LOOKING ON EVERYTHING ?
EXPLORE ON EVERYTHING


การเรียนการสอนสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากยุโรปในช่วงต้นสมัยใหม่ หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ไปแล้ว จึงเป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลจากอเมริกาเข้ามาแทนที่ กลิ่นอายของยุโรปจากยุคสมัยใหม่ได้แผ่เข้ามายังมหาวิทยาลัยจำนวนมากในญี่ปุ่น บรรยากาศที่ดูขรึมขลังด้วยผนังอิฐเปลือยได้ถูกหยิบใช้กับมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่นิยมก่อตั้งในปลายศตวรรษที่ 19 บรรยากาศที่รายล้อมด้วยอิฐเปลือยเหล่านี้ได้เข้ามายัง Kyoto Institute of Technology หรือ KIT ซึ่งเริ่มต้นจากโรงเรียนช่างฝีมือในปี ค.ศ. 1899 ด้วยเช่นกัน ดัง ที่ปรากฏตึกเรียนเก่าแก่ที่สุดในมหาวิทยาลัย มันเป็นตึกแบบโมเดิร์นที่ได้รับอิทธิพลแบบเบาเฮาส์ สร้างในยุค ค.ศ.1930 เปลือกภายนอกเป็นอิฐเผาเปลือยสีน้ำตาล ส่งผมให้ตึกรุ่นหลังนิยมสร้างใช้เปลือกล้อไปกับตึกนี้ด้วยผนังกรุอิฐแบบต่าง ๆ แม้ว่าจะสร้างคนละยุคแล้วก็ตาม
แต่สำหรับอาคารใหม่ล่าสุดในมหาวิทยาลัยนี้ กลับไม่มีร่องรอยของเปลือกที่เป็นอิฐเปลือย

คณะวิชาที่มีความสำคัญในมหาวิทยาลัยนี้ คือสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มีการตั้งห้องแลบสำหรับดำเนินการเรียนการสอน วิจัยด้านการออกแบบที่มีเป้าหมายทั้งในระดับประเทศ และนานาชาติในชื่อ KYOTO Design Lab ซึ่งแต่เดิมนั้นแลบนี้อยู่ภายในอาคารเรียนหลักของคณะ แต่พื้นที่ไม่เพียงพอ จึงได้ทำการออกแบบส่วนขยายของแลบที่เปิดใช้งานเมื่อปี ค.ศ. 2018 โดยได้ศาสตราจารย์ Dai Nagasaka ผู้สอนในแลบด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ KIT ร่วมกับ Tohata Architects & Engineers, Méga ออกแบบอาคารใหม่หลังนี้ขึ้นมาบน’พื้นที่ระหว่าง’

อาคารเรียนคณะวิชาสถาปัตยกรรมและการออกแบบตั้งอยู่ทางวิทยาเขตฝั่งตะวันออก ที่ตั้งคือ’พื้นที่ระหว่าง’ด้านหลังอาคารมีพื้นที่ว่างระหว่างอาคารกับรั้วประมาณ 12-16 เมตร หลังรั้วคือชุมชนรอบมหาวิทยาลัย ผสมกับแปลงผัก บ้านเรือนโดยรอบมีความสูง 2-3 ชั้น สถาปนิกออกแบบโดยใช้วิธีไม่ให้อาคารใหม่มีสเกลหลุดออกจากสภาพแวดล้อมโดยรอบ หากพิจารณาที่อาคารเรียนหลังเดิม สถาปนิกใช้หลังคาเอียงจากฝั่งอาคารเรียน 5 ชั้น คลุมสู่อาคารใหม่สูง 2 ชั้น ที่มีความสูงไล่เลี่ยไปกับบ้านเรือนโดยรอบ เส้นฝั่งระหว่างอาคารเก่าและใหม่ถูกออกแบบขนานเป็นเส้นตรงไปกับอาคารเดิม ส่วนที่ติดไปกับรั้วชุมชน มีลักษณะโค้งเป็นคลื่นล้อไปกับเส้นที่ดินของมหาวิทยาลัย ทำให้เมื่อมองจากมุมภายในคอร์ตมีลักษณะเรียบตรงยาว แต่เมื่อเดินเข้ามาใช้สเปซภายในมีลักษณะเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นภายใต้ช่วงเสาที่แบ่งเป็นจังหวะที่ซ้ำกันในระยะ 2.40 เมตรตลอดทั้งอาคาร รายละเอียดที่น่าสนใจของระนาบผนังภายในคือการเจาะช่องแสงที่ด้านล่างผนังส่วนที่ติดกับชุมชน เลือกนำเข้ามาเฉพาะแสงธรรมชาติ ทำให้ผนังลดความใหญ่ของระนาบลง ดูลอยขาดจากพื้น ทำให้เบาขึ้น

ผลจากสร้างพื้นที่ระหว่างเป็นคอร์ต เติมต้นไม้ให้ลดความกระด้าง ทำให้เกิดการสนทนาระหว่างอาคารเก่าและใหม่ เกิดเป็นพื้นที่สร้างกิจกรรมแบบกึ่งปิด-เปิดในฤดูกาลที่มีอากาศอบอุ่น และมีการเชื่อมโยงกิจกรรมจากอาคารเดิมกับอาคารใหม่ทำโดยการเดินผ่านคอร์ตจากชั้น 1 และสะพานที่ชั้น 2 อีกเช่นกัน

พื้นที่ภายโล่ง เพื่อรองรับกิจกรรมอันหลากหลาย ในส่วนชั้นล่างเป็นส่วนของเครื่องต่าง ๆ ในแลบ ทั้ง เครื่องพิมพ์ 3 มิติ แขนกลแบบต่าง ๆ ชั้นที่ 2 เป็นพื้นที่ปฏิบัติการออกแบบ ทั้งโต๊ะทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ โต๊ะปฏิบัติการออกแบบ บางเวลามันถูกแปลงเป็นโถงนิทรรศการสำหรับกิจกรรมด้านการออกแบบต่าง ๆ ในส่วนโถงบันไดที่เชื่อมชั้น 1 สู่ชั้น 2 เป็นโถงอเนกประสงค์ รองรับกิจกรรมทั้งเวิร์คชอป การบรรยายพิเศษ ด้านการออกแบบจากสถาบันการศึกษาทั่วโลก ทั้งยุโรป อมเริกา เอเชีย และไทย
จากประสบการณ์การใช้สถาปัตยกรรมนี้ ‘ความระหว่าง’ คือใช้วิธีปิด แล้วเปิดภายใน มากกว่าเชื่อมนอกวิทยาเขตด้วยสายตา พื้นที่มีความเลื่อนไหลสูง แต่น่าเสียดายในแง่การใช้สอยที่ไม่ได้เลือกความสะดวกให้มีห้องน้ำภายในอาคาร ต้องเดินกลับเข้ามายังอาคารเดิมเพื่อใช้ห้องน้ำ ยิ่งในวันที่หนาวมากของเกียวโต ทำให้ไม่สะดวกนัก มันทำให้เห็นในสิ่งเดียวกันที่มีทั้งเสียและได้ในตัวมันเอง
KYOTO Design Lab, Kyoto Institute of Technology : When old meet new at betweenness
/
บ้านหลังแรกที่สร้างขึ้นเองของคุณออมมี่ และคุณแบงค์ -ปรีดากร เมรเกรียงชัย Co-Founder แห่งแบรนด์ Gentle RAM บ้าน ที่ตอบโจทย์รสนิยมของทั้งสองที่หลงใหลในความ Timeless และการอยู่อาศัยที่อยู่สบาย เรียบง่าย พร้อมจัดระเบียบชีวิตในบ้านได้อย่างลงตัว บ้านที่ทุกพื้นที่ และทุกฟังก์ชั่นที่ทาง THE OTHERS ผู้ออกแบบได้ขบคิดมาอย่างพิถีพิถันไม่ต่างกับเสื้อผ้าที่เทรลเลอร์เมดให้พอดีกับเจ้าของบ้าน
/
หนึ่งในกิจกรรมจากเวที TOSTEM Asia Design Award (TADA) ซึ่งจัดขึ้นโดย TOSTEM เพื่อเฟ้นหาผลงานสถาปัตยกรรมในเอเชีย ที่มุ่งให้ความสำคัญกับเรื่องของธรรมชาติ ผสานเข้ากับนวัตกรรมการอยู่อาศัยสมัยใหม่ ตอบโจทย์ทั้งผู้ใช้งาน และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ซึ่งนอกจากผู้ชนะรางวัลจะได้ร่วมเดินทางไปรับรางวัลที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว ยังได้พบปะกับ Akihisa Hirata สถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงระดับโลก ที่มาแชร์มุมมองแนวคิดการออกแบบโปรเจกต์ต่าง ๆ ตั้งแต่งาน Installation Art บ้านพักอาศัย จนถึงอาคารสาธารณะ ซึ่งความน่าสนใจนอกเหนือจากเอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่ถ่ายทอดผ่านฟอร์ม และสเปซที่โดดเด่น และเป็นที่จดจำแล้วนั้น สำคัญคือปรัชญาหลักที่เป็นรากฐานความคิดของ Hirata สู่การพัฒนาเป็นสถาปัตยกรรมน่าทึ่งเหล่านั้น ซึ่งเราจะมาเจาะลึกแนวคิดที่ว่านั้นกัน
By TOSTEM/
ผสานบริบทธรรมชาติ สอดรับกับวัฒนธรรมท้องถิ่นได้อย่างลึกซึ้ง พร้อมถ่ายทอดสู่เอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรม ที่เติมเต็มทั้งสุนทรียศาสตร์ และตอบโจทย์การใช้ชีวิตผู้อยู่อาศัยได้ทุกมิติ คือจุดร่วมหลักของสองผลงานออกแบบบ้านที่ตั้งอยู่ใน 2 จังหวัดทางภาคเหนือ ที่คว้ารางวัล TOSTEM ASIA DESIGN AWARD 2024 (TADA 2024) ในกลุ่มประเภท “Special Mention for Sustainable Living” มาครอง
By TOSTEM/
ขึ้นชื่อว่าเป็นโปรเจกต์ออกแบบโดย HAS design and research ของสองสถาปนิกฝีมือแถวหน้าอย่าง คุณเจอร์รี่ หง (Jenchieh Hung) และคุณป้อ-กุลธิดา ทรงกิตติภักดี (Kulthida Songkittipakdee) แล้วนั้นรับรองว่ามิติที่ลึกซึ้งกว่าเรื่องของฟอร์มอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ทุกคนต่างทึ่งไปกับงาน“Aluminum Grotto and Public Ground” งานอินสตอลเลชันสุดอลังการที่จัดแสดงในงานสถาปนิก’67 ก็เป็นตัวอย่างของการผสานองค์ประกอบเรื่องของพื้นผิว-พื้นที่-โครงสร้าง-ฟังก์ชั่นให้เป็นหนึ่งเดียว ภายใต้ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ และเชื่อมระหว่างภูมิทัศน์ธรรมชาติ ศิลปะเชิงช่าง และวัสดุอุตสาหกรรมได้อย่างน่าตื่นตา มาถึงโปรเจกต์ใหม่ที่เป็นงานออกแบบรีเทลนี้ ทาง HAS ได้พยายามข้ามขนบบางอย่างของการออกแบบพื้นที่เชิงพาณิชย์ทั่วไป เพื่อสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับผู้ที่ได้ไปเยือน
/
กลายเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ในซอยจ่าโสด เมื่อเราได้พบกับอาคารสถาปัตยกรรมโมเดิร์นเรียบเท่ที่เต็มไปด้วยไดนามิคของเส้นสาย ส่วนคว้านโค้งซึ่งออกแบบมาเพื่อฟังก์ชั่น และเพื่อแสงธรรมชาติ เป็นอาคารโทนสีขาวสะอาดตาแต่ทำให้เราไม่อาจละสายตา กับเอกลักษณ์ดีไซน์ของอาคารที่ทอดตัวยาวพร้อมมีประภาคารเล็ก ๆ นี่คือ SANS STUDIO BANGKOK สตูดิโอแห่งใหม่ที่ก่อตั้งขึ้นโดยเจ้าของผู้สนใจในงานสถาปัตยกรรมและศิลปะการถ่ายภาพ หลังจากเรียนจบมาจากฝรั่งเศส โดยให้เป็นสตูดิโอที่รองรับงานถ่ายภาพ โปรดัคชั่น จนถึงอีเวนต์ ที่ได้ทาง PHTAA LIVING DESIGN มาเป็นบริษัทสถาปนิกออกแบบให้
/
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะสถาปัตยกรรมแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีการเปิดให้เรียนในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมศาสตร์ ก่อตั้งโดย อาจารย์นารถ โพธิประสาท ในปี พ.ศ. 2476 และมีการเปิดใช้ตึกคณะสถาปัตยกรรมครั้งแรกในปี พ.ศ. 2484 จนต่อมาในปี พ.ศ. 2485 ภายใต้รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มี “ประกาศปรับปรุงอักสรไทย” ขึ้นเพื่อให้การสะกดคำในภาษาไทยกะทัดรัดและลดความซ้ำซ้อนของตัวอักษรลง ชื่อคณะสถาปัตยกรรม จึงถูกเปลี่ยนแปลงและใช้ชื่อว่า คณะสถาปัตยกัม อยู่นานถึงสองปี ก่อนจะมีการกลับมาใช้ชื่อเดิมอีกครั้ง (หลังจบสงคราม) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2487 เป็นต้นไป
We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )