LOOKING ON EVERYTHING ?
EXPLORE ON EVERYTHING
ปฏิวัติการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และสร้างวงจรหมุนเวียนให้นำกลับมาใช้ใหม่ เกิดขึ้นภายใต้แนวคิด “Upcycling Our Planet” ผ่านความร่วมมือกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ให้เกิดขึ้นจากทุกภาคส่วนทั่วโลก ในงาน “Circular Living Symposium 2019” ที่จัดขึ้นโดย บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ร่วมกับ National Geographic โดยมีผู้นำความคิดและนักนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนจากหลากหลายองค์กรทั่วโลกมารวมแชร์ความรู้และมุมมองกันอย่างเข้มข้น


ที่ประเทศไทย ทาง บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ได้จับมือร่วมกับ National Geographic จัดงาน “Circular Living Symposium 2019 : Upcycling Our Planet” ขึ้น เพื่อจุดประกายให้เกิดความร่วมมือการนำแนวคิด Circular Economy มาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน โดยในงานนี้เราได้พบกับผู้นำความคิดและนักนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนจากองค์กรชั้นนำต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ มาเป็นวิทยากรร่วมแบ่งปันความรู้และมุมมองด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนกันอย่างเข้มข้น ทั้งเวทีใหญ่ในช่วงเช้า และห้องบรรยายย่อยในช่วงบ่าย ที่แบ่งออกเป็น 3 ห้อง พุดคุยในต่างประเด็นกัน ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอเรื่องของเทคโนโลยี และเทรนด์ทางด้าน Bioplastic ในเศรษฐกิจหมุนเวียน เรื่องของแนวคิดการออกแบบที่นำเอา Circular Economy มาใช้มากขึ้นในอุตสาหกรรมสินค้าไลฟ์สไตล์ ส่ิงทอ จนถึงงานสถาปัตยกรรม และเรื่องของไอเดียการนำหลัก Circular Economy มาปรับใช้เป็นโมเดลทางธุรกิจ เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับสตาร์ทอัพรุ่นใหม่



ทางด้านอาเธอร์ หวง (Arthur Huang) นวัตกรชาวไต้หวันเจ้าของคอนเซ็ปต์ “Trash is Sexy” และผู้ก่อตั้งบริษัท Miniwiz นั้น เป็นวิทยากรอีกคนที่มีมุมมองด้าน Circular Economy ที่เฉียบคม โดยนำความรู้ด้านดีไซน์มาผนวกกับเทคโนโลยีสู่การแปรรูปขยะเป็นผลิตภัณฑ์ วัสดุ เฟอร์นิเจอร์ จนถึงงานสถาปัตยกรรมที่น่าทึ่ง ยกตัวอย่างโปรเจกต์ที่น่าสนใจของเขา มีตั้งแต่ การพัฒนาเครื่อง Trashpresso เครื่องอัดและบดขยะพลาสติกรีไซเคิล แล้วขึ้นรูปใหม่เป็นแผ่นกระเบื้อง การออกแบบเก้าอี้ Pentatonic ที่ถูกผลิตขึ้นมาจากขวดรีไซเคิลและขยะบรรจุภัณฑ์ การสร้างผนังบ้านที่ทำมาจากแผ่น CD รีไซเคิล การพัฒนารองเท้าจากวัสดุรีไซเคิลให้กับ Nike และการออกแบบตึก EcoARK ที่สร้างขึ้นจากขวดพลาสติกรีไซเคิลจำนวน 1.5 ล้านขวด เป็นต้น ถือหนึ่งในผู้นำขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนผ่านความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ให้เกิดขึ้นไปทั่วโลก




สำหรับอุตสาหกรรมแฟชั่น ที่สร้างมลภาวะให้กับโลกเป็นอันดับสองรองจากอุตสาหกรรมพลาสติกนั้นจะขับเคลื่อนอย่างไรบ้าง เราได้เห็นตัวอย่างหนึ่งจากแบรนด์เสื้อผ้าและไลฟ์สไตล์สัญชาติสเปนอย่าง Ecoalf เจ้าของวลีที่ว่า “Because There is no planet B” หรือ เพราะเราไม่มีโลกใบที่สอง แบรนด์ที่สร้างสรรค์เสื้อผ้าและแอคเซสซอรี่จากวัสดุรีไซเคิลทั้งหมด โดย Ecoalf ยังเป็นมูลนิธิผู้ก่อตั้งโครงการ “Upcycling The Oceans” ที่เก็บขยะในทะเลมาแปรรูปสู่ผลิตภัณฑ์ที่ดีไซน์สวยงามและมีคุณค่าด้วย ซึ่งผลิตภัณฑ์บางชิ้นของแบรนด์ก็ทำจากขยะในท้องทะเลของไทยด้วย



มาจนถึงองค์กรชั้นนำของไทยอย่างบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ หรือต้นทางในการผลิตพลาสติก ก็ตอกย้ำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนโดยคุณสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ประธานเจ้าหน้าที่และกรรมการผู้จัดการใหญ่ของ GC กล่าวว่า GC มุ่งหมายที่จะยกเลิกการผลิตเม็ดพลาสติกสำหรับการผลิตพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งภายใน 5 ปี (2562-2566) ซึ่งปัจจุบันทาง GC ยังได้พัฒนา Bioplastic หรือพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ขึ้นมาทดแทน รวมทั้งแปรรูปขยะพลาสติกผ่านกระบวน Upcycling ให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มได้ อีกทั้งยังได้ร่วมกับพันธมิตรในการจัดหา คัดแยกบรรจุภัณฑ์พลาสติกใช้แล้ว และร่วมกับบริษัท ALPLA เพื่อร่วมลงทุนโครงการผลิตเม็ดพลาสติกหมุนเวียนคุณภาพสูงชนิด rPET และ rHDPE แห่งแรกของประเทศไทย





นอกจากส่วนของวิทยากรแล้ว ภายในงานนี้ยังจัดแสดงตัวอย่างไอเดียการออกแบบผ่านกระบวนการ “Upcycling” ที่มากกว่าแค่ Recycle แต่เป็นการใส่ไอเดียความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ และนำนวัตกรรมมาเพิ่มมูลค่าให้กับขยะจนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่า ตามนิทรรศการ และบูทต่างๆ ร่วมกับการบริหารจัดการงานให้สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่น้อยที่สุด ซึ่งผลสรุปคืองานนี้ยังช่วยลดปริมาณ Carbon Footprint ได้ถึง 26,911 Kg. Co2 (เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ใหญ่ 2,990 ต้น) จากการงดใช้โฟม ลดการใช้กระดาษและพลาสติก การเลือกใช้วัสดุตกแต่งที่นำกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จนถึงการใช้ Bioplastic เพื่อนำไปเข้าสู่กระบวนการ Upcycling อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพต่อไป แท้จริงแล้วความสำเร็จของเศรษฐกิจหมุนเวียนในภาพใหญ่ ก็เริ่มต้นได้จาก “Circular Living” หรือ ไลฟ์สไตล์ที่เราทุกคนสามารถทำได้ในชีวิตประจำวัน
ผ่าแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน จากงาน "Circular Living Symposium 2019 : Upcycling Our Planet"
/
เริ่มแล้ว..ต้องไปให้สุด กับ “น้ำดื่มสปริงเคิล (SPRINKLE)” แบรนด์น้ำดื่มที่กล้าฉีกทุกกฎเกณฑ์ พลิกโฉมตัวเองจากแบรนด์น้ำถังที่ส่งตามบ้าน สู่การเป็น “ผู้นำ” แบรนด์น้ำดื่มที่มีความคิดสร้างสรรค์ ถ่ายทอดผ่านงานดีไซน์เพื่อส่งต่อแรงบันดาลใจให้กับผู้บริโภค และเพื่อเป็นการต้อนรับเดือนแห่งความสุข ของคนไทย เทศกาลสงกรานต์นี้ “สปริงเคิล” ร่วมกับ SRINLIM ดีไซเนอร์ของไทย ปล่อยคอลเล็คชั่น “ไทยคัลเจอร์” ที่นำเสนอศิลปะมุมมองใหม่ ผ่านลวดลายไทยที่มีรากเหง้าจากวัฒนธรรมที่งดงาม
/
เพราะเหตุการณ์ “โควิด 19” ทำให้เราหันมาให้ความสำคัญกับ “บ้าน” มากขึ้นและการ Social Distancing ก็ทำให้เราทุกคนต้องกลับมาคิดเรื่องพื้นที่ส่วนตัวกันมากขึ้น เนื่องจากหลายคนเริ่มหันมาทำงานที่บ้านเป็นหลัก คุณค่าของ “บ้าน” จึงเป็นมากกว่าแค่ที่อยู่อาศัย เพราะ “บ้าน” ได้กลายเป็นดั่งปราการส่วนตัว หรือ ‘Private Sanctuary’ ที่จะช่วยให้ทุกคนหลบพักใจ และยังคงทำตามความฝันได้ท่ามกลางสถานการณ์ที่ผันผวนลและยังไม่มีความแน่นอน
By COTTO/
เพราะดีไซน์ และสไตล์ เป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ในการออกแบบสินค้าให้ดึงดูดใจผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน แม้แต่ผลิตภัณฑ์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือ ECO-Design ก็ถูกอัพสไตล์ใหม่จนแทบดูไม่ออกว่าทำจากของที่ใช้แล้ว ทางด้าน GC หรือ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) องค์กรใหญ่ที่ขับเคลื่อนเรื่อง “Circular Living” หรือการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และผลักดันการนำขยะหรือวัสดุเหลือใช้มาสร้างมูลค่าเพิ่มผ่านแนวคิด Upcycling มาโดยตลอด ล่าสุดก็ได้ต่อยอดสู่โครงการ “Upcycling Upstyling” ที่จับคู่ผู้ประกอบการ 19 ราย กับนักออกแบบแถวหน้าในสาขาต่างๆ ทั้ง 10 ท่าน เพื่อนำแนวคิดด้านการออกแบบมาผสานกับนวัตกรรมสู่การสร้างสรรค์ผลงานใหม่ที่รักษ์โลก ดีไซน์โดนใจ สามารถใช้งานได้จริง และช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพลาสติกทั้งแบบดั้งเดิม พลาสติกรีไซเคิล (Recycled Plastic) และพลาสติกชีวภาพ (Bioplastic) ได้อย่างยั่งยืน และมีสไตล์ ภายใต้แนวคิด “Up Waste to Value with WOW! Style” จนได้ชิ้นงานทั้งหมด 19 ผลงาน ซึ่ง EVERYTHING คัดเลือกผลงานบางส่วนมานำเสนอให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ ECO-Design สามารถเพิ่มความมีสไตล์ให้กับการชีวิตประจำวันเราได้ลงตัวแค่ไหน
By GC/
ท่ามกลางเสียงเชียร์บอลคึกคัก กับขบวนพาเหรด และการแปรอักษรในงานฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ - ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 74 นี้ ไม่ได้สะท้อนความสมัครสามัคคีระหว่างสองมหาวิทยาลัย หรือเป็นกิจกรรมสนุกสดใสของวัยหนุ่มสาวเท่านั้น แต่ยังสะท้อนถึงพลังของคนรุ่นใหม่ในการขับเคลื่อน “Make a Change เปลี่ยน ปรับ ขยับสังคม” ให้ทุกคนทุกเพศทุกวัยตระหนักถึงการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมกันอย่างจริงจังด้วย โดยในงานนี้ยังได้ผู้ใหญ่อย่าง GC มาร่วมสนับสนุนและให้คำปรึกษาให้งานฟุตบอลประเพณีครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นในการเปลี่ยนหรือปรับชีวิตประจำวันของเราให้คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าขึ้น จนถึงการแยกขยะและจัดการขยะอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
/
First Stop ที่ต้องมาเมื่อเทศกาล Bangkok Design Week 2020 ได้เริ่มขึ้น คือบริเวณไปรษณีย์กลางบางรัก ที่มักเป็นที่ตั้งของนิทรรศการไฮไลท์น่าสนใจของงาน หนึ่งในนั้นที่ไม่ควรพลาดคือพาวิลเลียนของ GC ที่เป็นสปอตไลท์ได้ทุกๆ ปี เพราะนอกจากจะถ่ายรูปสวยแล้ว ยังได้อัพเดทความรู้ด้วย โดยปีนี้ทาง GC ได้เปิดตัวพาวิลเลียน “Everlasting Forest by GC” ภายใต้แนวคิด “Circular Living” ที่ชวนให้ทุกคนมาเรียนรู้การใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า และเข้าใจวิธีจัดการขยะ การมีส่วนร่วมในกระบวนการ Recycle และ Upcycle ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางอย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ
/
นึกกำลัง 3 องค์กรไทย อย่าง GC, บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน) และ Prompt Design สู่เหรียญรางวัลทำจากวัสดุรีไซเคิลที่มีเอกลักษณ์หนึ่งเดียวในโลก สำหรับโครงการ “ก้าวคนละก้าว” ปีที่ 2
By GC
We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )