LOOKING ON EVERYTHING ?
EXPLORE ON EVERYTHING
Photographer:
Suppha-riksh Phattrasitthichoke
Writer:
Nattanart Supratanant

Lighting Studio แห่งแรกของเมืองไทย ภายใต้แบรนด์ Lamptitude (แลมป์ติจูด) ธุรกิจโคมไฟที่เกิดจาก Passion และความหลงใหลในงานดีไซน์ที่มอบแสงสว่างให้กับธุรกิจขนาดเล็ก-ใหญ่ อาคาร และห้างร้านมาตลอด 13 ปี ถึงแม้ว่าเวลาผ่านไป แต่ความตั้งใจ ทำให้ Lamptitude ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า พวกเขาจะไม่หยุดแค่คำว่า “โคมไฟ”
แนวคิดหลายอย่างถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ขับเคลื่อนธุรกิจด้วยนวัตกรรมล้ำสมัย ที่กำลังพาเราไปสู่อีกขั้นของการปฏิวัติอุตสาหกรรมนี้ได้อย่างน่าตื่นเต้นไม่น้อย

สาธิต ก่อกูลเกียรติ แห่ง Lamptitude ผู้จับโคมไฟใส่สมอง
“ผมโตมาในครอบครัวที่มีธุรกิจทำโคมไฟ ผมเห็น ผมเข้าใจ และเติบโตมาพร้อมกัน ดังนั้นผมมีแค่เป้าหมายเดียวในชีวิตคือ ทำร้านโคมไฟ”
คุณโหน่ง - สาธิต ก่อกูลเกียรติ ผู้ที่ใช้ชีวิตวัยเด็กของเขาสนุกไปกับการมองโคมไฟตามสถานที่ต่างๆ และคิดว่า “อันไหนที่เป็นชิ้นงานจากฝีมือของคุณพ่อของเขา?”ดังนั้นในการที่ต้องรับช่วงต่อธุรกิจนี้จึงกลายเป็นสิ่งที่เขาตั้งใจมาโดยตลอด ไม่ว่าจะในฐานะลูกชายคนโตหรือผู้ที่หลงใหลกับธุรกิจนี้อย่างแท้จริง จนวันหนึ่งที่เขาพร้อม และบอกกับครอบครัวของเขาว่า มันถึงเวลาแล้วที่เขาจะต้องสร้างอะไรบางอย่างขึ้นมาไม่ใช่แค่ต่อยอดเจตนารมณ์ของครอบครัว
“Lamptitude (แลมป์ติจูด) เกิดขึ้นตอนที่ผมอยู่ในห้องเรียนตอนปริญญาโท”
เราเชื่อว่าคุณโหน่งตอบและพูดถึงเรื่องที่มาของชื่อนี้มานับไม่ถ้วน แต่สำหรับเรา ไม่มีอะไรดีกว่าการได้ฟังคำตอบนี้จากตัวของเขาเองพร้อมทั้งสายตาที่มุ่งมั่นและเขายังสนุกกับการเล่าเรื่องนี้อยู่ตลอดเวลา
“ตอนนั้นคำว่า Attitude มันเข้ามาในหัวพอดี ซึ่งผมก็ลองเอามารวมกับคำว่า Lamp ที่แปลว่าโคมไฟ แล้วก็ลองเอามาเขียนให้มันติดกันบนกระดาษ ผมว่าคำมันสวยดี และที่สำคัญก็คือผมเจอความหมายบางอย่างในสองคำนี้ มันเป็นช่วงที่ผมกำลังคิดว่าเราจะเริ่มต้นยังไงดีกับแบรนด์ที่ผมอยากสร้างขึ้นมาเอง ลองเอาไปให้อาจารย์ฝรั่งช่วยคอมเมนต์ เขาก็บอกว่า มันดีนะ เขาเองก็ยังไม่เจอคำนี้ที่ไหน และนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้น”
ผู้คนที่ขับรถผ่านระหว่างเอกมัยซอย 17 และ 19 ในตอนกลางคืนต้องเหลียวมาดูไฟสีสันต่างๆ จากโชว์รูมแห่งนี้ ที่ทำให้ซอยเอกมัยดูมีชีวิตชีวาเพิ่มขึ้น ถ้าไม่นับแสงไฟจากร้านรวงหรือผับบาร์ ไอเดียที่ถูกออกแบบทั้งรูปทรงราวกับงานศิลปะ และการใช้งานที่พิถีพิถันแฝงตัวอยู่ในอาคารโชว์รูมแห่งนี้ ที่คุณโหน่งบอกว่าก่อนหน้านี้โชว์รูมแห่งแรกของ Lamptitude อยู่ตรงพรีเมียร์พระรามเก้า ช่วงนั้นเป็นช่วงที่เขาตัดสินใจบอกกับที่บ้านว่า เขาจะออกมาทำผลิตภัณฑ์ในแบบของเขาเอง โดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ที่มากกว่าการขายโคมไฟให้กับลูกค้า แต่ Lamptitude คือผลิตภัณฑ์ที่เชื่อมโยงระหว่างการใช้สอย และดีไซน์เข้าไว้ด้วยกัน โดยคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าเป็นหลักสำคัญ


ปรับตัวกับการตลาด และความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค ล้วนเป็นปัญหาของทุกองค์กรในโลก
“สำหรับโคมไฟ มันมีช่วงที่ตอนนั้นผมว่าทางเลือกตรงกลางมันไม่ค่อยมี ไม่ราคาถูกไปเลย ก็แพงจนจับต้องไม่ได้ ผมได้คุยกับเพื่อนที่เป็นสถาปนิกหรือมัณฑนากรค่อนข้างบ่อย แลกเปลี่ยนไอเดียเรื่องของเทรนด์ และไลฟ์สไตล์ของคนกลุ่มนี้ เลยเกิดไอเดีย ออกไปดูงานกับคุณพ่อ ออกไปเห็นว่าที่อื่นเขาไปถึงไหนกันแล้ว พอได้เห็นเยอะขึ้นเราก็เลยจับทางและวางตำแหน่งของแบรนด์ได้ชัดเจน”
ประสบการณ์พาเขาไปพบเจอกับนักออกแบบดีๆ ทั่วโลก รวมทั้งที่ประเทศไทย นักศึกษา และนักออกแบบหน้าใหม่คือกลุ่มคนที่คุณโหน่งบอกว่า นี่คือการสร้างความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ของแบรนด์ในแบบที่เขารู้สึกว่า ไม่ใช่แค่ได้รับ แต่เป็นการแบ่งปันอีกด้วย
“นอกเหนือจากการแจกแคตตาล็อกให้นักศึกษาหรือแลกแปลี่ยนไอเดียกันแล้ว ผมก็พยายามออกไปเป็นวิทยากรหรือให้ความรู้เกี่ยวกับ Lighting ที่มหาวิทยาลัยต่างๆ มันเป็น Friendly Communication ที่ผมรู้สึกว่า ไม่ใช่แค่เราที่ได้รับ แต่เราเป็นผู้ให้ด้วย เพราะสุดท้ายแล้วมิตรภาพตรงนี้มันจะยั่งยืน และทำให้พวกเขาที่กำลังจะก้าวไปเป็นสถาปนิกหรือนักออกแบบ เกิดความมั่นใจในตัวแบรนด์ไปโดยอัตโนมัติ”

เรียนรู้ที่จะเพิ่มเติม และเรียนรู้ที่จะแตกต่าง
2-3 ปีก่อนหน้านี้ เราอาจจะไม่ได้ยินความเคลื่อนไหวของ Lamptitude บ่อยครั้งนัก ทั้งเรื่องของคู่แข่งทางการตลาดและพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงตามปัจจัยแวดล้อม
“ลูกค้าส่วนใหญ่ของ Lamptitude คือคนที่ไม่ได้มีกำลังซื้อมหาศาลแต่ให้ความสำคัญกับดีไซน์และระบบของผลิตภัณฑ์”
Lamptitude ในปี 2019 คือการกลับมาพร้อมทั้งเทคโนโลยี ที่จะทำให้ชีวิตและการใช้ไฟฟ้าของคนยุคปัจจุบันเป็นเรื่องสนุก ทันสมัย และน่าค้นหาเหมือนงานศิลปะชิ้นหนึ่ง ซึ่งทางทีมเองก็พยายามที่จะพัฒนาเรื่องนี้ ให้มีความแตกต่างจากคู่แข่งเจ้าอื่นๆ

ควบคุมความสว่างแค่ปลายนิ้ว ช่วยให้ราบรื่นในทุกอิริยาบถ

สร้างมิติน่าสนใจให้กับบ้าน และอาคารด้วย Lighting Control

INNOVATION/
LAMPTITUDE
การทำให้ซอฟต์แวร์เป็นภาษากลางที่คนเข้าใจ และใช้งานได้ง่ายกว่าเดิม
แรงบันดาลใจที่ทำให้คุณโหน่งพัฒนาระบบ Lighting Control มาจากการคุยกันกับเพื่อนชาวต่างชาติผู้ไม่เข้าใจว่า เมืองไทยมีทุกอย่าง อาหารดี ที่พักสวย แหล่งท่องเที่ยวมากมายแต่กลับไม่มีบริษัทหรือสตาร์ทอัพที่มีเทคโนโลยีเจ๋งๆ บ้างหรือ?
“หลังจากนั้นผมบอกเพื่อนว่า เดี๋ยวผมจะเอาโคมไฟแล้วใส่หัวสมองเข้าไปให้ดู”
นั่นถือเป็นความท้าทายที่คุณโหน่งยอมรับว่า ครั้งแรกที่ได้ฟังเขาค่อนข้างขัดใจกับมุมมองแบบนั้น แต่สุดท้ายเขาก็ต้องขอบคุณความสงสัยในเชิงสบประมาทที่เขาได้รับ เพราะมันจุดประกาย และทำให้ Lamptitude ไม่หยุดพัฒนามาจนถึงตอนนี้
“มันพอดีกับช่วงที่ผมอยากทำ Smart Lighting อยู่แล้ว หลังจากนั้นผมเลยใช้เวลาศึกษา หาคนทำซอฟต์แวร์สำหรับโคมไฟและหลอดไฟ สำหรับตัว Li หรือ Lighting Intelligence ที่เรามีศูนย์ข้อมูลที่สามารถเช็คฟีดแบคได้ อย่างคู่แข่งจากต่างชาติ แบรนด์ใหญ่ๆ เช่น Artemide หรือ Flos ก็มีตัวนี้แล้ว แต่ในไทย เราเป็นเจ้าแรกที่ทำ”
ความสำเร็จก้าวแรกที่ Lamptitude สามารถทำได้คือระบบ Smart Light ที่ง่ายต่อการใช้งาน ถึงแม้ว่าจะออกมาไม่เต็มรูปแบบแต่บางชิ้นอย่างหลอดไฟธรรมดาที่ติดตั้งลงโปรแกรมใช้งานได้ทันที หรือ Smart Bulb หลอดไฟอัจฉริยะที่ถูกคิดค้นมาให้นำไปใช้กับโคมไฟที่มีอยู่แล้ว พอติดตั้งไปแล้วทั้งเซอร์กิตก็จะเปลี่ยนทั้งหมด ซึ่งจะสามารถควบคุมระบบไฟได้อย่างสะดวก ง่ายดาย เพียงปลายน้ิวด้วยซอฟต์แวร์ที่ดาวน์โหลดผ่านแอปพลิเคชั่น Lamptitude BLE ไว้ในสมาร์ทโฟน
กลัวคนเอาไปเลียนแบบไหม? นี่คงเป็นคำถามที่เราสงสัยเมื่อได้รู้ว่าระบบ Li ที่ Lamptitude กำลังพัฒนาอยู่นี้อาจมีการลอกเลียนแบบได้
“ผมมองว่าสิ่งที่เราต่างคือ เราไม่ได้เน้นแต่ที่ตัวระบบ แต่เรามีทุกอย่าง Support ระบบได้ เช่น เรามีของ เรามีทุกอย่างที่เวลาคุณซื้อไป คุณไม่ต้องกังวลว่าจะหาไฟแบบนี้ที่ไหน ดาวน์ไลท์ แทร็กไลท์ เอ้าท์ดอร์ไลท์ ไฟหนีบ คือเรามีครบ ดังนั้นเรามั่นใจว่าความครบวงจรของเราจะเป็นสิ่งที่เจ้าอื่นๆ เลียนแบบได้ยาก”
เมื่อเทคโนโลยีก้าวมาเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจนี้ Lamptitude จึงไม่หยุดที่จะพัฒนาศักยภาพของแบรนด์ กับช่วงเวลาที่ราบรื่นในเส้นทางธุรกิจจนถึงช่วงที่เขาต้องกลับมาเรียนรู้บางสิ่งเพิ่มเติมในวันที่ต้องรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและหลายๆ ปัจจัยในเชิงการตลาด
“ทิศทางในอนาคตอันใกล้ ผมมองว่าเรื่องการดีไซน์มันต้องควบคู่ไปกับความสามารถในการประหยัดพลังงาน” มุมมองของคุณโหน่งในฐานะคนขับเคลื่อน Lamptitude ที่ทุกวันนี้เขาไม่ได้มองเพียงแค่ความสวยงาม แต่ในฐานะของ “คนประดิษฐ์ไฟ” แน่นอนว่าไม่ใช่แค่สวย ใช้งานง่าย แต่ทำอย่างไรให้ผู้ใช้ที่เป็นกลุ่มลูกค้าของเขาได้รับประโยชน์สูงสุดหลังจากใช้งานด้วย

เนรมิตฉากใหม่ๆ ให้กับทุกพื้นที่ที่ต้องการ

“อย่างตัวระบบ Li (Lighting Intelligence) ที่คนอาจจะยังไม่ทราบว่าแค่เราลองลดความสว่างของไฟลง 20% นั่นก็หมายความว่าเราสามารถประหยัดลงได้ 50% แล้ว อีกอย่างผมว่าไม่ใช่แค่มีประโยชน์กับตัวลูกค้าเท่านั้น แต่ช่วยทำให้ดีไซเนอร์เข้าใจการทำงานของระบบไปด้วยสำหรับการใช้งานในชีวิตจริง หรืออย่างในห้างสรรพสินค้าเรื่องการใช้ไฟเกินจริงก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ผมอยากใช้เทคโนโลยีหรือความรู้ที่เรามีลองไปปรับใช้ ทำไมเวลาห้างปิดแล้วแต่การใช้ไฟบน Display ยังมีอยู่ เราทำระบบไฟให้สอดคล้องกับการใช้งานได้ไหม”
ความคิดสวนทางที่คุณโหน่งพยายามผลักดัน Lamptitude ออกมาให้เป็นรูปเป็นร่าง ประกอบกับเทคโนโลยีที่ไม่ได้ขับเคลื่อนแค่ตัวของแบรนด์ แต่คือภาพรวมของธุรกิจ และวงการโคมไฟในประเทศไทย การไม่หยุดอยู่กับการค้นหาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภค และตอบสนองอะไรบางอย่างในตัวเขา ซึ่งนั่นคงไม่พ้นคำว่า “ความตั้งใจ”
คุณโหน่งบอกว่า What’s Next ของ Lamptitude หรือแม้กระทั่งตัวของเขาเอง เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น และในขณะเดียวกันเขาใช้เวลาทบทวนอย่างระมัดระวังในทุกก้าว เพื่อเตรียมพร้อมในการเติบโต รวมทั้งสร้างความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์ในระยะยาวท่ามกลางการแข่งขันและเทรนด์ของโลกที่หมุนไวเหลือเกิน
เราใช้เวลาในการเดินชมโชว์รูมแห่งนี้อยู่พักใหญ่ อาณาจักรแห่งแสงสว่างนี้ ทำให้เราสัมผัสได้ถึงความตั้งใจอันแน่วแน่ของ Lamptitude จากธุรกิจของครอบครัว สู่การต่อยอดที่เลือกจะแตกต่าง และแสดงตัวตนอย่างชัดเจนในสนามธุรกิจ แม้จะสวนทาง ไม่หวือหวา เหมือนคนอื่นๆ แต่เราเชื่อว่าความผูกพันของเขา และการเติบโตมาพร้อมกับแบรนด์นี้ จะทำให้ Lamptitude คงความเป็นอันดับต้นๆ ของธุรกิจนี้ต่อไปได้อย่างไม่ต้องสงสัย

คุณโหน่งปิดท้ายไว้กับเราว่า เขาชอบออกไปดำน้ำ ออกไปเห็นอะไรใหม่ๆ ได้พูดคุยกับนักดำน้ำ และชาวบ้านแถบนั้น แน่นอนว่าถึงแม้จะเป็นเหมือนแค่ทริปออกไปพักผ่อน แต่ใครจะรู้ เขาอาจจะมีไอเดียอะไรใหม่ๆ สำหรับ Lamptitude ที่เกิดขึ้นจากทริปดำน้ำนี้ก็ได้
สำหรับคนรักบ้าน หรือผู้หลงใหลในงานฝีมือไปจนถึงงานดีไซน์เพื่อบ้านต่างๆ เชิญไปสัมผัสประสบการณ์ Lighting Intelligence ได้ที่ งานบ้านและสวนแฟร์ 2019 ระหว่างวันที่ 18-27 ตุลาคม 2562 อิมแพคเมืองทองธานี บริเวณ Selected Zone บูธ i74-i78 และ i108-i112 ไปดูนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะทำให้คุณเข้าใจ และทึ่งไปกับเทคโนโลยีที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในบ้านของคุณจาก “แลมป์ติจูด” ในงานนี้
LIGHTING INTELLIGENCE ขับเคลื่อนธุรกิจโคมไฟด้วยนวัตกรรมล้ำสมัยจาก “แลมป์ติจูด”
/
เพราะธุรกิจจะอยู่รอดได้ ต้องพร้อมปรับตัวให้ทัน สามารถรับมือกับทุกความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ การจะพัฒนาสินค้าให้เติบโตในยุคปัจจุบัน จึงต้องตอบโจทย์ทั้งความต้องการของลูกค้า และปัจจัยทางการตลาดรูปแบบใหม่ที่ส่งผลต่อดีไซน์โดยตรง ความน่าสนใจของ Design PLANT ‘Expres’ ที่เป็นส่วนหนึ่งในงาน Bangkok Design Week 2022 ในปีนี้ คือเราจะได้เห็นทิศทางของการออกแบบผลิตภัณฑ์และเฟอร์นิเจอร์ที่สอดคล้องกับตลาดยุคใหม่ จากทั้งนักออกแบบรุ่นใหญ่และรุ่นใหม่
/
ก่อนนี้เราเคยเห็นผลงานสตรีทอาร์ตสีสันจัดจ้านของ Benzilla หรือ เบนซ์-ปริญญา ศิริสินสุข โลดแล่นอยู่ในโลกของแฟชั่น ของเล่น งานประติมากรรม งานเพ้นท์ จนถึงงานดิสเพลย์ต่าง ๆ มากมาย แต่ครั้งนี้จะเป็นครั้งแรก! ที่เขาได้ใช้เครื่องพิมพ์ประสิทธิภาพสูง หน้ากว้างขนาด 64” ของ “Epson SureColor R-Series R5030L” ถ่ายทอดผลงานลงบนวัสดุต่าง ๆ ที่หลากหลาย พร้อมหมึกพิมพ์เรซิ่นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และปลอดภัยกับผู้ใช้งาน
By EPSON/
จากนี้เรื่องของกระบวนการ Upcyling ก็ไม่ใช่เรื่องเข้าใจยาก หรือยากจะเห็นภาพอีกต่อไป เมื่อได้พบกับเครื่อง “Trashpresso” นวัตกรรมสุดล้ำที่เหมือนย่อโรงงานขนาดใหญ่ มาไว้เป็นโรงงานอัพไซเคิลเคลื่อนที่ ที่สามารถเดินทางไปได้ทุกที่ทั่วโลก เพื่อให้ทุกคนสนุกกับการเปลี่ยนขยะให้กลายเป็นของใช้ในชีวิตประจำวันที่สวยงามและกลับมามีประโยชน์ใหม่ได้ในไม่กี่นาที ซึ่งในวันนี้เครื่อง Trashpresso พร้อมให้คนไทยได้ Funtastic! กับการอัพไซเคิลพลาสติกใช้แล้วให้กลับมามีชีวิต โดยความร่วมมือระหว่าง บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล (จำกัด) มหาชน หรือ GC องค์กรไทยที่ผลักดันแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนให้เกิดเป็นการปฏิบัติจริง และ Miniwiz ผู้นำระดับโลกด้านการแปรรูปขยะเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีมูลค่า จากประเทศไต้หวัน
By GC/
ใครอยากคัสตอมเล่มพิมพ์ EVERYTHING ในแบบของตัวเองมาทางนี้! สำหรับคนรักสิ่งพิมพ์ และอยากเป็นเจ้าของงานพิมพ์ดีไซน์เท่ เนื้อหาดีสักเล่ม ไม่ควรพลาดในส่วน “EVERYTHING CUSTOM EDITION” ที่ HAUS OF EVERYTHING ของเรา ณ โกดังบ้านเลขที่ 1 บางรัก ถนนสี่พระยา ในงาน Bangkok Design Week 2020 ครั้งแรกที่เราเปิดโอกาสให้ทุกคนได้คัสตอม EVERYTHING ในแบบฉบับของคุณ และอาจเป็นเล่มเดียวในโลก เพราะคุณสามารถเป็นนายแบบนางแบบลงปกเล่มพิมพ์ของตัวเองได้ด้วย สำหรับขั้นตอนการเป็นเจ้าของคัสตอมเล่มพิมพ์ของ EVERYTHING CUSTOM EDITION นั้นก็ง่ายมาก ที่เราแนะนำวิธีการกันทีละขั้นตอนไว้ในโพสต์นี้ ไปดูกันได้เลย!
/
หลังจากเหนื่อยล้ามาทั้งวัน เราก็อยากฟังเพลงเพื่อผ่อนคลายจากความเครียด แต่หลายครั้งเรามักจะพบว่าไม่ได้อรรถรสจากการฟังเพลงอย่างแท้จริง เพราะหูฟังที่เรามีไม่สามารถตัดเสียงภายนอกที่ไม่ต้องการได้ เสียงรถราบนถนน เสียงคนข้างๆ ที่คุยกัน เสียงที่ไม่พึงประสงค์ต่างๆ จึงเข้ามาขัดจังหวะเรากับ “เพลงโปรด” มันคงจะดีหากมีหูฟังที่ตัดเสียงรบกวนภายนอกเมื่อไหร่ก็ได้ตามที่เราต้องการ วันนี้ ป๊อด ธนชัย อุชชิน หรือ “Balloon Boy” และเหล่า Top Influencers ทั้งหลายที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการเพลง แฟชั่น ไลฟ์สไตล์ จะมาบอกเราว่าทำไม หูฟัง Sony 1000XM3 Series จึงเป็นที่สุดแห่งหูฟังตัดเสียงรบกวน เพื่อการฟังเพลงและผ่อนคลาย อย่างแท้จริง
By SONY/
หลายครั้งที่เราเหนื่อยล้าจากการทำงานมาทั้งวันและอยากฟังเพลงเพื่อการผ่อนคลาย ระหว่างนั่งรถเดินทางกลับบ้าน หรือแม้แต่ฟังเพลงเบา ๆ ระหว่างเดินเล่นหรือจ๊อกกิ้งออกกำลังกาย แต่พบว่าการฟังเพลงของเราไม่ได้อรรถรสที่แท้จริง เพราะหูฟังที่เรามีไม่สามารถตัดเสียงภายนอกที่ไม่ต้องการได้ หลายครั้งที่เสียงรถราบนถนน เสียงคนข้าง ๆ ที่คุยกัน เสียงที่ไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ จึงเข้ามาขัดจังหวะเรากับ “เพลงโปรด” มันคงจะดีหากมีหูฟังที่ตัดเสียงรบกวนภายนอกเมื่อไหร่ก็ได้ตามที่เราต้องการ
By SONY
We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )