LOOKING ON EVERYTHING ?
EXPLORE ON EVERYTHING


I’m here สํารวจการทับซ้อนของอดีตและปัจจุบันในพื้นที่ส่วนตัว ด้วยงานศิลปะสุดอลังการของ ปรีชา รักซ้อน
เรื่อง: ภาณุบุญ พิพัฒนาพงศ์
โดยปกติ มิตรรักแฟนศิลปะอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ มักจะไปชมนิทรรศการศิลปะกันในพื้นที่ทางศิลปะอย่างหอศิลป์หรือพิพิธภัณฑ์ศิลปะต่าง ๆ แต่ในบางครั้ง เราก็อาจได้ชมนิทรรศการนอกพื้นที่ทางศิลปะอย่าง ห้างสรรพสินค้า ร้านกาแฟ, ร้านอาหาร หรือในพื้นที่สาธารณะอย่าง ตามท้อง ถนน, บนผนังกําแพงข้างทาง, ในสวนสาธารณะ หรือในอาคารเก่าทิ้งร้างที่ไหนสักแห่ง แต่ในคราวนี้ เราได้มีโอกาสไปชมนิทรรศการศิลปะในพื้นที่ที่แปลกประหลาดที่สุดเท่าที่เคยเจอมา นั่นคือใน โกดังข้าวสารของโรงสีดี ๆ นี่เอง!

นิทรรศการที่ว่านี้มีชื่อว่า I’m here โดยศิลปินหนุ่มชาวสุพรรณบุรี "ปรีชา รักซ้อน" ที่เปลี่ยนโกดังข้าวสารของโรงสีบูรณะกิจ โรงสีของครอบครัวของเขาใน จ.สุพรรณบุรี ให้กลายเป็นพื้นที่แสดงนิทรรศการศิลปะขนาดยักษ์อันอลังการตระการตา


ภายในโกดังข้าวสารขนาด 4,329 ตารางเมตร มีผลงานภาพจิตรกรรมขนาดน้อยและใหญ่ (มาก ๆ ) วาดบนผนังคอนกรีตทุกด้านของอาคารโกดัง รวมถึงผลงานศิลปะจัดวางหลากชิ้น จัด แสดงภายในพื้นที่ใหญ่โตมโหฬารราวกับเป็นน้อง ๆ สถานีรถไฟหัวลําโพงก็ไม่ปาน


ปรีชา รักซ้อน ศิลปินเจ้าของนิทรรศการ เล่าให้เราฟังถึงจุดเริ่มต้นของโครงการศิลปะอันสุดแสนทะเยอทะยานของเขาครั้งนี้ว่า
“นิทรรศการครั้งนี้เกิดจากการที่ผมแสดงนิทรรศการ Comics, a boy and a man. ที่โกดังข้าวสารของโรงสีแห่งนี้เป็นครั้งแรก พอนิทรรศการจบไปแล้ว ผมก็ได้คุยกับพี่อังกฤษ (อัจฉริยโส ภณ) ว่าคราวที่แล้วผมใช้พื้นที่ของโกดังเพียงครึ่งเดียว เขาบอกว่าทําไมไม่ใช้ให้เต็มพื้นที่ไปเลย ไม่ต้องสนใจว่าใครจะว่ายังไง ผมเลยรู้สึกว่า ผมอยากทํางานเกี่ยวกับพื้นที่ที่เราอาศัยอยู่ ก็เลยเกิดเป็นนิทรรศการชุดนี้ขึ้นมา
งานชุดนี้พูดถึงเรื่องราวจากสองสถานที่ส่วนตัวของผม คือที่บ้านกับที่โรงเรียน ในสองช่วงเวลา คืออดีตกับปัจจุบัน อดีตคือช่วงเวลาสมัยที่ผมเรียนอยู่ในโรงเรียนประจําคาทอลิก ชื่อ โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ อ.สามพราน จ.นครปฐม ที่ผมเรียนอยู่ 12 ปี ตั้งแต่ชั้น ป.1 - ม.6 สภาพแวดล้อมที่นั่นมีรูปปั้นทางศาสนาคริสต์ต่าง ๆ เป็นแรงบันดาลใจให้ผมอยากวาดรูป จนทําให้ผมเข้าไปเรียนที่คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากรในเวลาต่อมา ตอนเรียนก็ไม่ได้นึกถึงความทรงจําในอดีตเลย แต่พอผมกลับมาทํางานที่บ้านเกิด ที่หมู่บ้านกุฎีทอง จ.สุพรรณบุรี ก่อนหน้านี้ผมรู้สึกว่าบ้านไม่ใช่ที่ของเรา เพราะผมไปใช้ชีวิตเป็นเด็กนักเรียนโรงเรียนประจําอยู่เป็นเดือน ๆ สองเดือน สามเดือน หรือหกเดือนค่อยกลับบ้านที โรงเรียนก็เลยเป็นเหมือนบ้านของเรา ทั้งสภาพแวดล้อม บรรยากาศทางศาสนาก็อยู่แวดล้อมเรา พอผมกลับมาอยู่ที่บ้าน ผมก็ลองสํารวจรวจสภาพแวดล้อมรอบ ๆ หมู่บ้าน เหมือนเป็นนิสัยว่า พอเราอยู่ตรงไหน เราก็ชอบเดินสํารวจโน่นนี่ ขี่จักรยานวนดูรอบ ๆ หมู่บ้าน จนทําให้ผมรู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้เคยเป็นสิ่งที่ผมเคยเห็นในความทรงจํา ทั้งภูมิทัศน์ ทิวทัศน์ต่าง ๆ แถวบ้านที่ผมเคยเห็นในอดีตเหล่านี้ติดตาผมมาถึงปัจจุบัน”

“ภาพวาดในนิทรรศการชุดนี้เป็นภาพภูมิทัศน์ของหมู่บ้านกุฎีทอง ทั้งวัด บ้าน โรงเรียน เหมือนโครงสร้างชุมชนทั่ว ๆ ไปตามต่างจังหวัด อย่างภาพวาดภาพหนึ่งเป็นภาพของโบสถ์คริสต์ในวัดกุฏีทอง หรืออีกภาพที่เป็นภาพของแม่น้ําท่าจีน ที่อยู่ข้าง ๆ บ้านผม อีกภาพเป็นบริเวณที่เลยออกมาจากบ้านผมหน่อย เป็นบ้านร้างที่เมื่อก่อนญาติของผมเคยอาศัยอยู่ แต่พออยู่ ๆ ไป คนในพื้นที่เริ่มย้ายออก เขาก็เลยย้ายไปอยู่ที่อื่น”

หนึ่งในผลงานที่โดดเด่นเป็นสง่าในนิทรรศการครั้งนี้คือภาพวาดทิวทัศน์เมืองขนาดใหญ่ มหึมาเต็มผนังช่วงหนึ่งของโกดัง เบื้องหน้าทิวทัศน์ปรากฏภาพมือปริศนาจรดนิ้วกลางอากาศ ราวกับกําลังให้พรแด่สรรพชีวิตที่อยู่เบื้องล่าง
“ภาพนี้เป็นมุมมองจากชั้นบนสุดของหออบข้าวที่สูงที่สุดของโรงสีของบ้านผม ที่เพิ่งรื้อทิ้งไป เพราะว่าอันตราย ไม่ได้ใช้งานแล้ว ถ้าอยู่ไปนาน ๆ อาจจะถล่มลงมาได้ (ภาพยอดของหออบข้าวที่ว่านี้ถูกวาดอยู่บนผนังอีกฝั่ง) ส่วนมือในภาพเป็นของพระเยซูที่ชูนิ้วเป็นสัญลักษณ์ไม้กางเขนเพื่อ อํานวยพระพร โดยผมได้แรงบันดาลใจมาจากภาพวาดพระเยซู (Salvator Mundi, 1500) ของ เลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci) เรื่องราวของคริสต์ศาสนาเหล่านี้เป็นสิ่งที่ติดตัวเรามา ตั้งแต่สมัยเรียนที่โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ เหมือนเป็นอดีตที่ติดตามเรามา โดยที่บางครั้งเราก็ไม่รู้ตัว แต่พอหันกลับมามอง เราก็จะเห็นว่ามันยังคงอยู่กับเราไม่ไปไหน เหมือนกับถ้อยคําในบทความของ อ. ธนาวิ โชติประดิษฐ ที่ผมชอบมาก ๆ ที่ว่า “อดีตที่ปรากฏในปัจจุบัน”
ด้วยเหตุนี้ ผลงานในนิทรรศการครั้งนี้ของปรีชาส่วนใหญ่จึงไม่ใช่แค่ภาพภูมิทัศน์ของหมู่บ้านกุฎีทอง บ้านเกิดของเขาแต่เพียงเท่านั้น หากแต่เป็นการถ่ายทอดความภาพทรงจําในวัยเด็กของเขาที่ซ้อนทับกับภาพในปัจจุบัน ด้วยการหยิบเอาภาพภูมิทัศน์ของโรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ ในอดีตมาซ้อนทับกับภาพภูมิทัศน์ของหมู่บ้านกุฎีทองในปัจจุบันนั่นเอง
“สําหรับผม โกดังข้าวสารของโรงสีแห่งนี้เป็นพื้นที่ส่วนตัวของผม มันเปรียบเสมือนโบสถ์ของผม นี่เป็นเหตุผลว่าทําไมผมต้องวาดภาพลงบนผนังอาคารแห่งนี้โดยตรง เหมือนงานจิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์คริสต์หรือโบสถ์ของไทย แทนที่จะวาดลงบนผ้าใบ เรื่องราวที่ปรากฏในภาพก็เป็นเรื่องราวส่วนตัวของผมที่เป็นคนของที่นี่ ในช่วงเวลาหนึ่งที่มีโอกาสมากกว่าคนอื่น เพราะพอมีฐานะอยู่บ้าง ก็เลยใช้พื้นที่ของโรงสีทําเป็นพื้นที่แสดงงานศิลปะของผม”

กลางพื้นที่แสดงงาน มีผลงานอีกชิ้นที่ดูแปลกตาน่าพิศวง คือศิลปะจัดวางจากเครื่องจักร หน้าตาคล้ายบันไดเลื่อนไร้ขั้นบันได ที่กําลังเดินเครื่องทํางานไม่หยุดหย่อน ที่เตะตาน่าสนใจก็คือ บนทางเลื่อนมีภาพวาดเคลื่อนไหว เลื่อนไหลวนเวียนไปมาอย่างไม่รู้จบอีกด้วย
“ผลงานศิลปะจัดวางชิ้นนี้ทําจากสายพานส่งข้าว บนสายพานจะมีภาพวาดเกี่ยวกับเรื่องที่ ถ้าคุณเป็นคนคริสต์ก็จะรู้จักดี คือ Station Of The Cross หรือ การเดินรูป 14 ภาค คือการติดตามพระเยซูบนเส้นทางที่พระองค์ถูกตรึงกางเขน ที่พูดถึงเหตุการณ์ที่พระเยซูถูกตัดสินประหารชีวิต, ทรงแบกไม้กางเขนแล้วหกล้มสามครั้ง, ถูกตรึงกางเขนจนสิ้นพระชนม์, และนําพระศพไปฝัง ซึ่งเป็นพิธีที่ชาวคริสต์เดินรอบเสา 14 เสาในโบสถ์ที่มีภาพเหตุการณ์ตรึงกางเขน 14 ภาค เพื่อรําลึกถึงความทุกข์ทรมานที่พระเยซูได้รับเพื่อไถ่บาปให้มวลมนุษย์ ศิลปินใหญ่ ๆ ในยุโรปมักจะวาดภาพเกี่ยวกับเรื่องนี้ ที่ผมทํางานชุดนี้เป็นศิลปะจัดวาง ก็เพราะงานชุดก่อนหน้านี้ผมทําเกี่ยวกับการ์ตูน ผมสนใจว่าทําไมภาพนิ่งในเชิงของงานจิตรกรรม ถึงสามารถตรึงคนให้หยุดนิ่งเพื่อดูชมมันได้ด้วยสภาวะอะไรบางอย่าง ผมเลยอยากลองทํางานจิตรกรรมให้เป็นภาพเคลื่อนไหวเหมือนแอนิเมชั่น โดยใช้สายพานส่งข้าวทําให้ภาพจิตรกรรมเลื่อนขึ้นไปเรื่อย ๆ จะว่าไป การไหลเวียนไปเรื่อย ๆ ของสายพานนี้ก็เป็นเหมือนความเชื่อในทางศาสนาพุทธเกี่ยวกับการไต่บันไดสวรรค์หรือวัฏสงสาร ในขณะเดียวกัน ผมก็นึกไปถึงผลงานของศิลปินจีน ไช่กั๋วเฉียง (Cai Guo-Qiang) ที่ทําบันไดจากดอกไม้ไฟสูงขึ้นไปบนฟ้า อีกอย่าง ปติสร เพ็ญสุด เพื่อนของผมที่เขียนบทความประกอบนิทรรศการครั้งนี้ยังตั้งข้อสังเกตว่า แทนที่งานของผมจะพาผู้ชมเดินตามเหตุการณ์เวียนรอบภาพเหตุการณ์ทั้ง 14 ภาค ตามพิธีกรรมทางศาสนาแต่เดิม กลายเป็นว่าภาพเหตุการณ์ทั้ง 14 ภาคของผมกลับเลื่อนไหลหมุนเวียนต่อหน้าสายตาผู้ชมที่หยุดนิ่งแทน”


เบื้องหน้าผลงานจิตรกรรมบนฝาผนังแต่ละด้าน ยังมีศิลปะจัดวางจากวัตถุเก็บตกเหลือใช้นานาชนิดจัดแสดงอยู่ ทั้งตู้, โต๊ะ, ม้านั่ง, ชิ้นส่วนเครื่องจักร ไปจนถึงรถกระบะเก่าคร่ําคร่าก็ยังมี
“วัตถุเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับผมในเชิงความทรงจํา อย่างเช่น โต๊ะไม้ ก็เป็นโต๊ะที่พ่อของผมทําขึ้นมา หรือตู้เสื้อผ้ารูดซิป ก็เป็นตู้เสื้อผ้าที่ผมใช้สมัยตอนอยู่โรงเรียนประจํา และยังเก็บเอาไว้อยู่พร้อมกับเสื้อผ้าที่เคยใส่ หรือที่ลากข้าวที่ใช้ในโรงสี และรถกะบะที่พ่อใช้ขับไปส่งผมที่โรงเรียนเป็นประจํา แล้วก็เอามาใช้เป็นรถลากข้าวแทนเพราะมันเก่าแล้ว หรือตู้ไม้เก่าที่เป็นของสะสมของที่ปู่ผมชอบ ส่วนม้านั่งผมก็ไปขอซื้อต่อจากโรงเรียนที่ผมเคยเรียน วัตถุข้าวของเหล่านี้เป็นเหมือนที่เก็บสะสมความทรงจําของผม ผมคิดว่าของพวกนี้เหมือนมีจิตวิญญาณของมันอยู่ ผมอาจจะคิดไปเองก็ได้ แต่ผมเชื่อของผมแบบนี้”
ด้วยความสงสัยใคร่รู้ เราจึงถามไปว่า เขาทํางานศิลปะขนาดน้อยใหญ่ (ยักษ์) จํานวนมากมายทั้งหมดด้วยตัวเองคนเดียวหรือมีใครช่วยเหลือบ้างหรือเปล่า ปรีชาเผยกับเราว่า
“งานในนิทรรศการครั้งนี้ทั้งหมดผมทําด้วยตัวเองคนเดียว ทั้งต่อนั่งร้าน ฉายสไลด์ วาดภาพ วาด ๆ ไป รถขนข้าวเปลือกวิ่งเอาข้าวมาลง ลงเสร็จ ผมก็ขึ้นนั่งร้านไปวาดต่อ ทําทั้งวัน ตอนกลางคืนก็วาดสักสามชั่วโมง เราเป็นคนทําศิลปะก็ต้องทําให้เต็มที่ ไปให้สุดทาง”


เมื่อเดินชมงานไปรอบ ๆ พื้นที่ และสัมผัสกับบรรยากาศอันขรึมขลังอลังการ ก็ทําให้เราอดรู้สึกไม่ได้ว่าพื้นที่แห่งนี้ไม่ต่างอะไรกับโบสถ์หรือวิหารส่วนตัวของเขาเลยแม้แต่น้อย ซึ่งปรีชาก็ตอกย้ําความคิดนี้ของเราด้วยว่า
“ภาพวาดที่เฟรมเป็นทรงโค้ง ผมได้แรงบันดาลใจมาจากหน้าต่างกระจกสีในโบสถ์คริสต์ หรือแม้แต่ความเป็นอาคารเปิดโล่งขนาดใหญ่ที่มีช่องเปิดให้แสงส่องเข้ามาได้ สําหรับผม มันเป็นเหมือนช่องแสงของหน้าต่างยาวในโบสถ์คริสต์เช่นเดียวกัน ผมเลยใช้แสงธรรมชาติภายในโกดัง โดยไม่ติดไฟส่องงานข้างใน ถ้าข้างนอกมืด ในนี้ก็มืด ถ้าข้างนอกสว่าง ในนี้ก็สว่าง เพราะผมอยากให้เป็นไปตามสภาพแวดล้อมรอบข้าง เช่นเดียวกับโบสถ์คริสต์โบราณ”

ท้ายสุด เขายังเฉลยถึงที่มาของชื่อนิทรรศการครั้งนี้ให้เราฟังว่า
“ที่ผมตั้งชื่อนิทรรศการนี้ว่า I’m here ก็เพราะผมอยากให้คนรู้ว่าผมอยู่ที่นี่ ในพื้นที่ส่วนตัว ของผม และเชิญชวนให้พวกเขาเข้ามาชมกัน หลังจากจบนิทรรศการครั้งนี้ผมก็อาจจะคุยกับคนใน ชุมชนนี้ หรือเพื่อนศิลปินว่าจะเปิดให้ที่นี่เป็นพื้นที่แสดงงานศิลปะ เผื่อใครสนใจจะมาแสดงงานใน อนาคต อ้อ พื้นที่แสดงงานแห่งนี้มีชื่อว่า 1984+1 Gallery ผมได้แรงบันดาลใจมาจากนวนิยายเสียดสีการเมืองเรื่อง 1984 ของ จอร์จ ออร์เวลล์ แล้วพอดี 1984 ก็เป็นปีที่ภรรยาผมเกิดด้วย พอ บวก 1 เข้าไป ก็เป็น 1985 ตรงกับปีที่ผมเกิดพอดี” (ยิ้ม).
นิทรรศการ I’m here โดย ปรีชา รักซ้อน จัดแสดง ระหว่างวันที่ 16 ตุลาคม 2565 - 22 มกราคม 2566 ที่ 1984+1 Gallery (โรงสีบูรณะกิจ สุพรรณบุรี) เปิดทุกวัน ตั้งแต่ 10.00 - 17.30 น หรือตามนัดหมาย ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ โทร 0871566965 อีเมล [email protected]
I’m here สํารวจการทับซ้อนของอดีตและปัจจุบันในพื้นที่ส่วนตัว ด้วยงานศิลปะสุดอลังการ ของ ปรีชา รักซ้อน
/
ในอดีตที่ผ่านมา ในแวดวงศิลปะ(กระแสหลัก)ในบ้านเรา มักมีคํากล่าวว่า ศิลปะไม่ควรข้องแวะกับ การเมือง หากแต่ควรเป็นเรื่องของอารมณ์ ความรู้สึก ความงาม สุนทรียะ และจิตวิญญาณภายในอัน ลึกซึ้งมากกว่า แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าจะในยุคสมัยไหน ศิลปะไม่เคยแยกขาดออกจาก การเมืองได้เลย ไม่ว่าจะในยุคโบราณ ที่ศิลปะถูกใช้เป็นเครื่องมือรับใช้ชนชั้นสูงและผู้มีอํานาจ หรือใน ยุคสมัยใหม่ที่ศิลปะถูกใช้เป็นเครื่องมือแสดงออกถึงอุดมการณ์ทางสังคมการเมือง หันมามองในบ้าน เราเอง ก็มีศิลปินไทยหลายคนก็ทํางานศิลปะทางการเมืองอย่างต่อเนื่องยาวนาน ในการสะท้อนและ บันทึกประวัติศาสตร์การเมืองไทยได้อย่างเข้มข้น จริงจัง
/
เหตุการณ์นี้เป็นอุทาหรณ์ให้เรารู้ว่า การก๊อปปี้ก็ไม่ได้เลวร้ายเสมอไป เพราะอย่างน้อยที่สุด ก็ทําให้ เราได้รู้ว่าผลงานต้นฉบับของจริงในช่วงเวลาที่เสร็จสมบูรณ์นั้นมีความดีงามขนาดไหน ไม่ต่างอะไรกับศิลปินร่วมสมัยสัญชาติไทยอย่าง วิชิต นงนวล ที่หลงใหลศรัทธาในผลงานของศิลปิน ระดับปรมาจารย์ในยุคสมัยใหม่ของไทยอย่าง จ่าง แซ่ตั้ง ตั้งแต่ครั้งยังเยาว์ ในวัยของนักเรียน นักศึกษา เรื่อยมาจนเติบโตเป็นศิลปินอาชีพ ความหลงใหลศรัทธาที่ว่าก็ยังไม่จางหาย หากแต่เพิ่มพูน ขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดก็สุกงอมออกดอกผลเป็นผลงานศิลปะในนิทรรศการ The Grandmaster : After Tang Chang ที่เป็นเสมือนหนึ่งการสร้างบทสนทนากับศิลปินระดับปรมาจารย์ผู้นี้
/
“ยูบาซาโตะ เดินผ่านตามแนวต้นสนขึ้นไปบนภูเขาศักดิ์สิทธิ์ เพื่อไปก่อสร้างสถูปดิน และมักจะโดน ทีมงานช่างบ่นทุกวันเกี่ยวกับการก่อสร้าง ที่มีเวลาอยู่อย่างจํากัด เขาเพียงได้แต่ตอบไปว่า .. บุญกุศล นําพาและเวลามีเท่านี้ ขอให้ทําสิ่งดีๆ ให้เต็มที่ ต่อสถานที่บนภูเขานี้เถอะ อย่าบ่นไปเลย เราอาจจะ พบกันแค่ประเดี๋ยวเดียว แต่สิ่งเหล่านี้จะอยู่ต่อไปอีกหลายร้อยปี ... ทีมงานทุกคนเพียงส่งรอยยิ้มที่ เหนื่อยล้ากลับมา ก็เพราะต้องทนร้อนทนแดด และเปียกฝนสลับกันไป จากสภาวะโลกเดือด ที่ทุกคน ต่างพูดถึง แต่ก็จะมาจากใคร ก็จากเราเองกันทั้งนั้น ... แม้จะมาทํางานบนภูเขาก็จริง แต่เขาก็ยังคง คิดถึงเหตุการณ์ภัยน้ําท่วมดินโคลนถล่มที่ผ่านมา อีกทั้งความเสียหายต่อข้าวของที่ต้องย้ายออกจาก บ้านเช่าและค่าใช้จ่ายหลังน้ําท่วมที่ค่อนข้างเยอะพอควร และยิ่งในสภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจแบบนี้...
/
หากเราเปรียบสงคราม และอาชญากรรมที่กระทำต่อมนุษย์ อย่างการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การสังหารหมู่ และการล่าอาณานิคม เป็นเหมือนการสร้างบาดแผลและความแตกร้าวต่อมวลมนุษยชาติ ศิลปะก็เป็นหนทางหนึ่งในการเยียวยาซ่อมแซมบาดแผลและความแตกร้าวเหล่านั้น แต่การเยียวยาซ่อมแซมก็ไม่จำเป็นต้องลบเลือนบาดแผลและความแตกร้าวให้สูญหายไปเหมือนไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้น หากแต่การเหลือร่องรอยแผลเป็นและรอยแตกร้าวที่ถูกประสาน ก็เป็นเสมือนเครื่องรำลึกย้ำเตือนว่า สิ่งเหล่านี้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว และไม่ควรปล่อยให้เกิดขึ้นอีกซ้ำเป็นครั้งที่สอง เช่นเดียวกับสิ่งที่ปรากฏในนิทรรศการ “Urgency of Existence” นิทรรศการแสดงเดี่ยวครั้งแรกในเอเชียของ คาแดร์ อัทเทีย (Kader Attia) ศิลปินชาวฝรั่งเศส - แอลจีเรีย ผู้มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ เขาเป็นหัวหอกในการทำงานศิลปะผ่านสื่ออันแตกต่างหลากหลาย ที่นำเสนอแนวคิดหลังอาณานิคม และการปลดแอกอาณานิคม จากมุมมองของตัวเขาเอง ที่มีประสบการณ์ทางตรงและทางอ้อมของผู้ที่เคยถูกกดขี่และถูกกระทำจากลัทธิล่าอาณานิคมในศตวรรษที่ผ่านมา
/
ในช่วงปลายปี 2024 นี้ มีข่าวดีสำหรับแฟนๆ ศิลปะชาวไทย ที่จะได้มีโอกาสชมผลงานศิลปะร่วมสมัยของเหล่าบรรดาศิลปินทั้งในประเทศและระดับสากล ยกขบวนมาจัดแสดงผลงานกันในเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2024 ที่จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 แล้ว โดยในเทศกาลศิลปะครั้งนี้นำเสนอผลงานศิลปะจาก 76 ศิลปิน 39 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ภายใต้ธีมหลัก “รักษา กายา (Nurture Gaia)” ที่ได้แรงบันดาลใจจากเทพี ไกอา (Gaia) ในตำนานเทพปรณัมกรีก หรือพระแม่ธรณีผู้ให้กำเนิดและหล่อเลี้ยงสรรพชีวิต เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์อันสอดประสานกลมกลืนกันระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ
/
เมื่อพูดถึงชื่อ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล หรือ เจ้ย มิตรรักแฟนหนังหลายคนน่าจะรู้จักเขาในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทยผู้เปี่ยมไปด้วยความเป็นศิลปะที่สุด ไม่เพียงแค่ในประเทศไทย แต่หมายรวมถึงในสากลโลก ยืนยันด้วยรางวัลสำคัญจากเทศกาลภาพยนตร์ระดับโลกหลายต่อหลายรางวัล ไม่ว่าจะเป็นรางวัลยอดเยี่ยมในการฉายสายรอง (Un Certain Regard) จากภาพยนตร์เรื่อง สุดเสน่หา (Blissfully Yours) (2002) และรางวัลขวัญใจคณะกรรมการ (Jury Prize) จากภาพยนตร์เรื่อง สัตว์ประหลาด! (Tropical Malady) (2004) จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ ในปี 2002 และ 2004, หรือภาพยนตร์เรื่อง แสงศตวรรษ (Syndromes and a Century) (2006) ของเขาก็ได้รับเลือกให้เข้าชิงรางวัลสิงโตทองคำในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองเวนิส ในปี 2006 และคว้ารางวัลกรังปรีซ์จากเทศกาลภาพยนตร์ Deauville Asian Film Festival ในปี 2007, และภาพยนตร์เรื่อง รักที่ขอนแก่น (Cemetery of Splendor) (2015) ของเขาก็คว้ารางวัลยอดเยี่ยมจากเวที Asia Pacific Screen Awards ในปี 2015, ที่สำคัญที่สุด อภิชาติพงศ์ยังเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทยคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้รับรางวัล ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมปาล์มทองคำ (Palm d’or) จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ ครั้งที่ 63 ในปี 2010 จากภาพยนตร์เรื่อง ลุงบุญมีระลึกชาติ (Uncle Boonmee Who Can Recall His Past Lives) (2010), และล่าสุด ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องล่าสุดของเขาอย่าง Memoria (2021) ยังคว้ารางวัล Jury Prize ในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ครั้งที่ 74 ในปี 2021 มาครองได้อีกครั้ง อีกทั้งยังได้รับเสียงวิจารณ์เชิงบวกอย่างท่วมท้นจากสื่อมวลชนนานาชาติ
We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )