Writer: Sittichai Srimuang Photographer: Leo Tanapon Cyberpunk เป็นโลกในจินตนาการที่ได้รับความนิยมมาตั้งแต่ช่วงยุคทศวรรษที่ 90 โดยเฉพาะในญี่ปุ่น ที่ต่อยอดไอเดียออกมาเป็นผลงานศิลปะมากมายจนแจ้งเกิดศิลปินดังมานักต่อนัก แม้ Cyberpunk จะไม่ได้เป็นที่นิยมมากนักในบ้านเรา แต่ก็ยังมีศิลปินหน้าใหม่สร้างสรรค์ผลงานในแนวนี้ออกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลงานที่โดดเด่นสะดุดตามากเป็นพิเศษ ก็คงจะเป็นใครอื่นไม่ได้เลยนอกจาก “จินต์ จิรากูลสวัสดิ์” หนุ่มผู้มีคนเร่ร่อนเป็นอาจารย์สอนวิชาศิลปะ เจ้าของ Face Custom ที่สร้างมูลค่าในตลาดต่างประเทศเป็นหลักล้าน และจินต์ยังออกแบบให้หน้ากากของเขาสะท้อนแฟชั่นส่วนตัวอย่างแนว Techwear อีกหนึ่งวัฒนธรรมย่อยที่น่าสนใจของสตรีทแฟชั่นในช่วงปี 2565 ที่นำเอาฟังก์ชั่นมาผสานเข้ากับแฟชั่นอย่างลงตัว จนเกิดเป็นไอเท็มที่คล่องตัว ผลงานของจินต์จึงมีเอกลักษณ์พิเศษที่ล้ำยุค แปลกตา แต่สามารถสวมใส่ได้ในชีวิตประจำวัน ต่างจากงานออกแบบหน้ากากอื่น ๆ แต่เดิมทีจินต์เคยนั่งรับจ้างวาดภาพริมถนนคนเดินบางแสนที่ชลบุรี ก่อนจะกลายมาเป็นศิลปินเจ้าของผลงานดังมากมาย อย่างภาพปกเพลง ‘ธารารัตน์’ ของ YOUNGOHM ด้วยความสามารถที่น่าจับตามองก็ทำให้ชื่อเสียงของจินต์ดังข้ามไปไกลถึงต่างแดน แต่เพราะอะไรที่ทำให้ศิลปินผู้ที่กำลังโด่งดัง ต้องหันเหทิศทางชีวิตกลายมาเป็นหนุ่ม Techwear นักสร้างหน้ากาก Cyberpunk เข้ามาติดตามได้ผ่านบทสนทนาระหว่างจินต์ และ EVERYTHING
ทุกอย่างเริ่มต้นจากการถูกหักหลัง “ปีที่แล้วเป็นช่วงที่เริ่มมีชื่อเสียง มี Art Studio เป็นของตัวเอง มีรายได้เข้ามาไม่ขาดสาย แล้วก็พอมีเงินเก็บอยู่บ้าง ผมก็เอาเงินตรงนั้นไปลงทุนให้เพื่อนทำธุรกิจ แต่พอต้องมาเผชิญกับสถานการณ์โควิด โดยเฉพาะช่วงที่เวลาที่มันแย่ที่สุดคือช่วง Lockdown สถานที่ท่องเที่ยวถูกสั่งปิดหมด มันทำให้งานทุกอย่างที่ผมเคยดีลล่วงหน้าได้เป็นมูลค่าล้านกว่าบาทถูกยกเลิกไปจนหมด หรือพูดง่าย ๆ ก็คือเจ๊งนั้นแหละครับ (หัวเราะ) แต่สิ่งที่มันเลวร้ายมากกว่าเดิมคือธุรกิจที่ผมไปลงทุนไว้ ดันโดนเพื่อนทรยศครับ ผมกลายเป็นคนหมดตัว เลิกทำกิจการทุกอย่าง แล้วตัดสินใจกลับไปอยู่ที่ยโสธร ในตอนนั้นผมไม่มีเงินแม้แต่จะซื้อแมสก์ด้วยซ้ำ แต่ต้องถนอมแมสก์ที่ใส่เวลาขับรถให้ใช้ได้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ ‘หรือลองทำหน้ากากใส่เอง’ เป็นความคิดที่ผุดขึ้นมาในหัว ผมเลยลองเปิดหาพวกงานของศิลปินญี่ปุ่นมาดู แล้วก็ลองเอาแผ่น Plastwood มาขัดแล้วลองทำใส่เล่นดูสักอัน และผมถ่ายรูปลงเฟซบุ๊กส่วนตัว ปรากฏว่ามีคนอยากได้ อยากซื้อ เขาเห็นว่าแปลกดีก็ติดต่อเข้ามาซื้อเรื่อย ๆ นี่แหละที่เป็นจุดที่ทำให้ผมรู้ว่า เออมันก็ทำขายได้นี่หว่า” “แต่จริง ๆ ผมต้องตัดสินใจเลือกนะว่าจะเอายังไงกับชีวิตต่อดี มันมีตัวเลือกที่ผมต้องตัดสินใจอยู่ 2 ทาง คือหนึ่งเลือกทำงานศิลปะในช่องทาง NFT เหมือนคนอื่น แต่มันก็ตามมาด้วยความเสี่ยงที่ผมจะกลายเป็นแมงเม่าบินเข้ากองไฟ เข้าไปผลาญเงินทุนจนหมด หรือทางที่สอง คือการลองทำงานคราฟต์ขึ้นมาขายดู ลองเปิดร้านขายของคราฟต์ให้กลับมีรายได้ประจำที่มั่นคงก่อน หลายคนก็เชียร์ให้ไปทำ NFT เพราะในช่วงปี 2565 มันเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมมาก อาจจะพอสร้างชื่อเสียงขึ้นมาได้บ้าง แต่ใจผมมันอยากทำงานคราฟต์มากกว่า เพราะผมทำแล้วมันมีความสุข ผมชอบการที่ได้นั่งประดิษฐ์ของบ้า ๆ บอ ๆ สุดท้ายเลยตัดสินใจเลือกทำ Face Custom ครับ”
รื้อถอนและทดลองหาทางประกอบขึ้นใหม่ “หน้ากากรุ่นแรกของผมเป็นงาน Hand Made ทั้งหมดเลย รุ่นแรก ๆ ผมจะเอาคัตเตอร์มาวาดแบบบนแผ่น Plastwood แล้วตัดเป็นชิ้นส่วนออกมาหลายชิ้น แล้วก็นั่งงมกับตัวเองเพื่อหาวิธีดัดชิ้นส่วนต่าง ๆ ให้ตรงตามที่ต้องการ ตรงนี้ก็ทดลองทำอยู่นานเลยว่าจะทำยังไงให้ดัดแล้วออกมาสวย พอเราทดลองกับตัวเองไปเรื่อย ๆ สุดท้ายก็ได้วิธีที่เหมาะที่สุด ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน วิธีการทำงานของผมมันก็เปลี่ยนเป็นเชิงอุตสาหกรรมมากขึ้น เมื่อก่อนจะมีแค่งาน Half Face เท่านั้น แต่ผมก็ขยับมาทำงานร่วมกับพวก Face Shield ด้วย งานมีความซับซ้อน มีจำนวนชิ้นส่วนมากขึ้นกว่าเดิม ใส่ลูกเล่นไฟ และจากเดิมที่เคยร่างภาพแบบชิ้นต่อชิ้น ก็เปลี่ยนมาออกแบบในดิจิทัลทำเป็นแปลนส่งให้โรงงานผลิตเป็นชิ้นส่วนจากวัสดุอะคริลิกบางจำนวนมาก ๆ แล้วส่งกลับมา แล้วทางผมก็จะเป็นคนประกอบด้วยตัวเองต่อที่บ้าน แล้วแปลนแต่ละรุ่นก็สามารถเก็บไว้ผลิตซ้ำได้เรื่อย ๆ จนตอนนี้กลายเป็นรายได้เชิง Passive Income ที่จะมีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง แล้วแปลนพวกนี้ก็มูลค่าในตัวเองสูงเหมือนนะครับ เคยมีชาวต่างประเทศมาติดต่อขอซื้อด้วย”
หน้ากากของหนุ่มสไตล์ Techwear “สไตล์ของหน้ากากแต่ละชิ้น ส่วนหนึ่งก็มาจากความสนใจของกลุ่มลูกค้า เพราะเขาชอบแต่งตัวแนว Sci-fi หรือ Cyberpunk กัน อีกส่วนหนึ่งก็มาจากสไตล์การแต่งตัวของผมด้วย คือผมชอบแต่งแนว Techwear เพราะผมเป็นศิลปินฟรีแลนซ์ แล้วการทำงานส่วนใหญ่จะทำงานแบบมือปืนรับจ้าง (หัวเราะ) ถ้าอธิบายคือเป็นงานเบื้องหลังที่ต้องรีบเข้ารีบออก งานมันเลยต้องใส่เสื้อผ้าที่เน้นความคล่องตัว ว่องไว มีการออกแบบที่รองรับ Gadget การทำงานได้ทุกอย่าง สามารถใส่ของได้เยอะ เสื้อผ้าแนว Techwear มันตอบโจทย์ความต้องการได้หมด ผมเลยชอบใส่ไปทำงาน พอใส่บ่อย ๆ เข้าก็เลยชอบใส่ไปโดยปริยาย ดังนั้นการออกแบบหน้ากากสักหนึ่งชิ้นของผมมันก็ต้องเข้ากับสไตล์การแต่งตัวของผมด้วย” “แต่เวลาผมจะออกแบบแปลนสักหนึ่งรุ่น ผมจะไม่ดูพวกสื่อหรืองานแนวนี้ของคนอื่นเลยนะครับ เพราะถ้าเราดูมันมาก ๆ แล้ว งานพวกนั้นก็จะมีเข้ามามีอิทธิพลต่อการทำงานของตัวเอง เราจะต้องติดอะไรบางอย่างจากงานเหล่านั้นเสมอ ผมเลยต้องจัดการเคลียร์สมองให้โล่งก่อน แต่ผมจะอ้างว่าทุกอย่างผมเป็นคนคิดขึ้นมาใหม่เองก็อาจจะไม่ถูกนะ เพราะรูปแบบการประกอบชิ้นส่วนหลาย ๆ ชิ้น ก็เป็นแนวคิดที่ญี่ปุ่นเขาเป็นคนสร้างขึ้น งานในลักษณะนี้เองก็มีการทำในอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และอเมริกาด้วยเหมือนกัน”
ถึงจะล้ำยุคขนาดไหน แต่ต้องใส่ได้จริงด้วย! “การทำหน้ากากแต่ละรุ่นของผมจะมีจุดหลักสำคัญร่วมกันอยู่หนึ่งสิ่ง คือทำอย่างไรก็ได้ให้มันออกมาบางมากที่สุด เพราะงานเชิง Face Custom ส่วนใหญ่ นักออกแบบเขามักจะทำออกมาใหญ่มาก ใส่แล้วหน้ามันจะเด๋อ หน้าจะยื่นออกมา แปลก ไม่ค่อยคล่องตัว ต่อให้ดีไซน์ของมันจะดูเท่แค่ไหน แต่ถ้าใส่แล้วมันใหญ่เกินไป ผมก็ทิ้งนะ มันต้องเป็นดีไซน์แบบ ‘Always for real life’ และถ้าเปรียบงานของผมเป็นอะไรสักอย่าง มันก็คงเป็นเสมือนเกมสักหนึ่งเกม ที่มีการอัพเดท แพทช์อยู่ตลอดเวลาตามการใช้จริง เพราะตอนที่เราออกแบบเราไม่มีทางรู้เลยว่าผลงานของเรามีจุดบกพร่องอะไรบ้าง การที่เขาหยิบเอาหน้ากากของผมไปใช้งานจริงทุกวัน เขาก็จะรู้ว่ามันขาดอะไร แล้วจะทักเข้ามาพูดคุยให้ฟัง แล้วผมก็จะอัพเดทแปลนใหม่ให้ตอบโจทย์พวกเขามากขึ้น ถ้าให้สรุปง่าย ๆ คือเราฟังเสียงของคนใช้งานจริงให้ได้มากที่สุด”
Face Custom ที่เปลี่ยนชีวิตไปตลอดกาล ผมเป็นนักวาดภาพมาทั้งชีวิต ทำงานเต็มที่อย่างมากก็จะหมื่นถึงสามหมื่นบาทต่อเดือน แต่รายได้ของการทำ Face Custom แค่ปีที่ผ่านมาแค่ปีเดียว ผมทำรายได้ทั้งหมดไปประมาณสองล้านบาทเลยนะ ตอนนี้มันกลายมาเป็นงานประจำแทนงานวาดไปแล้วครับ ผมหยุดทำมันไม่ได้เลย จนตอนนี้ก็ออกซีรีย์หน้ากากมาถึงรุ่นที่ 25 แล้วครับ คงต้องขอบคุณเพื่อนคนนั้นนะที่มันหักหลังผมในวันนั้น เลยทำให้ผมมีทุกอย่างในวันนี้ (หัวเราะ) แต่งาน Face Custom ผมไม่ได้ทำคนเดียวนะ ต้องยกความดีความชอบให้กับ ‘คุณอาลิตา ภาษี’ แฟนของผมด้วยครับ เขาเป็นคนเก่งเรื่องการหาตลาดสำหรับส่งขาย เขาแนะนำเว็บไซต์ etsy.com ที่เป็นแหล่งขายงาน Handcraft มา ผมเลยลองเอาไปลงขายดู ปรากฏว่ามีคนสนใจเยอะมากจนมันเติบโตอย่างทุกวันนี้ แม้ว่าเขาจะไม่ค่อยออกหน้าเท่าไหร่แต่ก็ต้องยกเครดิตการทำงานให้เขาด้วย เพราะเบื้องหลังของหน้ากากทุกชิ้น เขาเป็นคนประกอบชิ้นส่วนทั้งหมดเลยคนเดียว งานของผมมันเหมือนตัวต่อจิ๊กซอว์แล้วเขาต้องนั่งประกอบงานพวกนี้ทั้งวันเลยครับ”
คุณค่าของงาน HandCraft มันขึ้นอยู่กับมุมที่คนมอง “การเอางานลงขายในเว็บไซต์ต่างประเทศ มันทำให้รู้เลยว่างานหน้ากากหรือพวกงาน Handcraft เป็นงานที่มีมูลค่าสูงมาก ชาวต่างชาติเขาให้คุณค่าของงานแนวนี้ไปไกลกว่าบ้านเรามาก แค่เขาเห็นแล้วถูกใจก็ซื้อเลย เขาจะไม่พูดหรือติอะไรทั้งนั้น ต่างจากคนไทยที่สนใจนะแต่ไม่ค่อยซื้อ คนไทยเป็นคนที่ตัดสินใจซื้องาน Handcraft ยาก แค่เห็นราคาหลักพันเขาก็แทบจะบ่นกันแล้ว อาจจะเพราะว่าสภาพเศรษฐกิจไทยมันไม่ค่อยเอื้ออำนวยให้กับการผลิตผลงานศิลปะในหลาย ๆ ด้าน อีกส่วนหนึ่งคือคนไทยมักจะเหมารวมไปก่อนเสมอ ว่าคนที่แต่งตัวในแนวนี้มักจะประหลาดหรือเป็นพวก Cosplay หรือคลั่งไคล้อนิเมะเสมอ ทั้งที่งานของผมมันแทบไม่ได้เกี่ยว ข้องกับอนิเมะเลยด้วยซ้ำ (หัวเราะ) ผมมองว่าที่เกิดอะไรแบบนี้ขึ้นเพราะเขาแค่ยังไม่รู้จักแค่นั้นเอง แล้วพอเขาเจอสิ่งที่เขาไม่รู้จัก มันก็มักจะเริ่มด้วยการปฏิเสธหรือด่าก่อนเสมอ ผมมองว่าส่วนนี้เองก็คล้ายกับมุมมองที่เขามีต่อกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ ไม่ว่าใครก็จะไม่ยอมรับเขา ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้รู้จักเขาดีมากพอเลย จนคุณจะได้เข้าไปพูดคุยทำความเข้าใจกับเขาอย่างจริงจัง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเพราะคนไทยส่วนใหญ่มีนิสัยในลักษณะนี้ แต่ผมก็ยังมีผลงานที่วางขายในประเทศอยู่นะ อย่างน้อยก็พอจะทำให้เขาได้รู้จักเราบ้าง ดีกว่าไม่ได้อะไรเลย”“เบียวหรือไม่เบียว อยู่ที่ว่าเราจริงจังกับมันมากขนาดไหน” “อย่างที่บอก พอคนมันไม่เข้าใจงานผม ก็จะต้องโดนด่าโดนติเสมอ ด่าว่างานมันเบียวมันบ้า แต่เขาไม่รู้หรอกว่าผมจริงจังกับมันขนาดไหน แล้วผลงานของผมมันสร้างรายได้ให้ผมมากขนาดไหน ทุกวันนี้ก็ยังโดนติอยู่นะ แต่ผมก็ไม่ได้สนใจ เพราะผมรู้ว่าเขายังแค่ไม่เข้าใจงานของเราแค่นั้นเอง ซึ่งความคิดแบบนี้เองมันก็ใช้ได้กับคนอื่นด้วยนะ คุณพอจะเคยได้ยินชื่อของ ‘เทพบุตรนินจามหากาฬ’ หรือเปล่า เขาเป็นคนอายุประมาณ 40 ปี ที่ชื่นชอบในวิถีนินจามากจนถึงขั้นฝึกฝนร่างกาย วิ่งตัดต้นกล้วยรอบบ้านทุกวัน คนทั่วไปอาจจะมองว่าเขาแม่งเบียว แต่ผมมองว่าเขาเป็นคนเอาจริงเอาจังกับสิ่งที่เขาชอบจนทำมันสำเร็จ ผมประทับใจมากก็เลยส่งผลงานของผมให้เขาใส่ ตอนนี้งานของผมมันก็เหมือนกลายเป็นเครื่องแบบประจำตัวของเขาไปแล้วครับ”
เลือกอนาคตที่เรามีความสุข “Face Custom มันเป็นงานที่ผมทำแล้วมีความสุข ในอนาคตก็คิดว่าคงทำมันต่อไปเรื่อย ๆ นะ ชีวิตประจำวันของผมทุกวันนี้คือการตื่นมาแต่เช้าแล้วเช็คตลอดเลยว่ามีใครหยิบสินค้าเราเข้าตะกร้าบ้างหรือเปล่า ขายได้บ้างไหม แล้วยอดเท่าไหร่แล้ว ตราบใดที่ชีวิตยังเป็นแบบนี้ แล้วเรายังมีพลังในการออกแบบและสร้างอยู่ ผมก็คงไม่หยุดทำงานตรงนี้นะ ในอนาคตสนใจจะทำ NFT มากขึ้นเหมือนกันนะ ทำให้คนอื่นมาเยอะ อยากจะมีเวลาพัฒนาคอลเลคชั่นของตัวเองขึ้นมาดูบ้าง จริง ๆ ผมเองก็ตั้งใจจะวาดภาพแนว Futuristic Art หรือ Cyber punk อยู่เหมือนกันนะ เพราะผมยังไม่ค่อยเห็นงานแนวนี้ในไทยเท่าไหร่ ถ้าวาดน่าจะมีคนสนใจงานในแนวนี้มากขึ้น แม้เขาจะยังไม่ค่อยเท่าไหร่ก็ตามครับ” ติดตามผลงานของจินต์ จิรากูลสวัสดิ์ ได้ทาง Facebook: @FaceCustom และ Etsy: www.etsy.com/shop/Ginstreetart
TAG
จินต์ จิรากูลสวัสดิ์ Cyberpunk Mask Face Custom people interview รื้อถอนชิ้นส่วนความคิดเบื้องหลังหน้ากากของ “จินต์ จิรากูลสวัสดิ์” เจ้าแห่ง Cyberpunk Mask ของไทย
CONTRIBUTORS
Sittichai Srimuang
PEOPLE / INTERVIEW
มองสถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัยในฐานะวัฒนธรรมที่มีชีวิตผ่าน ART TOYS เจาะลึกแนวคิดความสนุกจาก DUCTSTORE the design guru Co.,Ltd.
ทันทีที่ Key Visual สถาปนิก’ 68 เผยแพร่ออกมา บทสนทนาปลุกสัญชาตญาณนักสืบในตัวทุกคนพร้อมใจกันทำงานแบบ Autopilot และระหว่างที่ตามหาเฉลยกันจริงจัง ทุกคนเริ่มหันมาตั้งคำถามต่อว่า Art Toys เกี่ยวข้องกับธีมงานอย่างไร รู้ตัวอีกทีวงสนทนาก็กระเพื่อมขยายกว้างขึ้น ส่งสัญญาณชัดว่า Key Visual ปีนี้เปิดฉากมาแบบสนุกเอาเรื่อง โดนเส้นกันสุดๆ
EVERYTHING TEAM January 2025
PEOPLE / INTERVIEW
อุ้ม-วัลลภ รุ่งกำจัด นักแสดงภาพยนตร์อิสระ สู่เส้นทางของ Cannes Film
วัลลภ รุ่งกำจัด หรือ อุ้ม นักแสดงที่เชื่อมโยงความเป็นมนุษย์กับโลกของภาพยนตร์ ผ่านการสร้างชีวิตให้ตัวละครต่าง ๆ ได้ออกมาโลดแล่นแสดงความรู้สึกทางอารมณ์ให้กับผู้ชม แม้เขาจะไม่ได้เป็นนักแสดงที่มีชื่อเสียงในวงกว้างเทียบเท่ากับนักแสดงกระแสหลัก แต่ในเวทีระดับโลก “อุ้ม” ได้พิสูจน์ตัวเองกับการเป็นนักแสดงที่มีความสามารถที่ยอมทุ่มเทหลาย ๆ สิ่ง ให้กับงานศิลปะด้านการแสดงในภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้อย่างสุดตัว
EVERYTHING TEAM 6 months ago
PEOPLE / INTERVIEW
พูดคุยกับ “MAMIO” บนหน้ากระจกสะท้อนตัวตนที่ถูกซ่อนมาทั้งชีวิต “อาจใช้เวลานานถึง 30 ปี แต่ก็ดีกว่าไม่มีโอกาสได้รู้เลย”
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าก่อนหน้านี้เราได้รู้จักกับเธอคนนี้ในชื่อของ พัด หรือที่ชอบเรียกติดปากกันว่า พัด ZWEED N’ ROLL เจ้าของเสียงทุ้มมีเสน่ห์ นักร้องและนักแต่งเพลงที่ฝากผลงานเพลงเศร้าเอาไว้ในวงการมากมาย อาทิ ช่วงเวลา, Diary, อาจเป็นฉัน และอีกมากมาย ไม่มีอะไรแน่นอนแม้กระทั่งตัวเราเอง ช่วงเวลาจึงได้พัดพาให้เรามาทำความรู้จักกับ “MAMIO” ในฐานะศิลปินใหม่จากค่าย Warner Music Thailand ซึ่งเป็นอีกตัวตนหนึ่งของคุณพัดที่ไม่เคยถูกปลดปล่อยออกมาเลยตลอดชีวิตการทำงานในวงการสิบกว่าปีที่ผ่านมา หรือถ้าจะให้ซื่อสัตย์กับตัวเองจริง ๆ ก็อาจจะเป็นทั้งชีวิตที่เกิดมาเลยเสียด้วยซ้ำ
EVERYTHING TEAM 6 months ago
PEOPLE / INTERVIEW
THE ROARING SOUND OF BANGKOK EVILCORE
Whispers เป็นหนึ่งในวงดนตรีที่สะท้อนการเติบโตของวงการ Hardcore ในประเทศไทยอย่างแท้จริง ตั้งแต่จุดเริ่มต้นที่เป็นเพียงกลุ่มเพื่อนที่หลงใหลในดนตรี เพราะนอกจากจะเป็นผู้เล่น พวกเขายังเป็นกำลังสำคัญที่คอยผลักดันซีนฮาร์ดคอร์ในบ้านเรามาโดยตลอด ประสบการณ์ที่สั่งสมทำให้เกิดเป็นสไตล์เฉพาะของ Whispers สร้างความแตกต่างและเป็นเอกลักษณ์ จนทำให้พวกเขาก้าวไปสู่เวทีระดับสากล ถึงแม้พวกเขาจะอยู่ใต้ดินของไทย แต่เสียงคำรามของพวกเขาก็ดังไปไกลถึงทวีปยุโรป มาพบกับเส้นทางดนตรีที่เต็มไปด้วยแรงบันดาลใจและการเปลี่ยนแปลง กับวงฮาร์ดคอร์ระดับบท็อปของ Southeast Asia
EVERYTHING TEAM 6 months ago
PEOPLE / INTERVIEW
Nat Inksmith (ชณัฏฐ์ หวังบุญเกิด) มากกว่าความสวยงามคือการนำเสนอผลงานที่เป็นตัวตนผ่านศิลปะลายสัก
ด้วยลายเส้นที่เป็นเอกลักษณ์และรูปแบบงานสักของเขา ที่เรารู้สึกแปลกประหลาดกว่างานสักอื่น ๆ (แปลกประหลาดในที่นี้คือความหมายในแง่ดีนะ) ก็เลยตัดสินใจส่งข้อความทักไปหา “พี่นัทครับ ผมขอสัมภาษณ์พี่ได้ไหม” “ได้ครับ” สั้น ๆ แต่จบ เรื่องราวทั้งหมดก็เลยเริ่มต้นขึ้นที่ร้าน CAVETOWN.TATTOO แถว ๆ ปิ่นเกล้า ซึ่งพี่นัทเป็นเจ้าของร้านแห่งนี้ บทสนทนาของเราเริ่มกันในช่วงเวลาบ่าย ๆ ของวันพฤหัส พอไปถึงร้านพี่นัทกำลังติดงานสักให้กับลูกค้าอยู่หนึ่งคน พอได้เห็นลายที่เขาสักต้องบอกว่าเท่มาก ๆ มันมีความเป็น Psychedelic บวกกับ Ornamental ผสมผสานกับเทคนิค Dotwork จนกลายเป็นงานศิลปะบนผิวหนังหลังฝ่ามือ เราถึงกับต้องถามคำถามโง่ ๆ กับลูกค้าที่ถูกสักว่า “เจ็บไหม” แน่นอนคำตอบที่ได้คือ “โคตรเจ็บ” เพราะจุดที่สักคือหลังฝ่ามือ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งจุดที่หลายคนร่ำลือกันว่าโคตรเจ็บ ระหว่างที่รอพี่นัทไปพลาง ๆ น้องแมคช่างภาพที่มีรอยสัก Full Sleeve เต็มแขนขวา ก็เริ่มกดชัตเตอร์กล้องถ่ายรูปเก็บภาพระหว่างที่เขาสักไปด้วย พอสักเสร็จเรียบร้อยก็ปล่อยให้พี่เขาพักผ่อนกินน้ำ ปัสสาวะ (อ่านแยกคำนะอย่าอ่านติดกัน) ก่อนจะพูดคุย แต่เดี๋ยว ! ก่อนจะเริ่มบทสนทนา เราขอเกริ่นให้ฟังซักนิดนึงเกี่ยวกับชายคนนี้ก่อน
EVERYTHING TEAM 7 months ago
PEOPLE / INTERVIEW
KIKI กับการเดินทางก้าวต่อไปของความคิดสร้างสรรค์บนเส้นทางดนตรี
ในช่วงเวลาเพียงไม่กี่ปีวงดนตรีสัญชาติไทยที่ชื่อ KIKI ได้ก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในวงที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากทั้งในประเทศไทย ญี่ปุ่น ไต้หวัน สิงคโปร์ ฮ่องกง ก็เพราะด้วยเสียงเพลงที่มีความเป็นเอกลักษณ์ และการนำเสนอแนวคิดที่ไม่เหมือนใคร รวมถึงความตั้งใจในการสร้างสรรค์ผลงานที่สะท้อนถึงตัวตนของพวกเขาได้อย่างชัดเจน
EVERYTHING TEAM 8 months ago
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
SUBMIT
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION