“Photograph” จากปิ่นโตสู่ภาพถ่าย จดหมายรักที่สลักไว้ด้วยชีวิตหวานและขม | IAMEVERYTHING.CO

LOOKING ON EVERYTHING ?

EXPLORE ON EVERYTHING

CULTURE&LIFESTYLE:
——MOVIE

“Photograph”
จากปิ่นโตสู่ภาพถ่าย จดหมายรักที่สลักไว้ด้วยชีวิตหวานและขม

  ริเทศ บาตรา ผู้กำกับอินเดียได้รับคำชื่นชมอย่างมากจากภาพยนตร์เรื่องแรกในปี 2013 อย่าง “The Lunchbox” ที่ถ่ายทอดชีวิตของผู้คนในเมืองใหญ่อย่างมุมไบ ซึ่งอัดแน่นไปด้วยความหลากหลายผ่านระบบส่งปิ่นโตมื้อกลางวันอันน่าทึ่งที่เรียกว่า “dubbawalas” ภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวได้รับคำชมว่าเป็นหนังรักที่ละเอียดอ่อน ลึกซึ้ง ถ่ายทอดแง่มุมของชีวิตผู้คนในมุมไบออกมาได้อย่างน่าสนใจและมีมิติทั้งขมอมหวานผสมผสานกันไปในนิยามของคำว่า “ชีวิต” หลังจากนั้น ริเทศ บาตรา ก็กลายเป็นผู้กำกับดาวรุ่ง เขาได้โอกาสทำหนังให้กับสตูดิโอใหญ่ของอังกฤษและอเมริกา หรือแม้แต่ทำหนังให้ เน็ตฟลิกซ์ อีกอย่างละเรื่อง จนกระทั่งปีที่แล้ว บาตรา ทำหนังเรื่องที่ 4 ให้สตูดิโอ อะเมซอน ที่เจ้าตัวหวนกลับมาถ่ายทอดเรื่องราวในมหานครมุมไบ ประเทศอินเดีย บ้านเกิดของเขาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งคราวนี้จดหมายรักถึงบ้านเกิดฉบับที่สองของบาตราไม่ได้แอบซ่อนไว้ในปิ่นโต แต่มันสลักไว้ในภาพถ่ายโพลารอยด์ในภาพยนตร์ที่ชื่อว่า “Photograph”

  “Photograph” เล่าเรื่องของคนสองคนในมหานครอันกว้างใหญ่อย่างมุมไบ ราฟี (นาวาซุดิน ซิดดิกี) หนุ่มใหญ่ผู้ประกอบอาชีพช่างภาพอิสระตระเวนถ่ายภาพให้บริการแก่นักท่องเที่ยว กับ มิโลนี (ซานยา มัลโฮตรา) สาวน้อยอนาคตไกลผู้ทำคะแนนสอบคัดเลือกเป็นนักตรวจบัญชี (ออดิเตอร์) ได้เป็นอันดับหนึ่งของประเทศ ทั้งสองแตกต่างกันในทุกมิติ ทั้งปูมหลัง สภาพชีวิตความเป็นอยู่ ราฟี มีชีวิตอยู่ได้ด้วยการหาเช้ากินค่ำถ่ายรูปให้นักท่องเที่ยวเงินทุกบาททุกรูปีที่หาได้ถูกส่งกลับไปใช้หนี้ให้ครอบครัวจนแทบไม่เหลือ เขาอาศัยอยู่ในห้องพักรูหนูอันแสนผุพังกินอยู่หลับนอนเบียดเสียดไปกับเพื่อนร่วมชะตากรรมเดียวกัน ขณะที่ มิโลนี เป็นลูกสาวในครอบครัวคนชั้นกลางค่อนไปทางสูง เธอมีการศึกษา หัวดี ที่บ้านมีคนใช้ เรียนเก่ง ครอบครัวนักธุรกิจวางแผนชีวิตไว้ให้เธออย่างเป็นขั้นเป็นตอน หาคู่ครองที่เหมาะสมให้และส่งเธอไปเรียนต่อที่อเมริกา ดูผิวเผินเส้นทางชีวิตของทั้งสองคนไม่น่าจะมาบรรจบร่วมเป็นเส้นทางเดียวกันได้ แต่เพราะมุมไบนั้นกว้างใหญ่พอที่จะบรรจุรูปแบบชีวิตอันหลากหลายเหล่านั้นไว้ได้ทั้งหมด-ไม่ต่างจากกรุงเทพฯ บ้านเรา-และในความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงของทั้งคู่นั้นยังพอมีจุดร่วมที่เหมือนกันอยู่ นั่นคือทั้งราฟีและมิโลนี นั้นอยู่ในภาวะคับข้องใจและไร้ความสุข

  ราฟี ถูกกดดันจากย่าของตัวเองซึ่งอยู่ที่บ้านเกิดของเขาให้หาคู่ครองและแต่งงาน เพราะเขานั้นอายุมากขึ้นทุกที และการเดินทางมาใช้ชีวิตในมุมไบไม่น่าจะมอบความมั่นคงมั่งคั่งหรือแม้แต่ความยั่งยืนใดให้เขาได้ ขนาดจะกินขนมหวานอย่าง กุลฟี ซึ่งสนนราคาไม่เท่าไหร่ ราฟียังกินได้แค่วันสิ้นเดือนเงินเดือนออกเท่านั้น เขาใช้ชีวิตอยู่อย่างกระเบียดกระเสียรพร้อม ๆ กับกดดันเรื่องย่าอยากให้มีครอบครัว ขณะที่ มิโลนี นั้นดูผิวเผินเหมือนจะมีชีวิตที่ดีพร้อม อนาคตอันสดใสรออยู่ข้างหน้า แต่ลึกลงไปในใจของเธอนั้นไม่เคยได้รับการเติมให้เต็มด้วยความสุขในการเป็นผู้เลือกอะไรต่อมิอะไรหรือแม้แต่ชะตาชีวิตให้ตัวเองได้เลย เส้นทางชีวิตของทั้ง ราฟี และ มิโลนี นั้นจึงไม่มีอะไรที่ใกล้เคียงกับชีวิตที่ดี ชีวิตที่มีความสุข

  วันหนึ่งในหลาย ๆ วันไร้สุขนั้น มิโลนี เดินใจลอยผ่านจุดทำมาหากินของราฟี ราฟีตื๊อให้เธอถ่ายภาพเก็บไว้เป็นที่ระลึก มิโลนี ยอมทำตามแบบเสียไม่ได้แล้วเดินจากไปเหมือนลูกค้าทุกคนของ ราฟี หลายคืนต่อมาขณะที่ราฟี นอนไม่หลับเพราะใคร่ครวญเรื่องที่ย่าของเขากดดัน เขานึกพิเรนทร์ปรินต์รูปของ มิโลนี ส่งไปพร้อมจดหมายที่ส่งไปถึงย่า แนะนำว่าหญิงสาวในรูปคือ “นูรี” คนรักของตนเอง หลังจากนั้นเรื่องก็อีรุงตุงนังขึ้นไปอีกเมื่อย่าของเขาจะเดินทางมาที่มุมไบเพื่อทำความรู้จักคนรักของหลานชาย ราฟี จึงต้องไปขอความช่วยเหลือจาก มิโลนี ให้อุปโลกน์ตัวเองเป็น นูรี แฟนสาว หลังจากนั้นตลอดเวลาที่ย่าของ ราฟี พักอยู่กับเขาในบ้านซอมซ่อที่มุมไบ ราฟี และ มิโลนี ต่างก็ค่อย ๆ ทำความรู้จักกันและกัน ทีละเล็กทีละน้อย ต่างฝ่ายต่างซึมซับความคับข้องใจของกันและกัน แต่แบบแผนทางสังคมของอินเดียที่เคร่งครัดและมีความสลับซับซ้อนทั้งเรื่องชนชั้นวรรณะ ความเชื่อทางศาสนา สภาพเศรษฐกิจ ซ้อนทาบทับเป็นชั้น ๆ จนยากที่ความรักหรือความเชื่อใด ๆ จะเอาชนะได้เหมือนหนังโรแมนติกฟีลกู้ดทั้งหลาย ทำให้ความสัมพันธ์ของ ราฟี และ มิโลนีเหมือนภาพถ่ายที่เขาถ่ายให้เธอ นั่นคือมันบันทึกโมงยามที่งดงามและน่าจดจำมากที่สุดครู่หนึ่งไว้ แล้วภาพนั้นก็เลือนหายไปตามกาลเวลา จนเหลือเพียงกระดาษเคลือบน้ำยาเคมีที่ครั้งหนึ่งเคยมีภาพปรากฏ

  บาตรา นำเสนอชีวิตผู้คนในมุมไบ ผ่านมุมมองที่หลากหลายทั้งในเรื่องความเหลื่อมล้ำทางสภาพเศรษฐกิจและสังคม การดิ้นรนใช้ชีวิต การตามหาความฝัน ไม่ว่าจะยากดีมีจน เมืองใหญ่ล้วนไม่เคยมีพอให้กับผู้คนไม่ว่าจะในระดับไหน เพราะขณะที่ ราฟี หวังเพียงปลดหนี้ครอบครัวและทำธุรกิจเล็ก ๆ ของตนเอง คนที่เพียบพร้อมทุกอย่างอย่าง มิโลนี กลับแสวงหาชีวิตที่เป็นตัวของตัวเอง เติบโตตามทางของตัวเอง หาใช่ดอกไม้ที่ถูกตัดออกมาจากลำต้นเพื่อปักลงในแจกันสร้างความสวยงามบนโต๊ะอาหารของผู้คน

  สิ่งที่สะท้อนความเปลี่ยวเหงาและตัวตนอันพร่าเลือนของทั้ง ราฟี และ มิโลนี (และใครต่อใคร) ก็คือการใช้มุมมองของกล้องผ่านการถ่ายภาพจากกระจก หลายครั้งหลายหนใน “Photograph” บาตราเลือกมุมมองของกล้องด้วยการถ่ายตัวละครผ่านกระจก ทั้งกระจกราคาถูกในบ่านเช่าของ ราฟี หรือกระจกที่จัดวางอย่างสวยงามในบ้านของ มิโลนี ภาพอันซ้อนกันของกระจกหลายบาน บางภาพก็ปรากฏออกมาแค่ส่วนเสี้ยว บางใบหน้าก็สะท้อนออกมาแค่ครึ่ง ทั้งหมดราวกับจะตั้งคำถามหรือแสดงให้ผู้ชมเห็นว่า แท้จริงตัวตนของเรา ความต้องการของเราคืออะไรแน่ และเราได้สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นทั้งหมดจริงหรือ หรือเราได้เพียงแค่ส่วนเสี้ยวเหมือนภาพในกระจกที่ไม่สมบูรณ์ หรือว่ากันถึงที่สุดแล้ว เราอาจไม่ได้อะไรเลย ทั้งหมดเหมือนภาพถ่ายที่จางหายไปครั้งแล้วครั้งเล่า

  แม้ บาตรา จะโบยตีความรู้สึกของผู้ชมด้วยการสะท้อนภาพความสัมพันธ์อันไม่อาจเกิดขึ้นได้จริงท่ามกลางสภาพสังคมอันแวดล้อมไปด้วยเงื่อนไข แต่เขาก็ไม่ใจร้ายจนลืมใส่รายละเอียดปลีกย่อยที่ช่วยเติมให้ความรู้สึกของผู้ชม (และของตัวละคร) เต็ม เช่นฉากที่ ราฟี นั่งกินชามในร้านอาหารข้างถนนกับ มิโลนี ฉากที่ทั้งคู่สัมผัสมือกันเงียบ ๆ ในรถแท็กซี่ ฉากที่ย่าของราฟี บังคับทั้งคู่ให้ถ่ายรูปคู่กันริมทะเล หรือแม้แต่ฉากเมจิกอย่างการค้นพบกัมปาโคลาของราฟี รวมทั้งฉากจบของเรื่องที่ทำให้ผู้ชมอมยิ้ม ก่อนจะกระชากให้กลับสู่ความเป็นจริงในคราวเดียวกัน

ความสัมพันธ์ของ ราฟี และ มิโลนีเหมือนภาพถ่ายที่เขาถ่ายให้เธอ นั่นคือมันบันทึกโมงยามที่งดงามและน่าจดจำมากที่สุดครู่หนึ่งไว้ แล้วภาพนั้นก็เลือนหายไปตามกาลเวลา จนเหลือเพียงกระดาษเคลือบน้ำยาเคมีที่ครั้งหนึ่งเคยมีภาพปรากฏ

  “Photograph” จึงเป็นภาพสะท้อนของเรื่องเล่าที่งดงามราวบทกวีและแฝงไปด้วยรสชาติขมอมหวานในนิยามความเจ็บปวดของชีวิตผ่านภาพถ่าย แม้ในแง่ภาพยนตร์อาจไม่ลงตัวเท่าจดหมายรักที่สอดมาในปิ่นโตอย่างใน “The Lunchbox” แต่ก็ทำให้ผู้ชมได้ใคร่ครวญคุณค่าแห่งชีวิตได้ไม่น้อย

ดู “Photograph” แบบออนไลน์ได้ที่ https://vimeo.com/ondemand/photograph
    TAG
  • culture
  • lifestyle
  • movie
  • Photograph
  • The Lunchbox

“Photograph” จากปิ่นโตสู่ภาพถ่าย จดหมายรักที่สลักไว้ด้วยชีวิตหวานและขม

CULTURE&LIFESTYLE/MOVIE
April 2020
CONTRIBUTORS
EVERYTHING TEAM
RECOMMEND
  • CULTURE&LIFESTYLE/MOVIE

    งานศิลปะที่หลอมรวมอยู่ในเนื้อกายภาพยนตร์ The Room Next Door ของ Pedro Almodóvar

    ถ้าเอ่ยชื่อของ เปโดร อัลโมโดวาร์ (Pedro Almodóvar) หลายคนอาจรู้จักเขาในฐานะผู้กํากับเจ้าของ ฉายา “เจ้าป้าแห่งวงการหนังสเปน” ที่นอกจากหนังของเขาจะเต็มไปด้วยลีลาอันจัดจ้าน เปี่ยมสีสัน เต็มไปด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัวอันแปลกประหลาดพิลึกพิลั่นพิสดารเหนือความคาดหมาย และถึง พร้อมไปด้วยศิลปะภาพยนตร์อย่างเต็มเปี่ยมแล้ว ด้วยความที่อัลโมโดวาร์หลงใหลในศิลปะอย่างลึก ซึ้ง ทําให้มักจะมีงานศิลปะปรากฏให้เห็นในหนังของเขาอยู่บ่อยครั้ง และนอกจากเขาจะหยิบงาน ศิลปะเหล่านั้นมาใช้ในหนังเพราะความหลงใหลและรสนิยมส่วนตัวอันวิไลของตัวเองแล้ว ในหลายๆ ครั้ง ผลงานศิลปะเหล่านั้นยังทําหน้าที่ในการช่วยขับเคลื่อนเรื่องราว ขับเน้นบุคลิกภาพของตัวละคร และเป็นสัญลักษณ์ที่สัมพันธ์กับเนื้อหาในหนังอย่างแนบเนียน

    Panu BoonpipattanapongJanuary 2025
  • CULTURE&LIFESTYLE/MOVIE

    Love Lies เรื่องรักจากคำหลอกของหญิงหม่ายและมิชฉาชีพ ผลงานการกำกับครั้งแรกของ Ho Miu Ki

    ท่ามกลางลิสต์ภาพยนตร์ต่อสู้ระทึกขวัญ หรือภาพยนตร์ดราม่าเรียกอารมณ์ผู้ชม ใน Hong Kong Film Gala Presentation & Dynamic Cityscapes of Hong Kong Films “งานภาพยนตร์ฮ่องกงพลังหนังขับเคลื่อนเมือง กับนิทรรศการหนังฮ่องกง” ที่เดินทางกลับมาฉายในไทยอีกครั้งในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็ยังมีภาพยนตร์กลิ่นอายโรแมนติกอีกหนึ่งเรื่อง ที่น่าจับตามองไม่แพ้กันอย่าง Love Lies ที่นำเสนอความสัมพันธ์ของแพทย์หญิงหม่าย ที่รับบทโดย Sandra Ng Kwan-Yue (อู๋จินหยู) ผู้ร่ำรวย และมีหน้าที่การงานที่ดี ซึ่งบังเอิญตกหลุมรักกับวิศวกรชาวฝรั่งเศสวัยกลางคน ที่คอยหยอดคำหวานและคำห่วงใยผ่านแชทมาให้ตลอด จนกระทั่งเธอค้นพบความจริงว่าเบื้องหลังแชทเหล่านี้เกิดขึ้นด้วยคำลวงจากฝีมือเด็กหนุ่มมิชฉาชีพ ที่รับบทโดย MC Cheung (เอ็มซีเจิ้ง) ดังนั้นเรื่องราวต่อจากนี้ในภาพยนตร์จึงเป็นการค้นหาคำตอบของเธอในสมการความสัมพันธ์ครั้งนี้ว่าจะจบลงอย่างไร

    EVERYTHING TEAM8 months ago
  • CULTURE&LIFESTYLE/MOVIE

    Nick Cheuk ผู้กำกับและนักเขียนบท Time Still Turn The Page ภาพยนตร์ทรงพลังที่ท่วมท้นด้วยคำชื่นชมจากทั้งในและนอกฮ่องกง

    ความสำเร็จด้านรายได้กว่า 100 ล้านเหรียญฮ่องกงของ A Guilty Conscience จากการกำกับของ แจ็ค อึ่ง (Jack Ng) สร้างปรากฏการณ์ใหญ่ที่นับได้ว่าเป็นความหวังใหม่ของอุตสาหกรรรมภาพยนตร์ของฮ่องกง และทำให้บรรยากาศของแวดวงนี้ดูจะกลับมาคึกคักอีกครั้งในสายตาของแฟนหนังทั่วโลก พอ Hong Kong Film Gala Presentation หรือที่ในปีนี้ใช้ชื่อเต็มว่า Hong Kong Film Gala Presentation & Dynamic Cityscapes of Hong Kong Films “งานภาพยนตร์ฮ่องกงพลังหนังขับเคลื่อนเมือง กับนิทรรศการหนังฮ่องกง” ได้กลับมาจัดอีกครั้งในประเทศไทย ก็ทำให้ลิสต์ในปีนี้เต็มไปด้วยภาพยนตร์คุณภาพที่น่าจับตามองจากฝีมือการกำกับของผู้กำกับรุ่นใหม่ และจากพลังของนักแสดง

    EVERYTHING TEAM8 months ago
  • CULTURE&LIFESTYLE/MOVIE

    บทสนทนาเชิงลึกกับสองผู้กำกับหนังสารคดี Breaking The Cycle

    ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้สามารถเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่จะบอกเล่าแก่คนรุ่นหลังได้ว่าพวกเราซึ่งเป็นประชาชนภายในประเทศนี้ผ่านอะไรกันมา กำกับโดย “เอกพงษ์ สราญเศรษฐ์” (เอก) ผู้กำกับภาพยนตร์อิสระจากสงขลา เอกเริ่มกำกับสารคดีสั้นเกี่ยวกับความตายของ กฤษณ์ สราญเศรษฐ์ ลุงของเขาในชื่อเรื่อง “คลื่นทรงจำ” (2561) ซึ่งได้รับรางวัลสารคดีสั้นยอดเยี่ยมในงานเทศกาลภาพยนตร์สารคดีนานาชาติ DMZ ที่ประเทศเกาหลีใต้ และได้เข้าฉายในเทศกาลต่างประเทศอีกหลายแห่ง และผู้กำกับอีกคน คือ “ธนกฤต ดวงมณีพร” (สนุ้ก) ผู้กำกับภาพยนตร์และผู้กำกับภาพ ที่ได้เข้าชิงรางวัลช้างเผือกจากเทศกาลภาพยนตร์สั้นแห่งประเทศไทยครั้งที่ 21 จากเรื่อง “ทุกคนที่บ้านสบายดี” (2560) และได้รับเลือกฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติไห่ หนาน

    EVERYTHING TEAM10 months ago
  • CULTURE&LIFESTYLE/MOVIE

    งานศิลปะที่รายล้อมตัวละครในหนังทริลเลอร์จิตวิทยา Inside (2023)

    Inside (2023) หนังทริลเลอร์จิตวิทยาของผู้กำกับสัญชาติกรีซ วาซิลลิส แคตซูพิส (Vasilis Katsoupis) ที่เล่าเรื่องราวของของนีโม (วิลเลียม เดโฟ) หัวขโมยที่ลักลอบเข้าไปในเพนท์เฮ้าส์สุดหรูของสถาปนิกชื่อดัง เพื่อขโมยงานศิลปะราคาแพงที่สะสมอยู่ในนั้น แต่ดันบังเอิญโชคร้ายถูกระบบนิรภัยขังอยู่ภายในคนเดียว ท่ามกลางงานศิลปะที่อยู่รายรอบ จนเขาต้องหาทางเอาชีวิตรอดอยู่ข้างใน โดยอาศัยข้าวของรอบตัว หรือแม้แต่งานศิลปะที่อยู่ในนั้นมาใช้เป็นเครื่องมือก็ตาม เรียกได้ว่าเป็น Cast Away เวอร์ชันอาชญากรก็ได้

    Panu Boonpipattanaponga year ago
  • CULTURE&LIFESTYLE/MOVIE

    Exclusive Talk กับผู้กำกับและนักแสดงนำหญิงจาก “A Guilty Conscience” ภาพยนตร์ฮ่องกงเรื่องแรกที่ทำรายได้ทะลุร้อยล้านเหรียญฮ่องกง

    ฮ่องกง เมื่อราวสิบยี่สิบปีก่อน นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งประเทศที่น่าจับตามองมาก ๆ ในฐานะประเทศที่ส่งออกภาพยนตร์ออกสู่สายตาของประชาคมโลก ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ต่อสู้กำลังภายใน ภาพยนตร์มาเฟีย หรือแม้แต่ภาพยนตร์ชีวิตที่ถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่างลึกซึ้งของหว่องกาไว จนเรียกได้ว่าเป็นยุคทองของอุตสาหกรรมฮ่องกง แต่ด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ทำให้ความคึกคักของภาพยนตร์ฮ่องกงเริ่มเงียบเหงามากขึ้นเรื่อย ๆ จนแฟนหนังฮ่องกงหลายคน ออกปากบ่นคิดถึงความรุ่งเรืองในอดีต ดังนั้นเมื่อเกิดปรากฏการณ์ความนิยมระดับ 100 ล้านเหรียญฮ่องกง ของภาพยนตร์อาชญากรรมอย่าง A Guilty Conscience ขึ้นมาแล้ว แสงที่เคยริบหรี่ก็อาจจะกลับมาสว่างไสวขึ้นมาอีกครั้ง

    EVERYTHING TEAM2 years ago
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION

We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )