วัดศีลมหาสนิท สถาปัตยกรรมทรงล้ำสไตล์โมเดิร์น แห่งแรกในอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ | IAMEVERYTHING.CO

LOOKING ON EVERYTHING ?

EXPLORE ON EVERYTHING

สถาปัตยกรรมทรงล้ำสมัยที่มองเห็นยอดหอคอยสูงเด่นตระหง่านแต่ไกลบนถนนราชพฤกษ์นั้น ทำให้เรายิ่งประหลาดใจขึ้นไปอีกเมื่อได้รู้ว่าเป็นอาคารหลังใหม่ของวัดศีลมหาสนิท ที่นี่ไม่มีกลิ่นอายของสถาปัตยกรรมยอดแหลมสูงที่ตกแต่งด้วยงานสเตนกลาสหลากสีดูหรูหราโอ่อ่าในสไตล์โกธิค ไม่ใช่วัดกำแพงหนาที่โดดเด่นด้วยซุ้มประตูโค้งในสไตล์โรมาเนสก์ ซึ่งเป็นสองรูปแบบดั้งเดิมของวัดคริสต์ที่เราเคยเห็นในประเทศไทยนับตั้งแต่การเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในสมัยอยุธยา เพราะสถานที่แห่งนี้นับเป็นวัดคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิกสไตล์โมเดิร์นแห่งแรกในอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ที่ถือกำเนิดขึ้น

ทำไมภาพวัดหลังคาจั่วทั่วไปจึงไม่อยู่ในสายตาของพระคาร์ดินัลฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช พระอัครสังฆราชมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ ที่มอบหมายให้คุณมาโนช สุขชัย สถาปนิกแห่ง Triple One Architects เป็นผู้รับผิดชอบงานออกแบบอาคารใหม่ของวัดศีลมหาสนิท วัดหลังแรกที่สร้างขึ้นในสมัยท่านก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นพระอัครสังฆราช เราจึงได้เห็นสถาปัตยกรรมรูปทรงอสมมาตรที่ดูแปลกตา กับเส้นสายตั้งต้นจากพื้นดิน ก่อนไหลโค้งวนเป็นเส้นวงกลมของตัวอาคาร และทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้าเป็นหอระฆังไม้กางเขนสูง

“พระคาร์ดินัลท่านมีความคิดก้าวหน้าสมัยใหม่อย่างมาก ท่านเคยเป็นอาจารย์สอนศิลปะผมสมัยเรียนมัธยม ก่อนที่ท่านจะเรียนอยู่ที่กรุงโรม อิตาลีอยู่หลายปี และเข้าสู่เส้นทางการเป็นพระสงฆ์ ในช่วงสเก็ตช์แบบเราวางคอนเซ็ปต์ไว้หลายอย่าง แต่พระคาร์ดินัลท่านสนใจนำแบบสเก็ตซ์ดีไซน์โมเดิร์นที่เล่นกับเส้นวงกลมมาพัฒนาต่อ ซึ่งผมก็คิดในใจว่าลำบากแล้ว เพราะเป็นแบบยาก (หัวเราะ) ”

 คุณมาโนชเป็นสถาปนิกที่คร่ำหวอดในวงการออกแบบวัด โรงเรียน และอาคารในพระศาสนจักรคาทอลิคแห่งประเทศไทยมาแล้วหลายแห่ง จึงรู้ดีว่าการออกแบบวัดแต่ละหลังต้องอาศัยการพิจารณาบริบทโดยรอบ รวมทั้งศึกษาถึงประวัติและความหมายของชื่อวัดด้วย ในครั้งนี้ชื่อของวัดศีลมหาสนิทเป็นที่มาของการออกแบบผังพื้นที่อาคารเป็นวงกลมตามรูปทรงของแผ่นศีลที่ใช้ในพิธีศีลมหาสนิท โดยอาคารทรงกลมนั้นยังสอดคล้องลงตัวกับพื้นที่ตั้งที่เป็นสามเหลี่ยมได้อย่างดี ที่สำคัญความเชื่อทางด้านศาสนาของคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกยังถูกนำมาขมวดและคลี่คลายสู่รูปทรงของวัดครั้งนี้ด้วย “เราเชื่อว่ามนุษย์เราเกิดมาจากดิน สุดท้ายกายดับก็กลับสู่ดิน ส่วนจิตวิญญาณผู้ทำความดีจะได้ขึ้นสวรรค์ จึงเป็นที่มาของรูปทรงสถาปัตยกรรมที่เหมือนโผล่ออกมาจากพื้นดิน ต่อเนื่องมาสู่บริเวณพื้นที่อาคารโบสถ์ที่เสมือนการจำลองเวทีชีวิตของมนุษย์ โดยยอดหอคอยไม้กางเขนคือสัญลักษณ์การนำไปสู่สวรรค์”

โดยพื้นที่หลักสำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนานั้น ประกอบด้วยสักการะสถาน (Sanctuary) ซึ่งจะมีพระแท่นสำหรับให้พระสงฆ์​ประกอบพิธีกรรมและอ่านพระคัมภีร์ โดยในส่วนนี้พระคาร์ดินัลเป็นผู้ลงมือสเก็ตช์แบบเอง ด้านบนของสักการะสถานมีประติมากรรมรูปปั้นของพระเยซูและพระแม่มารีในสไตล์โมเดิร์นที่ไม่ใช่รูปปั้นเสมือนจริงทั่วไป โดดเด่นเป็นสง่าอยู่ตรงกลาง ในส่วนนี้สถาปนิกออกแบบให้มีสกายไลท์เป็นช่องให้แสงธรรมชาติส่องลงมาตรงบริเวณรูปปั้นพระเยซูพอดี เพื่อเพิ่มแสงในเวลากลางวัน ในขณะที่ผนังส่วนอื่นของอาคารเป็นโทนขาวเรียบทั้งหมด แต่บริเวณแท่นสักการะปูด้วยผนังอิฐเทียม เพื่อจำลองบรรยากาศเหมือนคอกแกะในอิสราเอลสมัยโบราณที่ก่อด้วยหิน ในส่วนของพื้นที่ชุมนุมภายในโบสถ์นี้สามารถรองรับคนได้ประมาณ 300 คน พร้อมกับมีม้านั่งที่ออกแบบให้โค้งตามพื้นที่ ซึ่งข้อดีของดีไซน์ผนังกระจกเปลือยแบบ frameless ทำให้ผู้ร่วมพิธีที่อยู่ด้านนอกก็สามารถมองเห็นพิธีข้างในได้ชัดเจน

ความโมเดิร์นของวัดแห่งนี้ถูกถ่ายทอดผ่านทั้งรูปทรง โทนสีเรียบสะอาดตา การเลือกใช้วัสดุสมัยใหม่อย่าง ผนังและหลังคากระจก และระบบหลังคาผ้าใบแรงดึงสูง (Tension Membrane) ซึ่งที่นี่เป็นวัดหลังแรกในอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ที่ใช้วัสดุนี้ ร่วมกับวัสดุแบบเก่าอย่างผนังหินล้าง ส่วนที่เป็นไฮไลท์ของอาคารที่มองเห็นได้ในระยะไกลนอกจากหอระฆังไม้กางเขนสูงราว 50 เมตรแล้ว ก็คือโครงสร้างหลังคา ที่แดดจะส่องกระทบกับวัสดุโลหะบนหลังคาจะทำมุมหักเหเกิดแสงเงาเหลื่อมล้ำกันไปมาคล้ายเปลือกหอย ภายในยังออกแบบคานให้เป็นเส้นไขว้สอดรับกับความโค้งของหลังคาด้วย

นอกจากส่วนวัดใหญ่สำหรับประกอบพิธีมิสซาในวันอาทิตย์แล้ว ยังออกแบบให้มีส่วนของวัดน้อย สำหรับผู้ที่ต้องการทำพิธีมิสซาในช่วงวันธรรมดา ซึ่งรองรับคนได้ประมาณ 30 คน ทำให้ไม่ต้องเปิดโถงใหญ่เพื่อช่วยประหยัดค่าไฟลงได้  นอกจากพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมทางศาสนา อย่าง ห้องสารภาพบาป ศาลาสงบ (สำหรับพิธีสวด) ห้องแต่งตัวพระสงฆ์และเก็บเครื่องพิธี  ห้องทำงานของพระสงฆ์ ห้องประชุม และห้องสอนคำสอนแล้ว ยังมีห้องแม่และเด็กเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับครอบครัวสมัยใหม่ที่พาลูกเล็กมาโบสถ์ด้วย

หลังจากใช้เวลากว่า 5 ปีสำหรับขั้นตอนการออกแบบและก่อสร้าง ในที่สุดวัดหลังใหม่ของวัดศีลมหาสนิทก็ใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้ว “ผมต้องขอบคุณพระเป็นเจ้าที่อยู่เบื้องบน และขอบคุณพระคาร์ดินัลที่มีวิสัยทัศน์ หากท่านไม่เลือกแบบดีไซน์นี้ เราก็จะไม่ได้เห็นงานสไตล์ใหม่เกิดขึ้น ท่านช่วยนำในสิ่งที่เราไม่กล้าทำ ท่านเสมือนเป็นกำแพงให้เราพิงเลยก็ว่าได้ สำหรับผมที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอยู่แล้วนั้น ในการทำงานตรงนี้ผมมีความศรัทธาเต็มร้อย กลั่นกรองอย่างดีที่สุด และต่อให้ยากอย่างไรก็ต้องทำให้สำเร็จจุดประสงค์เพื่อพระเจ้า เพราะผมมีคติว่า งานเป็นของพระ ฉันเป็นเครื่องมือเท่านั้น”

สถานที่แห่งนี้นอกจากจะเป็นศาสนสถานศูนย์รวมจิตใจคริสตชนหลังใหม่แล้ว ยังเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ที่มีคุณค่าด้านงานสถาปัตยกรรม และทำให้คนสนใจอยากศึกษาคริสตศาสนาในประเทศไทยมากขึ้นด้วย 
    TAG
  • architecture
  • design
  • culture

วัดศีลมหาสนิท สถาปัตยกรรมทรงล้ำสไตล์โมเดิร์น แห่งแรกในอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

ARCHITECTURE/ICON
6 years ago
CONTRIBUTORS
EVERYTHING TEAM
RECOMMEND
  • DESIGN/GARAGE

    “PG” by AAd - Ayutt and Associates design Project Garage อาคารการาจและแกลเลอรี่ ที่เหมือนประติมากรรมชิ้นเอกท่ามกลางขุนเขา

    ในหมู่บ้านจัดสรรแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา ติดกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีสถาปัตยกรรมหลังหนึ่งที่ดูคล้ายงานประติมากรรมตั้งเคียงข้างขุนเขา นี่คือ PG หรือย่อมาจาก Project Garage ออกแบบโดย AAd - Ayutt and Associates design นี่ไม่ใช่บ้านพักอาศัย แต่คืออาคารที่ฟอร์มขึ้นจากแพสชั่นของเจ้าของบ้านผู้เป็นนักสะสมทั้งรถยนต์และงานศิลปะ

    EVERYTHING TEAMFebruary 2024
  • DESIGN/RESORT

    “Riva Vista Riverfront Resort” By IDIN Architects รีสอร์ทริมน้ำกก ที่กกกอดธรรมชาติและความเป็นพื้นถิ่น ภายใต้สถาปัตยกรรมร่วมสมัยมุมมองใหม่

    ให้ลองนึกถึงอาหารหนึ่งจานที่มีหลากวัตถุดิบพื้นถิ่นที่เรารู้จักดี แต่เมื่อผ่านการปรุงด้วยเทคนิคที่แตกต่าง ก็เกิดการรังสรรค์อาหารจานใหม่ให้เราพอได้สัมผัสถึงกลิ่นอายบางอย่างที่คุ้นเคย แต่ในขณะเดียวกันก็เผยรูปลักณ์ใหม่ที่ไม่เคยผ่านประสบการณ์รับรู้มาก่อน นี่คือคำเปรียบเผยสำหรับการอธิบายผลงานออกแบบโปรเจกท์ใหม่นี้ของ IDIN Architects ที่เกิดจากแนวคิด Deconstruct ในการนำความร่วมสมัยให้มาอยู่ร่วมกับเอกลักษณ์พื้นถิ่นภาคเหนือของไทย เกิดเป็นงานสถาปัตยกรรมที่สร้างความน่าสนใจใหม่

    EVERYTHING TEAM6 months ago
  • DESIGN/EXHIBITION

    Infinity Ground Thailand and Taiwan Contemporary Architecture Exhibition

    ใครที่กำลังมองหาไอเดียใหม่ ๆ ในการออกแบบสถาปัตยกรรม หรือกำลังมองหานิทรรศการที่จะไปเดินชมในช่วงวันหยุด เราก็ขอแนะนำนิทรรศการสถาปัตยกรรม “Infinity Ground – Thailand and Taiwan Contemporary Architecture Exhibition” ที่จัดโดยสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย ผ่านการสนับสนุนของกระทรวงวัฒนธรรม สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ร่วมกับ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่เปิดให้เข้าชมแล้วที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC)

    EVERYTHING TEAM10 months ago
  • DESIGN/Community Space

    สมดุลที่เบ่งบานจากลานสเก็ตของชุมชน..กู..ในปัตตานี

    ในภาษามลายูคำว่า “กำปง” มีความหมายถึงหมู่บ้าน “กำปงกู” หรือ “หมู่บ้านกู” เป็นชุมชนค่อนข้างปิดอยู่บนชายขอบของสองชุมชนใหญ่อย่างบือติง และสะบารังในเมืองปัตตานี ชาวบ้านผู้อาศัยในแถบนี้มีรายได้น้อย และมีที่อยู่ลักษณะกึ่งแออัด ซึ่งมักมีปัญหามั่วสุม ส่งผลต่อการเกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนควบคู่กันตามไปด้วย ทั้งนี้ยังมีกลุ่มอาสาพัฒนาเมืองได้วางแผนพัฒนา “หมู่บ้านกู” แห่งนี้ด้วยโปรแกรมอาหารและกีฬาเข้ามาเปิดสมดุลในพื้นที่ชุมชน

    Nada Inthaphunta year ago
  • DESIGN/RESTAURANT

    VAREE VALLEY RESTAURANT BY NPDA STUDIO

    “น้ำ” และ “หุบเขา” องค์ประกอบของทรัพยากรธรรมชาติซึ่งใช้เวลาสั่งสมหลายร้อยปีจนเป็นผืนป่า แม่น้ำ และที่อยู่ของสัตว์นานาชนิด สิ่งเหล่านี้ล้วนกลมกลืนอยู่ในวิถีชีวิต และภูมิปัญญาการพึ่งพิงธรรมชาติอันเรียบง่ายของชาวอีสาน ท่ามกลางบริบทที่รายล้อมอย่างลึกซึ้งมาตั้งแต่อดีตนี้ จนทำให้ผู้ออกแบบไม่สามารถไม่หยิบยกเรื่องราวขึ้นมาสะท้อนความสมบูรณ์ผ่านร้านอาหาร “วารี วัลเล่ย์” จังหวัดขอนแก่น ที่รายล้อมไปด้วย แม่น้ำ ป่าไม้ และหุบเขาของตะวันออกเฉียงเหนือออกมาได้

    Nada Inthaphunta year ago
  • DESIGN/GLAMPING

    IDENDROPHILE 54 By PLANKRICH

    Idendrophile 54 เป็นบ้านพักสไตล์ Glamping ท่ามกลางป่าเขา คลอเคล้ากับลำธารเล็ก ๆ ที่ไหลขนาบข้าง ในบรรยากาศที่เหล่าคนชื่นชอบการใช้ชีวิต Outdoor หลงใหล ตั้งอยู่ในบ้านปางไฮ ตำบลเทพเสด็จ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,300 - 1,600 เมตร ทำให้มีภูมิอากาศที่ชื้นและฝนตกค่อนข้างชุก จึงรู้จักกันว่าเป็นอีกหนึ่งแหล่งปลูกกาแฟในเชียงใหม่ด้วย โดยเริ่มเปิดที่พักโซนแรกในปีที่ 2021 ก่อนในปี 2022 ที่ผ่านมาจะเปิดตัวโซนใหม่ซึ่งได้คุณตุ่ย - ขวัญชัย สุธรรมซาว สถาปนิกฝีมือดีจากบริษัทสถาปนิกแผลงฤทธิ์ มาออกแบบที่พักให้

    EVERYTHING TEAMa year ago
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION

We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )