SAVE MAKKASAN WITH RSU VERNADOC 2019 การบันทึกเรื่องราวมรดกทางอุตสาหกรรมการรถไฟ "โรงงานมักกะสัน" ผ่าน Vernadoc | IAMEVERYTHING.CO

LOOKING ON EVERYTHING ?

EXPLORE ON EVERYTHING

SAVE MAKKASAN
WITH RSU VERNADOC 2019

“It is not possible to protect the built vernacular environment and to maintain the local building tradition only by governmental money or regulations. More important is that people will understand the worth of their tradition and they are proud of it”

Markku Mattila, The VERNADOC Founder.

เมื่อกาลเวลาและยุคสมัยได้แปรเปลี่ยนความนิยมในการโดยสารรถไฟให้ลดน้อยลงจากเดิม จึงส่งผลให้โรงงานรถไฟอย่าง “โรงงานมักกะสัน” ได้เปลี่ยนความหมายเป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยร่องรอยประวัติศาสตร์ความรุ่งเรืองของกิจการรถไฟไทย ซึ่งกลายเป็นเรื่องเล่าเชิงคุณค่าให้คนไทยในยุคใหม่ได้เรียนรู้และอนุรักษ์ต่อไป

จนถึง ณ ปัจจุบันนี้เป็นวาระครบรอบ 109 ปี แห่งการก่อตั้งโรงงานมักกะสัน (พ.ศ. 2453-2562) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับ สถาบันอาศรมศิลป์ จึงได้ร่วมฉลองด้วย 29 ผลงานสำรวจรังวัดมรดกทางอุตสาหกรรมของการรถไฟแห่งประเทศไทย ในนามของโครงการ “RSU VERNADOC 2019” ที่นำทีมจัดแสดงผลงานโดย ผศ.สุดจิต (เศวตจินดา) สนั่นไหว และทีมผู้สอนในรายวิชา ARC412 การอนุรักษ์สถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งในโอกาสนี้ทางโครงการได้รับเกียรติร่วมชมนิทรรศการผลงานภาพการสำรวจรังวัดจาก ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน อีกทั้งได้เข้าเยี่ยมชมอาคารต่างๆ ภายในโรงงานมักกะสันซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และเป็นมรดกทางอุตสาหกรรมในงานศึกษาของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์

ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน ให้เกียรติถ่ายภาพร่วมกับ ผศ.ดร.ศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์ รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย และ ผศ.สุดจิต สนั่นไหว อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต พร้อมทีมสถาปนิกอาสาสมัคร คณะผู้จัดโครงการ VERNADOC
ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน ร่วมชมนิทรรศการผลงานภาพการสำรวจรังวัด
ภาพบรรยากาศนิทรรศการแสดงผลงานภาพการสำรวจรังวัด ณ โรงงานมักกะสัน
ภาพวาดโรงงานมักกะสัน สำหรับโครงการ VERNADOC ซึ่งมีจำนวนผลงาน 29 ชิ้น จากฝีมือของทีมนักศึกษาและสถาปนิกอาสาสมัคร
แขกผู้มีเกียรติพร้อมกับเหล่าสื่อมวลชนร่วมฟังการอภิปรายโครงการ VERNADOC และเดินชมนิทรรศการแสดงผลงานภาพการสำรวจรังวัด
ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน ร่วมชมนิทรรศการผลงานภาพการสำรวจรังวัด
ข้อมูลการสำรวจรังวัดจะถูกวาดลงบนกระดาษอย่างทันทีโดยไม่ต้องจดบันทึก ซึ่งจะกลายเป็นผลงานสเก็ตช์ภาพอาคารที่เกิดจากความนึกคิดหรือภาพจำของผู้ที่พบเห็น
ผศ.ดร.ศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์ รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย และผศ.สุดจิต สนั่นไหว อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต นำคณะสำรวจรังวัด ในบริเวณอาคารโรงซ่อมรถจักร

“พื้นที่นี้มีความน่าสนใจหลากหลายประเด็น เมื่อมีโอกาสเหมาะทาง VERNADOC ก็อยากเข้ามาศึกษาสถาปัตยกรรมภายใน และทำความเข้าใจในความเป็นมักกะสัน เพื่อที่จะได้ช่วยขยายมุมมองใหม่ๆ ออกสู่สังคมอีกแรงด้วย เป้าหมายของเราคือสร้างแนวร่วมทั้งคนทำงาน และคนร่วมเชียร์ เพื่อให้เราได้มีโอกาสลงศึกษาในพื้นที่อื่นๆ ต่อด้วยความไว้วางใจ และในขณะเดียวกันก็ได้เป็นประโยชน์กับพื้นที่นั้นด้วย”

ผศ.สุดจิต (เศวตจินดา) สนั่นไหว, ตัวแทน VERNADOC แห่งประเทศไทย

ภาพรถจักร หัวรถจักร และอะไหล่ของรถไฟ ที่ปลดระวางและนำมาเก็บที่โรงซ่อม

HOW’S VERNADOC SAVES MAKKASAN?

Markku Mattila สถาปนิกชาวฟินแลนด์ ผู้นิยามคำว่า VERNADOC โดยเกิดจากคำว่า Vernacular Architecture Documentation ซึ่งก็คือแนวทางการศึกษาและสำรวจสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น โดยจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ก่อตั้งอาคารและคนในละแวกชุมชนได้เล็งเห็นคุณค่าของอาคารและมีความตั้งใจจะอนุรักษ์ความดีงามของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นนี้ไว้ ซึ่งข้อมูลการสำรวจรังวัดจะถูกวาดลงบนกระดาษอย่างทันทีโดยไม่ต้องจดบันทึก จึงกลายเป็นผลงานสเก็ตช์ภาพอาคารที่เกิดจากความนึกคิดในทำนองเดียวกันของผู้ที่พบเห็น รวมถึงได้ระลึกคุณค่าของอาคารผ่านงานวาดในครั้งนี้ด้วย โดยภาพวาดสำหรับโรงงานมักกะสันในครั้งนี้ มีจำนวนผลงาน 29 ชิ้น จากฝีมือของเหล่านักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ทั้งสองสถาบัน ที่เป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นแง่คิดและทักษะของเจ้าของผลงานผ่านภาพวาดด้วย

“ตัวแปรสำคัญงานนี้ คงอยู่ที่พลังความรักที่มีต่อมักกะสันของทุกคนในสังคม ทั้งคนในและคนนอก ตอนที่เราลงเก็บข้อมูลเราได้พบพนักงานเพียงไม่กี่คน แต่เนื่องจากความน่าสนใจและคุณค่าของมักกะสันที่ทุกคนพอจะทราบ และอยากเห็นด้วยตาของตัวเอง จึงทำให้มีคนสนใจมาร่วมงานมากกว่าที่คิด โดยเราจะได้เห็นพลังของเด็กนักศึกษาสถาปัตย์ ที่มาเป็นกำลังสำคัญในการ Save our heritage ได้ เพียงแค่ลงมือทำงานผ่านกระบวนการที่ Eco friendly & Use less money ค่ะ”

ผศ.สุดจิต (เศวตจินดา) สนั่นไหว, ตัวแทน VERNADOC แห่งประเทศไทย

MAKKASAN OF MIND

เมื่อได้ยลภาพวาดงานฝีมือจากเหล่าสถาปนิกอาสาสมัครมากความสามารถแล้ว โอกาสต่อไปคือการเข้าเยี่ยมชมอาคารต่างๆ ที่เป็นแหล่งผลิตเครื่องจักรรถไฟ โดยมี ผศ.ดร.ศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์ รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย และผศ.สุดจิต สนั่นไหว อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต พร้อมทีมสถาปนิกอาสาสมัคร นำชมนิทรรศการและอาคารโดยรอบ ซึ่งประกอบไปด้วย อาคาร 2465, คลังพัศดุโรงงาน, อาคารโรงงานซ่อมรถจักร, อาคารโรงหล่อ และกระสวน ซึ่งแต่ละอาคารต่างเต็มไปด้วยเรื่องราวระหว่างการผลิต สิ่งของทุกชิ้นภายในอาคารที่ร้างผู้คนนั้นกลายเป็นเครื่องแสดงถึงวัฒนธรรมของคนงานในยุคที่กิจการรถไฟรุ่งเรือง ที่หลายคนอาจจะไม่มีโอกาสได้เห็น โดยบางอาคารก็ได้พบเห็นวัสดุในยุคก่อนที่ในปัจจุบันไม่ค่อยหลงเหลือให้เห็นแล้ว อย่างโรงพัศดุกระสวนที่ถูกปิดทำการไปกว่า 15 ปี จะถูกผลักดันให้เป็นมิวเซียมในอนาคตสืบไป จนไม่น่าแปลกใจที่โรงงานมักกะสันแห่งนี้ได้กลายเป็นสถานที่แห่งประวัติศาสตร์ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์

โครงสร้างอาคารยังคงใช้วัสดุไม้แบบดั้งเดิม
ภายในอาคารยังคงมีร่องรอยของวัฒนธรรมคนงานรถไฟ
ชั้น 2 ของโรงพัศดุกระสวนที่ถูกปิดทำการไปกว่า 15 ปี
ภายในโรงพัศดุกระสวน อุปกรณ์ หรืออะไหล่หลายชิ้นในอาคารแห่งนี้ หาโอกาสดูได้ยากแล้ว
ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน, ผศ.ดร.ศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์ รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย และ ผศ.สุดจิต สนั่นไหว อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และคณะ ถ่ายภาพร่วมกัน

สิ่งที่ได้รับจากการเข้าร่วมเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 109 ปี แห่งการก่อตั้งโรงงานมักกะสัน (พ.ศ. 2453-2562) ในครั้งนี้ ไม่ใช่แค่ทัศนคติในมุมมองใหม่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่เคยรุ่งเรืองในอดีต แต่ยังได้รับรู้การมีอยู่ของโครงการดีๆ ที่สร้างนักอนุรักษ์ของประเทศไทยให้เล็งเห็นคุณค่าของสิ่งปลูกสร้างแห่งประวัติศาสตร์ ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ให้เป็น “อดีตทีี่มีชีวิตในปัจจุบัน”

ติดตามความเคลื่อนไหวและอัพเดตข่าวสารของโครงการ VERNADOC กันได้อีกที่ www.facebook.com/vernadocthai www.facebook.com/vernadocthailand www.facebook.com/vernadoc
    TAG
  • rsuvernadoc
  • saveMakkasan
  • vernadocthailand
  • architecture
  • design

SAVE MAKKASAN WITH RSU VERNADOC 2019 การบันทึกเรื่องราวมรดกทางอุตสาหกรรมการรถไฟ "โรงงานมักกะสัน" ผ่าน Vernadoc

ARCHITECTURE/Architecture
September 2019
CONTRIBUTORS
EVERYTHING TEAM
RECOMMEND
  • DESIGN/Architecture

    SANS STUDIO BANGKOK by PHTAA LIVING DESIGN สตูดิโอที่สร้างเอกลักษณ์ภายนอก จากการนำแสงธรรมชาติเข้าสู่ฟังก์ชั่นภายใน

    กลายเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ในซอยจ่าโสด เมื่อเราได้พบกับอาคารสถาปัตยกรรมโมเดิร์นเรียบเท่ที่เต็มไปด้วยไดนามิคของเส้นสาย ส่วนคว้านโค้งซึ่งออกแบบมาเพื่อฟังก์ชั่น และเพื่อแสงธรรมชาติ เป็นอาคารโทนสีขาวสะอาดตาแต่ทำให้เราไม่อาจละสายตา กับเอกลักษณ์ดีไซน์ของอาคารที่ทอดตัวยาวพร้อมมีประภาคารเล็ก ๆ นี่คือ SANS STUDIO BANGKOK สตูดิโอแห่งใหม่ที่ก่อตั้งขึ้นโดยเจ้าของผู้สนใจในงานสถาปัตยกรรมและศิลปะการถ่ายภาพ หลังจากเรียนจบมาจากฝรั่งเศส โดยให้เป็นสตูดิโอที่รองรับงานถ่ายภาพ โปรดัคชั่น จนถึงอีเวนต์ ที่ได้ทาง PHTAA LIVING DESIGN มาเป็นบริษัทสถาปนิกออกแบบให้

    EVERYTHING TEAMa year ago
  • DESIGN/Architecture

    “สถาปนา/สถาปัตยกัม” นิทรรศการแห่งการเฉลิมฉลอง 90 ปี ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะสถาปัตยกรรมแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีการเปิดให้เรียนในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมศาสตร์ ก่อตั้งโดย อาจารย์นารถ โพธิประสาท ในปี พ.ศ. 2476 และมีการเปิดใช้ตึกคณะสถาปัตยกรรมครั้งแรกในปี พ.ศ. 2484 จนต่อมาในปี พ.ศ. 2485 ภายใต้รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มี “ประกาศปรับปรุงอักสรไทย” ขึ้นเพื่อให้การสะกดคำในภาษาไทยกะทัดรัดและลดความซ้ำซ้อนของตัวอักษรลง ชื่อคณะสถาปัตยกรรม จึงถูกเปลี่ยนแปลงและใช้ชื่อว่า คณะสถาปัตยกัม อยู่นานถึงสองปี ก่อนจะมีการกลับมาใช้ชื่อเดิมอีกครั้ง (หลังจบสงคราม) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2487 เป็นต้นไป

    EVERYTHING TEAMJuly 2023
  • DESIGN/Architecture

    MIRIN HOUSE by AAd - Ayutt and Associates design

    นี่ไม่ใช่บ้านที่ออกแบบตามค่านิยมทั่วไป เพราะจะมีบ้านหลังไหนที่ต้องเดินลัดเลาะผ่านเส้นทางคดเคี้ยวและบันไดสูงเหมือนเดินขึ้นภูเขาก่อนเข้าถึงตัวบ้าน อีกทั้งในเวลาฝนตกอาจต้องยอมเดินเปียกปอน ผ่านแลนด์สเคปซับซ้อน ที่ทำให้เรามีเวลามากขึ้นกับการซึมซับบรรยากาศรอบตัวผ่านทุกประสาทสัมผัส บ้านในเมืองหลังไหนที่จะรองรับการขยายพื้นที่สีเขียวได้มากเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ ที่สำคัญไม่ได้มุ่งเน้นแค่การสร้าง
สุนทรียภาพเฉพาะสำหรับผู้อยู่อาศัย แต่ยังคำนึงถึงผู้คนบ้านใกล้เรือนเคียงด้วย เรากำลังพูดถึงบ้าน Mirin House ออกแบบโดย AAd - Ayutt and Associates Design ที่ให้ความเป็นส่วนตัว กับการสอดแทรกธรรมชาติสู่การอยู่อาศัยได้โดยไม่ต้องยึดติดรูปแบบบ้านล้อมคอร์ต และกล้าออกนอกกรอบแนวคิดการออกแบบบ้านทั่วไป ซึ่งนี่อาจเป็นตัวอย่างที่จะทำให้เจ้าของบ้านหรือสถาปนิกในวงการได้เปิดมุมมองการออกแบบใหม่ ๆ
 ต่อขยายเรื่องของประสบการณ์ ประสาทสัมผัส ธรรมชาติ และความงามของการอยู่อาศัยที่หลับตาแล้วยังสัมผัสได้ถึงมันอยู่

    EVERYTHING TEAMMay 2023
  • DESIGN/Architecture

    SIR DAVID ADJAYE OBE การสร้างเรื่องเล่าจากการเปลี่ยนแปลงของ RIBA Royal Gold Medal ประจำปี 2021

    เป็นประจำของทุกปีที่ Royal Institute of British Architects (RIBA) จะประกาศชื่อสถาปนิกรับเหรียญเชิดชูซึ่งได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 โดยตรง ซึ่งเป็นกิจกรรมเริ่มต้นมาก่อนรัชสมัยของพระองค์ตั้งแต่ปี 1848 ให้แก่สถาปนิกที่มีทั้งอิทธิพลและมีชื่อเสียงทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งผู้รับรับเหรียญทองประจำปี 2021 นี้คืออัศวินด้านสถาปัตยกรรมผู้เพิ่งได้รับการแต่งตั้งยศในปี 2017 ได้แก่ Sir David Adjaye OBE

    Nada InthaphuntJune 2021
  • DESIGN/Architecture

    Goose Living บูติกโฮเทลและคาเฟ่แห่งใหม่ย่านสุขุมวิท กับแนวคิด “Living a goose life”

    จากโมเมนต์ประทับใจในสวนสาธารณะกลางมหานครนิวยอร์ก นำมาสู่ “GOOSE Living” บูติกโฮเทลและคาเฟ่สไตล์โมเดิร์นทรอปิคัลใจกลางย่านสุขุมวิท ผลลัพธ์จากการตีความการพักผ่อนรูปแบบใหม่ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Living a goose life...wild, fresh and free” ที่ชวนทุกคนมาใช้ชีวิตในไลฟ์สไตล์ที่เรียบง่าย ยืดหยุ่น แต่แฝงด้วยมุมมองที่กล้าจะทดลองประสบการณ์ใหม่

    EVERYTHING TEAMMarch 2021
  • DESIGN/Architecture

    Kyoto Institute of Technology '60th Anniversary Hall' Blending steel sheet by monocoque architecture

    สถาปัตยกรรมแบบทั่วไปประกอบด้วยองค์ประกอบที่มาจากเสา คาน ห่อด้วยผนังที่มีเปลือกตามสมัยนิยม นิยามของผนังคือระนาบกั้นระหว่างภายนอกและภายใน หรือภายในด้วยกันเอง ทำหน้าที่แบ่งพื้นที่และปกป้องสเปซภายใน ระนาบผนังวางตัวในแนวตั้งอยู่ระหว่างพื้น เพดาน ในขณะที่ผนังภายนอกถูกแยกออกด้วยระนาบพื้นและหลังคา ในบางส่วนของงานสถาปัตยกรรมแบบ Postmodern architecture มีความพยายามจะสลายระนาบต่าง ๆ เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน

    Xaroj PhrawongJuly 2020
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION

We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )