IN THE HOUSE งานแสดงวิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นในบ้าน | IAMEVERYTHING.CO

LOOKING ON EVERYTHING ?

EXPLORE ON EVERYTHING

อาร์ทเวิร์ค 5 ห้อง ที่แจกเป็นโปสการ์ดที่ระลึกภายในงาน ห้อง Thai Conventional ห้อง Program ห้อง User ห้อง Context และ ห้อง Conceptual

IN THE HOUSE
งานแสดงวิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นในบ้าน

THESIS ของเด็กสถาปัตย์ในยุคที่ต้องรีบปรับตัวมาเป็น New Normal ด้วยการนำเสนอ Final แบบออนไลน์

Contributor, Writer : Nada Inthaphunt
Photograph : Nada Inthaphunt
VDO & Images : In the house Thesis exhibition, Phakin Subsathorn, Praewpilin Vongchai, Phoom Burana

ย้อนกลับไปเมื่อตอนต้นปีที่เกิดการระบาด Covid-19 ในไทยใหม่ๆ จนทุกกิจกรรมทั้งสถานประกอบการและสถาบันการศึกษา หากเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ กระบวนการเรียนการสอนจะไปดำเนินต่อทางออนไลน์ หากเป็นนักศึกษาสถาปัตย์ที่กำลังปั่น Thesis มันคือช่วงโค้งสุดท้ายที่อีกไม่กี่สัปดาห์จะต้องส่ง Final Jury แล้ว การทำงานปกติที่มักเกิดขึ้นในสตูดิโอและมีคนมารุมล้อม จึงเกิดขึ้นในบ้านหรือหอที่ต้อง Keep Social Distance กันไป

การนำเสนอ Jury แต่ละครั้งคือการเล่าถึงภาพรวม การพัฒนางานในแต่ละช่วง และ Final Jury คือการเล่าภาพรวมให้เข้าใจ ซึ่งบางครั้งไม่จำเป็นต้องอธิบายทั้งหมดเพราะอาจารย์ และแขกสามารถเห็นความเชื่อมโยงผ่านการจัดแสดงของนักศึกษาได้ แต่เมื่อการนำเสนอทั้งหมดเกิดขึ้นบนออนไลน์ ผ่านหน้าจอเดียว วิธีการอธิบายงานจึงอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนกันไปบ้าง

ทางเข้าชมงานชั้น 1
ห้องแสดงงานชั้น 1
บริเวณโถงบันไดของแต่ละชั้น
ห้องแสดงงานชั้น 6

หน้าปกของหนังสือสูจิบัตรของงานซึ่งเป็นรูปแปลนของอาคารและบ้านที่อาศัยผลิตงานในปีนี้

IN THE HOUSE คือการแสดงผลงานวิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมของนักศึกษาสถาปัตยกรรมมหาวิทยาลัยศิลปากรที่นอกจากจัดแสดงผลงานของนักศึกษาแบ่งเป็น 3 ส่วน ที่ชั้น 1 ชั้น 6 และ ช่องว่างโถงบันไดเวียนของทุกชั้น ภายใต้การนำเสนอตำแหน่งของบ้าน และหอของเพื่อนแต่ละคน เกิดขึ้นในห้อง 5 ห้อง จาก 5 อาร์ทเวิร์ค ที่มีสิ่งของของสมาชิกแต่ละคนจริงๆ แบ่งออกเป็น ห้อง Thai Conventional ห้อง Program ห้อง User ห้อง Context และ ห้อง Conceptual ซึ่งแสดงตามลักษณะเด่นของแต่ละผลงาน

ทางทีมได้เลือกตัวอย่างงานจาก ห้อง Conceptual ที่น่าสนใจออกมาเล่าต่อคร่าวๆ 3 งาน ด้วยกัน

PUBLIC SPACE AS A DEMOCRATIC INFRASTRUCTURE: พื้นที่สาธารณะในบริบทของโครงสร้างพื้นฐานทางประชาธิปไตย โดย ภคิน ทรัพย์สาธร

Axonometric แสดงความสัมพันธ์ของโปรแกรมในแต่ละพื้นที่และบริบท (ซ้าย) ด้านข้างจากริมฝั่งแม่นํ้าของอาคาร (ขวาบน) ไดอะแกรมแสดงความยืดหยุ่นไหลเวียนของผู้ใช้งานหลายระดับ (ขวาล่าง)

การตั้งคำถามของโครงการนี้ต้องการตั้งคำถามกับพื้นที่สาธารณะบนโครงสร้างของพื้นฐานที่จับต้องได้ของสังคมประชาธิปไตย ว่าสภาพแวดล้อมที่เราอาศัยอยู่มีผลต่อความคิดและมุมมองของเรา สุดท้ายแล้วก็จะส่งผลต่อการตัดสินใจร่วมกันในสังคมผ่านทางระบบประชาธิปไตย ทำให้ความหลากหลายในสภาพแวดล้อมของพื้นที่สาธารณะเป็นสิ่งสำคัญต่อสังคมประชาธิปไตยที่มีสุขภาพดี การได้มาซึ่งพื้นที่และรูปแบบของอาคารจึงเน้นให้เกิดการดึงดูดกลุ่มคนที่หลากหลายมาไว้ด้วยกัน โครงการได้เสนอสถานที่ในหารตอบคำถามจากสำนักงานเขต อันเป็นสถานที่ราชการ โดยสิ่งที่โครงการนี้ได้ทิ้งคำถามให้ขบคิดต่อเรื่องความเป็นไปได้ของการมีพื้นที่สาธารณะ และปฏิสัมพันธ์ที่อาจเกิดขึ้นของผู้ใช้งาน ควรเกิดบนอาคารที่เกิดมารับใช้ประชาชนหรือไม่?

FLEXIBILITY OF RIGIDITY: ความสามารถในการยืดหยุ่นของพื้นที่ และระบบที่ตายตัว โดย แพรวไพลิน วงศ์ชัย

Perspective Section ของ Prototype แบบ Flexibility (ภาพแรก) และแบบ Rigidity (ภาพสอง)

Perspective ของ Prototype แบบ Flexibility (บน) และแบบ Rigidity (ล่าง)
รูปถ่ายโมเดลของ Prototype แบบ Flexibility (ภาพแรก) และแบบ Rigidity (ภาพสอง)
บริเวณที่ตั้งแสดงผลงาน

การตั้งคำถามของโครงการนี้เกิดขึ้นจากความสงสัยของลำดับการใช้งานในอาคารที่มีโปรแกรมการใช้งานตายตัว วิธีการค้นหาเกิดจากการทดลองเอาสมการโปรแกรมอื่นมาผสมให้เกิดขึ้นในโปรแกรมหลัก เป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ให้ผู้ใช้งานบนอาคารที่มีโปรแกรมตายตัว โดยทดลองสร้างพื้นที่ต้นแบบที่มีขนาดเดียวกัน แล้วทดลองผสมโปรแกรมออกมาสองต้นแบบ ที่มีเป็น Flexibility และ Rigidity ซึ่งผสมโรงพยาบาล โรงแรม และสวนสาธารณะ ให้เกิดขึ้นเหมือนกัน โดยสิ่งที่โครงการนี้ได้ทิ้งคำถามให้ขบคิดต่อเรื่องการผลักดันกรอบความตายตัวไปถึงจุดที่หลายปัจจัยทำปฏิกิริยากันเอง สามารถเกิดผลลัพธ์ที่น่าสนใจ และเกิดคำถามในการรวมกันในครั้งใหม่ จะผลักดันให้เกิดสิ่งใดต่อไปได้อีก?

HARMONIZATION BETWEEN DHAMMA & URBANISM: “สถานุสติ” พระพุทธศาสนา สังคม และบริบทเมือง โดย ภูมิ บูรณะ

Axonometric แสดงภาพรวมของโครงการบริบท องค์ประกอบ และภาษาของสถาปัตยกรรม (ซ้าย) รูป Concept ที่แสดงออกมาเป็น Collage (ขวาบน) บริเวณที่ตั้งของโครงการ (ขวาล่าง)

Axonometric แสดงภาพรวมของโครงการบริบท องค์ประกอบ และภาษาของสถาปัตยกรรม (ภาพแรก) รูป Concept ที่แสดงออกมาเป็น Collage (ภาพที่สอง) บริเวณที่ตั้งของโครงการ (ภาพที่สาม)

Perspective ของโปรแกรมบางส่วน
โมเดล Final Presentation
วีดีโอ Final Presentation

การตั้งคำถามของโครงการนี้เกิดขึ้นจากความต้องการที่จะสื่อสารสาระที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนานั่นก็คือสติสู่สังคมเมืองปัจจุบัน ศาสนาเป็นเรื่องใกล้ตัว เป็นสิ่งที่สามารถสอดแทรกเข้าไปได้ในชีวิตประจำวัน แต่ด้วยบริบท ประเพณี และเงื่อนไขอื่นๆ ศาสนาถูกแบ่งชัดเจนอยู่ในภาพของศาสนสถาน ความศักดิ์สิทธิ์ และการถูกนำไปใช่เพื่อตอบสนองมิติของวัตถุเพียงอย่างเดียว โครงการได้เสนอแนะตั้งบนพื้นที่สาธารณะใจกลางเมืองให้ความย้อนแย้งเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดการพิจารณาไล่ลำดับการมีอยู่ของความประมาทไปถึงจุดย่อยสลายของความทุกข์ และแทนที่เข้าด้วยสติ ด้วยการออกแบบที่สัมพันธ์กับหลักพระพุทธศาสนา กิจกรรมในโครงการ และบริบทของพื้นที่
โดยสิ่งที่โครงการนี้ได้ทิ้งคำถามให้ขบคิดต่อเรื่องความเป็นไปได้ในพัฒนาสถาปัตยกรรมที่แฝงนัยยะได้ลึกซึ้ง โดยอาศัยองค์ประกอบ และภาษาทางสถาปัตยกรรมสามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นผัสสะที่เกิดขึ้น ทำให้ศาสนสถานไม่ใช่คำจำกัดความที่ตายตัวต่อไปได้หรือไม่?

การนำเสนอผลงาน Final Jury ผ่านออนไลน์ต้องปรับการนำเสนอให้เหมาะสมกับช่องทางสื่อสาร ลำดับการแสดงเนื้อหาก่อนหลังให้ผู้ร่วมฟังเข้าใจได้อย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งที่ท้าทายทั้งผู้รับและส่งสาร หลายคนที่มีโมเดลต้องนำเสนอถึงต้องใช้ภาพถ่ายชี้ตำแหน่งในสไลด์แทน บางคนตัดสินใจทำวีดีโอเพื่ออธิบาย VDO เพิ่มเติมเพื่อให้เห็นภาพรวมมากขึ้น และกลายเป็นจุดที่บางโครงการใช้เป็นตัวชี้วัดสารที่ส่งไปให้ถึงผู้ฟังด้วย

ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ต้องตั้งรับต่อความเป็นไปได้ซึ่งอาจจะเกิด Thesis IN THE HOUSE อีกนั้น จะกลายเป็นปัจจัยส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบวิธี Jury Thesis ในอนาคต นิทรรศการแสดงวิทยานิพนธ์ของคณะสถาปัตยกรรมในปีนี้จะถูกบันทึกในจังหวะที่ทุกคนต้องรีบปรับตนให้เป็น New Normal และกรณีศึกษาของปีต่อๆ ไปแน่นอน

IN THE HOUSE ยังมีอีกหลายผลงานที่น่าสนใจ และแสดงพลังกันออกมาอย่างเต็มที่ นิทรรศการได้จัดแสดงผลงาน ณ หอศิลป์พระพรหมพิจิตร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตวังท่าพระ เปิดแสดงงานตั้งแต่ 10.00 น.- 18.00 น. ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม ถึงวันที่ 9 กันยายน นี้

Special Thanks: In the house Thesis exhibition, Chalinan Manoprasertkul, Phakin Subsathorn, Praewpilin Vongchai, Phoom Burana, Kongdet Wanchring, Thanus Lertwanich

    TAG
  • thesis
  • portfolio
  • design
  • architecture

IN THE HOUSE งานแสดงวิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นในบ้าน

ARCHITECTURE/PORTFOLIO
5 years ago
CONTRIBUTORS
Nada Inthaphunt
RECOMMEND
  • DESIGN/PORTFOLIO

    THE BEYOND OF HUMAN SPECIES ตั้งคำถามพร้อมค้นหาคำตอบของระบบการศึกษาไทยที่ไม่สมบูรณ์

    เราต่างอาจจะเคยได้ยินกับคติประจำใจอย่าง “รากฐานของตึกคืออิฐ รากฐานของชีวิตคือการศึกษา” กันมาบ้าง เเต่มันเป็นไปได้ยากกับประเทศที่กำลังมีปัญหาเชิงโครงสร้างของระบบทางการศึกษาอย่างประเทศไทย ซึ่งปัญหามากมายเหล่านั้นได้ถูกตั้งคำถามเเละหยิบยกนำมาบอกเล่าผ่านผลงานศิลปนิพนธ์ของ กาย ศุภกร ทาหนองค้า นักศึกษาภาควิชานิเทศศิลป์ จากคณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ด้วยหนังสือ THE BEYOND OF HUMAN SPECIES ที่เป็นเสมือนเเบบทดสอบที่จะชวนผู้อ่านมาร่วมถามตอบถึงข้อสงสัยของระบบการศึกษารวมไปถึงชีวิตเด็กนักเรียนไทยในปัจจุบัน

    EVERYTHING TEAM4 years ago
  • DESIGN/PORTFOLIO

    Experimental Typography Serial Killer ธีสิสจากการทดลองของเตย - พิมพ์ขวัญ ผลผลา

    เป็นประจำทุกปีที่เดือนเมษายนไปจนถึงมิถุนายนจะเป็นช่วงเวลาที่เราจะได้เห็นงานธีสิสเจ๋งๆ ผ่านโชว์เคสของนักศึกษาจากหลากหลายสถาบัน ซึ่งหนึ่งในผลงานที่สะดุดตาที่สุดเราก็คือผลงานของ เตย - พิมพ์ขวัญ ผลผลา นักศึกษาสาขาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่เธอหยิบยกเอาความสนใจในเรื่องการสืบสวนสอบสวนมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบตัวอักษรเชิงทดลองจนกลายเป็นตัวอักษรสิบรูปแบบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะเป็นของตัวเอง ซึ่งกว่าจะมาเป็นผลงานธีสิสในครั้งนี้ได้ มีที่มาอย่างไรบ้าง เราก็ชวนเตยมานั่งพูดคุยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

    EVERYTHING TEAM4 years ago
  • DESIGN/PORTFOLIO

    THE JOURNEY OF BLUE

    ความรู้สึกที่หาคำจำกัดความได้ยากระหว่างความอึนกับซึมเศร้า วิทยานิพนธ์ Interactive Story นี้พาจะคุณไปพบนิยามของอารมณ์หม่นที่ขณะหนึ่งเพลงอาจเป็นคำตอบของความหมายได้ดีที่สุด

    EVERYTHING TEAM7 years ago
  • DESIGN/PORTFOLIO

    YOUR SPACE

    มาทบทวนและขบคิดไปกับผลงานออกแบบนิทรรศการ “ชินจัง” พื้นที่แห่งความเคยชิน

    EVERYTHING TEAM7 years ago
  • DESIGN/PORTFOLIO

    ศัลยกรรมใบหน้าด้วยจิตใจ

    วิทยานิพนธ์ที่นอกจากออกแบบมาอย่างสะดุดตา ยังทำให้เรามองเห็นมุมมองอีกด้านของค่านิยมทางรูปลักษณ์ ที่แฝงไปกับการออกแบบและใช้งานหลักอีกด้วย

    EVERYTHING TEAM7 years ago
  • DESIGN/PORTFOLIO

    BOOK DESIGN : BASIC VOCABULARY LAYOUT DESIGN AND PRINTING

    หนังสือที่รวบรวมคำศัพท์พื้นฐานเกี่ยวกับการออกแบบและการพิมพ์

    EVERYTHING TEAM7 years ago
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION

We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )