FUZZY HOUSE | IAMEVERYTHING.CO

LOOKING ON EVERYTHING ?

EXPLORE ON EVERYTHING

ในปัจจุบันการอ้างอิงถึง “บริบท” เป็นสิ่งที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเสมอๆในงานออกแบบสถาปัตยกรรม แต่ส่วนบริบทที่ถูกนำมาพิจารณาโดยมากจะเป็น บริบททางด้านกายภาพ อย่างอาคารที่แวดล้อมที่ดิน ทิศทางแดดลมฝน

มากกว่าที่จะเป็นการทำความเข้าใจต่อคำว่า “บริบท” ในเชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และอีกสิ่งที่มักจะถูกละเลยและมองข้ามเสมอก็คือ “บริบท” ของผู้คนชุมชนที่อาศัยแวดล้อมอยู่ในพื้นที่บริเวณนั้น ดังนั้นผลงานออกแบบที่ปรากฏให้เห็นโดยมากจะเป็นการสร้างความหมายต่างๆให้กับงานออกแบบของสถาปนิกเองเสียมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นตัวอย่างที่พูดถึงการสร้างลักษณะบ้านไทยร่วมสมัย หรือไม่ก็จะเป็นการใช้วัสดุอย่างอิฐที่ทำให้นึกถึงสถาปัตยกรรมในอดีต ซึ่งก็แล้วแต่ว่าสถาปนิกท่านนั้นจะยกเอาเรื่องราวอะไรมาสร้างความหมายให้กับงานออกแบบสถาปัตยกรรมของตัวเอง
แต่สำหรับกรณีบ้านของทันตแพทย์หนุ่ม อุกฤษ ยี่สารพัฒน์ นั้นอาจเรียกได้ว่า เป็นการทดลองความคิดของสถาปนิกกับบริบทของชุมชนในบริเวณนั้น เนื่องจากที่ตั้งโครงการถูกปล่อยว่างและไม่ได้ใช้งานมานานจนกลายสภาพเป็นดงพงหญ้าคั่นกลางระหว่างถนนในชุมชนป่าห้าทางด้านฝั่งทิศตะวันตกกับซอยทางด้านฝั่งทิศตะวันออก ซึ่งชาวบ้านในละแวกนั้นก็ได้ใช้ที่ดินแปลงนี้เป็นทางลัดในการสัญจร ณรงค์ โอถาวร สถาปนิกผู้ออกแบบได้ตัดสินใจเลือกเอาเส้นทางเดินเล็กๆที่ชาวบ้านใช้เดินผ่านเป็นประจำมาเป็นจุดเริ่มต้นในการวางผังอาคาร ซึ่งการเก็บทางเดินสาธารณะของชาวบ้านไว้ ได้นำไปสู่การสร้างกำแพงบ้านคอนกรีตบล็อกให้เหมือนกับกำแพงคอนกรีตบล็อกของหอพักที่ขนาบอยู่ทั้งสองด้าน เพื่อให้เกิดความรู้สึกว่าตัวอาคารใหม่ที่เกิดขึ้นเป็นเพียงแนว “กำแพง” รั้วคอนกรีตบล็อกที่ถูกสร้างเพิ่มเติมขึ้นมา อีกทั้งสถาปนิกยังได้ฝังพื้นที่โถงหลักของตัวบ้านลงใต้ดินเพื่อให้ตัวอาคารแลดูไม่สูงเด่นมากจนเกินไป ส่วนพื้นที่ใช้สอยของบ้านหลังนี้ ประกอบไปด้วยโถงหลักอย่างห้องรับแขกที่เป็นตัวเชื่อมพื้นที่ใช้สอยต่างๆเข้าหากัน
ในขณะที่ห้องนอนบริเวณชั้นสองก็สามารถมองลงมายังโถงห้องรับแขกด้านล่างได้เนื่องจากผนังเกือบทั้งหมดเป็นกระจกใสผืนใหญ่ ส่วนพื้นที่ดาดฟ้าคอนกรีตด้านบนถูกออกแบบให้เป็นขั้นบันไดแบบที่นั่งอัฒจันทร์ซึ่งสามารถใช้งานเป็นพื้นที่สังสรรค์ไปในตัวและเมื่อเราเดินขึ้นบันไดส่วนนี้ไปถึงจนถึงส่วนดาดฟ้าด้านบนสุดจะสามามารถมองเห็นวิวดอยสุเทพทางด้านทิศตะวันตกได้อย่างชัดเจน
ซึ่งเมื่อตัวบ้านก่อสร้างแล้วเสร็จ และทางเดินสาธารณะได้ถูกอาคารล้อมรอบกลายเป็นทางเดินขนาดเล็กที่แทรกอยู่ระหว่างตัวบ้าน ชาวบ้านในละแวกนั้นก็ไม่ได้ใช้เส้นทางนี้เป็นทางสัญจรอีกต่อไป อาจเนื่องด้วยเห็นว่ามีอาคารถูกก่อสร้างขึ้นมาและมีการครอบครองพื้นที่อย่างชัดเจน แต่บ้านหลังนี้ก็ได้จุดประกายให้เห็นถึงการนำเอาความคิดจาก“บริบท”ของพื้นที่และพฤติกรรมของผู้คนในละแวกนั้นมาใช้ในการสร้างงานสถาปัตยกรรม และอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้สถาปัตยกรรมเชิงทดลองแบบนี้เกิดขึ้นมาได้ ก็ด้วยการสนับสนุนจากเจ้าของโครงการที่มีวิสัยทัศน์
Photographs : Filippo Poli , Soopakorn Srisakul
    TAG
  • house
  • architecture
  • design

FUZZY HOUSE

ARCHITECTURE/HOUSE
7 years ago
CONTRIBUTORS
Aroon Puritat
RECOMMEND
  • DESIGN/HOUSE

    “Pong House” เชื่อมปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติผ่านคอร์ต พร้อมตอบโจทย์ความ Privacy

    “Pong House” บ้านที่พร้อมเปิดสเปซมากที่สุดสำหรับการเชื่อมปฏิสัมพันธ์สู่ธรรมชาติ และเผยมุมมองน้อยที่สุดสู่พื้นที่สาธารณะ เพื่อความเป็นส่วนตัว โดยมี ‘คอร์ตยาร์ต’ เป็นหัวใจของบ้าน ในการสอดแทรกพื้นที่สีเขียวเข้ากับพื้นที่อยู่อาศัย ภายใต้ดีไซน์ที่คลี่คลายสู่ความเรียบง่าย และพร้อมเป็นพื้นที่ปลอดภัยสบายใจให้แก่ผู้อยู่อาศัยในทุกมุมของบ้าน

    EVERYTHING TEAM3 years ago
  • DESIGN/HOUSE

    ICE.SU HOUSE BY JUNSEKINO A+D บทสนทนาระหว่างการสร้างบ้านที่ย้อนแย้งแต่ชัดเจนบนสเกล 1:1

    “One for the Road” หรือ “วันสุดท้าย . . ก่อนบายเธอ” ภาพยนตร์ไทยที่สร้างกระแสตั้งแต่ก่อนเข้าฉาย และได้ผลตอบรับที่ดีทั้งจากตัวหนัง ผู้อำนายการสร้าง ผู้กำกับ บท เพลง นักแสดง ไปจนถึงบ้านของนักแสดงนำซึ่งมีเอกลักษณ์ และถูกพูดถึงมากกว่าเจ้าของ ไอซ์ซึ หรือ คุณณัฐรัตน์ นพรัตยาภรณ์ เลือกการปลูกบ้านขึ้นใหม่จากสถาปนิกที่เขาเลือกเอง JUNSEKINO A+D เพื่ออาศัยอยู่กับแฟนและแมว

    Nada Inthaphunt3 years ago
  • DESIGN/HOUSE

    HOUSE 362 บ้านที่เปิด “ช่อง” เชื่อมโยงชีวิตเข้ากับธรรมชาติ

    HOUSE 362 ของครอบครัวพงษ์สุรพิพัฒน์ อันเป็นฝีมือการออกแบบของเพื่อนสถาปนิกอย่าง จูน เซคิโน จาก Junsekino Architect and Design / Junsekino Interior Design ที่นอกจากจะสวยงามด้วยเค้าโครงสถาปัตยกรรมอันเรียบง่ายแล้ว ยังสร้างการเชื่อมโยงให้สมาชิกภายในบ้าน ได้สัมผัสกับธรรมชาติอย่างไร้ขอบเขตผ่านดีไซน์ประตู หน้าต่างบานเลื่อน และหน้าต่างบานกระทุ้งของ Double Space อันเป็นพื้นที่หัวใจหลักของบ้าน

    By TOSTEM
    EVERYTHING TEAM4 years ago
  • DESIGN/HOUSE

    BAAN VIPHA 41 BY ANONYM บทสนทนาของตัวตนและประสบการณ์อย่างที่ใจตามหา

    บ้านวิภา 41 เป็นผลงานที่เริ่มต้นโครงการเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ในช่วงยุคเริ่มต้นก่อตั้งสตูดิโอ ANONYM ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงสร้างผลงานบ้าน และเน้นย้ำแก่นเอกลักษณ์ของตนจนมีความโดดเด่นทางผลงานสถาปัตยกรรมประเภทที่พักอาศัยเช่นในปัจจุบัน

    Nada Inthaphunt4 years ago
  • DESIGN/HOUSE

    House COVE(R) by TOUCH Architect ต่อเติมบ้านหัวมุมให้ต่อเนื่องกับบ้านหลังเก่า

    เมื่อบ้านเดี่ยวสองชั้นเดิมในหมู่บ้านจัดสรรของครอบครัวที่มีสมาชิก 5 คน ของคน 3 รุ่น มีพื้นที่ใช้สอยไม่เพียงพอสำหรับการใช้งานอีกต่อไป การต่อเติมบ้านบนแปลงที่ดินรูปทรงพิเศษตามการจัดสรรเดิมในรั้วบ้านซึ่งมีโจทย์ของการต่อเติมอย่างไรให้กลมกลืนจึงเกิดขึ้น

    Nada InthaphuntApril 2021
  • DESIGN/HOUSE

    BAAN SAILOM BY ANONYM บ้านที่สายลมมีร่างกายให้จับต้อง

    เอกลักษณ์ของผลงาน ANONYM คือการดึงตัวตนของเจ้าของบ้านออกม่านงานได้อย่างหลากมิติ รวมถึงความใส่ใจในรายละเอียดที่ทำให้ภาพรวมของผลงานออกมาเนี้ยบทุกชิ้น แต่ “ตัวกลาง” ของ “บ้านสายลม” กลายเป็นสิ่งปลดล็อคความเป็น ANONYM อีกแบบที่อนุญาตให้เจ้าของบ้านเข้ามาตัวตนอีกมุมซึ่งแตกต่างจากผลงานชิ้นอื่น

    Nada InthaphuntMarch 2021
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION

We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )