LOOKING ON EVERYTHING ?
EXPLORE ON EVERYTHING

เนื่องจาก Leica Gallery Bangkok โดย Leica Camera Thailand แบรนด์กล้องลักชัวรีระดับโลก จัดงาน Sense of Place นิทรรศการภาพถ่ายที่แสดงถึงอารมณ์ และบรรยากาศของสถานที่ต่างๆ ผ่านมุมมองของหนึ่งใน Leica Thailand Ambassador ซึ่งได้แก่ ADD Candid หรือ แอ๊ด – พีรพัฒน์ วิมลรังครัตน์ อดีตช่างภาพในสนามการเมืองกว่า 7 ปี และปัจจุบันเป็นช่างภาพของสำนักเลขาธิการสภาอาเซียน(AIPA) เราจึงมีโอกาสได้พูดคุยกับช่างภาพชื่อดังคนนี้ ในประเด็นที่เป็นคำตอบว่าทำไมเขาจึงสามารถผลิตสุดยอดผลงานภาพถ่ายและเป็นที่รู้จักอย่างดีในหมู่นักถ่ายภาพ

Leica Thailand Ambassador
“ผมเริ่มสนใจถ่ายภาพแต่เด็ก แล้วก็มาจริงจังตอนเรียนมหาลัย คณะสถาปัตย์ฯ ครับ ตอนนั้นก็เริ่มถ่ายคน ถ่ายตึก ผมรู้สึกว่าการถ่ายรูปมันได้เดิน ผมเรียนสถาปัตย์ฯ มันได้นั่ง นั่งวาดแบบ นั่งคิดแบบ มันก็เอ็นจอยแหละ แต่ผมชอบเอ็นจอยในการเดิน ได้เห็นนู่นเห็นนี่ ชอบโดนลม แสงแดด ชอบได้ยินเสียงหรือซาวด์บางอย่างให้มันเกิดเอฟเฟ็กต์บางอย่างกับชีวิตได้ บางสถานที่มันมีเสน่ห์ที่ว่าเราสามารถผลิตงานในรูปแบบเราได้ งานในที่นี้มันไม่ใช่แค่รูปนะ มันมีแคปชั่น คำ ภาษาเล่าเรื่องต่างๆ ในระหว่างการถ่าย ผมเลยรู้สึกว่าภาพมันจึงไม่ใช่แค่ภาพนิ่ง มันคือภาพเคลื่อนไหวในเรื่องจริง มันเกิดขึ้นจริงๆ ผมบันทึกภาพพวกนี้เพื่อเป็นความทรงจำส่วนตัว และอยากจะส่งต่อให้กับคนรับสารแล้วเค้าจะได้ไป Inspire ตัวเองต่อ”
“ผมชอบดูการ์ตูน ติดการ์ตูนมากครับ Doraemon คืออันดับหนึ่งในใจ อันดับสองคือ One Piece แล้วก็อีกเรื่องคือ Vagabond ผมชอบตรงลายเส้น การ์ตูนบางเรื่องผมชอบลายเส้นของอาจารย์ผู้วาด มันเท่จริงๆ มันมีมุมมองความคิดของคนวาด มีการถ่ายทอดคาแรคเตอร์ตัวละคร มันมีการส่งต่อกันน่ะ ผมมองว่าการ์ตูนมันคือ การเมืองโลก คือทุกอย่างอยู่ในการ์ตูน อย่างในเรื่อง One Piece มันทำให้เห็นว่าอาจารย์ผู้วาดมีความรู้รอบตัวเยอะมากในดีเทลของแต่ละเมือง แต่ละคนในโลก สถานที่ ชื่อ ทุกอย่างมีสตอรี่ทั้งหมด แล้วมันทำให้แฟนการ์ตูนมันเกิดทั่วโลกได้ การ์ตูน One Piece มีผลกับผลงานของผมบางภาพเหมือนกัน หลายคนมองว่าติดการ์ตูนหรือเปล่า ผมบอกเลยว่า ก็ยอมรับครับและมันมีผลด้วย การ์ตูนมันไม่เคยทำร้ายใครนี่”

“แล้วแต่สถานการณ์ครับ ผมไม่ได้ให้ความสำคัญอะไรมาก่อน มันแล้วแต่ว่าสถานการณ์นั้นเราจะเจออะไร ในสถานการณ์นั้นๆ บางอย่างมันจะผุดขึ้นมาก่อนเอง มันเป็นอัตโนมัตินะ ผมผ่านการถ่ายรูปมาระดับหนึ่ง ผมรู้ว่าถ้าเจอสถานการณ์แบบนี้จะเลือกใช้อะไร ควรคิดอะไร สถานการณ์นี่แหละที่จะเป็นตัวนำพาเราไปใน Position ที่ควรเป็น เรื่องอารมณ์ก็มีส่วนด้วยนะ ถึงจะป่วย แต่มีอารมณ์จะทำงานก็ต้องไปทำงาน แล้วค่อยกลับมาป่วยต่อ”



“Sense of place มันคือคำนิยามของสถาปัตยกรรม สถานที่ แกลเลอรี่ ภาพถ่ายที่พูดถึงกรุงเทพ และเมืองไทย เป็นคีย์หลักเพราะมันคือ Leica Gallery Bangkok นิทรรศการนี้เป็นภาพคีย์วิชวลชุดหนึ่งที่พูดถึงเส้นราชดำเนิน อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดล้วนมาจาก Thesis ของผม มันผ่านการรีเสิร์ช การเรียนรู้ และผ่านเรื่องราวต่างๆ นานา ผมผูกพันธ์กับสถานที่เหล่านั้นก็เลยเลือกจะเผยแพร่และแสดงทัศนะในมุมมองของผม ให้ผู้อื่นที่มาร่วมชมนิทรรศการ ได้ร่วมตีความกับมัน จะมองไปในทางการเมืองก็ได้ หรือจะมองเป็นภาพ Abstract ก็ได้ ผมมีโจทย์เยอะมาก สิ่งที่ผมสนใจจะนำเสนอค่อนข้างเยอะ แต่อยากพูดถึงบริบทของสถาปัตยกรรม ผู้คน สถานที่ที่ชอบ รวมถึงอยากนำเสนอความหมายของภาพที่ผมชอบ มันก็อ้างอิงบริบทของประเทศเรา มีบริบทของโลกด้วยแหละ มีกลิ่นอายบางอย่างซ่อนอยู่ในรูป ทั้งหมดจัดแสดง 26 ภาพ”


“พอเห็นอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยคนก็จะมองมันเป็นเรื่องการเมืองสัก 95% แต่จริงๆ มันก็คืออนุสาวรีย์ ผมว่ามันมีความเชื่อมโยงกันในเรื่องนี้อยู่แหละ ก่อนหน้านี้ผมทำงานเป็นช่างภาพทางด้านการเมืองมา 7 ปี ก็ได้รับอิทธิพลในแง่ความคิดมาบางส่วน ภาพพวกนี้คือการตีความในแง่มุมส่วนตัว ผมไม่ได้มองว่ารัฐธรรมนูญต้องเป็นแบบนี้ กฏหมายต้องเป็นแบบนี้ หรือความเชื่อใดต้องเป็นอย่างไร แต่ผมมองในแง่ของศิลปะการถ่ายภาพ ผมอยากนำเสนอในแง่มุมมองของผมในรูปแบบนี้ จะมองเป็น Street photo ก็ได้ หรือ Life ก็ได้”
“ผมเรียนสถาปัตย์ฯ มาด้วยแหละ มันมีการรีเสิร์ชสถานที่มาก่อน ว่ามุมไหนเหมาะกับอะไร เหมาะกับภาพไหน ถ้าคุณเดินมาจากสถานีรถไฟฟ้า คุณจะได้รูปอีกมุมหนึ่ง ถ้าคุณเดินมาจากเกษร วิลเลจ คุณก็จะได้รูปอีกมุมหนึ่ง ผู้คนที่มาเขาจะได้รับ Experience ต่างกันในภาพแรกที่พบ ซึ่งจริงๆ ทุกภาพก็มีคีย์เวิร์ดใกล้เคียงกันนะ ส่วนการจัดวางพาร์ติชันต่างๆ ก็เพื่อสร้างพื้นที่ในการชมภาพถ่ายให้ไม่อึดอัด และยังนำสายตาไปสู่ภาพถ่ายบางชิ้น และผมเลือกภาพบางภาพมาจัดวางไว้คู่กัน เพื่อบอกเล่า Message ที่ซ่อนอยู่ให้มันแข็งแรงขึ้น ภาพแต่ละภาพจะส่งเสริมกัน ไม่ทำลายกันและกัน”
บางที่ ... แฝงพลัง เต็มไปด้วยความหวัง ความฝัน
บางที่ ... มีความอิสระ เสรี (ทางความคิด)
บางที่ ... คือที่ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย
และในบางที่ ต้องการการเปลี่ยนแปลง
ไม่มีอะไรไร้ความหมาย หากว่าเราสามารถเรียนรู้ได้จากมัน
ADD CANDID กับความคิด ความชอบ และการถ่ายทอดประสบการณ์ผ่านงาน SENSE OF PLACE
/
ในอดีตที่ผ่านมา ในแวดวงศิลปะ(กระแสหลัก)ในบ้านเรา มักมีคํากล่าวว่า ศิลปะไม่ควรข้องแวะกับ การเมือง หากแต่ควรเป็นเรื่องของอารมณ์ ความรู้สึก ความงาม สุนทรียะ และจิตวิญญาณภายในอัน ลึกซึ้งมากกว่า แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าจะในยุคสมัยไหน ศิลปะไม่เคยแยกขาดออกจาก การเมืองได้เลย ไม่ว่าจะในยุคโบราณ ที่ศิลปะถูกใช้เป็นเครื่องมือรับใช้ชนชั้นสูงและผู้มีอํานาจ หรือใน ยุคสมัยใหม่ที่ศิลปะถูกใช้เป็นเครื่องมือแสดงออกถึงอุดมการณ์ทางสังคมการเมือง หันมามองในบ้าน เราเอง ก็มีศิลปินไทยหลายคนก็ทํางานศิลปะทางการเมืองอย่างต่อเนื่องยาวนาน ในการสะท้อนและ บันทึกประวัติศาสตร์การเมืองไทยได้อย่างเข้มข้น จริงจัง
/
เหตุการณ์นี้เป็นอุทาหรณ์ให้เรารู้ว่า การก๊อปปี้ก็ไม่ได้เลวร้ายเสมอไป เพราะอย่างน้อยที่สุด ก็ทําให้ เราได้รู้ว่าผลงานต้นฉบับของจริงในช่วงเวลาที่เสร็จสมบูรณ์นั้นมีความดีงามขนาดไหน ไม่ต่างอะไรกับศิลปินร่วมสมัยสัญชาติไทยอย่าง วิชิต นงนวล ที่หลงใหลศรัทธาในผลงานของศิลปิน ระดับปรมาจารย์ในยุคสมัยใหม่ของไทยอย่าง จ่าง แซ่ตั้ง ตั้งแต่ครั้งยังเยาว์ ในวัยของนักเรียน นักศึกษา เรื่อยมาจนเติบโตเป็นศิลปินอาชีพ ความหลงใหลศรัทธาที่ว่าก็ยังไม่จางหาย หากแต่เพิ่มพูน ขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดก็สุกงอมออกดอกผลเป็นผลงานศิลปะในนิทรรศการ The Grandmaster : After Tang Chang ที่เป็นเสมือนหนึ่งการสร้างบทสนทนากับศิลปินระดับปรมาจารย์ผู้นี้
/
“ยูบาซาโตะ เดินผ่านตามแนวต้นสนขึ้นไปบนภูเขาศักดิ์สิทธิ์ เพื่อไปก่อสร้างสถูปดิน และมักจะโดน ทีมงานช่างบ่นทุกวันเกี่ยวกับการก่อสร้าง ที่มีเวลาอยู่อย่างจํากัด เขาเพียงได้แต่ตอบไปว่า .. บุญกุศล นําพาและเวลามีเท่านี้ ขอให้ทําสิ่งดีๆ ให้เต็มที่ ต่อสถานที่บนภูเขานี้เถอะ อย่าบ่นไปเลย เราอาจจะ พบกันแค่ประเดี๋ยวเดียว แต่สิ่งเหล่านี้จะอยู่ต่อไปอีกหลายร้อยปี ... ทีมงานทุกคนเพียงส่งรอยยิ้มที่ เหนื่อยล้ากลับมา ก็เพราะต้องทนร้อนทนแดด และเปียกฝนสลับกันไป จากสภาวะโลกเดือด ที่ทุกคน ต่างพูดถึง แต่ก็จะมาจากใคร ก็จากเราเองกันทั้งนั้น ... แม้จะมาทํางานบนภูเขาก็จริง แต่เขาก็ยังคง คิดถึงเหตุการณ์ภัยน้ําท่วมดินโคลนถล่มที่ผ่านมา อีกทั้งความเสียหายต่อข้าวของที่ต้องย้ายออกจาก บ้านเช่าและค่าใช้จ่ายหลังน้ําท่วมที่ค่อนข้างเยอะพอควร และยิ่งในสภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจแบบนี้...
/
หากเราเปรียบสงคราม และอาชญากรรมที่กระทำต่อมนุษย์ อย่างการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การสังหารหมู่ และการล่าอาณานิคม เป็นเหมือนการสร้างบาดแผลและความแตกร้าวต่อมวลมนุษยชาติ ศิลปะก็เป็นหนทางหนึ่งในการเยียวยาซ่อมแซมบาดแผลและความแตกร้าวเหล่านั้น แต่การเยียวยาซ่อมแซมก็ไม่จำเป็นต้องลบเลือนบาดแผลและความแตกร้าวให้สูญหายไปเหมือนไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้น หากแต่การเหลือร่องรอยแผลเป็นและรอยแตกร้าวที่ถูกประสาน ก็เป็นเสมือนเครื่องรำลึกย้ำเตือนว่า สิ่งเหล่านี้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว และไม่ควรปล่อยให้เกิดขึ้นอีกซ้ำเป็นครั้งที่สอง เช่นเดียวกับสิ่งที่ปรากฏในนิทรรศการ “Urgency of Existence” นิทรรศการแสดงเดี่ยวครั้งแรกในเอเชียของ คาแดร์ อัทเทีย (Kader Attia) ศิลปินชาวฝรั่งเศส - แอลจีเรีย ผู้มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ เขาเป็นหัวหอกในการทำงานศิลปะผ่านสื่ออันแตกต่างหลากหลาย ที่นำเสนอแนวคิดหลังอาณานิคม และการปลดแอกอาณานิคม จากมุมมองของตัวเขาเอง ที่มีประสบการณ์ทางตรงและทางอ้อมของผู้ที่เคยถูกกดขี่และถูกกระทำจากลัทธิล่าอาณานิคมในศตวรรษที่ผ่านมา
/
ในช่วงปลายปี 2024 นี้ มีข่าวดีสำหรับแฟนๆ ศิลปะชาวไทย ที่จะได้มีโอกาสชมผลงานศิลปะร่วมสมัยของเหล่าบรรดาศิลปินทั้งในประเทศและระดับสากล ยกขบวนมาจัดแสดงผลงานกันในเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2024 ที่จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 แล้ว โดยในเทศกาลศิลปะครั้งนี้นำเสนอผลงานศิลปะจาก 76 ศิลปิน 39 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ภายใต้ธีมหลัก “รักษา กายา (Nurture Gaia)” ที่ได้แรงบันดาลใจจากเทพี ไกอา (Gaia) ในตำนานเทพปรณัมกรีก หรือพระแม่ธรณีผู้ให้กำเนิดและหล่อเลี้ยงสรรพชีวิต เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์อันสอดประสานกลมกลืนกันระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ
/
เมื่อพูดถึงชื่อ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล หรือ เจ้ย มิตรรักแฟนหนังหลายคนน่าจะรู้จักเขาในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทยผู้เปี่ยมไปด้วยความเป็นศิลปะที่สุด ไม่เพียงแค่ในประเทศไทย แต่หมายรวมถึงในสากลโลก ยืนยันด้วยรางวัลสำคัญจากเทศกาลภาพยนตร์ระดับโลกหลายต่อหลายรางวัล ไม่ว่าจะเป็นรางวัลยอดเยี่ยมในการฉายสายรอง (Un Certain Regard) จากภาพยนตร์เรื่อง สุดเสน่หา (Blissfully Yours) (2002) และรางวัลขวัญใจคณะกรรมการ (Jury Prize) จากภาพยนตร์เรื่อง สัตว์ประหลาด! (Tropical Malady) (2004) จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ ในปี 2002 และ 2004, หรือภาพยนตร์เรื่อง แสงศตวรรษ (Syndromes and a Century) (2006) ของเขาก็ได้รับเลือกให้เข้าชิงรางวัลสิงโตทองคำในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองเวนิส ในปี 2006 และคว้ารางวัลกรังปรีซ์จากเทศกาลภาพยนตร์ Deauville Asian Film Festival ในปี 2007, และภาพยนตร์เรื่อง รักที่ขอนแก่น (Cemetery of Splendor) (2015) ของเขาก็คว้ารางวัลยอดเยี่ยมจากเวที Asia Pacific Screen Awards ในปี 2015, ที่สำคัญที่สุด อภิชาติพงศ์ยังเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทยคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้รับรางวัล ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมปาล์มทองคำ (Palm d’or) จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ ครั้งที่ 63 ในปี 2010 จากภาพยนตร์เรื่อง ลุงบุญมีระลึกชาติ (Uncle Boonmee Who Can Recall His Past Lives) (2010), และล่าสุด ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องล่าสุดของเขาอย่าง Memoria (2021) ยังคว้ารางวัล Jury Prize ในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ครั้งที่ 74 ในปี 2021 มาครองได้อีกครั้ง อีกทั้งยังได้รับเสียงวิจารณ์เชิงบวกอย่างท่วมท้นจากสื่อมวลชนนานาชาติ
We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )