First Crack’s Laboratory | IAMEVERYTHING.CO

LOOKING ON EVERYTHING ?

EXPLORE ON EVERYTHING

First Crack’s Laboratory
จากความจริงจังในครัวเรือน สู่โรงคั่วประตูเขียวในรั้วบ้าน
กาแฟ เป็นหนึ่งในพืชที่มีความพิเศษสำหรับการถ่ายทอดเรื่องราวพื้นถิ่นของแหล่งกำเนิดตนเองออกมายังปลายทางได้อย่างดีเยี่ยม แต่วิธีเล่าเรื่องผ่านเมล็ดกาแฟกลับมีตัวแปรมากมายกว่าจะเดินทางมาถึงรสชาติ ซึ่งหนึ่งในปัจจัยหลักนั้นคือการคั่วเมล็ด อันถือได้ว่าเป็นวิธีการออกแบบรสชาติ เนื่องจากผู้คั่วส่วนใหญ่จะทำความเข้าใจธรรมชาติของกาแฟก่อนใช้วิธีคั่วที่เหมาะสมเพื่อดึงตัวตนของเมล็ดออกมา การคั่วเมล็ดจึงเป็นศาสตร์ที่รวมศิลป์ศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเรื่องเหนือธรรมชาติเข้าด้วยกัน ความซับซ้อนของกรรมวิธีจึงสามารถเรียกผู้ที่เริ่มจากความสนุกกับการเสาะหาเมล็ดกาแฟ เพื่อมาบดและชงดื่มเอง จนกลายมาเป็นคนคั่วเองนี้ อาจเรียกได้ว่าเป็นผู้ที่สนุกกับการทดลอง และออกแบบวิธีเสพศิลป์จากแก่นของกาแฟไปแล้ว
    กลิ่นน้ำมันหอมระเหยจากเมล็ดกาแฟผสมกลิ่นไหม้ที่เข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ คล้ายกลิ่นขนมปังที่อบอยู่ในเตา ความเข้มข้นของกลิ่นผสมกลิ่นต้นไม้ในสวนลอยอวลมาจากส่วนที่เคยเป็นพื้นที่ของไม้ยืนต้นในรั้วบ้าน ที่มีอิฐมอญสีแดงผสมปูนเปลือย
    เรือนหลังเล็กเคียงบ้านใหญ่นี้ ถูกสร้างจากสัจจะวัสดุเช่นเดียวกับตัวบ้านจนออกมาเป็นภาษาเดียวกัน ราวกับว่ามันทำหน้าที่เป็นเพียงส่วนประกอบ เป็น Shelter ของการใช้งาน และเป็น Shelter ของแก่นชีวิตที่ไม่ได้ปรุงแต่ง แต่ได้รับการออกแบบมาอย่างดีตามวัสดุท้องถิ่นนั้น ตัวเรือนมีขนาดพื้นที่กว้างไม่เกิน 20 ตารางเมตร ที่มีประตูไม้สีเขียวซีดๆ เป็นทางเข้า รูปด้านมีหน้าต่างถึงสามด้าน โดยเปิดช่องหน้าต่างกับฝั่งที่เชื่อมตัวบ้านมากที่สุด ด้านหน้าของเรือนเบี่ยงไปกำแพงมีบันไดเหล็กทางขึ้นสู่พื้นที่ปลูกผักสวนครัวบนดาดฟ้า เรือนน้อยหลังนี้ถูกสร้างเป็นโรงคั่วเมล็ดกาแฟ และโรงอบขนมปังของ “Sunny Bear Coffee Roasters” ที่มีคุณกอไผ่ และคุณนิลบล ปาณินท์ เป็นเจ้าของ ดำเนินความตั้งใจต่อยอดมาจากความจริงจังภายในครัวเป็นโรงคั่วเล็กๆ ในบ้านของทั้งคู่
ประตูไม้เก่าสีเขียวซีดๆ ที่มาเริ่มต้นชีวิตใหม่อีกครั้งที่นี่
บันไดเหล็กทางขึ้นสู่พื้นที่ปลูกผักสวนครัวบนดาดฟ้า
สวนครัวบนดาดฟ้าที่ระดับลดหลั่นลงจากชั้นสองของบ้านเล็กน้อย
โดยความชอบของทั้งคู่นั้นชอบทำพื้นที่ให้ง่าย ลดทอนองค์ประกอบของการใช้ชีวิตจึงออกมาเป็นภาษาของอาคาร เจ้าของเริ่มขั้นตอนก่อสร้างจากการหาพื้นที่ที่ต้องการปลูกสร้าง ที่เป็นบริเวณของสวนเดิมเสมือนเป็นอีกห้องหนึ่งของบ้านเพียง หลังคาแยกออกจากกัน แล้วเสาะหาประตูเก่าให้เข้ากับบรรยากาศ ซึ่งในครั้งนี้มีความแตกต่างจากวิสัยเดิมที่ผู้ออกแบบชอบเล็กน้อย ที่แต่เดิมจะสร้างพื้นที่โดยยึดจากขนาดของประตูเก่าเอามาตั้งต้น แต่คราวนี้โรงไม้ต้องเฉือนความสูงของมันออกเล็กน้อยให้พอดีกับความสูงของเรือน เพื่ออาคารหลังน้อยนี้จะได้มีประตูที่เข้ากับบรรยากาศ และมีเรื่องราวของชีวิตได้เล่าต่อ
โรงคั่วบรรจุอุปกรณ์สำหรับการทดลองในแต่ละครั้ง
แม้จะดูเล็กแต่ภายในบรรจุอุปกรณ์ขนาดย่อม เครื่องอบขนมปังจากแป้งที่ทำการเพาะยีสต์เอง ถัดไปเป็นเครื่องซีนพลาสติก ก่อนถึงอ่างล้างมือและอุปกรณ์ ชั้นเก็บของสแตนเลสไร้หน้าบาน และเครื่องคั่วขนาดไม่ย่อมนัก แล้วจึงเป็น Station สำหรับทำงานทั้งอุปกรณ์ชั่งตวงและเครื่องนวดแป้ง ซึ่งหันหน้าเข้ากับชั้นหนังสือภายในบ้านพอดี
จากชื่อ “Sunny Bear Coffee Roasters” ที่เมื่ออ่านชื่อแล้วมี สายลม แสงแดด ปนความหอมจรุงกลิ่นกาแฟอวลไอแดดยามเช้าใจกลางป่า หากการคั่วกาแฟคือการฟังเสียง First Crack แล้วออกแบบวิธีดึงแก่นของเมล็ดออกมา ภาษาสถาปัตยกรรมของโรงคั่วนี้จึงทำออกมาอย่างเรียบง่ายเพื่อดึงแก่นของพื้นที่ซึ่งก็คือชีวิตออกมา เชื่อหรือไม่ สิ่งที่เราพบบนพื้นที่นี้คือ “ความอบอุ่น ความดิบ ความสด แสงแดด และสายลมของธรรมชาติ” สะท้อนอย่างสัมพันธ์ต่อเนื่องออกมาทาง ชื่อ สถานที่ กาแฟ และตัวตนของเจ้าของนั่นเอง
Owner : คุณกอไผ่ และคุณนิลบล ปาณินท์
Design & Construction: : คุณกอไผ่ คุณนิลบล ปาณินท์ และ Research Studio Panin
Area : 20 sq.m.
Project Location : Phahonyothin, Bangkok
Project Year : 2018
Photographer : Pirak Anurakyawachon (Spaceshift Studio)
    TAG
  • design
  • architecture
  • culture

First Crack’s Laboratory

ARCHITECTURE/Architecture
February 2019
CONTRIBUTORS
EVERYTHING TEAM
RECOMMEND
  • DESIGN/Architecture

    OB House by THE OTHERS บ้านที่ตอบโจทย์รสนิยมและตัวตนของผู้อาศัย ภายใต้สถาปัตยกรรมมินิมอลที่มีเอกลักษณ์

    บ้านหลังแรกที่สร้างขึ้นเองของคุณออมมี่ และคุณแบงค์ -ปรีดากร เมรเกรียงชัย Co-Founder แห่งแบรนด์ Gentle RAM บ้าน ที่ตอบโจทย์รสนิยมของทั้งสองที่หลงใหลในความ Timeless และการอยู่อาศัยที่อยู่สบาย เรียบง่าย พร้อมจัดระเบียบชีวิตในบ้านได้อย่างลงตัว บ้านที่ทุกพื้นที่ และทุกฟังก์ชั่นที่ทาง THE OTHERS ผู้ออกแบบได้ขบคิดมาอย่างพิถีพิถันไม่ต่างกับเสื้อผ้าที่เทรลเลอร์เมดให้พอดีกับเจ้าของบ้าน

    EVERYTHING TEAM5 months ago
  • DESIGN/Architecture

    เรียนรู้แนวคิด “Karamarishiro” ปรัชญาทางสถาปัตยกรรมของ Akihisa Hirata สถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่ทรงอิทธิพลระดับโลก

    หนึ่งในกิจกรรมจากเวที TOSTEM Asia Design Award (TADA) ซึ่งจัดขึ้นโดย TOSTEM เพื่อเฟ้นหาผลงานสถาปัตยกรรมในเอเชีย ที่มุ่งให้ความสำคัญกับเรื่องของธรรมชาติ ผสานเข้ากับนวัตกรรมการอยู่อาศัยสมัยใหม่ ตอบโจทย์ทั้งผู้ใช้งาน และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ซึ่งนอกจากผู้ชนะรางวัลจะได้ร่วมเดินทางไปรับรางวัลที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว ยังได้พบปะกับ Akihisa Hirata สถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงระดับโลก ที่มาแชร์มุมมองแนวคิดการออกแบบโปรเจกต์ต่าง ๆ ตั้งแต่งาน Installation Art บ้านพักอาศัย จนถึงอาคารสาธารณะ ซึ่งความน่าสนใจนอกเหนือจากเอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่ถ่ายทอดผ่านฟอร์ม และสเปซที่โดดเด่น และเป็นที่จดจำแล้วนั้น สำคัญคือปรัชญาหลักที่เป็นรากฐานความคิดของ Hirata สู่การพัฒนาเป็นสถาปัตยกรรมน่าทึ่งเหล่านั้น ซึ่งเราจะมาเจาะลึกแนวคิดที่ว่านั้นกัน

    By TOSTEM
    EVERYTHING TEAM5 months ago
  • DESIGN/Architecture

    เจาะลึกแนวคิด 2 ผลงานออกแบบจากภาคเหนือ ที่ชนะรางวัล TOSTEM ASIA DESIGN AWARD 2024

    ผสานบริบทธรรมชาติ สอดรับกับวัฒนธรรมท้องถิ่นได้อย่างลึกซึ้ง พร้อมถ่ายทอดสู่เอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรม ที่เติมเต็มทั้งสุนทรียศาสตร์ และตอบโจทย์การใช้ชีวิตผู้อยู่อาศัยได้ทุกมิติ คือจุดร่วมหลักของสองผลงานออกแบบบ้านที่ตั้งอยู่ใน 2 จังหวัดทางภาคเหนือ ที่คว้ารางวัล TOSTEM ASIA DESIGN AWARD 2024 (TADA 2024) ในกลุ่มประเภท “Special Mention for Sustainable Living” มาครอง

    By TOSTEM
    EVERYTHING TEAM5 months ago
  • DESIGN/Architecture

    เชื่อมบริบทธรรมชาติของเมือง Hefei สู่จิตวิญญาณของ 3 โชว์รูมเฟอร์นิเจอร์ชั้นนำในจีน ที่ออกแบบโดย HAS design and research

    ขึ้นชื่อว่าเป็นโปรเจกต์ออกแบบโดย HAS design and research ของสองสถาปนิกฝีมือแถวหน้าอย่าง คุณเจอร์รี่ หง (Jenchieh Hung) และคุณป้อ-กุลธิดา ทรงกิตติภักดี (Kulthida Songkittipakdee) แล้วนั้นรับรองว่ามิติที่ลึกซึ้งกว่าเรื่องของฟอร์มอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ทุกคนต่างทึ่งไปกับงาน“Aluminum Grotto and Public Ground” งานอินสตอลเลชันสุดอลังการที่จัดแสดงในงานสถาปนิก’67 ก็เป็นตัวอย่างของการผสานองค์ประกอบเรื่องของพื้นผิว-พื้นที่-โครงสร้าง-ฟังก์ชั่นให้เป็นหนึ่งเดียว ภายใต้ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ และเชื่อมระหว่างภูมิทัศน์ธรรมชาติ ศิลปะเชิงช่าง และวัสดุอุตสาหกรรมได้อย่างน่าตื่นตา มาถึงโปรเจกต์ใหม่ที่เป็นงานออกแบบรีเทลนี้ ทาง HAS ได้พยายามข้ามขนบบางอย่างของการออกแบบพื้นที่เชิงพาณิชย์ทั่วไป เพื่อสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับผู้ที่ได้ไปเยือน

    EVERYTHING TEAM6 months ago
  • DESIGN/Architecture

    SANS STUDIO BANGKOK by PHTAA LIVING DESIGN สตูดิโอที่สร้างเอกลักษณ์ภายนอก จากการนำแสงธรรมชาติเข้าสู่ฟังก์ชั่นภายใน

    กลายเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ในซอยจ่าโสด เมื่อเราได้พบกับอาคารสถาปัตยกรรมโมเดิร์นเรียบเท่ที่เต็มไปด้วยไดนามิคของเส้นสาย ส่วนคว้านโค้งซึ่งออกแบบมาเพื่อฟังก์ชั่น และเพื่อแสงธรรมชาติ เป็นอาคารโทนสีขาวสะอาดตาแต่ทำให้เราไม่อาจละสายตา กับเอกลักษณ์ดีไซน์ของอาคารที่ทอดตัวยาวพร้อมมีประภาคารเล็ก ๆ นี่คือ SANS STUDIO BANGKOK สตูดิโอแห่งใหม่ที่ก่อตั้งขึ้นโดยเจ้าของผู้สนใจในงานสถาปัตยกรรมและศิลปะการถ่ายภาพ หลังจากเรียนจบมาจากฝรั่งเศส โดยให้เป็นสตูดิโอที่รองรับงานถ่ายภาพ โปรดัคชั่น จนถึงอีเวนต์ ที่ได้ทาง PHTAA LIVING DESIGN มาเป็นบริษัทสถาปนิกออกแบบให้

    EVERYTHING TEAM2 years ago
  • DESIGN/Architecture

    “สถาปนา/สถาปัตยกัม” นิทรรศการแห่งการเฉลิมฉลอง 90 ปี ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะสถาปัตยกรรมแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีการเปิดให้เรียนในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมศาสตร์ ก่อตั้งโดย อาจารย์นารถ โพธิประสาท ในปี พ.ศ. 2476 และมีการเปิดใช้ตึกคณะสถาปัตยกรรมครั้งแรกในปี พ.ศ. 2484 จนต่อมาในปี พ.ศ. 2485 ภายใต้รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มี “ประกาศปรับปรุงอักสรไทย” ขึ้นเพื่อให้การสะกดคำในภาษาไทยกะทัดรัดและลดความซ้ำซ้อนของตัวอักษรลง ชื่อคณะสถาปัตยกรรม จึงถูกเปลี่ยนแปลงและใช้ชื่อว่า คณะสถาปัตยกัม อยู่นานถึงสองปี ก่อนจะมีการกลับมาใช้ชื่อเดิมอีกครั้ง (หลังจบสงคราม) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2487 เป็นต้นไป

    EVERYTHING TEAM2 years ago
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION

We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )