Multiple Courtyard House by Poetic Space Studio | IAMEVERYTHING.CO

LOOKING ON EVERYTHING ?

EXPLORE ON EVERYTHING

Multiple Courtyard House by Poetic Space Studio
พื้นที่ซึ่งสร้างสมดุลเพื่อรักษาความสัมพันธ์ให้ครอบครัวขนาดใหญ่ในแบบของ Poetic Space Studio
การรักษาสมดุลภายในพื้นที่ของ Poetic Space Studio ด้วยวิธี Typology of Space รวมกับการ Mapping ที่เหมาะสมของพฤติกรรมการใช้งานของสมาชิกภายในบ้าน Multiple Courtyard House
  นี่คือบ้านของครอบครัวขนาดใหญ่ซึ่งประกอบไปด้วยสมาชิก 7 คน และรวมคนไว้ 3 รุ่น เจ้าของบ้านเคยอาศัยอยู่ในตึกแถวซึ่งเป็นพื้นที่จำกัด และมีการใช้พื้นที่แบบผสมคือเป็นทั้งบ้านและที่ทำงานอยู่ในที่เดียวกัน ทำให้คนในบ้านต้องแบ่งปันพื้นที่ส่วนตัวร่วมกันมาก่อน แต่ตอนนี้ทุกคนกำลังจะมีพื้นที่ส่วนตัวเป็นของตนเองในหลังใหม่ แล้วความสัมพันธ์ของสมาชิกในบ้านจะเป็นเช่นไร?
  ในขณะที่ชีวิตของพวกเขากำลังจะเปลี่ยนไปจากเดิม เมื่อบ้านอาคารพาณิชย์ซึ่งอยู่ใจกลางเมืองกำลังจะหมดสัญญาลง สมาชิกในครอบครัวจึงตัดสินใจมองหาที่ตั้งของบ้านหลังใหม่ในย่านที่พักอาศัยซึ่งมีความหนาแน่นน้อย แต่ยังอยู่ในแนวขยายของเมืองที่มีระบบสาธารณูปโภค และการขยายระบบคมนาคมที่เชื่อมต่อกับตัวเมืองได้อย่างสะดวก จนมาจบลงที่เขตตลิ่งชั้น ซึ่งยังคงมีบรรยากาศของกิจกรรมทางการเกษตรที่เป็นพื้นที่สีเขียวอยู่บ้าง อย่างไรก็ตาม การย้ายบ้านครั้งนี้ นับเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างสิ้นเชิง จึงเป็นหน้าที่ของผู้ออกแบบที่จะสร้างบ้านให้ “คนกับพื้นที่” ไม่รู้สึกกลายเป็นคนแปลกหน้าซึ่งกันและกัน
  เพื่อการวิเคราะห์จิตวิทยาในการใช้งานเชิงพื้นที่ Poetic Space Studio ซึ่งเป็นผู้ออกแบบบ้านหลังนี้ใช้การพูดคุยสื่อสารกับเจ้าของบ้าน และใช้เวลากับการทำ Schematic Design เพื่อทำความเข้าใจ และนำมาใช้พัฒนาออกแบบ Program ให้เหมาะสมกับผู้อาศัย จนพบว่าการที่ครอบครัวเคยอาศัยในบ้านเดิมที่แม้ว่าจะมีข้อจำกัดของพื้นที่ แต่กลับทำให้สมาชิกแต่ละคนมีสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน นับเป็นจุดหนึ่งที่ผู้ออกแบบต้องการรักษาจุดนี้ไว้ในบ้านหลังใหม่ โดยที่สามารถหาจุดสมดุลระหว่างพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่สาธารณะของสมาชิกแต่ละคน แม้ความต้องการหลักของคนในครอบครัวคือการมีห้องนอนพร้อมห้องน้ำ 6 ห้อง ก็ตาม
Courtyard ผืนหลักกลางบ้านเป็นสระว่ายน้ำ และสวนไม้ดอกที่แบ่งพื้นที่อย่างละครึ่ง
  นอกจากการออกแบบจะกำหนดพื้นที่ห้องส่วนตัวให้มีขนาดเล็ก เพื่อเพิ่มพื้นที่ส่วนกลางให้ได้มากที่สุดแล้วผู้ออกแบบเลือกใช้พื้นที่ที่มีลักษณะ “ที่ว่าง” ประเภทเดียวกับ Courtyard ซึ่งมีลักษณะพื้นที่ที่สามารถใช้หรือไม่ใช้งานก็ได้โดยไม่กระทบต่อพื้นที่ใช้งานอื่น มีสถานะเป็น Semi – Public ทำหน้าที่ “กันชน” ระหว่างสถานะของพื้นที่ ซึ่งอำนวยต่อการใช้งานทั้งแบบ Public หรือ Private เพื่อสร้างสถานะการครอบครองที่สมดุลกับผู้ใช้งาน
Courtyard อีก 2 ผืน ย่อย อยู่คั่นกลางระหว่างกลุ่มห้องนอนพร้อมห้องน้ำทั้งฝั่งทิศเหนือและใต้
  ซึ่งในบ้านหลังนี้ประกอบด้วย Courtyard 3 ผืน ที่เสมือนเชื่อมกัน แต่ถูกคั่นด้วยทางเดิน 2 ฝั่ง คือ Courtyard ผืนหลักกลางบ้านที่เป็นสระว่ายน้ำ และสวนไม้ดอกที่แบ่งพื้นที่อย่างละครึ่ง ส่วน Courtyard อีก 2 ผืน ย่อย อยู่คั่นกลางระหว่างกลุ่มห้องนอนพร้อมห้องน้ำทั้งฝั่งทิศเหนือและใต้ ในคอร์ทมีไม้ดอกยืนต้นอยู่กลางพื้นที่ กลายเป็น “ที่ว่าง” ที่พร้อมปรับเปลี่ยนตามผู้ใช้เพื่อลดการยึดครอง และส่งเสริมให้สมาชิกครอบครัวได้แบ่งปันพื้นที่ร่วมกัน
องค์ประกอบอื่นในรั้วบ้านก็ใช้หลักการออกแบบเดียวกันกับนิยามของ Courtyard ในบ้าน`คือเป็นพื้นที่คั่นที่สามารถใช้หรือไม่ใช้มันก็ได้
  องค์ประกอบอื่นในรั้วบ้านก็ใช้หลักการออกแบบเดียวกันกับนิยามของ Courtyard ในบ้านคือเป็นพื้นที่คั่นที่สามารถใช้หรือไม่ใช้มันก็ได้ เช่น ม้านั่งยาวหน้าบ้านที่วางอยู่ระหว่างหน้าบ้านกับ Foyer หรือม้านั่งยาวและขอบข้างสระว่ายน้ำในคอร์ทกลางบ้าน รวมทั้งม้านั่งของ Terrace หลังบ้านที่ติดพื้นที่สวนครัว ทั้งหมดสามารถเชื่อมโยงพฤติกรรมภายนอกและภายในบ้านอย่างต่อเนื่องนั่นเอง
  Poetic Space Studio ออกแบบบ้านให้ครอบครัวใหญ่ที่เคยอาศัยอยู่ในตึกแถวใจกลางเมือง ได้อยู่อาศัยในบ้านหลังใหม่พร้อมวิถีชีวิตที่แตกต่างออกไป โดยการใช้วิธีแทรก “ที่ว่าง” ระหว่างพื้นที่ รวมกับการศึกษาพฤติกรรม และวางลำดับการใช้งานพื้นที่ที่เหมาะสมของสมาชิกภายในบ้าน เพื่อให้เกิดเสน่ห์ของบ้านที่ยังคงรักษาหัวใจของพื้นที่และครอบครัวไว้ บนรูปแบบบ้านที่ดูเรียบง่ายแต่เกิดจากความคิดที่ซับซ้อน
Project : Multiple Courtyard House
Owner : Tangthanatrakul Family
Architect/Interior/Landscape : Poetic Space Studio
Design Team : Nuthasard Jeendpund, Yupayong Chaikajonpat
Area : 560 sq.m
Site Area : 250 sq.wa
Project Loacation : Taling Chan, Bangkok
Project Year : 2018
Photographer : Songtam Srinakarin
    TAG
  • architecture
  • design
  • house

Multiple Courtyard House by Poetic Space Studio

ARCHITECTURE/HOUSE
March 2019
CONTRIBUTORS
EVERYTHING TEAM
RECOMMEND
  • DESIGN/HOUSE

    “Pong House” เชื่อมปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติผ่านคอร์ต พร้อมตอบโจทย์ความ Privacy

    “Pong House” บ้านที่พร้อมเปิดสเปซมากที่สุดสำหรับการเชื่อมปฏิสัมพันธ์สู่ธรรมชาติ และเผยมุมมองน้อยที่สุดสู่พื้นที่สาธารณะ เพื่อความเป็นส่วนตัว โดยมี ‘คอร์ตยาร์ต’ เป็นหัวใจของบ้าน ในการสอดแทรกพื้นที่สีเขียวเข้ากับพื้นที่อยู่อาศัย ภายใต้ดีไซน์ที่คลี่คลายสู่ความเรียบง่าย และพร้อมเป็นพื้นที่ปลอดภัยสบายใจให้แก่ผู้อยู่อาศัยในทุกมุมของบ้าน

    EVERYTHING TEAM3 years ago
  • DESIGN/HOUSE

    ICE.SU HOUSE BY JUNSEKINO A+D บทสนทนาระหว่างการสร้างบ้านที่ย้อนแย้งแต่ชัดเจนบนสเกล 1:1

    “One for the Road” หรือ “วันสุดท้าย . . ก่อนบายเธอ” ภาพยนตร์ไทยที่สร้างกระแสตั้งแต่ก่อนเข้าฉาย และได้ผลตอบรับที่ดีทั้งจากตัวหนัง ผู้อำนายการสร้าง ผู้กำกับ บท เพลง นักแสดง ไปจนถึงบ้านของนักแสดงนำซึ่งมีเอกลักษณ์ และถูกพูดถึงมากกว่าเจ้าของ ไอซ์ซึ หรือ คุณณัฐรัตน์ นพรัตยาภรณ์ เลือกการปลูกบ้านขึ้นใหม่จากสถาปนิกที่เขาเลือกเอง JUNSEKINO A+D เพื่ออาศัยอยู่กับแฟนและแมว

    Nada Inthaphunt3 years ago
  • DESIGN/HOUSE

    HOUSE 362 บ้านที่เปิด “ช่อง” เชื่อมโยงชีวิตเข้ากับธรรมชาติ

    HOUSE 362 ของครอบครัวพงษ์สุรพิพัฒน์ อันเป็นฝีมือการออกแบบของเพื่อนสถาปนิกอย่าง จูน เซคิโน จาก Junsekino Architect and Design / Junsekino Interior Design ที่นอกจากจะสวยงามด้วยเค้าโครงสถาปัตยกรรมอันเรียบง่ายแล้ว ยังสร้างการเชื่อมโยงให้สมาชิกภายในบ้าน ได้สัมผัสกับธรรมชาติอย่างไร้ขอบเขตผ่านดีไซน์ประตู หน้าต่างบานเลื่อน และหน้าต่างบานกระทุ้งของ Double Space อันเป็นพื้นที่หัวใจหลักของบ้าน

    By TOSTEM
    EVERYTHING TEAM4 years ago
  • DESIGN/HOUSE

    BAAN VIPHA 41 BY ANONYM บทสนทนาของตัวตนและประสบการณ์อย่างที่ใจตามหา

    บ้านวิภา 41 เป็นผลงานที่เริ่มต้นโครงการเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ในช่วงยุคเริ่มต้นก่อตั้งสตูดิโอ ANONYM ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงสร้างผลงานบ้าน และเน้นย้ำแก่นเอกลักษณ์ของตนจนมีความโดดเด่นทางผลงานสถาปัตยกรรมประเภทที่พักอาศัยเช่นในปัจจุบัน

    Nada Inthaphunt4 years ago
  • DESIGN/HOUSE

    House COVE(R) by TOUCH Architect ต่อเติมบ้านหัวมุมให้ต่อเนื่องกับบ้านหลังเก่า

    เมื่อบ้านเดี่ยวสองชั้นเดิมในหมู่บ้านจัดสรรของครอบครัวที่มีสมาชิก 5 คน ของคน 3 รุ่น มีพื้นที่ใช้สอยไม่เพียงพอสำหรับการใช้งานอีกต่อไป การต่อเติมบ้านบนแปลงที่ดินรูปทรงพิเศษตามการจัดสรรเดิมในรั้วบ้านซึ่งมีโจทย์ของการต่อเติมอย่างไรให้กลมกลืนจึงเกิดขึ้น

    Nada InthaphuntApril 2021
  • DESIGN/HOUSE

    BAAN SAILOM BY ANONYM บ้านที่สายลมมีร่างกายให้จับต้อง

    เอกลักษณ์ของผลงาน ANONYM คือการดึงตัวตนของเจ้าของบ้านออกม่านงานได้อย่างหลากมิติ รวมถึงความใส่ใจในรายละเอียดที่ทำให้ภาพรวมของผลงานออกมาเนี้ยบทุกชิ้น แต่ “ตัวกลาง” ของ “บ้านสายลม” กลายเป็นสิ่งปลดล็อคความเป็น ANONYM อีกแบบที่อนุญาตให้เจ้าของบ้านเข้ามาตัวตนอีกมุมซึ่งแตกต่างจากผลงานชิ้นอื่น

    Nada InthaphuntMarch 2021
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION

We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )