LOOKING ON EVERYTHING ?
EXPLORE ON EVERYTHING
ที่สร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้กับสยามพารากอน

เกือบ 2 ทศวรรษแล้วที่สยามพารากอนก่อตั้งขึ้น พร้อมก้าวเป็น World-class Global Destination ที่ทั่วโลกรู้จัก ในฐานะศูนย์การค้าที่ดีที่สุดของไทย ที่รวมไลฟ์สไตล์ชั้นนำของผู้คนไว้อย่างครบครัน ต้องยกเครดิตให้กับวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร คุณชฏาทิพ จูตระกูล พร้อมด้วยเหล่าทีมงานหัวสมัยใหม่ที่มีทั้งไฟและความสามารถ มาร่วมขับเคลื่อนให้สยามพารากอนก้าวทันยุคสมัย และปรับตัวได้กับทุกความเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะจาก Digital Disruption มาสู่ Digital Transformation ทำให้เกิดอีกหนึ่งก้าวเดินหน้าของสยามพารากอนที่เป็นมากกว่าศูนย์การค้า แต่ทรานส์ฟอร์มสู่การเป็น “The World of Tomorrow” ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตแห่งโลกอนาคต โดยการสร้าง “SIAM PARAGON NEXT TECH x SCBX” เทคคอมมูนิตี้เพื่อการเรียนรู้แห่งโลกอนาคต บนชั้น 4 สยามพารากอน โดยถือเป็นการพลิกโฉมใหม่ให้กับโลกศูนย์การค้าและธุรกิจรีเทลเลยก็ว่าได้ ซึ่งหนึ่งในมันสมองผู้อยู่เบื้องหลังโปรเจกต์ใหญ่ที่สร้างปรากฎการณ์ครั้งใหม่ให้กับสยามพาราก่อน ก็คือ คุณเบียร์ - สาลวิท สุวิพร ผู้อำนวยการอาวุโสกลุ่มงานสร้างสรรค์และนวัตกรรม บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด (HEAD OF THINK TANK) ผู้ร่วมปลุกปั้นตั้งแต่เริ่มต้นเป็นไอเดีย ที่จะมาอธิบายถึงการทรานส์ฟอร์มครั้งสำคัญนี้
“New Era ของการเรียนรู้ และทำให้การเรียนรู้กลายเป็นทุก ๆ วันของผู้คน”
“เริ่มจากความคิดว่า เราจะทำอย่างไรดี ที่จะสร้างคุณค่าให้สเปซ และสร้างความหมายใหม่ให้ผู้คน (Create new value & purpose) ให้สยามพารากอนใหม่อยู่ในระดับท็อปของโลก จึงเกิดไอเดียของ NEXT TECH ที่มีแนวคิดหลักคือสร้าง Collaborative tech ecosystem หรือคอมมูนิตี้แนวคิดใหม่แห่งโลกอนาคต ที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพให้คนยุคดิจิทัล (Digital natives) หรือคนที่สนใจด้านเทคโนโลยีได้มารวมตัวกัน พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้ และพัฒนาตนเองเพื่อให้ฉลาดขึ้น เก่งขึ้น รวยขึ้น ‘Smarter, Better และ Richer’ ดังนั้นกลุ่มเป้าหมายของ NEXT TECH จึงเป็นใครก็ได้ที่พร้อมนำเทคโนโลยีมาพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Student, First Jobber, Entrepreneur, Investor, Developer หรือแม้แต่ Content Creator ซึ่งการเกิดขึ้นของเทคคอมมูนิตี้แห่งนี้ได้รับความร่วมมือจากทั้ง SCBX และพาร์ทเนอร์ระดับโลกอีกมากมาย เพื่อให้เป็น Co – Creation Community ที่ทุกพาร์ทเนอร์ทุกคน ต้องสร้างคอมมูนิตี้ร่วมกัน พร้อมเปิดพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของคน พร้อมก้าวสู่โลกอนาคตยุคดิจิทัล”


“เราเชื่อว่าไม่เคยมีใครตั้ง Positioning ว่าคุณมาที่นี่แล้วคุณจะเก่งขึ้น ฉลาดขึ้น รวยขึ้น เพราะพารากอนจะเป็นมากกว่าแหล่งช้อปปิ้ง ทานอาหาร หรือนัดพบปะกัน จากการที่เราได้สร้างความหมายใหม่ให้กับผู้คนสามารถใช้เวลาระหว่างการรอเพื่อน หลังเลิกงาน หรือเวลาว่าง ไปที่ NEXT TEXH ไปหาความรู้ต่าง ๆ Upskill Reskill ได้ ถ้าพูดสั้น ๆ คือเราจะทำให้ที่ NEXT TECH กลายเป็น New Era ของการเรียนรู้ และทำให้การเรียนรู้กลายเป็นเรื่องง่ายในทุก ๆ วันของผู้คน”
การสร้างคอมมูนิตี้ที่เชื่อมกับประสบการณ์ดิจิทัลทั้ง Physical และ Digital
“จริง ๆ แล้วทุกคนมี Online community ของตัวเอง มีแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ มากมายบนโลกดิจิทัลในการเชื่อมเน็ตเวิร์คระหว่างกัน ไม่ว่าจะเป็น TikTok, Facebook, Instagram , discord X จนถึง linkedin เป็นต้น แต่จะดีกว่าไหม ถ้าเราสามารถสร้าง Physical space ให้คนดิจิทัลได้มาเจอกัน ได้มาพบปะพูดคุยกับคนที่ใช่ หรือคนที่อยากจะเป็น ได้มาแลกเปลี่ยนความรู้ ทำให้คนใช้เวลาที่นี่ได้มากขึ้น โดยเราสร้าง Tech ecosystem ให้เกิดขึ้น โดยเราเป็นจุดเชื่อม เป็นแพลตฟอร์มที่มีสเปซจับต้องได้ให้คุณ เพราะสยามพารากอนยังเป็น Above and beyond retail คือมากกว่าความศูนย์การค้า”
1. DEV CONNECT: คอมมูนิตี้ของเหล่านักพัฒนาเทคโนโลยี หรือเป็น Development co-working space แห่งแรกที่เป็นศูนย์กลางนวัตกรรมและการทำงานร่วมกันของ Developer ที่เชื่อมโยงเทคโนโลยีเข้ากับอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้อย่างไร้รอยต่อ โดยได้รับความร่วมมือจากเหล่าพันธมิตรชั้นนำระดับโลก อย่าง Microsoft และ Google developer group เป็นต้น
2. BLOCKCHAIN WEB3 & FINTECH: คอมมูนิตี้ของคนที่สนใจด้านเทคโนโลยีบล็อกเชน ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตทั้งในแง่ของการทำธุรกรรมต่าง ๆ และเรื่องของ Fin-tech หรือสินทรัพย์ดิจิทัล เทคโนโลยีทางการเงินรูปแบบใหม่ที่จะเชื่อมต่อระหว่างผู้ประกอบการ และนักลงทุน เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจในโลกดิจิทัลที่ไม่สิ้นสุด


3. NEW TECH: การรวมตัวของ Innovative & Start up community เกิดเป็นคอมมูนิตี้ของนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็น Deep-tech, Mar-tech, Climate-tech และ Food-tech ที่จะเป็นนวัตกรรมสู่อนาคตและสนับสนุนให้ธุรกิจสตาร์ทอัพเติบโต
4. HEALTHTECH HUB: คอมนิตี้ของนวัตกรรมการดูแลสุขภาพผ่านเทคโนโลยี โดย Looloo Technology AI และ Telemedicine ที่ให้คำปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพ พร้อมสร้างคอมมูนิตี้สำหรับคนที่สนใจทางด้าน Health Tech แห่งแรกของเมืองไทย นอกจากจะพัฒนาสุขภาพของมนุษย์แล้วยังควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อมและจัดการ Electronic waste อย่างครบวงจรโดย Synnex

5. GAMER’S GUILD: Game community พื้นที่ของเหล่าเกมเมอร์และคนที่ชื่นชอบเกมได้มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เทคนิค และแพชชั่นกัน
6. AI ARENA: คอมมูนิตี้ของ Artificial intelligence เทคโนโลยีแห่งอนาคตที่เปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต

7. SOCIAL CO-CREATORS: เปิดโอกาสให้โซเชียลอินฟลูเอ็นเซอร์และผู้สนใจเข้ามาร่วมแชร์ประสบการณ์และแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน โดยมีแพลตฟอร์มโซเชียลระดับโลกอย่าง TIKTOK 1st physical space in southeast Asia Space K multimedia museum from Korea และพันธมิตรอย่าง The Standard และ Techsauce มาให้ความรู้ และร่วมสร้าง Tech ecosystem อย่างยั่งยืนร่วมกัน
พร้อมต้อนรับสู่เทคคอมมูนิตี้ เพื่อการเรียนรู้แห่งโลกอนาคต ภายใต้พื้นที่กว่า 4,000 ตร.ม.
SCB x NEXT TECH ตั้งอยู่บนชั้น 4 ที่ได้พันธมิตรชั้นนำมาร่วม Co-create สร้าง เทคคอมมูนิตี้ให้เกิดขึ้น ซึ่งนอกจากจะมีสเปซสำหรับเทคคอมมูนิตี้แล้ว ยังมีโซน SCBX NEXT STAGE เป็น Public space ที่เปิดเพดานสูง พร้อมหน้าจอใหญ่พิเศษ และที่นั่งแบบอัฒจันทร์ เป็นพื้นที่ Mixed-use ในบรรยากาศแบบ Amphitheater ที่สามารถจัดงานทอล์ค เวิร์คช็อป หรืออีเวนต์ต่าง ๆ ได้ที่เปิดให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้ามาจองได้ ซึ่งสามารถรองรับคนได้มากถึง 300 คน โดยได้เชิญศิลปินดิจิทัลอาร์ตชาวฝรั่งเศสชื่อดังระดับโลกอย่าง Miguel Chevalier มาร่วมบรรยายในงาน “Digital Art Talk With Miguel Chevalier” ด้วย ในโอกาสที่ได้มาสร้างสรรค์งานดิจิทัลอาร์ตล้ำสมัย 2 ผลงานที่ NEXT TECH จัดแสดงบนหน้าจอ LED ทรงกลมวงแหวนขนาดใหญ่บริเวณบันไดเลื่อน ในรูปแบบ Generative Art และอีกชิ้นบนกำแพง LED ขนาดใหญ่ชั้น 5 ในรูปแบบ Interactive Virtual Reality ที่สร้างสรรค์ Virtual Paintings ให้คนเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์เพื่อร่วมสร้างสรรค์และดัดแปลงผลงานผ่านการเคลื่อนไหว และ Wall แห่งนี้จะเป็นพื้นที่สำหรับ Digital artist รุ่นใหม่ได้มาปล่อยของและเป็นจุดไฮไลท์ที่ดึงดูดใด้คนเข้ามาสัมผัสประสบการณ์ Art Tech ในพื้นที่ NEXT TECH


365 Days of Future Skill
NEXT TECH x SCBX ได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรใน Tech Ecosystem ไม่ว่าจะเป็น SCBX และผู้ร่วมก่อตั้งอีกมากกว่า 10 องค์กร พร้อมด้วยพันธมิตรกว่า 100 องค์กร และผู้นำความคิดและผู้เชี่ยวชาญในสายเทค กว่า 1,000 คนจากทั่วโลก ทำให้มี Speakers ทั้ง Local และ Global มาแชร์ความรู้และประสบการณ์ ทั้งหมดนี้ร่วมกันสร้างเทคคอมมูนิตี้ที่จะเป็นการยกระดับประสบการณ์รูปแบบใหม่ทั้งในโลกศูนย์การค้าและในโลกดิจิตัล ทำให้เกิดคอมมูนิตี้ที่ทุกคนสามารถมาพัฒนาทักษะและความรู้ได้ตลอด 365 วัน ผ่านคอนเทนต์และเวิร์กช็อปมากกว่า 400 กิจกรรมตลอดปี ตั้งแต่เปิดมา มีกิจกรรมกว่า 200 กิจกรรม และคนมาร่วมกว่า 20,000 คน
การนำเสนอเรื่องของ Tech ที่ complex ให้เข้าใจง่าย และต้องให้สนุก ต้องอาศัยงานด้าน Communication เข้ามาช่วย ซึ่งในส่วนนี้ทางคุณเบียร์เป็นผู้ดูแลเองทั้งหมด “คิดได้ ต้องทำได้ด้วย ทุกงาน Communication ทุก Graphic element และทุก Design เริ่มตั้งแต่ 0 พร้อมดู Thinking conceptual คุยกับพาร์ทเนอร์ หา USP จนกระทั่งออกมาเป็น ภาพที่สมบูณทั้งหมด”
“ไม่หยุดที่จะเรียนรู้ นี่คือ New era ของการ Learning โดยสยามพารากอนตอกย้ำมาตลอดว่าไม่ได้เป็นแค่ศูนย์การค้า แต่เป็นสถานที่สร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับชีวิต ที่พวกคุณสามารถใช้ชีวิตได้จริง ๆ และสร้างความหมายใหม่ให้กับการเดินช้อปปิ้งของคุณ ซึ่งเราเชื่อว่าไม่มีใครทำในโลก ที่ใช้วิธีการ Co-create ให้เกิดการรวมตัวของวงแวดวง Tech จนเกิดเป็น Ecosystem ที่สมบูรณ์ใจกลางเมือง ที่มีเป้าหมายในการสร้าง community เพื่อให้คนฉลาดขึ้น เก่งขึ้น รวยขึ้น” คุณเบียร์กล่าวทิ้งท้าย นี่คือ 1st Retail x tech community ในเมืองไทยและที่แรกของโลกเลย
เบื้องหลังการทรานส์ฟอร์มสู่ “NEXT TECH X SCBX” ที่สร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้กับสยามพารากอน
/
ในภาษามลายูคำว่า “กำปง” มีความหมายถึงหมู่บ้าน “กำปงกู” หรือ “หมู่บ้านกู” เป็นชุมชนค่อนข้างปิดอยู่บนชายขอบของสองชุมชนใหญ่อย่างบือติง และสะบารังในเมืองปัตตานี ชาวบ้านผู้อาศัยในแถบนี้มีรายได้น้อย และมีที่อยู่ลักษณะกึ่งแออัด ซึ่งมักมีปัญหามั่วสุม ส่งผลต่อการเกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนควบคู่กันตามไปด้วย ทั้งนี้ยังมีกลุ่มอาสาพัฒนาเมืองได้วางแผนพัฒนา “หมู่บ้านกู” แห่งนี้ด้วยโปรแกรมอาหารและกีฬาเข้ามาเปิดสมดุลในพื้นที่ชุมชน
/
GROUND-FOR ออกแบบโดย Atelier 2+ บริษัทออกแบบที่มีผลงานตั้งแต่งานสถาปัตยกรรม งานออกแบบภายใน งานออกแบบเฟอร์นิเจอร์ จนถึงงานศิลปะ ก่อตั้งโดยสองนักออกแบบ คุณต้น - วรพงศ์ มนูพิพัฒน์พงศ์ และคุณฟาง - อดา จิระกรานนท์ สำหรับโปรเจกต์ครั้งนี้ของพวกเขามีแนวคิดริเริ่มมาจากการเข้าอกเข้าใจไลฟ์สไตล์คนกรุงที่มีการดำรงชีวิตอยู่ในพื้นที่ที่ค่อนข้างแออัดและจำกัด จากทั้งปัญหา รวมกับความใฝ่ฝันที่ถูกผลักดันจนกลายเป็นความจริง จึงเป็นที่มาของ Design Community Space สุดคูลในเขตเมืองแห่งนี้
/
หนึ่งในโจทย์ที่ทางผู้ออกแบบสถาปัตยกรรมมักจะได้จากลูกค้า คือ “หาจุดถ่ายภาพเช็คอิน” ให้ด้วยนะครับ จริงๆ แล้วหากพิจารณาจากประโยคสั้นๆ นี้แบบผิวเผิน มันไม่ได้มีอะไรแปลกเลยจากโจทย์ที่ทางลูกค้าให้ เพราะลูกค้าคงจะเห็นช่องทางหรือวิธีการโปรโมทร้านทางโลกโซเซียล แต่หากวิเคราะห์ต่อไปอีกนิด สิ่งนี้อาจจะกำลังทำให้เกิดการเปลี่ยนความหมายและทิศทางของการออกแบบสถาปัตยกรรมไปเลยทีเดียว
/
แม้จะผ่านพ้นไปแล้วกับงาน GC Circular Living Symposium 2020: Tomorrow Together งานยิ่งใหญ่ที่มีผู้นำ ผู้บุกเบิก นวัตกร และผู้ขับเคลื่อนด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) จากหลากหลายวงการทั่วโลก ให้มาร่วมแชร์แนวคิด และแนวทาง เพื่อนำไปสู่ทิศทางเดียวกันในการสร้างวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่าให้กับโลกไปด้วยกัน แต่หนึ่งในไฮไลท์สำคัญที่ทำให้เราได้มุมมองความคิดดีๆ เพื่อนำไปต่อยอดสู่เชิงปฏิบัติ เป็น Circular in action ของเราเอง คือ Session ช่วงบ่ายที่มี Speaker ชั้นนำทั้งไทยและต่างประเทศมาแชร์มุมมองหลากหลาย ในหัวข้อต่างๆ อย่างเข้มข้น แบ่งออกเป็น 3 ห้อง คือ ห้อง 1 ว่าด้วยเรื่องของ “BETTER LIVING THROUGH INNOVATIONS” ห้อง 2 เรื่องของ CIRCULAR IN ACTION THROUGH LIFESTYLES และ ห้อง 3 UPCYCLING SHOWCASE: THE BETTER SOLUTIONS ซึ่งแต่ละห้องนั้นเต็มไปด้วยประเด็นที่น่าสนใจอย่างมาก ซึ่งใครที่พลาดร่วมงาน หรืออยากทบทวนกันอีกครั้ง ในวันนี้เราได้สรุปเนื้อหาการบรรยายจากเหล่าวิทยากรมาให้อ่านกัน
By GC/
หลักจากเวที Symposium ในปีที่แล้วเป็นปฐมบทสำคัญ ที่ช่วยสร้างความเข้าใจ ความตระหนักรู้ และกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือตั้งแต่ระดับบุคคลจนถึงในระดับนานาชาติ เพื่อขับเคลื่อนสังคมโลกสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาถึง GC Circular Living Symposium 2020 ปีที่ 2 นี้ ทาง GC ได้มุ่งตอกย้ำ และต่อยอดการผนึกกำลังขับเคลื่อน จากแนวคิดสู่การปฏิบัติจริง เป็น Circular in Action ภายใต้ธีม “Tomorrow Together”
By GC/
เริ่มจากสเก็ตช์ลายเส้นด้วยปากกาในสมุด ส่งต่อความคิดด้วยการถูกพิมพ์ลงขยายใหญ่บนกระดาษขนาดใหญ่ เพื่อนำมาระดมสมองเบรนสตอร์มร่วมกับทีม ภาพโครงสร้างที่ถูกพัฒนาต่อบนโปรแกรม 3D และสร้างโมเดลเพื่อต่อยอดการออกแบบนั้นให้สำเร็จทดลองสมมติฐานต่างๆ ที่ตั้งไว้ นั่นเป็นรูปแบบการทำงานของคุณบิว - มนัสพงษ์ สงวนวุฒิโรจนา สถาปนิก และดีไซน์ไดเร็กเตอร์ภายในออฟฟิศ Hypothesis ที่แม้จะก้าวสู่ยุคดิจิตอลดิจิทัลแล้ว แต่ยังคงชื่นชอบสเก็ตช์การร่างไอเดียด้วยมือแบบอนาล็อก เช่นเดียวกับแนวคิดการออกแบบของเขาที่กลับสู่พื้นฐานเรียบง่ายอย่างการตั้งคำถาม และหาคำตอบที่แต่นำไปสู่การสร้างสมมติฐานที่แตกต่างให้กับวงการออกแบบและสังคมโลกได้อย่างน่าทึ่ง
By EPSON
We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )