Chao Phraya Sky Park I การเดินทางที่แช่มช้าแต่คุ้มค่าต่อการรอคอยกับสวนลอยฟ้าเจ้าพระยา | IAMEVERYTHING.CO

LOOKING ON EVERYTHING ?

EXPLORE ON EVERYTHING

Sky Park
สวน / สะพาน / บ้าน / จุดชมวิว
สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา (Chao Phraya Sky Park)

เส้นขอบฟ้าของเมืองกรุงมีตึกสูงมากมายแต่งแต้มสีสัน โค้งน้ำทอดตัวลัดเลาะสองฟากฝั่งชุมชน ณ พื้นที่สีเขียวตรงกลาง ผู้คนเดินทอดน่องชมวิว ที่นี่คือ สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา สถานที่ซึ่งการเดินทางข้ามแม่น้ำเจ้าพระยากินระยะเวลามาเนิ่นนานกว่าสามสิบปี

การเดินทางข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาของสะพานแห่งนี้เริ่มต้นเมื่อกว่าสามสิบปีที่แล้ว โดยได้รับการคาดหวังว่าจะเป็นสะพานรถไฟฟ้าสายแรกของประเทศไทยในชื่อ ‘รถไฟฟ้าลาวาลิน’ แต่เมื่อฝันนั้นไม่กลายเป็นจริง โครงสร้างนี้ถูกทอดทิ้งให้รกร้างอยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยามาเนิ่นนานจนถูกเรียกขานว่าเป็น ‘สะพานด้วน’ สะพานซึ่งไม่มีทั้งทางขึ้นและทางลง จนกระทั่งในปีนี้ การเดินทางก็มาถึงจุดหมายในที่สุด สะพานด้วนได้รับการออกแบบเป็นสวนลอยฟ้าเจ้าพระยา พื้นที่สีเขียวลอยฟ้าที่เชื่อมต่อชุมชนฝั่งธนบุรีและกรุงเทพเข้าหากัน

สวนลอยฟ้าเจ้าพระยาได้รับการออกแบบให้เป็นทางเดิน-จักรยานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นพื้นทีสีเขียวระดับเมืองที่มีประโยชน์ต่อชุมชนและสาธารณะ เชื่อมต่อโครงข่ายทางจักรยานรอบเมืองเก่า ส่งเสริมศักยภาพจุดเปลี่ยนถ่ายทางเรือบริเวณท่าเรือสะพานพุทธ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมฝั่งรัตนโกสินทร์และธนบุรี และสร้างภูมิสัญลักษณ์ (Landmark) ที่มีชีวิตชีวาให้ย่านเมืองเก่าริมแม่น้ำทั้งสองฝั่ง

จากทำเลกลางโค้งน้ำเกิดเป็นมุมมองใหม่ใจกลางแม่น้ำเจ้าพระยา ที่เปิดมุมมองเห็นสถาปัตยกรรมที่สำคัญจากสองฟากฝั่งของเมืองกรุง ทั้งสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่รายล้อมอยู่ในย่านข้างเคียงเช่น สะพานพุทธฯ พระบรมราชานุสาวรีย์พระปฐมบรมราชานุสรณ์ฯ สะพานพระปกเกล้า วัดวาอารามต่างๆ รวมไปถึงตึกระฟ้าในย่านศูนย์สีลมและสาทรที่ตั้งตะหง่านเป็นฉากหลังห่างไกลออกไป สวนลอยฟ้าแห่งนี้ได้รับการออกแบบโดยใส่ใจในรายละเอียดเรื่องมุมมองกลางสะพาน ผืนนำ้และผืนฟ้า และ Skyline เมือง เพื่อนำเสนอวิวของกรุงเทพในมุมมองใหม่ที่น่าสนใจ

ทีมออกแบบนำแนวคิดการใช้ Double Space มาใช้ในสวนลอยฟ้าแห่งนี้ ทำให้เกิดเป็นการยกระดับที่ว่างซึ่งซ้อนทับกันอยู่ระหว่างทางและเปิดรับมุมมองกรุงเทพแบบ 360 องศาจากกลางแม่น้ำ การซ้อนทับของพื้นที่ต่างระดับได้รับการถ่ายทอดออกมาในลักษณะ Amphitheater หรืออัฒจันทร์ ที่มีอยู่สองจุด โดยแต่ละจุดหันหน้าไปในทิศทางตรงกันข้ามเพื่อรับชมปรากฏการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นเป็นประจำเพียงวันละสองรอบสอดคล้องกับวงโคจรของระบบสุริยะจักรวาล ทำให้เกิดเป็นSunrise Amphitheater และ Sunset Amphitheater จุดนั่งชมพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงเทพ

ตลอดเส้นทางเดิน 280 เมตรบนสวนสวยลอยฟ้า แมกไม้นานาพันธุ์ได้รับการเลือกเฟ้นมาอย่างพิถีพิถัน ตั้งแต่ต้นไม้ประธานที่ให้ร่มเงาอย่างต้นมะกอก ไม้ดอกเอาใจคนชอบถ่ายรูปอย่างชงโค ต้อยติ่ง เอื้องหมายนา ยี่โถ และต้นรัก ไปจนถึงสมุนไพรและผักสวนครัวอย่างหญ้าหนวดแมว โหระพา ชาข่อย และชะพลู พืชพรรณเหล่านี้ไม่เพียงคัดเลือกมาเพื่อความสวยงาม หากยังคัดสรรมาเพื่อเพิ่มความหลากหลายให้กับระบบนิเวศในเมือง เกิดเป็น Micro Habitat ที่ซึ่งผู้คนได้มาพักผ่อนท่ามกลางความร่มรื่น ในขณะที่นก ผึ้งและแมลงก็ได้มีแหล่งอาหารและที่พักพิงอาศัย

การเปลี่ยนสะพานด้วนเป็นสวนลอยฟ้าแห่งนี้คือหนึ่งในโครงการฟื้นฟูเมืองนำร่องที่มีศักยภาพในโครงการกรุงเทพฯ 250 โดยเกิดจากความร่วมมือของหลายๆ ฝ่าย ทั้ง สำนักงานผังเมือง กรุงเทพมหานคร ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) กรมทางหลวงชนบท การทางพิเศษแห่งประเทศไทย กรมเจ้าท่า เขตพระนคร เขตคลองสาน เขตธนบุรี โดยมี N7A สนับสนุนการออกแบบสถาปัตยกรรม และ LandProcess สนับสนุนการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม

สวนลอยฟ้าเจ้าพระยาคือภาพของอนาคตที่จะกลายเป็นต้นแบบในการจุดประกายให้เห็นศักยภาพของโครงสร้างทิ้งร้าง เพื่อนำโครงสร้างเหล่านี้ที่มีอีกมากมายในเมืองมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เกิดแนวคิดที่จะ Up-cycle คอนกรีตที่เป็น Carbon Footprint เพื่อตอบโจทย์คุณภาพชีวิตที่ดีของคนในเมือง เปลี่ยน Gray Infrastructure ให้กลายเป็น Green Infrastructure ให้ผู้คนและสิ่งมีชีวิตได้ใช้ประโยชน์และอยู่ร่วมกันอย่างลงตัว

ณ สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา การเดินทางข้ามสายน้ำเพื่อเชื่อมชุมชนให้คนสองฟากฝั่งเดินข้ามหากันดำเนินไปอย่างไม่รีบร้อน ผู้คนทอดน่องสัญจรไปท่ามกลางต้นไม้ใหญ่น้อยที่คอยให้ความร่มรื่นตลอดเส้นทาง สองข้างของสะพานขนาบด้วยมุมมองของเมืองกรุงที่มีเอกลักษณ์จากสถาปัตยกรรมเก่าแก่และตึกสูงระฟ้า มีที่ให้หยุดพักนั่งรับแสงแดดอ่อนๆ ในมุมมองที่สวยงามยามเช้าและเย็นย่ำ แม้การเดินทางครั้งนี้จะกินระยะเวลาเนิ่นนานกว่าสามสิบปี แต่ก็เป็นความแช่มช้าที่คุ่มค่าต่อการรอคอย

    TAG
  • Chao Phraya Sky Park
  • สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา
  • design
  • architecture

Chao Phraya Sky Park I การเดินทางที่แช่มช้าแต่คุ้มค่าต่อการรอคอยกับสวนลอยฟ้าเจ้าพระยา

DESIGN/PUBLIC SPACE
4 years ago
CONTRIBUTORS
EVERYTHING TEAM
RECOMMEND
  • DESIGN/AWARD

    6 งานออกแบบจากประเทศไทย คว้ารางวัลระดับโลก iF DESIGN AWARD 2024

    กล่าวถึงรางวัลอันเกียรติที่ทรงอิทธิพลและมีชื่อเสียงที่สุดในวงการออกแบบ ก็ต้องมีชื่อของ iF DESIGN AWARD ที่ยืนยงมาตั้งแต่ปี 1954 รวมถึงรางวัล Red Dot Design Award ที่ก่อตั้งในปีเดียวกัน และจากประเทศเยอรมนีเช่นกัน ตามมาด้วยรางวัล International Design Excellence Awards (IDEA) ของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ก่อตั้งปี 1980 หากมาในแถบเอเชียก็ต้องเป็น GOOD DESIGN AWARD (G Mark) ของประเทศญี่ปุ่น ที่ก่อตั้งปี 1957 ถึงแม้ว่ารางวัลระดับสากลเหล่านี้อาจไม่ใช่เครื่องหมายการันตีความสำเร็จทั้งหมด แต่ก็ถือเป็นความภาคภูมิใจทั้งสำหรับนักออกแบบและเจ้าของแบรนด์หากสามารถคว้ารางวัลเหล่านั้นมาครองได้

    EVERYTHING TEAM9 days ago
  • DESIGN/SHOWROOM

    เปิดโลกวัสดุปิดผิว เปิดไอเดียการออกแบบ เปิดประสบการณ์แห่งจินตนาการที่ Space Studio

    ชวนทุกคนมาเปิดมุมมองใหม่ในโลกของวัสดุปิดผิว (Surface Materials) ที่ Space Studio ที่เป็นมากกว่าโชว์รูมลามิเนตแห่งแรกของประเทศไทย

    EVERYTHING TEAMFebruary 2024
  • DESIGN/Furniture

    ครั้งแรกในไทย! ของ Sean Wotherspoon กับการสร้างสรรค์เฟอร์นิเจอร์สุด Hype ในคอลเลคชั่น “MODERNFORM X ROUNDTWO”

    เมื่อพูดถึงวงการสตรีทแวร์และสนีกเกอร์ระดับโลก หรือชื่อที่ต่อพ่วงมากับรองเท้า Nike Air Max 97/1 รุ่นสุดฮิต ก็ต้องนึกถึง Sean Wotherspoon ศิลปินชาวอเมริกัน ที่เป็นทั้งนักสะสม/นักออกแบบสนีกเกอร์ และผู้ร่วมก่อตั้งร้าน Round Two แหล่งรวมสนีกเกอร์สุดแรร์ โดยก่อนหน้านี้เราจะได้เห็นเขาร่วมคอลแลบกับหลากหลานแบรนด์ดังระดับโลก ทั้งที่อยู่ในวงการแฟชั่นอย่าง NIKE, ADIDAS และ GAP และข้ามไปยังวงการรถยนต์อย่างการร่วมทำงานกับ VESPA และ Porsche มาแล้ว แต่ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่เขากระโดดข้ามสายมายังอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ในการคอลแลบกับแบรนด์สัญชาติไทยอย่าง Modernform ร่วมสร้างสรรค์เฟอร์นิเจอร์คอลเลคชั่นพิเศษที่ทำให้ Street fashion meets furniture

    By modernform
    EVERYTHING TEAM4 months ago
  • DESIGN/Architecture

    SANS STUDIO BANGKOK by PHTAA LIVING DESIGN สตูดิโอที่สร้างเอกลักษณ์ภายนอก จากการนำแสงธรรมชาติเข้าสู่ฟังก์ชั่นภายใน

    กลายเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ในซอยจ่าโสด เมื่อเราได้พบกับอาคารสถาปัตยกรรมโมเดิร์นเรียบเท่ที่เต็มไปด้วยไดนามิคของเส้นสาย ส่วนคว้านโค้งซึ่งออกแบบมาเพื่อฟังก์ชั่น และเพื่อแสงธรรมชาติ เป็นอาคารโทนสีขาวสะอาดตาแต่ทำให้เราไม่อาจละสายตา กับเอกลักษณ์ดีไซน์ของอาคารที่ทอดตัวยาวพร้อมมีประภาคารเล็ก ๆ นี่คือ SANS STUDIO BANGKOK สตูดิโอแห่งใหม่ที่ก่อตั้งขึ้นโดยเจ้าของผู้สนใจในงานสถาปัตยกรรมและศิลปะการถ่ายภาพ หลังจากเรียนจบมาจากฝรั่งเศส โดยให้เป็นสตูดิโอที่รองรับงานถ่ายภาพ โปรดัคชั่น จนถึงอีเวนต์ ที่ได้ทาง PHTAA LIVING DESIGN มาเป็นบริษัทสถาปนิกออกแบบให้

    EVERYTHING TEAM5 months ago
  • DESIGN/ARTIST

    ผลงานศิลปะสุดฉาวของ Paul McCarthy ที่กลายเป็นเครื่องราง ปลุกเซ็กส์ประจําเมืองรอตเตอร์ดัม

    ในจัตุรัส Eendrachtsplein ของเมืองรอตเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์ มีผลงานศิลปะชิ้นหนึ่งที่กลายเป็น เหมือนแลนด์มาร์คของเมือง ตั้งอยู่อย่างโดดเด่นเป็นสง่าจนใครผ่านไปผ่านมาเป็นมองต้องเห็น และใช้เป็นที่หมายตาหรือปักหมุดการเดินทาง แต่น้อยคนที่จะรู้ว่าผลงานชิ้นนี้เป็นของศิลปินที่ วิตถารที่สุดในโลกศิลปะ ผู้มีชื่อว่า พอลแมคคาร์ธี (Paul McCarthy) (อย่าจําสับสนกับ พอล แม็กคาร์ตนีย์ (Paul McCartney) แห่ง The Beatles ล่ะ!) ศิลปินร่วมสมัยชาวอเมริกัน ผู้สร้างผล งานศิลปะที่เต็มไปความตลกโปกฮา บ้าบอ ไปจนถึงวิปริต วิตถาร ลามกจกเปรต ไร้ยางอาย และ น่าหวาดผวาราวกับฝันร้าย เพื่อโจมตีค่านิยมและคุณค่าทางจริยธรรมในสังคมอเมริกัน

    Panu Boonpipattanapong7 months ago
  • DESIGN/STUDIO VISIT

    เช็คอินสตูดิโอดีไซน์ระดับตำนานสัญชาติดัตช์ droog

    ในครั้งแรกที่เรามีโอกาสได้เดินทางไปยังเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ นอกจากความตั้งใจในการชมงานศิลปะชั้นเยี่ยมในพิพิธภัณฑ์ชั้นนำของโลกที่นี่แล้ว ความหวังอีกอย่างคือการได้เยี่ยมเยือนสตูดิโอดีไซน์ในดวงใจของเรามาเนิ่นนาน สตูดิโอแห่งนี้มีชื่อว่า droog นั่นเอง

    Panu Boonpipattanapong7 months ago
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION

We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )