LOOKING ON EVERYTHING ?
EXPLORE ON EVERYTHING
by Volume Matrix Studio

ภายใต้ร่มเงาของต้นมะม่วงใหญ่ที่เติบโตควบคู่มากับผืนดินในรั้วบ้าน และโครงสร้างอาคารของบริษัท Volume Matrix Studio ทำให้เราได้หลุดออกมาอีกโลกหนึ่งในพื้นที่สีเขียวเหมือนไม่ได้อยู่ในเมือง เวลามองออกไปจะเห็นส่วนโค้งของทางด่วนที่ตัดมาจากเส้นพระรามสามมุ่งสู่แจ้งวัฒนะ แนวคิดหนึ่งของสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่นี้คือการล้อมธรรมชาติเอาไว้ และอยู่ไปด้วยกันอย่างกลมกลืน ก่อนหน้านี้ระหว่างอาคารที่เป็นบ้านและบริษัทถูกขั้นไว้ด้วยคูน้ำ บ่อน้ำ และพงไม้ ที่มีทางเดินเชื่อมถึงกันเท่านั้น ซึ่งตอนนี้มีศาลา Abstract หลังหนึ่งเชื่อมทุกอย่างไว้อีกที

“คนมามักจะเกิดคำถามขึ้นกับโครงสร้างตรงนี้ว่า ทำทำไม? ทำไปเพื่ออะไร? คืออะไร? โดยเจตนาคือสร้างขึ้นมาเพื่อให้เกิดคำถามว่าทำไมต้องไปตัดสินว่ามันคืออะไร ทั้งที่มันขึ้นอยู่กับการตีความตามประสบการณ์ของคน ซึ่งไม่มีอะไรถูกอะไรผิด” เจตนาแรกที่พี่กึ๋น กศินร์ ศรศรี เจ้าของพื้นที่และบริษัท Volume Matrix Studio อยากให้คนที่มาเยือนตั้งคำถามกับการใช้งานของพื้นที่ต่างๆ รวมถึงศาลาอันเกิดจากการทดลองสนุกๆ นี้ ที่นอกเหนือจากการปรับเปลี่ยนมุมมอง และเพิ่มการใช้งานของพื้นที่โดยการวางกรอบไว้หลวมๆ ให้เติบโตไปเองตามกาลเวลา “พี่มองว่าปัจจุบันงานสถาปัตยกรรมมันบังคับคนมากเกินไป แต่เรามองว่าความสนุกเกิดขึ้นเมื่อเวลาปล่อยคนให้เกิดการตีความและทำอะไรก็ได้ เช่นเดียวกับความ Surreal ของคนไทย” พี่กึ๋นขยายสิ่งที่เป็นมุมมองทำปฏิกิริยากันของวัตถุและความคิดสร้างสรรค์ของพื้นฐานของคนไทย









Owner : คุณกศินร์ ศรศรี
Architect : VOLUME MATRIX STUDIO Co., Ltd.
Area : 50 ตารางเมตร
Budget : 100,000 บาท
Main Material : โครงสร้างเหล็กเคลือบสนิม, แผ่นเหล็กไม่เคลือบสนิม, พื้นไม้เก่าผสมชนิดกัน
SALA STEEL by Volume Matrix Studio
/
รูปธรรมของผลงานวิจัยซึ่งประยุกต์ลักษณะของโครงสร้างตามความเป็นจริง เทคนิคและวิธีการสร้างที่ถอดแบบมาจากบ้านของคนและบ้านของช้างตามสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในชุมชนชาวกูย เพื่อตอบประเด็นคำถาม “How will we live together?” เราจะอยู่ร่วมกันอย่างไร? เกิดเป็นบทสนทนาผ่านภาษาทางสถาปัตยกรรม “บ้านคนบ้านช้าง” ใน Thai Pavilion ของงานนิทรรศการสถาปัตยกรรมนานาชาติครั้งที่ 17 หรือ Biennale Architettura 2021 ที่เมืองเวนิส
/
SOS Pavilion ความหมายใหม่ของ “พื้นที่สาธารณะ” บนลานท่าแพที่สะท้อนให้คิดถึง ชีวิตของผู้คน ความหลากหลาย ความมีชีวิตชีวาของผู้คนในเมือง
/
จากโลกยานยนต์สู่แวดวงการออกแบบที่อยู่อาศัย MINI รถยนต์สัญชาติอังกฤษ ซึ่งเติบโตมากับแนวคิด Creative Use of Space ได้พกพาแนวคิดเรื่องการใช้พื้นที่ เล็กๆ ให้เกิดประโยชน์
/
บ้านหลังแรกที่สร้างขึ้นเองของคุณออมมี่ และคุณแบงค์ -ปรีดากร เมรเกรียงชัย Co-Founder แห่งแบรนด์ Gentle RAM บ้าน ที่ตอบโจทย์รสนิยมของทั้งสองที่หลงใหลในความ Timeless และการอยู่อาศัยที่อยู่สบาย เรียบง่าย พร้อมจัดระเบียบชีวิตในบ้านได้อย่างลงตัว บ้านที่ทุกพื้นที่ และทุกฟังก์ชั่นที่ทาง THE OTHERS ผู้ออกแบบได้ขบคิดมาอย่างพิถีพิถันไม่ต่างกับเสื้อผ้าที่เทรลเลอร์เมดให้พอดีกับเจ้าของบ้าน
/
หนึ่งในกิจกรรมจากเวที TOSTEM Asia Design Award (TADA) ซึ่งจัดขึ้นโดย TOSTEM เพื่อเฟ้นหาผลงานสถาปัตยกรรมในเอเชีย ที่มุ่งให้ความสำคัญกับเรื่องของธรรมชาติ ผสานเข้ากับนวัตกรรมการอยู่อาศัยสมัยใหม่ ตอบโจทย์ทั้งผู้ใช้งาน และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ซึ่งนอกจากผู้ชนะรางวัลจะได้ร่วมเดินทางไปรับรางวัลที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว ยังได้พบปะกับ Akihisa Hirata สถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงระดับโลก ที่มาแชร์มุมมองแนวคิดการออกแบบโปรเจกต์ต่าง ๆ ตั้งแต่งาน Installation Art บ้านพักอาศัย จนถึงอาคารสาธารณะ ซึ่งความน่าสนใจนอกเหนือจากเอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่ถ่ายทอดผ่านฟอร์ม และสเปซที่โดดเด่น และเป็นที่จดจำแล้วนั้น สำคัญคือปรัชญาหลักที่เป็นรากฐานความคิดของ Hirata สู่การพัฒนาเป็นสถาปัตยกรรมน่าทึ่งเหล่านั้น ซึ่งเราจะมาเจาะลึกแนวคิดที่ว่านั้นกัน
By TOSTEM/
ผสานบริบทธรรมชาติ สอดรับกับวัฒนธรรมท้องถิ่นได้อย่างลึกซึ้ง พร้อมถ่ายทอดสู่เอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรม ที่เติมเต็มทั้งสุนทรียศาสตร์ และตอบโจทย์การใช้ชีวิตผู้อยู่อาศัยได้ทุกมิติ คือจุดร่วมหลักของสองผลงานออกแบบบ้านที่ตั้งอยู่ใน 2 จังหวัดทางภาคเหนือ ที่คว้ารางวัล TOSTEM ASIA DESIGN AWARD 2024 (TADA 2024) ในกลุ่มประเภท “Special Mention for Sustainable Living” มาครอง
By TOSTEM
We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )