ผศ.เจะอับดุลเลาะ เจ๊ะสอเหาะ กับคำอธิบายว่าทำไมรัฐจึงไม่ชอบงานศิลปะ เพราะศิลปะคือเครื่องมือในการพูดความจริง | IAMEVERYTHING.CO

LOOKING ON EVERYTHING ?

EXPLORE ON EVERYTHING

ผศ.เจะอับดุลเลาะ เจ๊ะสอเหาะ อาจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์ ม.อ. ปัตตานี และผู้ก่อตั้ง Patani Artspace กับคำอธิบายว่าทำไมรัฐจึงไม่ชอบงานศิลปะ เพราะศิลปะคือเครื่องมือในการพูดความจริง

ในฐานะที่คุณเป็นทั้งศิลปิน แล้วยังเป็นอาจารย์ด้วย ทำไมเสรีภาพของศิลปินมันจึงมีความสำคัญมากนัก
มันเป็นสิ่งสำคัญมาก ที่ศิลปินจะต้องมีพื้นที่ในการแสดงออก เพราะศิลปะมันเป็นพลังที่ไม่ได้สร้างความรุนแรง เป็นเรื่องของการต่อสู้ทางสติปัญญาโดยการใช้หลักการทางสุนทรียะ ทางศิลปะ ซึ่งผมคิดว่าเราจะต้องช่วยกันให้สังคมมันมีพื้นที่ทางศิลปะในการแสดงออกในทุกมิติ ทุกเรื่องให้ได้ ดังนั้นเสรีภาพจึงเป็นเรื่องจำเป็น

หมายความว่าศิลปะโดยตัวมันเองเนี่ยมันก็สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการเรียกร้องหรือในการนำเสนอปัญหาทางสังคมอย่างนั้นได้ใช่ไหม
ใช่ครับ เพราะศิลปะมันอยู่คู่กับมนุษย์ มันเป็นเครื่องมือในการทำให้มนุษย์ได้รู้จักหัวจิตหัวใจ ได้สำรวจความรู้สึก การสร้างงานศิลปะมันจึงเป็นการสื่อสารทางความรู้สึก เมื่อมันมีความรู้สึกแล้วมันจะส่งผลไปที่กระบวนการทางความคิด ทำให้เกิดการครุ่นคิดว่า คุณคิดยังอย่างไรแบบไหน แล้วคิดในมิติอะไร ศิลปะที่มีลักษณะแบบนี้ สามารถมันกระตุ้นให้ผู้คนรู้สึกนึกคิดในประเด็นต่างๆที่หลากหลายในสังคม โดยที่เราไม่ต้องมาฆ่าแกงกัน

คุณจึงคิดว่าเป็นหน้าที่ของศิลปินที่ต้องทำงานศิลปะสะท้อนปัญหาออกมา จำเป็นต้องเป็นแบบนั้นไหม ทั้งที่ศิลปินบางคน บางราย เขาก็ทำงานศิลปะ ขายงานศิลปะ แล้วเขาก็สร้างความสวยงาม จรรโลงจิตใจ เพียงแต่เขาไม่ได้เล่าเรื่องสะท้อนปัญหาทางสังคมออกมา
มันก็ไม่ผิดครับ แต่ผมมองว่าคนที่ทำงานศิลปะแบบนั้น เขามองแค่เรื่องของความอยู่รอด ปากท้องเพียงอย่างเดียว เขาอาจไม่ได้มองในเรื่องของการขยับขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การนำพาสังคมไปสู่สิ่งที่มีคุณภาพ มีศักยภาพในการดำเนินชีวิต ซึ่งผมคิดว่าโอเคแหละ เป็นสิทธิ์ที่เขาอยากจะทำแบบนั้น เป็นสิทธิ์ที่เขาไม่อยากจะไปยุ่งเรื่องการเมือง มันเป็นสิทธิเสรีภาพของแต่ละคน แต่เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าการเมืองนั้นมันเกี่ยวข้องกับเราไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง อย่างน้อยที่สุดมันก็ตีกรอบให้การศึกษาศิลปะในบ้านเรามันไม่ไปไหนสักที

Ibu Warna di Patani 2020

ขยายความให้ฟังหน่อย
โครงสร้างของการศึกษาศิลปะมันไม่เคยถูกให้ความสำคัญ เวลาเราเชิดชูศิลปินเราก็จะพูดถึงในแง่ศิลปวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่า แต่พอเวลาจะขอการสนับสนุนทางด้านศิลปะกลับถูกเพิกเฉย กลับถูกให้ความสำคัญเป็นเรื่องท้ายๆ หากว่าใครคนใดคนหนึ่งในกระทรวงเขาเพิกเฉยกับเรื่องนี้ ก็แสดงว่าเขาไม่ได้อินกับศิลปะจริงๆ เขามองว่าศิลปะเป็นแค่เครื่องประดับ ไม่ใช่ในมิติศิลปะที่จะขับเคลื่อนให้ประโยชน์แก่สังคมที่สามารถพัฒนาบ้านเมืองในแบบที่เราคิด

ทำไมรัฐถึงกลัวศิลปะ ทำไมถึงพยายามปิดกั้น
รัฐไม่ได้กลัวศิลปะ แต่รัฐกลัวความจริงครับ ศิลปะมันคือความจริง เพราะศิลปะมันทำงานกับความรู้สึก ความรู้สึกก็คือหัวใจ หัวใจก็คือความจริง พอมันเป็นความจริง มันกระทบต่อความรู้สึก รัฐก็เลยกลัว คือเขาไม่ได้กลัวศิลปะ บางทีเขาอาจจะชอบศิลปะด้วยซ้ำ เขาแค่กลัวความจริง เพราะศิลปะสะท้อนเรื่องราวความจริงมันออกมา เขาถึงพยายามปิดกั้นการพูดความจริงในฐานะชิ้นงานศิลปะ

เท่ากัน-ไม่เท่ากัน 2020
ความมั่นคงของใคร 2020

ถ้าการเมืองดีอย่างที่เด็กๆ เขาเรียกร้องกัน คุณคิดว่าศิลปะกับศิลปินจะเป็นยังไง
ผมว่าเราคงไม่มีกระทรวงที่เอาคนไม่มีความรู้ไปบริหารบ้านเมือง มันคงไม่ใช่ระบบราชการเน่าๆแบบที่เราเห็นกันอยู่ คนทำไม่ได้รู้ คนรู้ไม่ได้ทำ มันก็เลยไม่ได้มีการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งๆที่ศิลปวัฒนธรรมบ้านเรามันมีเยอะแยะมากมาย วัตถุดิบอะไรก็มากมาย เรื่องราวประวัติศาสตร์อะไรมากมาย แต่ด้วยกระบวนการทำงานในระบบแบบรัฐราชการมันทำให้สิ่งเหล่านี้เป็นไปอย่างไร้ประสิทธิภาพ คนที่มีศักยภาพก็ไม่ได้ไปทำงานตรงนั้น กลับกลายเป็นว่าคนที่ไม่มีศักยภาพได้ไปอยู่ตรงนั้น คนที่สยบยอมต่ออำนาจรัฐเท่านั้นที่ได้ทำ การพัฒนามันเลยไม่เกิดขึ้น และนี่คือผลพวงจากการเมืองที่มันไม่มีความก้าวหน้า มันก็เลยส่งผลกระทบต่อระบบการจัดการในการพัฒนาในเส้นทางศิลปะของเรา กลายเป็นว่าเราล้าหลังกว่าประเทศอื่นๆ มันน่าเสียดายมากๆ เลยครับ

    TAG
  • Jehabdulloh Jehsorhoh
  • เจะอับดุลเลาะ เจ๊ะสอเหาะ
  • Patani Artspace
  • art
  • people
  • interview

ผศ.เจะอับดุลเลาะ เจ๊ะสอเหาะ กับคำอธิบายว่าทำไมรัฐจึงไม่ชอบงานศิลปะ เพราะศิลปะคือเครื่องมือในการพูดความจริง

PEOPLE/INTERVIEW
4 years ago
CONTRIBUTORS
EVERYTHING TEAM
RECOMMEND
  • PEOPLE/INTERVIEW

    มองสถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัยในฐานะวัฒนธรรมที่มีชีวิตผ่าน ART TOYS เจาะลึกแนวคิดความสนุกจาก DUCTSTORE the design guru Co.,Ltd.

    ทันทีที่ Key Visual สถาปนิก’ 68 เผยแพร่ออกมา บทสนทนาปลุกสัญชาตญาณนักสืบในตัวทุกคนพร้อมใจกันทำงานแบบ Autopilot และระหว่างที่ตามหาเฉลยกันจริงจัง ทุกคนเริ่มหันมาตั้งคำถามต่อว่า Art Toys เกี่ยวข้องกับธีมงานอย่างไร รู้ตัวอีกทีวงสนทนาก็กระเพื่อมขยายกว้างขึ้น ส่งสัญญาณชัดว่า Key Visual ปีนี้เปิดฉากมาแบบสนุกเอาเรื่อง โดนเส้นกันสุดๆ

    EVERYTHING TEAMJanuary 2025
  • PEOPLE/INTERVIEW

    อุ้ม-วัลลภ รุ่งกำจัด นักแสดงภาพยนตร์อิสระ สู่เส้นทางของ Cannes Film

    วัลลภ รุ่งกำจัด หรือ อุ้ม นักแสดงที่เชื่อมโยงความเป็นมนุษย์กับโลกของภาพยนตร์ ผ่านการสร้างชีวิตให้ตัวละครต่าง ๆ ได้ออกมาโลดแล่นแสดงความรู้สึกทางอารมณ์ให้กับผู้ชม แม้เขาจะไม่ได้เป็นนักแสดงที่มีชื่อเสียงในวงกว้างเทียบเท่ากับนักแสดงกระแสหลัก แต่ในเวทีระดับโลก “อุ้ม” ได้พิสูจน์ตัวเองกับการเป็นนักแสดงที่มีความสามารถที่ยอมทุ่มเทหลาย ๆ สิ่ง ให้กับงานศิลปะด้านการแสดงในภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้อย่างสุดตัว

    EVERYTHING TEAM6 months ago
  • PEOPLE/INTERVIEW

    พูดคุยกับ “MAMIO” บนหน้ากระจกสะท้อนตัวตนที่ถูกซ่อนมาทั้งชีวิต “อาจใช้เวลานานถึง 30 ปี แต่ก็ดีกว่าไม่มีโอกาสได้รู้เลย”

    คงปฏิเสธไม่ได้ว่าก่อนหน้านี้เราได้รู้จักกับเธอคนนี้ในชื่อของ พัด หรือที่ชอบเรียกติดปากกันว่า พัด ZWEED N’ ROLL เจ้าของเสียงทุ้มมีเสน่ห์ นักร้องและนักแต่งเพลงที่ฝากผลงานเพลงเศร้าเอาไว้ในวงการมากมาย อาทิ ช่วงเวลา, Diary, อาจเป็นฉัน และอีกมากมาย ไม่มีอะไรแน่นอนแม้กระทั่งตัวเราเอง ช่วงเวลาจึงได้พัดพาให้เรามาทำความรู้จักกับ “MAMIO” ในฐานะศิลปินใหม่จากค่าย Warner Music Thailand ซึ่งเป็นอีกตัวตนหนึ่งของคุณพัดที่ไม่เคยถูกปลดปล่อยออกมาเลยตลอดชีวิตการทำงานในวงการสิบกว่าปีที่ผ่านมา หรือถ้าจะให้ซื่อสัตย์กับตัวเองจริง ๆ ก็อาจจะเป็นทั้งชีวิตที่เกิดมาเลยเสียด้วยซ้ำ

    EVERYTHING TEAM6 months ago
  • PEOPLE/INTERVIEW

    THE ROARING SOUND OF BANGKOK EVILCORE

    Whispers เป็นหนึ่งในวงดนตรีที่สะท้อนการเติบโตของวงการ Hardcore ในประเทศไทยอย่างแท้จริง ตั้งแต่จุดเริ่มต้นที่เป็นเพียงกลุ่มเพื่อนที่หลงใหลในดนตรี เพราะนอกจากจะเป็นผู้เล่น พวกเขายังเป็นกำลังสำคัญที่คอยผลักดันซีนฮาร์ดคอร์ในบ้านเรามาโดยตลอด ประสบการณ์ที่สั่งสมทำให้เกิดเป็นสไตล์เฉพาะของ Whispers สร้างความแตกต่างและเป็นเอกลักษณ์ จนทำให้พวกเขาก้าวไปสู่เวทีระดับสากล ถึงแม้พวกเขาจะอยู่ใต้ดินของไทย แต่เสียงคำรามของพวกเขาก็ดังไปไกลถึงทวีปยุโรป มาพบกับเส้นทางดนตรีที่เต็มไปด้วยแรงบันดาลใจและการเปลี่ยนแปลง กับวงฮาร์ดคอร์ระดับบท็อปของ Southeast Asia

    EVERYTHING TEAM7 months ago
  • PEOPLE/INTERVIEW

    Nat Inksmith (ชณัฏฐ์ หวังบุญเกิด) มากกว่าความสวยงามคือการนำเสนอผลงานที่เป็นตัวตนผ่านศิลปะลายสัก

    ด้วยลายเส้นที่เป็นเอกลักษณ์และรูปแบบงานสักของเขา ที่เรารู้สึกแปลกประหลาดกว่างานสักอื่น ๆ (แปลกประหลาดในที่นี้คือความหมายในแง่ดีนะ) ก็เลยตัดสินใจส่งข้อความทักไปหา “พี่นัทครับ ผมขอสัมภาษณ์พี่ได้ไหม” “ได้ครับ” สั้น ๆ แต่จบ เรื่องราวทั้งหมดก็เลยเริ่มต้นขึ้นที่ร้าน CAVETOWN.TATTOO แถว ๆ ปิ่นเกล้า ซึ่งพี่นัทเป็นเจ้าของร้านแห่งนี้ บทสนทนาของเราเริ่มกันในช่วงเวลาบ่าย ๆ ของวันพฤหัส พอไปถึงร้านพี่นัทกำลังติดงานสักให้กับลูกค้าอยู่หนึ่งคน พอได้เห็นลายที่เขาสักต้องบอกว่าเท่มาก ๆ มันมีความเป็น Psychedelic บวกกับ Ornamental ผสมผสานกับเทคนิค Dotwork จนกลายเป็นงานศิลปะบนผิวหนังหลังฝ่ามือ เราถึงกับต้องถามคำถามโง่ ๆ กับลูกค้าที่ถูกสักว่า “เจ็บไหม” แน่นอนคำตอบที่ได้คือ “โคตรเจ็บ” เพราะจุดที่สักคือหลังฝ่ามือ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งจุดที่หลายคนร่ำลือกันว่าโคตรเจ็บ ระหว่างที่รอพี่นัทไปพลาง ๆ น้องแมคช่างภาพที่มีรอยสัก Full Sleeve เต็มแขนขวา ก็เริ่มกดชัตเตอร์กล้องถ่ายรูปเก็บภาพระหว่างที่เขาสักไปด้วย พอสักเสร็จเรียบร้อยก็ปล่อยให้พี่เขาพักผ่อนกินน้ำ ปัสสาวะ (อ่านแยกคำนะอย่าอ่านติดกัน) ก่อนจะพูดคุย แต่เดี๋ยว ! ก่อนจะเริ่มบทสนทนา เราขอเกริ่นให้ฟังซักนิดนึงเกี่ยวกับชายคนนี้ก่อน

    EVERYTHING TEAM7 months ago
  • PEOPLE/INTERVIEW

    KIKI กับการเดินทางก้าวต่อไปของความคิดสร้างสรรค์บนเส้นทางดนตรี

    ในช่วงเวลาเพียงไม่กี่ปีวงดนตรีสัญชาติไทยที่ชื่อ KIKI ได้ก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในวงที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากทั้งในประเทศไทย ญี่ปุ่น ไต้หวัน สิงคโปร์ ฮ่องกง ก็เพราะด้วยเสียงเพลงที่มีความเป็นเอกลักษณ์ และการนำเสนอแนวคิดที่ไม่เหมือนใคร รวมถึงความตั้งใจในการสร้างสรรค์ผลงานที่สะท้อนถึงตัวตนของพวกเขาได้อย่างชัดเจน

    EVERYTHING TEAM8 months ago
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION

We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )