LOOKING ON EVERYTHING ?
EXPLORE ON EVERYTHING

Infinity Ground
Thailand and Taiwan Contemporary
Architecture Exhibition
ใครที่กำลังมองหาไอเดียใหม่ ๆ ในการออกแบบสถาปัตยกรรม หรือกำลังมองหานิทรรศการที่จะไปเดินชมในช่วงวันหยุด เราก็ขอแนะนำนิทรรศการสถาปัตยกรรม “Infinity Ground – Thailand and Taiwan Contemporary Architecture Exhibition” ที่จัดโดยสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย ผ่านการสนับสนุนของกระทรวงวัฒนธรรม สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ร่วมกับ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จะเปิดให้เข้าชมระหว่างวันที่ 18 กรกฎาคม ถึง 6 สิงหาคม ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC)
โดยในนิทรรศการครั้งนี้มี เจอร์รี่ หง (Jenchieh Hung) ประธานคณะทำงานนิทรรศการจากสมาคมสถาปนิกสยามฯ ร่วมกับ กุลธิดา ทรงกิตติภักดี ผู้ร่วมก่อตั้งและสถาปนิกหลักจาก HAS Design and Research มารับหน้าที่เป็นหัวหน้าภัณฑารักษ์ของนิทรรศการในการคัดเลือกผลงานสถาปัตยกรรมที่ออกแบบโดยบริษัทสถาปนิก 8 บริษัทจากไทยและไต้หวันเข้าร่วมจัดแสดง ซึ่งทั้ง 8 บริษัทนี้ประกอบด้วย บริษัทสถาปนิก 49 จำกัด (Architects 49 Limited), บริษัทสถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม อาศรมศิลป์ จำกัด(Arsomsilp Community and Environment Architect), บริษัท ดวงฤทธิ์ บุนนาค จำกัด (Duangrit Bunnag Architect Limited), บริษัท ดีพาร์ทเม้นท์ ออฟ อาร์คิเทคเจอร์ จำกัด (Department of ARCHITECTURE) และ Ambi Studio, MAYU architects, Behet Bondzio Lin Architekten, Atelier Or จากไต้หวัน



ซึ่งผลงานสถาปัตยกรรมจาก 8 บริษัท ที่นำมาจัดแสดงนั้น มีโลเคชั่นที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ, พัทยา, ปทุมธานี, สมุทรสาคร, นครราชสีมา และพระนครศรีอยุธยา ส่วนผลงานของบริษัทในไต้หวันนั้น จะตั้งอยู่ที่เมืองซินจู๋, หนานโถว, หยุนหลิน, เกาสง, ผิงตง, และอี๋หลาน โดยผลงานทั้งหมดนั้นเป็นตัวแทนของความหลากหลายทางวัฒนธรรม สภาพภูมิอากาศ และการพัฒนาสังคมที่ส่งผลต่องานสถาปัตยกรรมทั้งทางตรงหรือทางอ้อม และนิทรรศการครั้งนี้ยังคงถ่ายทอดมุมมองของ “การเลื่อนไหล” และ “การรวมตัว” ของโลก โดยแบ่งการนำเสนอสถาปัตยกรรมร่วมสมัยของไทยและไต้หวันออกเป็น 2 หมวด คือ “การแลกเปลี่ยนบนผืนดิน” (Ground Exchanges) และ “ความรู้สึกจากผืนดิน” (Feeling Grounds)
ในกลุ่มแรก “การแลกเปลี่ยนบนผืนดิน” การแลกเปลี่ยนวิทยาการทางการก่อสร้างสมัยใหม่ ที่ได้กำหนดกรอบทิวทัศน์อันเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ซึ่ งสะท้อนถึงลักษณะที่อุดมสมบูรณ์ของผืนดิน เช่น “เวลา สินธร วิลเลจ” ของบริษัทสถาปนิก 49 จำกัด (ปีที่แล้วเสร็จ พ.ศ. 2562) และโรงละคร “สิงห์ ดีลักษณ์ ซีเนมาติก เธียเตอร์” (พ.ศ. 2560) อาคารทั้งสองเสมือนลอยตัวอยู่กลางอากาศเปิดพื้นที่ให้กับพื้นที่สาธารณะ โดยพื้นที่ธรรมชาติกระจายตัวล้อไปกับอาคาร


ขณะที่ภาพลักษณ์ของอาคารสัมพันธ์ไปกับแสงและลมของพื้นที่ ผลงาน Eternal Hill Columbarium (พ.ศ. 2565) และ House of Roofs (พ.ศ. 2559) ของ Behet Bondzio Lin Architekten เป็นผลงานออกแบบที่ตอบสนองต่อสภาพอากาศร้อนชื้นและฝนตกชุกของไต้หวัน และแฝงถึงความเชื่อ ความศักดิ์สิทธิ์ของผู้คนที่มีต่อพื้นดิน ผลงานวิหารแก้ว (พ.ศ. 2563) ของ บริษัท ดวงฤทธิ์ บุนนาค จำกัด งานสถาปัตยกรรมได้ส่งเสริมจิตวิญญาณอันเป็นนิรันดร์ให้กับสถานที่ ส่วนโครงการบ้านพักอาศัยประชาชื่น (พ.ศ. 2563) ผสานสภาพแวดล้อมสร้างความรู้สึกของพื้นที่แทรกซึมเข้าไปในอาคาร โครงการห้องสมุดสาธารณะ Pingtung Public Library (พ.ศ. 2563) และ Kaohsiung American School Athletic Complex (พ.ศ. 2559) ของ MAYU architects การใช้รูปทรงเรขาคณิตที่ตรงไปตรงมาร่วมกับโครงสร้างอาคารที่ตอบโจทย์การใช้งานของผู้คนในท้องถิ่นเชื่อมโยงมนุษย์และสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร้รอยต่อ





ในบรรดาผลงานของบริษัทสถาปนิกทั้งสี่นั้น Ground Exchanges ไม่เพียงแต่นำเสนอการแลกเปลี่ยนที่ประกอบขึ้นจากความสัมพันธ์, ความศักดิ์สิทธิ์, ลักษณะท้องถิ่น และการแทรกซึมระหว่างสถาปัตยกรรมกับผืนดินเพียงเท่านั้น แต่โครงการทั้งหมดยังแสดงให้เห็นทิศทางการอยู่ร่วมกันระหว่างสถาปัตยกรรมกับผืนดินในอนาคตอีกด้วย

ในกลุ่มที่สอง “ความรู้สึกจากผืนดิน” ผสานแนวคิดจากสิ่งแวดล้อมกับงานฝีมือพื้นถิ่น วัสดุและเทคนิกการก่อสร้างที่ตกทอดกันมาได้ถ่ายทอดการรับรู้ทางความรู้สึกผ่านทางผืนดินในหลายมิติ เช่น ผลงานของบริษัทสถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม อาศรมศิลป์ จำกัด “โครงการอุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี” (พ.ศ. 2562) และ “ห้องสมุดเก๋งเรือลอยฟ้าท่าฉลอม” (พ.ศ. 2565) อาคารเหล่านี้ยังคงไว้ซึ่งพื้นผิวภูมิทัศน์และเพิ่มด้วยคุณสมบัติที่สร้างระบบนิเวศในระดับจุลภาคให้กลมกลืนกับผืนดิน พื้นที่ว่างที่เกิดขึ้นกลายเป็นส่วนต่อประสานสิ่งแวดล้อมดั้งเดิมได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างคุณค่าเฉพาะถิ่น


Samut Sakhon, Thailand
สำหรับโครงการ Hushan Reservoir Archaeological Exhibition Hall (พ.ศ. 2566) และ Yuhsiu Museum of Arts (พ.ศ. 2558) โดยสถาปนิกจาก Ambi Studio ได้ออกแบบสถาปัตยกรรมที่สอดคล้องไปกับภูมิประเทศพื้นถิ่นและสร้างสรรค์เส้นทางที่สื่อสารกับภูมิทัศน์โดยรอบ รวมทั้งยังสร้างความรู้สึกใหม่ในพื้นที่เดิมให้แก่ผู้เข้าชมและผสมวัสดุก่อสร้างที่เลือกใช้ได้อย่างน่าสนใจ



ถัดมาคือโครงการ The Commons ทองหล่อ (พ.ศ. 2559) และศาลาบางปะอิน (พ.ศ. 2564) ออกแบบโดยบริษัท ดีพาร์ทเม้นท์ ออฟ อาร์คิเทคเจอร์ จำกัด ได้สร้างความพิเศษในการเชื่อมโยงพื้นที่ร่มและพื้นที่กลางแจ้งบนผืนดินผ่านทางสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ด้วย “พื้นที่สีเทาด้านล่าง” ซึ่งสะท้อนถึงพื้นที่อเนกประสงค์ “ไต้ถุน” ในสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของไทย สำหรับโครงการ Sparkling Market ในเมืองซินจู๋ (พ.ศ. 2555) และ Pavilion for Hsinchu Bus Station Plaza (พ.ศ. 2561) ของ Atelier Or โครงสร้างขนาดเล็กและเบาได้ปลดปล่อยข้อจำกัดทางการมองเห็นอาคารแบบดั้งเดิม เกิดเป็นการบูรณาการระหว่างพื้นที่ภายในและภายนอกอย่างไร้ขอบเขต

ความรู้สึกที่ส่งต่อจากผืนดินผ่านมายังผลงานของสถาปนิกทั้งสี่กลุ่มใน Feeling Grounds นี้ ได้กระตุ้นให้ผลงานสถาปัตยกรรมสร้างกระบวนการเอื้อเฟื้อและเห็นอกเห็นใจต่อผืนดิน เกิดเป็นความพิเศษเหนือธรรมดา, การระลึกถึงถิ่นที่, การมีอยู่ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น, และการไร้ซึ่งขอบเขตของสถาปัตยกรรม
องค์ประกอบเหล่านี้เมื่อปรากฏต่างเวลาต่างสถานที่ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างการเชื่อมโยงให้กับโลกใบนี้ พื้นที่นิทรรศการที่ถูกโอบล้อมด้วยบ้านเก้าหลังลดหลั่นไม่เสมอกัน เกิดเป็นความหลากหลายของพื้นที่จัดแสดงที่มีทั้งพื้นที่ร่มและสว่างซึ่งเปิดโล่งและต่อเนื่องกัน ความลาดเอียงของหลังคาที่ต่อเนื่องไม่เพียงแต่จะนำเสนอภาพลักษณ์ของนิทรรศการแล้ว ยังสร้างความต่างของพื้นที่เกิดเป็นความมืดและสว่างร่วมกับภาพผลงานของสถาปนิกทั้ง 8 บริษัทที่นำมาจัดแสดง สร้างความสงบและผ่อนคลายให้กับผู้เยี่ยมชมหาคำตอบถึงอนาคตของหน้าที่สถาปัตยกรรมต่อผืนดินที่ตั้งอยู่ และมองหาการบรรจบกันของสถาปัตยกรรมที่สนองต่อบริบทของถิ่นที่และบริบทของโลกบนผืนดินที่ไม่สิ้นสุดนี้ร่วมกัน
ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC)
Hosts: The Association of Siamese Architects Under Royal Patronage; Taipei Economic and Cultural Office in Thailand; Chulalongkorn University - Faculty of Architecture; King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang - School of Architecture, Art, and Design; King Mongkut’s University of Technology Thonburi - School of Architecture and Design; Silpakorn University - Faculty of Architecture
Co-Organizers: HAS design and research, Bangkok Art and Culture Centre, art4d, Alliance for Architectural Modernity Taiwan
Principal Curators: Jenchieh Hung, Kulthida Songkittipakdee
Participants: Architects 49 Limited, Behet Bondzio Lin Architekten, Duangrit Bunnag Architect Limited, MAYU architects, Arsomsilp Community and Environment Architect, Ambi Studio, Department of ARCHITECTURE, Atelier Or
Space Design: HAS design and research
Supporters: Alufence, Canon, Jorakay, Saint-Gobain, RichCons, FloraScape
Infinity Ground Thailand and Taiwan Contemporary Architecture Exhibition
/
ในอดีตที่ผ่านมา ในแวดวงศิลปะ(กระแสหลัก)ในบ้านเรา มักมีคํากล่าวว่า ศิลปะไม่ควรข้องแวะกับ การเมือง หากแต่ควรเป็นเรื่องของอารมณ์ ความรู้สึก ความงาม สุนทรียะ และจิตวิญญาณภายในอัน ลึกซึ้งมากกว่า แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าจะในยุคสมัยไหน ศิลปะไม่เคยแยกขาดออกจาก การเมืองได้เลย ไม่ว่าจะในยุคโบราณ ที่ศิลปะถูกใช้เป็นเครื่องมือรับใช้ชนชั้นสูงและผู้มีอํานาจ หรือใน ยุคสมัยใหม่ที่ศิลปะถูกใช้เป็นเครื่องมือแสดงออกถึงอุดมการณ์ทางสังคมการเมือง หันมามองในบ้าน เราเอง ก็มีศิลปินไทยหลายคนก็ทํางานศิลปะทางการเมืองอย่างต่อเนื่องยาวนาน ในการสะท้อนและ บันทึกประวัติศาสตร์การเมืองไทยได้อย่างเข้มข้น จริงจัง
/
เหตุการณ์นี้เป็นอุทาหรณ์ให้เรารู้ว่า การก๊อปปี้ก็ไม่ได้เลวร้ายเสมอไป เพราะอย่างน้อยที่สุด ก็ทําให้ เราได้รู้ว่าผลงานต้นฉบับของจริงในช่วงเวลาที่เสร็จสมบูรณ์นั้นมีความดีงามขนาดไหน ไม่ต่างอะไรกับศิลปินร่วมสมัยสัญชาติไทยอย่าง วิชิต นงนวล ที่หลงใหลศรัทธาในผลงานของศิลปิน ระดับปรมาจารย์ในยุคสมัยใหม่ของไทยอย่าง จ่าง แซ่ตั้ง ตั้งแต่ครั้งยังเยาว์ ในวัยของนักเรียน นักศึกษา เรื่อยมาจนเติบโตเป็นศิลปินอาชีพ ความหลงใหลศรัทธาที่ว่าก็ยังไม่จางหาย หากแต่เพิ่มพูน ขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดก็สุกงอมออกดอกผลเป็นผลงานศิลปะในนิทรรศการ The Grandmaster : After Tang Chang ที่เป็นเสมือนหนึ่งการสร้างบทสนทนากับศิลปินระดับปรมาจารย์ผู้นี้
/
“ยูบาซาโตะ เดินผ่านตามแนวต้นสนขึ้นไปบนภูเขาศักดิ์สิทธิ์ เพื่อไปก่อสร้างสถูปดิน และมักจะโดน ทีมงานช่างบ่นทุกวันเกี่ยวกับการก่อสร้าง ที่มีเวลาอยู่อย่างจํากัด เขาเพียงได้แต่ตอบไปว่า .. บุญกุศล นําพาและเวลามีเท่านี้ ขอให้ทําสิ่งดีๆ ให้เต็มที่ ต่อสถานที่บนภูเขานี้เถอะ อย่าบ่นไปเลย เราอาจจะ พบกันแค่ประเดี๋ยวเดียว แต่สิ่งเหล่านี้จะอยู่ต่อไปอีกหลายร้อยปี ... ทีมงานทุกคนเพียงส่งรอยยิ้มที่ เหนื่อยล้ากลับมา ก็เพราะต้องทนร้อนทนแดด และเปียกฝนสลับกันไป จากสภาวะโลกเดือด ที่ทุกคน ต่างพูดถึง แต่ก็จะมาจากใคร ก็จากเราเองกันทั้งนั้น ... แม้จะมาทํางานบนภูเขาก็จริง แต่เขาก็ยังคง คิดถึงเหตุการณ์ภัยน้ําท่วมดินโคลนถล่มที่ผ่านมา อีกทั้งความเสียหายต่อข้าวของที่ต้องย้ายออกจาก บ้านเช่าและค่าใช้จ่ายหลังน้ําท่วมที่ค่อนข้างเยอะพอควร และยิ่งในสภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจแบบนี้...
/
หากเราเปรียบสงคราม และอาชญากรรมที่กระทำต่อมนุษย์ อย่างการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การสังหารหมู่ และการล่าอาณานิคม เป็นเหมือนการสร้างบาดแผลและความแตกร้าวต่อมวลมนุษยชาติ ศิลปะก็เป็นหนทางหนึ่งในการเยียวยาซ่อมแซมบาดแผลและความแตกร้าวเหล่านั้น แต่การเยียวยาซ่อมแซมก็ไม่จำเป็นต้องลบเลือนบาดแผลและความแตกร้าวให้สูญหายไปเหมือนไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้น หากแต่การเหลือร่องรอยแผลเป็นและรอยแตกร้าวที่ถูกประสาน ก็เป็นเสมือนเครื่องรำลึกย้ำเตือนว่า สิ่งเหล่านี้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว และไม่ควรปล่อยให้เกิดขึ้นอีกซ้ำเป็นครั้งที่สอง เช่นเดียวกับสิ่งที่ปรากฏในนิทรรศการ “Urgency of Existence” นิทรรศการแสดงเดี่ยวครั้งแรกในเอเชียของ คาแดร์ อัทเทีย (Kader Attia) ศิลปินชาวฝรั่งเศส - แอลจีเรีย ผู้มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ เขาเป็นหัวหอกในการทำงานศิลปะผ่านสื่ออันแตกต่างหลากหลาย ที่นำเสนอแนวคิดหลังอาณานิคม และการปลดแอกอาณานิคม จากมุมมองของตัวเขาเอง ที่มีประสบการณ์ทางตรงและทางอ้อมของผู้ที่เคยถูกกดขี่และถูกกระทำจากลัทธิล่าอาณานิคมในศตวรรษที่ผ่านมา
/
ในช่วงปลายปี 2024 นี้ มีข่าวดีสำหรับแฟนๆ ศิลปะชาวไทย ที่จะได้มีโอกาสชมผลงานศิลปะร่วมสมัยของเหล่าบรรดาศิลปินทั้งในประเทศและระดับสากล ยกขบวนมาจัดแสดงผลงานกันในเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2024 ที่จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 แล้ว โดยในเทศกาลศิลปะครั้งนี้นำเสนอผลงานศิลปะจาก 76 ศิลปิน 39 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ภายใต้ธีมหลัก “รักษา กายา (Nurture Gaia)” ที่ได้แรงบันดาลใจจากเทพี ไกอา (Gaia) ในตำนานเทพปรณัมกรีก หรือพระแม่ธรณีผู้ให้กำเนิดและหล่อเลี้ยงสรรพชีวิต เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์อันสอดประสานกลมกลืนกันระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ
/
เมื่อพูดถึงชื่อ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล หรือ เจ้ย มิตรรักแฟนหนังหลายคนน่าจะรู้จักเขาในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทยผู้เปี่ยมไปด้วยความเป็นศิลปะที่สุด ไม่เพียงแค่ในประเทศไทย แต่หมายรวมถึงในสากลโลก ยืนยันด้วยรางวัลสำคัญจากเทศกาลภาพยนตร์ระดับโลกหลายต่อหลายรางวัล ไม่ว่าจะเป็นรางวัลยอดเยี่ยมในการฉายสายรอง (Un Certain Regard) จากภาพยนตร์เรื่อง สุดเสน่หา (Blissfully Yours) (2002) และรางวัลขวัญใจคณะกรรมการ (Jury Prize) จากภาพยนตร์เรื่อง สัตว์ประหลาด! (Tropical Malady) (2004) จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ ในปี 2002 และ 2004, หรือภาพยนตร์เรื่อง แสงศตวรรษ (Syndromes and a Century) (2006) ของเขาก็ได้รับเลือกให้เข้าชิงรางวัลสิงโตทองคำในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองเวนิส ในปี 2006 และคว้ารางวัลกรังปรีซ์จากเทศกาลภาพยนตร์ Deauville Asian Film Festival ในปี 2007, และภาพยนตร์เรื่อง รักที่ขอนแก่น (Cemetery of Splendor) (2015) ของเขาก็คว้ารางวัลยอดเยี่ยมจากเวที Asia Pacific Screen Awards ในปี 2015, ที่สำคัญที่สุด อภิชาติพงศ์ยังเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทยคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้รับรางวัล ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมปาล์มทองคำ (Palm d’or) จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ ครั้งที่ 63 ในปี 2010 จากภาพยนตร์เรื่อง ลุงบุญมีระลึกชาติ (Uncle Boonmee Who Can Recall His Past Lives) (2010), และล่าสุด ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องล่าสุดของเขาอย่าง Memoria (2021) ยังคว้ารางวัล Jury Prize ในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ครั้งที่ 74 ในปี 2021 มาครองได้อีกครั้ง อีกทั้งยังได้รับเสียงวิจารณ์เชิงบวกอย่างท่วมท้นจากสื่อมวลชนนานาชาติ
We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )