปัตยกรรมแบบทั่วไปประกอบด้วยองค์ประกอบที่มาจากเสา คาน ห่อด้วยผนังที่มีเปลือกตามสมัยนิยม นิยามของผนังคือระนาบกั้นระหว่างภายนอกและภายใน หรือภายในด้วยกันเอง ทำหน้าที่แบ่งพื้นที่และปกป้องสเปซภายใน ระนาบผนังวางตัวในแนวตั้งอยู่ระหว่างพื้น เพดาน ในขณะที่ผนังภายนอกถูกแยกออกด้วยระนาบพื้นและหลังคา ในบางส่วนของงานสถาปัตยกรรมแบบ Postmodern architecture มีความพยายามจะสลายระนาบต่าง ๆ เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน

    Xaroj Phrawong4 years ago
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION

We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )