LOOKING ON EVERYTHING ?
EXPLORE ON EVERYTHING
Photographer:
Mc Suppha-riksh Phattrasitthichoke
Writer:
Noinae Sritawan
Special Thanks:
Sudjit Sananwai


“VERNADOC เป็นแนวทางการศึกษาของสถาปนิกเพื่อเรียนรู้สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ด้วยการพาตัวเราไปยังที่ที่มีมรดกสถาปัตยกรรมน่าสนใจ แล้วเรียนรู้ผ่านการทำงานที่เรียกว่าการสำรวจรังวัด เพื่อเก็บข้อมูลของอาคารนั้น ด้วยเทคนิคดั้งเดิมของสถาปนิก คือดินสอ ไม้บรรทัด ตลับเมตร ในการวัด และวาดทุกอย่างลงบนกระดาษ หลังจากนั้นจึงลงหมึกด้วยปากกาเขียนแบบ (Technical Pen)” - ผศ.สุดจิต (เศวตจินดา) สนั่นไหว, อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และประธาน VERNADOC Thailand
“จุดเริ่มต้นมาจากการที่เราได้มีโอกาสเรียนรู้เทคนิคจากฟินแลนด์ ผ่าน Mr. Markku Mattila ผู้ก่อตั้ง VERNADOC ซึ่งอันที่จริงวิธีนี้ที่ประเทศเขาทำสืบทอดกันมากว่าร้อยปีในหมู่ของสถาปนิก และนักศึกษาฟินแลนด์อยู่แล้ว ในชื่อว่า Mittausleiri (Documenting Camp) แต่เขาเป็นคนแรกที่เอามาทดลองจัดค่ายนานาชาติเป็นครั้งแรกในชื่อ VERNADOC 2005 ซึ่งมีผู้ร่วมค่ายจาก 5 ประเทศรวมไทยด้วยในครั้งแรก เราเห็นเทคนิคนี้มันน่าสนใจ น่าจะเอามาเผยแพร่ในประเทศไทย เพราะการพานักศึกษาลงทำงานในพื้นที่ 1-2 อาทิตย์ นอกจากจะได้เรียนรู้ตัวสถาปัตยกรรม ยังได้รู้จักพื้นที่ตรงนั้น เข้าใจเงื่อนไขบริบท รวมทั้งผู้คนที่นั่น สุดท้ายก็จะนำไปสู่ความเข้าใจในภาพรวมของสถาปัตยกรรมนั้นๆ ซึ่งเป็นวิธีที่ดีมากสำหรับการเรียนรู้”


ผศ.สุดจิต เล่าว่า ”เราคาดหวังว่าผลงานจากการ Drawing ที่เกิดขึ้น ซึ่งเน้นความแม่นยำจากการสำรวจ เพื่อบอกเล่าสภาพอาคารตามข้อเท็จจริง เมื่อนำกลับไปให้ชุมชน เจ้าของอาคารได้เห็น ได้ชื่นชมแล้วจะเกิดความภาคภูมิใจ เพราะเทคนิคในการเขียนแบบของเราต่างจากการเขียนแบบทางสถาปัตย์ทั่วไป ที่ปกติจะต้องมีการใส่ระยะ (Dimension) ด้วยตัวอักษร หรือใส่สัญลักษณ์ (Symbolic) เพื่อระบุ ชนิด และรายละเอียดของวัสดุ ซึ่งมันค่อนข้างยากสำหรับคนทั่วไปในการทำความเข้าใจ แต่พอเรามาใส่ วัสดุ พื้นผิว และแสงเงาเข้าไปแทนสิ่งยุ่งยากเหล่านั้น มันช่วยทำให้คนเข้าใจภาพที่เขียนแค่สองมิติในลักษณะแบบสามมิติได้ โดยที่ไม่ต้องมีพื้นฐานทางด้านสถาปัตย์ ก็เป็นความคาดหวังว่า ด้วยผลงานที่ดูเรียบง่ายแต่มีคุณค่าทางศิลปะ มันจะสามารถนำมาใช้สำหรับการปลุกจิตสำนึกอนุรักษ์ได้”
“สถาปัตยกรรมที่เราเห็นว่ามีคุณค่า น่าศึกษา ส่วนใหญ่มักจะเป็นอาคารที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญสลาย ไม่ว่าโดยภัยธรรมชาติ หรือโดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของมนุษย์เอง เราคาดหวังว่า Drawing จากฝีมือของเด็กๆ หรือภาพเขียนที่เห็นนี้ มันอาจจะช่วยให้เขาระลึกขึ้นได้ว่า อย่าเพิ่งทำลายมัน และให้กลายเป็นความคิดที่จะปรับปรุงมันแทน”



VERNADOC ยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 ในหลากหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทยเราพัฒนาเป็นค่ายอาสาสมัครที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งผลงานครั้งสำคัญอีกชิ้นหนึ่งนั้นเป็น อาคารศุลกสถาน (เก่า) หรือโรงภาษีร้อยชักสาม ถนนเจริญกรุง กรุงเทพมหานคร เป็นอาคารที่ตั้งอยู่ริมน้ำอย่างโดดเด่นที่สร้างตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ราวปี พ.ศ. 2429 แล้วเสร็จในปี 2433 เพื่อใช้ในกิจการของกรมศุลกากร และต่อมาก็ถูกเปลี่ยนเป็นสถานีตำรวจดับเพลิงบางรัก ซึ่งขึ้นกับกองตำรวจดับเพลิงและสถานีตำรวจน้ำ ซึ่งหากใครเคยได้เดินเข้าไปในตัวอาคารจะเห็นว่ามีความชำรุดทรุดโทรม เพราะถูกทิ้งร้างไว้ยาวนาน วัสดุเสื่อมกร่อนตามกาลเวลา แต่ยังสามารถรับรู้ได้ถึงความยิ่งใหญ่ในอดีตจากความใหญ่โตของโครงสร้างอาคาร ตลอดจนหอนาฬิกาขนาดใหญ่ ที่ถือเป็นความสวยงามในแบบของสถาปัตยกรรมในสมัยนั้น ซึ่งควรค่าแก่การอนุรักษ์อย่างยิ่ง โดยในครั้งนี้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับ VERNADOC Thailand ได้ลงพื้นที่เพื่อจัดค่าย RSU VERNADOC ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2018 ด้วยการสนับสนุนจาก Banana Studio และ Ucity ซึ่งมีแผนจะฟื้นฟูสถาปัตยกรรมแห่งนี้อย่างจริงจัง

“ทาง Ucity ซึ่งเขาได้สัมปทานในการพัฒนาพื้นที่อาคารศุลกสถาน เขามีไอเดียในการอนุรักษ์อาคารตามหลักวิธี โดยเฉพาะเรื่องของการมีส่วนร่วมกับชุมชน เขาเห็นด้วยกับการเปิดโอกาสให้คนเข้ามาเรียนรู้ จึงสนับสนุนให้เราจัดค่ายและพานักศึกษามาลงสำรวจพื้นที่ และนำผลงานมาเผยแพร่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีที่ผู้ประกอบการหรือคนในสังคมเห็นค่า เด็กได้ประโยชน์ในการเรียนรู้พื้นที่จริง และเด็กจะได้เห็นวันที่อาคารนั้นถูกปรับปรุง เปิดใช้อีกครั้ง เขาจะได้ร่วมภาคภูมิใจว่าเขาได้เห็นมันตั้งแต่วันที่มันไม่มีแนวโน้มว่าจะเป็นอะไรด้วยซ้ำ และมันจะเป็นประสบการณ์ของเขาในวิชาชีพสถาปนิกต่อไป”
ถือเป็นอีกครั้งที่โครงการ VERNADOC ได้มีส่วนร่วมช่วยฟื้นฟูสถาปัตยกรรมให้กลับมามอบคุณค่าและความหมายแก่สังคมและบริบทโดยรอบ และยังทำให้เราได้เห็นว่า การมีจิตอนุรักษ์นั้นสามารถสร้างคุณค่าให้สรรพสิ่งได้อย่างเหนือกาลเวลา


ผศ.สุดจิต (เศวตจินดา) สนั่นไหว
“อาจารย์ตุ๊ก” เป็นอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้ที่อยู่ในฐานะประธานโครงการ VERNADOC Thailand โดยในปี ค.ศ. 2005 นับเป็นเหตุการณ์แรกสำหรับการก่อตั้งโครงการ VERNADOC ในประเทศไทย โดยอาจารย์ตุ๊กได้เข้าร่วมประชุมประจำปีของคณะกรรมการวิชาการนานาชาติว่าด้วยสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น (CIAV) ที่ประเทศญี่ปุ่น และได้มีโอกาสพบปะหารือกับ Markku Mattila สถาปนิกชาวฟินแลนด์ที่เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งโครงการ VERNADOC จากนั้นอาจารย์ตุ๊กจึงได้เล็งเห็นว่า VERNADOC เป็นโครงการที่เปรียบเสมือนเครื่องมือที่ใช้ในการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในประเทศ ซึ่งสถาปัตยกรรมยุคดั้งเดิมหรือตึกอาคารที่มีการก่อสร้างมายาวนานนับร้อยปี มักจะมีคุณค่าทางจิตใจในทางใดทางหนึ่งต่อผู้คนในพื้นที่รวมถึงนักอนุรักษ์อีกหลายท่านที่เห็นความสำคัญในสถาปัตยกรรมต่างๆ นอกจากนั้นในบริบทของการเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย อาจารย์ตุ๊กได้ให้สัมภาษณ์ถึงประโยชน์ของโครงการว่า VERNADOC เป็นโครงการที่นักศึกษาวิชาสถาปัตย์จะได้เรียนรู้เพราะได้ลงพื้นที่สำรวจจริง ได้ศึกษาความเป็นมาของตัวอาคาร อีกทั้งได้เรียนรู้บริบทสังคมรอบข้าง ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ดีในการต่อยอดในวิชาชีพสถาปนิกต่อไป และสิ่งสำคัญคือ โครงการ VERNADOC มีส่วนในการปลุกจิตสำนึกอนุรักษ์ให้กับทุกๆ คนที่ได้มาสัมผัส เพื่อให้หลายคนได้ตระหนักถึงคุณค่าและช่วยฟื้นฟูสถาปัตยกรรมในประเทศอย่างจริงจัง
RSU VERNADOC 2018 : OLD CUSTOMS HOUSE
/
“Pong House” บ้านที่พร้อมเปิดสเปซมากที่สุดสำหรับการเชื่อมปฏิสัมพันธ์สู่ธรรมชาติ และเผยมุมมองน้อยที่สุดสู่พื้นที่สาธารณะ เพื่อความเป็นส่วนตัว โดยมี ‘คอร์ตยาร์ต’ เป็นหัวใจของบ้าน ในการสอดแทรกพื้นที่สีเขียวเข้ากับพื้นที่อยู่อาศัย ภายใต้ดีไซน์ที่คลี่คลายสู่ความเรียบง่าย และพร้อมเป็นพื้นที่ปลอดภัยสบายใจให้แก่ผู้อยู่อาศัยในทุกมุมของบ้าน
/
“One for the Road” หรือ “วันสุดท้าย . . ก่อนบายเธอ” ภาพยนตร์ไทยที่สร้างกระแสตั้งแต่ก่อนเข้าฉาย และได้ผลตอบรับที่ดีทั้งจากตัวหนัง ผู้อำนายการสร้าง ผู้กำกับ บท เพลง นักแสดง ไปจนถึงบ้านของนักแสดงนำซึ่งมีเอกลักษณ์ และถูกพูดถึงมากกว่าเจ้าของ ไอซ์ซึ หรือ คุณณัฐรัตน์ นพรัตยาภรณ์ เลือกการปลูกบ้านขึ้นใหม่จากสถาปนิกที่เขาเลือกเอง JUNSEKINO A+D เพื่ออาศัยอยู่กับแฟนและแมว
/
HOUSE 362 ของครอบครัวพงษ์สุรพิพัฒน์ อันเป็นฝีมือการออกแบบของเพื่อนสถาปนิกอย่าง จูน เซคิโน จาก Junsekino Architect and Design / Junsekino Interior Design ที่นอกจากจะสวยงามด้วยเค้าโครงสถาปัตยกรรมอันเรียบง่ายแล้ว ยังสร้างการเชื่อมโยงให้สมาชิกภายในบ้าน ได้สัมผัสกับธรรมชาติอย่างไร้ขอบเขตผ่านดีไซน์ประตู หน้าต่างบานเลื่อน และหน้าต่างบานกระทุ้งของ Double Space อันเป็นพื้นที่หัวใจหลักของบ้าน
By TOSTEM/
บ้านวิภา 41 เป็นผลงานที่เริ่มต้นโครงการเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ในช่วงยุคเริ่มต้นก่อตั้งสตูดิโอ ANONYM ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงสร้างผลงานบ้าน และเน้นย้ำแก่นเอกลักษณ์ของตนจนมีความโดดเด่นทางผลงานสถาปัตยกรรมประเภทที่พักอาศัยเช่นในปัจจุบัน
/
เมื่อบ้านเดี่ยวสองชั้นเดิมในหมู่บ้านจัดสรรของครอบครัวที่มีสมาชิก 5 คน ของคน 3 รุ่น มีพื้นที่ใช้สอยไม่เพียงพอสำหรับการใช้งานอีกต่อไป การต่อเติมบ้านบนแปลงที่ดินรูปทรงพิเศษตามการจัดสรรเดิมในรั้วบ้านซึ่งมีโจทย์ของการต่อเติมอย่างไรให้กลมกลืนจึงเกิดขึ้น
/
เอกลักษณ์ของผลงาน ANONYM คือการดึงตัวตนของเจ้าของบ้านออกม่านงานได้อย่างหลากมิติ รวมถึงความใส่ใจในรายละเอียดที่ทำให้ภาพรวมของผลงานออกมาเนี้ยบทุกชิ้น แต่ “ตัวกลาง” ของ “บ้านสายลม” กลายเป็นสิ่งปลดล็อคความเป็น ANONYM อีกแบบที่อนุญาตให้เจ้าของบ้านเข้ามาตัวตนอีกมุมซึ่งแตกต่างจากผลงานชิ้นอื่น
We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )