ELEPLANT MUSEUM พื้นที่พบกันของคน ช้าง และธรรมชาติ / ภูมิพิพิธสถาน โดย อ.บุญเสริม เปรมธาดา และ BANGKOK PROJECT STUDIO | IAMEVERYTHING.CO

LOOKING ON EVERYTHING ?

EXPLORE ON EVERYTHING

พิพิธภัณฑ์ช้างไทยกึ่งกลางแจ้งที่เล่าเรื่องความสัมพันธ์ในพื้นที่ชมชุนของชาวกูย และช้างสุรินทร์ ผ่านองค์ประกอบงานสถาปัตยกรรม

Photographer:
Spaceshift Studio

Writer:
Nada Inthaphunt

Architect:
Boonserm Premthada

Special Thanks:
Bangkok Project Studio

เมื่อหนึ่งปีที่แล้วทีม EVERYTHING ได้มีโอกาสไป เก็บภาพโครงการโลกของช้าง หรือ Elephant World จังหวัดสุรินทร์ กับผู้ออกแบบโครงการ Bangkok Project Studio ที่ก่อตั้งโดย อาจารย์บุญเสริม เปรมธาดา การเดินทางไปครั้งนั้นทำให้เราสัมผัสถึงความพิเศษของสถานที่ตั้ง รวมถึงความผูกพันฉันมิตร ระหว่าง คนกับสัตว์รายล้อมทั้งภายในและภายนอกโครงการซึ่งแตกต่างจากที่อื่น

   โครงการ Elephant World ประกอบด้วยสามกลุ่มอาคารหลักที่อยู่ในการออกแบบของอาจารย์บุญเสริม โดยสองอาคารแรกได้ดำเนินการเสร็จสิ้นเมื่อปีที่แล้ว มีลักษณะการจำแนกผู้ใช้งานหลักแยกชนิดกัน ELEPHANT STADIUM เล่าถึงสนามเด็กเล่นของช้างในสเกลของมัน เป็นพื้นที่ของสัตว์ และอนุญาตให้คนเข้ามาสังเกตเท่านั้น ในขณะที่ BRICK TOWER เล่าถึงวิถีชีวิตของชาวกูยในสเกลของคน เป็นพื้นที่ของคน ดังนั้นอาคารที่สามอย่าง ELEPHANT MUSEUM จึงเล่าถึงความผูกพันของชาวกูยและช้างสุรินทร์ ในสเกลผสมของผู้ใช้งานหลักทั้งสองชนิด เป็นพื้นที่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสองผู้ใช้งานหลักอยู่ร่วมกันได้

   อาคารเสมือนสวนสาธารณะซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์กึ่งกลางแจ้งแห่งนี้ เกิดจากการตัด สอย ดึง แมสขนาดใหญ่ ระหว่างรอยแยกของแมสแต่ละก้อนตัดกันเป็นแกนบวก แล้วถูกขยับเพื่อเพิ่มมิติให้กลุ่มอาคารที่ได้แบ่งออกเป็นสี่ส่วนสามารถเดินเข้า-ออกได้จากทั้งสี่ด้าน ทั้งนี้การเปิด-ปิดของแมสได้สร้างปฏิสัมพันธ์เชื่อมโยงพื้นที่ภายใน และภายนอก (Inside – Out) ให้ธรรมชาติ แสง-เสียง-กลิ่น เป็นตัวกระตุ้นผัสสะผ่านองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมได้ดียิ่งขึ้น

พื้นหินบะซอลต์เดียวกันกับใน Elephant Stadium แต่มีความละเอียดกว่า เพื่อให้ช้างสามารถเดินได้

   ทางเดินหลักมีลักษณะเปิดไม่มีรั้วกั้น มีขนาดกว้างพอสำหรับช้างเดินเรียงเดี่ยวสู่ภายในทำหน้าที่เชื่อมโปรแกรมการใช้งานทั้งสี่ส่วน และทางเดินย่อยซึ่งขนาดเล็กลงสำหรับคนเดินเข้าแต่ละกลุ่มอาคาร คือ พิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด คาเฟ่ ส่วนขายของที่ระลึก ห้องประชุมสัมมนาขนาดเล็ก และมีโปรแกรมอำนวยความสะดวกรองรับการใช้งานหลักในแต่ละกลุ่มอาคาร

วิถีชีวิตบนพื้นที่

   ในแต่ละชุมชนนั้นมีความเกี่ยวเนื่องส่งผลซึ่งกันและกันทั้งหมดเช่นเดียวกับที่นี่ วิถีชีวิตทั้งหลายเกิดจากความเข้าใจกัน ผู้ออกแบบจึงตั้งใจสื่อถึงเนื้อแท้ของแต่ละความสัมพันธ์ผ่านการทำวิจัยจนเป็นโครงการนี้เพื่อให้ผู้มาเยือนได้สัมผัส

   “ทำไมต้องมีธรรมชาติ ทำไมถึงต้องปลูกต้นไม้ ทำไมต้องมีป่า ชาวกูยต้องปลูกพืชเพื่อให้เป็นอาหารของช้าง ต้องทำบ่อน้ำเพื่อให้ช้างได้ดื่ม ได้อาบ ปลูกพืชที่เป็นอาหารของช้าง ป่าก็จะตามมา มันก็กลายเป็นคนทำให้เกิดสิ่งแวดล้อม ป่าไม้ เกิดขึ้น เกิดแหล่งน้ำเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงช้างเป็นจุดเริ่มต้น” อาจารย์บุญเสริมกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่าง มนุษย์-สัตว์-ธรรมชาติตามความเชื่อที่นี่ช้างเปรียบเสมือนเทวดาอารักษ์ ถูกเลี้ยงประหนึ่งลูก ในขณะที่ช้างกับน้ำเป็นสิ่งที่อยู่คู่กัน ช้างจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนที่นี่ขุดบ่อน้ำให้กว้างขึ้น ปลูกพืชให้มากขึ้น แต่เพราะทุกอย่างเกิดขึ้นเป็นเวลานานหลายช่วงชีวิตคนจนกลายเป็นป่าและแหล่งน้ำที่ หล่อเลี้ยงวิถีชีวิตที่นี่

BRICKSCAPE – LANDSCAPE – SOUNDSCAPE
  กำแพงอิฐทำมือก่อหนาขึ้นมีความสูงสุดที่ 10 เมตร ไล่ขึ้นโค้งเป็นเนินสูงต่ำเชื่อมเส้นกำแพงจรดลงสู่ผืนดิน มองภาพรวมแล้วคล้ายลักษณะภูมิประเทศที่ราบสูง และภูเขาสลับซับซ้อนของจังหวัด กลายเป็นภูมิทัศน์ของอิฐ หรือ Brickscape

  “อิฐเป็นวัสดุพื้นฐานที่ทำโดยมือมนุษย์ อิฐเป็นตัวแทนของทุกพื้นที่ เป็นตัวแทนของดินในภูมิภาคนั้น” ผู้ออกแบบเล่าถึงสื่อที่ใช้เชื่อมโยงแนวคิดผ่านวัสดุหลักภายในงาน “อิฐก็เป็นตัวแทนของสถาปัตยกรรมที่อยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติชนิดหนึ่ง สิ่งสำคัญการใช้อิฐของผมในงานชิ้นนี้เพื่อสื่อถึงความมั่นคงแข็งแรงสอดคล้องกับสเกลของช้าง”

  ในขณะที่ความมั่นคงแข็งแรงของอิฐถูกอธิบายถึงความมั่นคง แข็งแรงกับสเกล ซึ่งเกิดจากการทำขึ้นของคนจากธรรมชาติแล้ว อิฐในงานออกแบบของอาจารย์บุญเสริมได้สื่อสารผ่านงานและงานวิจัยออกมาตลอดคือ เรื่องเสียง

  “ช้างฟังภาษาคนรู้เรื่อง” ผู้ออกแบบกล่าวถึงประเด็นที่ยังไม่เคยถูกยกขึ้นมา แต่การสื่อสารกับช้างต้องใช้เสียงที่ดังเพื่อให้ช้างจับความได้ เสียงดังระดับไหน เรียกแบบไหนสื่ออารมณ์อย่างไร มีเพียงควาญผู้ที่สื่อสารกับช้างจะเข้าใจกันได้ดีที่สุด “นั่นคือเหุตผลว่าทำไมต้องทำงานสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวกับเรื่องเสียงที่นี่” การศึกษาพฤติกรรมช้างต้องใช้เวลาวิจัยเพื่อทำความเข้าใจ หาวิธีการถ่ายทอด และยังมีอีกหลายเรื่องที่ผู้ออกแบบกล่าวว่าได้ศึกษารวบรวมไว้ แต่ไม่สามารถทำได้หมด

  ตามงานวิจัยการใช้ภาษาเสียงใน “Sound Brick” เพื่อสร้างการต่อยอดจากต้นแบบการศึกษาหลักแบบ “เสียงในภูมิสถาปัตยกรรม” (Soundscape) กำแพงอิฐขนาดใหญ่ในสเกลของมนุษย์นั้นเป็นการก่ออิฐซึ่งมีความหนากักเก็บเสียงได้ในระดับความสูงภายใน และมีลักษณะค่อยๆ เพิ่มความสูงจนเป็นส่วนโค้งจากทางเดินเข้าสู่ตัวอาคารทางด้านหน้าการเว้าโค้งในแต่ละระดับเปลี่ยนแปลงความสูงเพื่อเกิดการถ่ายเทของอากาศ ลม และเสียง ทั้งเป็นปัจจัยหนึ่งที่สามารถทำให้คนแยกแยะความแตกต่างของเสียงในพื้นที่ได้ การก่ออิฐที่เรียบไม่มีลวดลายนั้นอำนวยต่อการเดินทางของเสียงในแนวตั้ง (Vertical Circulation) เพราะเป็นพื้นที่เปิดด้านบน เสียงที่สะท้อนในแนวนอนของพื้นที่ได้ถ่ายเทสู่แนวตั้งด้านบน ซึ่งเปิดโล่งรับเสียงจากบริบทของธรรมชาติเข้ามากระตุ้นสัมผัส และการมีต้นไม้ระหว่างทางเดินนอกจากให้ความร่มเย็นแล้วยังช่วยลดทอนการสะท้อนของเสียง เพื่อสร้างประสบการณ์ให้ผู้คนซึมซับความพิเศษของสถานที่ได้ดียิ่งขึ้น

พิพิธภัณฑ์เป็นเนื้อหาที่สำคัญอีกตัวหนึ่งการออกแบบครั้งนี้สถาปนิกตั้งใจให้เหมือนอยู่กลางแจ้ง อาคารสถาปัตยกรรมมีความเสมือนสวนสาธารณะเพราะมันคือพิพิธภัณฑ์กึ่งกลางแจ้ง

   ผลงานของ Bangkok Project Studio มักมีความเชื่อมโยงกับพื้นที่ และผลงานโครงการที่เคยออกแบบมาก่อนเสมอ เสมือนเป็นภาคต่อของกระบวนการพัฒนาทางความคิดที่มีทิศทางของตนชัดเจน และพร้อมจะประยุกต์ให้เข้ากับทุกที่ผ่านกระบวนการวิจัย หากตัดสินเพียงผิวเผินแม้รูปแบบของอาคารมีความคล้ายคลึงกับโครงการสถาบันกันตนา แต่ขนาด ภาษา การใช้วัสดุ บริบท และเรื่องราวภายในเป็นจุดที่สร้างความแตกต่างให้ทั้งสองโครงการ

   ดังนั้นการเดินทางไปสัมผัสยังสถานที่จริงจะทำให้แยกแยะความต่างออกมาได้ เพราะสถาปัตยกรรมไม่ได้ถูกเริ่มเล่าเรื่องเมื่อเดินทางไปถึงสถานที่ แต่พื้นที่โดยรอบระหว่างทางคืออีกหนึ่งกุญแจสำคัญที่จะทำให้คนต่างถิ่นสัมผัสถึงความสัมพันธ์ในท้องถิ่นที่แตกต่างจากที่อื่นอย่างไร

    TAG
  • Elephant World
  • Bangkok Project Studio
  • บุญเสริม เปรมธาดา
  • Boonserm Premthada
  • ELEPLANT MUSEUM

ELEPLANT MUSEUM พื้นที่พบกันของคน ช้าง และธรรมชาติ / ภูมิพิพิธสถาน โดย อ.บุญเสริม เปรมธาดา และ BANGKOK PROJECT STUDIO

ARCHITECTURE/PUBLICSPACE
4 years ago
CONTRIBUTORS
EVERYTHING TEAM
RECOMMEND
  • DESIGN/PUBLICSPACE

    Elephant World สถาปัตยกรรมจากคนเพื่อช้าง โดยผศ.บุญเสริม เปรมธาดา สถาปนิกไทยเจ้าของรางวัลระดับโลก

    สถาปัตยกรรมเป็นศาสตร์ที่เกิดมาจากคนเพื่อคน แต่นี่จะเป็นครั้งแรกที่จะเกิดมาจากคนเพื่อช้าง หนึ่งในงานที่ถูกบรรจุใน Body of Work ของ ผศ.บุญเสริม เปรมธาดา ผู้คว้ารางวัล Royal Academy Dorfman Award ประจำปี 2019

    EVERYTHING TEAM5 years ago
  • DESIGN/PUBLICSPACE

    VESSEL by THOMAS HEATHERWICK

    เมื่อประติมากรรมเเละสถาปัตยกรรม หลอมรวมกันเป็นหนึ่ง Hudson Yards เปิดตัว Landmark แห่งใหม่ใน New York ผลงานการออกแบบของ Thomas Heatherwick

    EVERYTHING TEAMMarch 2019
  • DESIGN/GARAGE

    “PG” by AAd - Ayutt and Associates design Project Garage อาคารการาจและแกลเลอรี่ ที่เหมือนประติมากรรมชิ้นเอกท่ามกลางขุนเขา

    ในหมู่บ้านจัดสรรแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา ติดกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีสถาปัตยกรรมหลังหนึ่งที่ดูคล้ายงานประติมากรรมตั้งเคียงข้างขุนเขา นี่คือ PG หรือย่อมาจาก Project Garage ออกแบบโดย AAd - Ayutt and Associates design นี่ไม่ใช่บ้านพักอาศัย แต่คืออาคารที่ฟอร์มขึ้นจากแพสชั่นของเจ้าของบ้านผู้เป็นนักสะสมทั้งรถยนต์และงานศิลปะ

    EVERYTHING TEAMFebruary 2024
  • DESIGN/RESORT

    “Riva Vista Riverfront Resort” By IDIN Architects รีสอร์ทริมน้ำกก ที่กกกอดธรรมชาติและความเป็นพื้นถิ่น ภายใต้สถาปัตยกรรมร่วมสมัยมุมมองใหม่

    ให้ลองนึกถึงอาหารหนึ่งจานที่มีหลากวัตถุดิบพื้นถิ่นที่เรารู้จักดี แต่เมื่อผ่านการปรุงด้วยเทคนิคที่แตกต่าง ก็เกิดการรังสรรค์อาหารจานใหม่ให้เราพอได้สัมผัสถึงกลิ่นอายบางอย่างที่คุ้นเคย แต่ในขณะเดียวกันก็เผยรูปลักณ์ใหม่ที่ไม่เคยผ่านประสบการณ์รับรู้มาก่อน นี่คือคำเปรียบเผยสำหรับการอธิบายผลงานออกแบบโปรเจกท์ใหม่นี้ของ IDIN Architects ที่เกิดจากแนวคิด Deconstruct ในการนำความร่วมสมัยให้มาอยู่ร่วมกับเอกลักษณ์พื้นถิ่นภาคเหนือของไทย เกิดเป็นงานสถาปัตยกรรมที่สร้างความน่าสนใจใหม่

    EVERYTHING TEAM6 months ago
  • DESIGN/EXHIBITION

    Infinity Ground Thailand and Taiwan Contemporary Architecture Exhibition

    ใครที่กำลังมองหาไอเดียใหม่ ๆ ในการออกแบบสถาปัตยกรรม หรือกำลังมองหานิทรรศการที่จะไปเดินชมในช่วงวันหยุด เราก็ขอแนะนำนิทรรศการสถาปัตยกรรม “Infinity Ground – Thailand and Taiwan Contemporary Architecture Exhibition” ที่จัดโดยสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย ผ่านการสนับสนุนของกระทรวงวัฒนธรรม สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ร่วมกับ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่เปิดให้เข้าชมแล้วที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC)

    EVERYTHING TEAM10 months ago
  • DESIGN/Community Space

    สมดุลที่เบ่งบานจากลานสเก็ตของชุมชน..กู..ในปัตตานี

    ในภาษามลายูคำว่า “กำปง” มีความหมายถึงหมู่บ้าน “กำปงกู” หรือ “หมู่บ้านกู” เป็นชุมชนค่อนข้างปิดอยู่บนชายขอบของสองชุมชนใหญ่อย่างบือติง และสะบารังในเมืองปัตตานี ชาวบ้านผู้อาศัยในแถบนี้มีรายได้น้อย และมีที่อยู่ลักษณะกึ่งแออัด ซึ่งมักมีปัญหามั่วสุม ส่งผลต่อการเกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนควบคู่กันตามไปด้วย ทั้งนี้ยังมีกลุ่มอาสาพัฒนาเมืองได้วางแผนพัฒนา “หมู่บ้านกู” แห่งนี้ด้วยโปรแกรมอาหารและกีฬาเข้ามาเปิดสมดุลในพื้นที่ชุมชน

    Nada Inthaphunta year ago
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION

We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )