THE UNLIMITED CREATIVE HOURS | IAMEVERYTHING.CO

LOOKING ON EVERYTHING ?

EXPLORE ON EVERYTHING

THE UNLIMITED CREATIVE HOURS 49 HUB KODANG 116
IA49 L49 LD49
เพราะไลฟ์สไตล์การทำงานของดีไซเนอร์ไม่เคยอยู่ในกรอบของเวลาออฟฟิศเปิด 9.00 - 17.00 น. ที่แน่นอน แต่เป็นงานที่ต้องใช้พลัง และความคิดสร้างสรรค์ให้ไหลลื่นได้ทุกเวลา ดังนั้นการทำงานที่ “ไม่ค่อยมี Early มีแต่ Late จน Very Late ถึงเช้า” อาจเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ กับบริษัทออกแบบหลายแห่ง เหมือนอย่างที่คุณธีรานุช กรรณสูต วงศ์ไวศยวรรณ Managing Director แห่งบริษัท IA49 (Interior Architects 49) บอกเล่าถึงวิถีชีวิตของดีไซเนอร์ที่นี่ และยอมรับว่าสเปซมีผลต่อการทำงานโดยเฉพาะอาชีพที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์แบบ Long Hours
จากซ้าย ไปขวา สมภพ คงฐิติกุล Deputy Managing Director, Interior Architects 49 (IA49) กริช มโนพิโมกษ์ Managing Director, 49 Lighting Design Consultants (LD49) ธีรานุช กรรณสูต วงศ์ไวศยวรรณ Managing Director, Interior Architects 49 (IA49) วัลยา ตั้งกิจเวทย์ Deputy Managing Director, Interior Architects 49 (IA49) ปรีดาพนธ์ บัณฑิติยานนท์ Managing Director, Landscape Architects 49 (L49)
สเปซทำงานใน Warehouse ที่มีหลังคาสูง ให้ความรู้สึกโปร่งโล่ง และสร้างบรรยากาศผ่อนคลายให้กับการทำงานมากขึ้น
ณ โกดังเลขที่ 116 ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 1,060 ตารางเมตร ในโครงการ Warehouse 26 แห่งนี้ คือที่ตั้งของออฟฟิศในเครือ 49 Group อยู่ 3 บริษัท ได้แก่ IA49 (Interior Architects 49), L49 (Landscape Architects 49) และ LD 49 (49 Lighting Design Consultants) โดยตรงข้ามโกดังเลขที่ 116 คือโกดังเลขที่ 112 ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัท G49, GA49 และ A49 (Phuket) ในเครือเดียวกัน รวมถึงบริษัท LI-ZENN ด้วย ดังนั้นเมื่อรวมโกดังเลขที่ 112 และโกดังเลขที่ 116 เข้าด้วยกัน พื้นที่นี้ก็เหมือนเป็น “49 HUB” หรืออาณาจักรแห่งใหม่ของบริษัทออกแบบที่แยกออกมาจากฐานหลักของ A49 ในขณะเดียวกันก็เป็น “Design Community” ที่มีเพื่อนบ้านเป็นบริษัทดีไซน์หลากหลายสำนักอยู่ด้วย
การออกแบบยังคงเอกลักษณ์ความเป็นโกดัง โดยเก็บเสาไม้เก่าไว้ทั้งหมด ร่วมกับการใช้งานเหล็ก และกระจก ให้บรรยากาศเหมือน แวร์เฮ้าส์เก่าในมหานครนิวยอร์ก
มุมโต๊ะทำงานของ Managing Director แห่ง IA49
“เดิมที Warehouse 26 ตรงนี้เป็นกลุ่มโกดังของบริษัท อรรถกระวี ให้เช่าเพื่อเก็บของ ซึ่งตอนนี้ถูกพัฒนาทั้งบริเวณขึ้นมาให้มีชีวิตชีวา และมีความเป็นไลฟ์สไตล์มากขึ้น เพราะมีบริษัทออกแบบบริษัทอื่น อย่าง DOT LINE PLANE และ Hypothesis เป็นต้น มาอยู่ด้วย ทำให้กลายเป็น Design Community ที่อบอุ่นขึ้น” จุดเด่นของโกดัง 116 แห่งนี้ คือ เป็นโกดังที่เก่าที่สุดในบรรดาโกดังทั้งหมด และยังเป็นเสาไม้อยู่ เมื่อถูกปรับปรุงให้เป็นออฟฟิศ จึงถูกออกแบบให้คงเอกลักษณ์ความเป็นแวร์เฮ้าส์ไว้ โดยเน้นงานเหล็ก งานไม้ และงานกระจก เหมือนเป็นแวร์เฮ้าส์เก่าๆ ในมหานครนิวยอร์ก
“เหมือนเรานั่งทำงานอยู่ในโรงงานเก่าจริงๆ และที่ดีคือ Volume ของแวร์เฮ้าส์ เพราะเดิมเราทำงานอยู่ในอาคาร แต่แวร์เฮ้าส์จะมีหลังคาสูง ทำให้รู้สึกปลอดโปร่ง และพื้นที่ก็กว้างขวางขึ้น ทำให้รองรับจำนวนพนักงานที่ขยายขึ้นได้ อย่าง IA49 จากเดิมมีจำนวนพนักงานอยู่ 45 คน ตอนนี้ก็สามารถเพิ่มอัตราได้ถึง 65 คน” ด้วยเป็นนักออกแบบอยู่แล้วนั้น การเปลี่ยนจากโกดังเป็นออฟฟิศจึงไม่ได้คำนึงแค่เรื่องความสวยงาม แต่ยังพิจารณาถึงวิธีการทำงาน ไลฟ์สไตล์การทำงาน และการผนวกเรื่องของ Functional เข้ากับ Economical เพื่อให้เป็นออฟฟิศที่ Sustainable มากที่สุดด้วย ไม่ว่าจะเป็น การเก็บเสาไม้เก่าทุกต้นไว้ แม้ภายหลังจะต้องใส่เฝือกเหล็ก เพื่อเสริมความแข็งแรงในการรับน้ำหนักให้เกือบทุกต้น จนถึงการออกแบบโต๊ะทำงานโดยใช้เหล็กนั่งร้านมาประกอบขึ้นเป็นโครงโต๊ะที่ตอบสนองการใช้งานในราคาประหยัด และสอดคล้องกับความเป็นแวร์เฮ้าส์ การเปิดรับแสงธรรมชาติแบบ Sidelight ทางจั่วทิศเหนือ ที่ให้แสงสว่างเพียงพอในเวลากลางวัน โดยไม่นำพาความร้อนมาโดยตรง และการใช้ระบบแอร์ที่ประหยัดไฟ
หัวใจของงานออกแบบ ก็คือห้องวัสดุที่เก็บตัวอย่างวัสดุไว้หลากหลายประเภท ให้ดีไซเนอร์เข้ามาค้นคว้าเหมือนห้องสมุด
ออฟฟิศทำงานของบริษัท L49 ที่ตั้งอยู่โซนหน้าของแวร์เฮ้าส์เลขที่ 116 คงบรรยากาศความเป็นแวร์เฮ้าส์ และเปิดรับแสงธรรมชาติแบบ Sidelight
ส่วนที่ขาดไม่ได้สำหรับออฟฟิศอินทีเรียอย่าง IA49 ก็คือ “ห้องที่รกที่สุด แต่ก็สำคัญที่สุด” อย่าง “ห้องวัสดุ” ที่เป็นห้องจัดเก็บวัสดุหลากหลายประเภทแยกตามหมวดหมู่ ไม่ว่าจะเป็นหนัง ผ้า ไม้ หิน ฯลฯ เพื่อให้ดีไซเนอร์ได้เข้ามาค้นคว้าเหมือนห้องสมุด ภายในห้องมี Skylight เพื่อเปิดรับแสงธรรมชาติที่เหมาะกับการเลือกวัสดุ สำหรับห้องนี้ ความร้อนจาก Skylight มีประโยชน์ในแง่ช่วยลดโอกาสการเกิดเชื้อรา และความชื้นที่จะเกิดขึ้นในห้องวัสดุได้ส่วนหนึ่ง “เพราะนอกจากเรื่องฟังก์ชั่นการใช้งานแล้ว ก็ห่วงสุขภาพของน้องๆ เราด้วย” คุณหน่อยเสริม
ห้องทำงานของบริษัท LD49 (49 Lighting Design Consultants) ที่ดูแลด้านงานไลท์ติ้ง โดยแยกพื้นออกมาอย่างเป็นสัดส่วน แม้จะแชร์สเปซเดียวกับ IA49
ในเวลากลางคืน ออฟฟิศจะถูกเปลี่ยนบรรยากาศให้เหมาะกับการทำงานที่มักจะลากยาวถึงดึกด้วยแสง Up Light “เพราะว่าดีไซเนอร์ส่วนใหญ่ทำงานไม่เป็นเวลาอยู่แล้ว เราทำงานอยู่บนเดดไลน์ของโปรเจกท์ เพราะฉะนั้นส่วนใหญ่ก็แทบจะอยู่กันถึงห้าทุ่มเที่ยงคืนตลอด ที่ออฟฟิศยังมีห้องอเนกประสงค์ที่อยู่ติดริมรั้วที่จัดสวนได้ สามารถเป็นทั้งที่กินข้าว ประชุมภายใน บางทีช่วงบอลโลกเราก็เปิดดูบอลโลกไปด้วย แล้วก็มาทำงานต่อ เวลานึกอะไรไม่ออกก็สามารถไปนั่งกินกาแฟในห้องอเนกประสงค์ หรือจะเดินออกไปซื้อกาแฟตรง Hypothesis ก็ได้ คือเราค่อนข้างอิสระ และสบายๆ เพราะวัฒนธรรมองค์กรของเราคืออยู่กันแบบครอบครัว เป็นพี่เป็นน้อง และดูแลซึ่งกันและกัน”
ห้องประชุมโต๊ะไม้ยาว ที่สามารถใช้งานได้อเนกประสงค์ ในส่วนของ L49
ในขณะที่เราต้องใช้ชีวิตการทำงานแบบ Long Hours แล้วออฟฟิศแบบไหน ที่จะเติมไฟการทำงานให้คืนกลับมาแบบ Long Hours ได้เช่นกัน เราว่าสเปซทำงานแนวแวร์เฮ้าส์ที่โปร่งโล่งแบบนี้ ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายสบายเหมือนอยู่บ้าน แถมยังเป็นแหล่งพลังความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างดี
    TAG
  • architecture
  • studio
  • design
  • lifestyle
  • vdo
  • culture

THE UNLIMITED CREATIVE HOURS

INTERIOR/STUDIO VISIT
6 years ago
CONTRIBUTORS
EVERYTHING TEAM
RECOMMEND
  • PEOPLE/STUDIO VISIT

    ‘Snappy Studio’ จากคลับเฮ้าส์ร้างอายุกว่า 30 ปี สู่พื้นที่สร้างสรรค์ของคนมันๆ ใจกลางหมู่บ้าน

    ห้องแล็บลับใต้ดิน ศูนย์บัญชาการอวกาศในหนัง Space Age ลานโรลเลอร์สเก็ตยุค 80s... นี่คือสิ่งที่กำลังตีกันยุ่งเหยิงในหัวเราเมื่อเห็นอาคารหน้าตาแปลกประหลาดลักษณะเป็นโดมกระจกครอบไว้ด้านนอกผุดขึ้นมากลางลานสโมสรของหมู่บ้าน แต่เมื่อเดินลงบันไดที่ซ่อนอยู่ตรงนั้น ทอดยาวไปสู่ชั้นใต้ดินด้านล่าง เรากลับพบความรู้สึกประหลาดยิ่งกว่า! 

    Nat LelaputraJanuary 2024
  • DESIGN/STUDIO VISIT

    เช็คอินสตูดิโอดีไซน์ระดับตำนานสัญชาติดัตช์ droog

    ในครั้งแรกที่เรามีโอกาสได้เดินทางไปยังเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ นอกจากความตั้งใจในการชมงานศิลปะชั้นเยี่ยมในพิพิธภัณฑ์ชั้นนำของโลกที่นี่แล้ว ความหวังอีกอย่างคือการได้เยี่ยมเยือนสตูดิโอดีไซน์ในดวงใจของเรามาเนิ่นนาน สตูดิโอแห่งนี้มีชื่อว่า droog นั่นเอง

    Panu Boonpipattanapong9 months ago
  • DESIGN/STUDIO VISIT

    ‘DOT.X’ ดีไซน์สตูดิโอที่ออกแบบ ‘บ้าน’ บนความหลากหลาย และเป็นอะไรก็ได้ตามใจผู้อยู่ 

    ‘DOT.X’ ดีไซน์สตูดิโอ การรวมตัวกันของคนเจนฯ ใหม่ที่ทำงานบนความหลากหลาย ลื่นไหล และพร้อมปรับตัวไปกับทุกภารกิจที่ถาโถมเข้ามา เพื่อจัดการความชอบของผู้คนให้เข้าที่เข้าทาง 

    Nat LelaputraFebruary 2023
  • DESIGN/STUDIO VISIT

    เยือนแหล่งกำเนิด “King of Watch” ของญี่ปุ่น ก้าวสู่นาฬิกาเรือนหรูระดับโลกในนาม “Grand Seiko”

    ก่อนที่ทุกคนจะได้สัมผัสนาฬิกาชั้นสูงเรือนจริงที่บูทีคของ Grand Seiko แห่งแรกในประเทศไทย ที่เกษรวิลเลจ เราจะพาเจาะลึกไปยังเบื้องหลังแหล่งกำเนิดที่จะตอบคำถามได้ว่าทำไมนาฬิกา Grand Seiko จึงได้รับการยกย่องให้เป็นหัตถศิลป์แห่งเครื่องบอกเวลาระดับโลกที่คู่ควรแก่การสะสมและครอบครอง

    EVERYTHING TEAM5 years ago
  • DESIGN/STUDIO VISIT

    ตุ่ย - ขวัญชัย แห่งแผลงฤทธิ์ กับความอยู่รอดของอาชีพสถาปนิกในต่างจังหวัด

    ครั้งแรกในรอบ 8 ปีที่คุณตุ่ย - ขวัญชัย สุธรรมซาว ผู้ก่อตั้งบริษัทสถาปนิกแผลงฤทธิ์ ปรากฏตัวในหน้าสื่ออีกครั้ง หลังจากหมกมุ่นอยู่กับการทดลองเพื่อค้นหามุมมองใหม่ๆ ที่ลงลึกไปมากความงามภายนอกของงานสถาปัตยกรรม เพื่อความยืนหยัดอยู่รอดของอาชีพสถาปนิกในต่างจังหวัด

    EVERYTHING TEAM5 years ago
  • DESIGN/STUDIO VISIT

    STUDIO VISIT JUNSEKINO A+D

    ภายใต้บรรยากาศบ้านๆ สถาปนิกและนักออกแบบสร้างสรรค์ผลงานที่มีมากกว่าบ้าน ภายใต้ชื่อสำนักงานจูน เซคิโน อาร์คิเทคต์ แอนด์ ดีไซน์ บ้านเก่าที่ยังคงเอกลักษณ์ของรูปแบบสถาปัตยกรรม Post Modern ซึ่งมักจะเห็นในบ้านจัดสรรยุค 60-70

    EVERYTHING TEAM5 years ago
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION

We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )