LOOKING ON EVERYTHING ?
EXPLORE ON EVERYTHING

การเดินทางสู่โบสถ์คริสต์หลังคากางเขนกลางดอยในจังหวัดตาก
ซอแข่ลู่ เป็นชื่อหมู่บ้านชาวปกาเกอะญอ หรือชาวกะเหรี่ยงกลางหุบเขาของจังหวัดตาก การเข้าถึงหมู่บ้านใช้เวลาเดินทางจากแม่สอดด้วยรถยนต์ชำนาญทางขึ้นเขาในฤดูทั่วไปประมาณ 4 ชั่วโมง หรือประมาณ 1 วัน ในช่วงหน้าฝน หมู่บ้านเล็กๆ แห่งนี้อับสัญญาณมือถือ ไม่มีอินเตอร์เน็ตและไฟฟ้า ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำกสิกรรม อาศัยอยู่ในบ้านไม้ยกใต้ถุนวางตัวไล่ตามชั้นเขา ด้านล่างสุดของหมู่บ้านกลายเป็นพื้นที่ส่วนกลางใหม่สำหรับทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งเป็นที่ตั้งของโบสถ์หลังใหม่ซึ่งหันหน้าสู่ขอบฟ้าและหุบเขา
โบสถ์ซอแข่ลู่เซนต์มาร์คมีจุดเริ่มจากคุณพ่อ Camille มิชชันนารีคาทอลิกที่ดูแลหมู่บ้านแถบนี้ต้องการคนมาออกแบบโบสถ์ใหม่ในหมู่บ้านบนดอย คุณรัญชน์และคุณชยาลักษณ์ ผู้ร่วมก่อตั้งสตูดิโอ Only Human เล่าถึงความเป็นมาในการรับออกแบบโครงการศาสนสถานซึ่งเกิดขึ้นไม่บ่อยนักสำหรับสถาปนิกไทย “พวกเรารู้จักกับคุณพ่อผ่านรุ่นพี่ คุณพ่อเป็นคนวางตำแหน่งเตรียมพื้นที่ด้วยความร่วมมือจากคนในหมู่บ้าน และเริ่มออกแบบโดยไม่เคยขึ้นไปดูสถานที่ก่อนเนื่องจากโจทย์แรกคือต้องรีบสร้างให้ทันก่อนฤดูฝน แต่คุณพ่อให้รายละเอียดการใช้งานและอิสระในการออกแบบ”
ภาพ โบสถ์ซอแข่ลู่เซนต์มาร์คตั้งอยู่บริเวณด้านล่างสุดของหมู่บ้าน และได้กลายเป็นพื้นที่ส่วนกลางใหม่สำหรับทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งหันหน้าสู่ขอบฟ้าและหุบเขา
14 Stations de la Croix
“มรรคาศักดิ์สิทธิ์” หรือ “ทางสู่กางเขน” คือแนวคิดหลักของการออกแบบโบสถ์ที่ผู้ออกแบบต้องการเชื่อมโยงศาสนสถาน และจิตวิญญาณของการสวดภาวนา
มรรคาศักดิ์สิทธิ์คือช่วงชีวิตสุดท้ายของพระเยซูตั้งแต่ก่อนจนถึงหลังตรึงกางเขน เป็นหนึ่งในเรื่องเล่าผ่านงานศิลปะทางศาสนาที่ถูกนำมาเล่าประดับในโบสถ์หลายยุคสมัย เพื่อให้คริสตชนระลึกถึงความทรมาน และความเสียสละของพระบุตร โดยมีกางเขนร่วมเดินทางกับพระเยซูตลอดเรื่องทั้ง 14 องก์ (มรรคาศักดิ์สิทธิ์ในปัจจุบัน)
ใจความหลักของรูปแบบศิลปะของภาพมรรคาศักดิ์สิทธิ์หมายถึงหนทางสู่ความตาย (ในเชิงสัญลักษณ์) ของพระเยซู ด้วยกางเขนที่ล้มลงอย่างมีนัยยะทั้งหมด 3 ครั้ง สถาปนิกออกแบบให้หลังคาซึ่งอยู่ส่วนบนสุดของอาคารมีความหนาเหมือนพระคูหา (โลงศพ) และกางเขนแนวนอนแทนการล้มลงไว้เหนือสุด สื่อถึงความหนักหน่วงของบาปที่ทรงแบกไว้แทนมนุษยชาติตามความเชื่อทางคริสต์ศาสนา


ภาพ หลังคาเสมือนหนาหนักเหมือนพระคูหา (โลงศพ) และกางเขนแนวนอนแทนการล้มลงไว้เหนือสุด สื่อถึงความหนักหน่วงของบาปที่ทรงแบกไว้แทนมนุษยชาติ
แม้หลังคาอาคารดูทึบหนักจากภายนอก ภายในกลับโปร่งโล่งสว่างจากแสงธรรมชาติผ่านหน้าต่างทั้งสามทิศ และช่องแสงสกายไลท์ด้านบน เสมือนมนุษย์ผู้ถูกปลดปล่อยเพราะมีพระเยซูทรงแบกรับความหนักหนาเป็นเครื่องบูชาไถ่บาปแทนแล้ว
กางเขนถูกสื่อออกมาด้วยสถาปัตยกรรม 3 รูป ด้วยสายตามนุษย์สามารถมองเห็นภายในเพียง 2 รูปผ่านสายตาและธรรมชาติให้สัมผัสได้ภายในอาคาร อีก 1 รูป เมื่อมองด้วยสายพระเนตรของพระเจ้าหรือจากมุมสูงภายนอก โดยทุกรูปต่างอยู่องศาแนวนอนแทนการล้มลงทั้ง 3 ครั้ง ตามรูปแบบภาพมรรคาศักดิ์สิทธิ์




ภาพ แสงที่ส่องเข้ามาภายในโบสถ์ปรากฏกางเขนคู่จากมุมมองภายในโบสถ์จากเบื้องหน้า และเบื้องบนให้คริสตชนสัมผัสได้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น
ภาพภายในโบสถ์ไม่มีงานระบบน้ำและไฟฟ้า หมู่บ้านที่นี่ใช้เทียนให้แสงสว่างเวลากลางคืน และมีธรรมชาติให้แสงในเวลากลางวัน เฟอร์นิเจอร์มีเพียงแท่นพิธี และพนักพึงตั้งพื้นมือสองที่คุณพ่อหามาวางเรียงสำหรับชาวบ้านนั่งร่วมมิสซาได้สบายขึ้น
สถาปัตยกรรมและชาวบ้าน
นอกจากบ้านไม้มีใต้ถุนเพื่อปรับระดับพื้นภายในบ้านที่สร้างตามเขา ทำให้ใต้ถุนเป็นภาษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่เหมาะกับบริบทการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน สภาพอากาศ และการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ ซึ่งได้ถูกนำมาใช้เป็นภาษาหนึ่งของงาน การออกแบบตำแหน่งหน้าต่างของโบสถ์ถูกออกแบบให้ติดพื้นตามลักษณะนิสัยชอบนั่งกับพื้นของชาวปกาเกอะญอ เพื่อเกิดการถ่ายเทของลมระบายอากาศให้ความเย็นสบาย และสามารถใช้แสงธรรมชาติได้อย่างเต็มที่ตามแนวระดับสายตาขณะใช้งานประจำ
ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมการสร้างโบสถ์ตั้งแต่ก่อนสร้าง ช่วยสร้างและเข้ามาใช้งาน “คุณพ่อ Camille ต้องการให้ชาวบ้านรับรู้ ถามความคิดเห็นพวกเขาก่อนเริ่มงานก่อสร้าง ชาวบ้านส่วนใหญ่จะตื่นเต้นที่มีงานก่อสร้างใหญ่ในหมู่บ้านของเขา นอกจากมีทีมก่อสร้างประจำถิ่นไม่กี่คน ชาวบ้านล้วนเข้ามาช่วยเข้ามามีส่วนร่วม มาเป็นแรงงานสร้างโบสถ์ของพวกเขาเอง” ผู้ออกแบบเอ่ยถึงบทบาทและส่วนร่วมของคนในหมู่บ้าน

ภาพ โบสถ์มีโครงสร้างคานรับน้ำหนักให้วางตัวจากทางลาดปรับระดับพื้นแบบเดียวกับบ้านพื้นถิ่น และสามารถยื่นหน้าออกสู่เส้นขอบฟ้าได้อย่างมั่นคง

ภาพซ้าย ศูนย์รวมทำกิจกรรมต่างๆ ของหมู่บ้านบริเวณพื้นที่ว่างใต้หลังคาซึ่งมีฉากหลังเป็นทางเข้าโบสถ์ และแผ่นทองแดง ภาพขวา ด้านข้างของโบสถ์ซึ่งปิดด้วยแผ่นทองแดง
คุมงานทางไกล
เนื่องจากระยะทาง สถานการณ์โควิดที่ทางหมู่บ้านไม่ต้องการให้คนนอกไปมาในหมู่บ้าน ความยากในการเข้าถึงของสถานที่ รวมถึงสตูดิโอ Only Human ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ ตลอดโครงการสถาปนิกทั้งสองได้มีโอกาสขึ้นไปดูงานแค่สองครั้งคือเมื่อได้ไปเสนองานกับชาวบ้าน และตอนสร้างเสร็จ นอกนั้นเป็นการคุยงานและคุมงานระยะไกลทั้งหมด
“ความยากคือบนดอยมันไม่สัญญาณมือถือกับอินเตอร์เน็ต เราไม่สามารถเห็นหน้าไซท์ได้ตลอดเวลา รวมถึงการก่อสร้างเป็นช่างในพื้นที่ซึ่งรับสร้างงานตามดอยแถวนั้น” ผู้ออกแบบเล่าเบื้องหลังการก่อสร้างที่น่าสนใจไม่ต่างจากแนวคิดการออกแบบเบื้องหน้า “อุปสรรคการสื่อสารหลายทอดบวกกับระยะเวลาที่เพิ่มขึ้นจากที่เราสื่อสารผ่านคุณพ่อ เราปรับการทำงานโดยคุณพ่อให้เราคุยกับช่างเอง ทำให้เราต้องปรับแบบก่อสร้างเป็นภาษารูปภาพแบบ Isometric และไดอะแกรม เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น”
“เราระบุทุกขั้นตอนอย่างละเอียดไปพร้อมกับการทำงานแต่ละส่วนของช่าง โดยแยกสี และใช้ภาษาง่ายๆ เช่นการบอกจุดเริ่มต้นของรายละเอียด การเว้นระยะห่างด้วยการหารสองหรือสามตามแล้วแต่ละจุดของรายละเอียด เพื่อกันตัวช่างสับสนกับตัวเลขในแบบ และตัวเลขหน้างานจริง” ผู้ออกแบบอธิบายการพยายามหาวิธีขึ้นรูปทรงอาคาร การแกะรายละเอียดวิธีสร้างสำเร็จรูปสื่อสารเพื่อให้ช่วยการทำงานของช่างเป็นไปได้ง่ายขึ้น การคุยงานและเคลียร์รายละเอียดเกิดขึ้นทุกครั้งเมื่อช่างได้ลงมาจากดอยซึ่งมีสัญญาณอินเตอร์เน็ตคุยงานส่งรูปภาพอัพเดทกันไปมาได้

ภาพซ้าย โครงเหล็กทาสีขาว ไม้อัดวัสดุปิดภายใน และลอนหลังคาเมทัลชีท ภาพขวา ความสูงหน้าต่างในระดับสายตาขณะนั่งกับพื้น เป็นช่องถ่ายเทของลมระบายอากาศให้ความเย็นสบาย และสามารถใช้แสงธรรมชาติได้อย่างเต็มที่
นอกจากดีเทลการก่อสร้างเรื่องวัสดุที่ระบุไว้ในตอนแรกต้องปรับเปลี่ยนไปตามที่มีในเมืองหลักอย่างแม่สอด และตามเส้นทางการขนขึ้นมาบนดอย
“วัสดุแรกปิดภายนอกตามความตั้งใจแรกเป็นไม้ แต่คุณพ่อ Camille ท่านมีความเป็นช่างที่ชอบงานคราฟ ท่านเลือกทองแดงปิดภายนอกเลยเสนอเป็นทองแดงแทน มองผ่านๆ มีความคล้ายไม้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปทองแดงที่เปลี่ยนตามสภาพอากาศจะเป็นส่วนทำให้โบสถ์มีชีวิตยิ่งขึ้น และตัวคุณพ่อเองก็ลงมือปิดผิววัสดุเองกับมือ”
กันยายนที่ผ่านมาเป็นช่วงผ่อนคลายมาตรการทั้งของรัฐและหมู่บ้าน สองนักออกแบบจึงได้มีโอกาสเดินทางไปดูผลงาน และเก็บภาพหลังสร้างเสร็จเป็นครั้งแรก พวกเขาเอ่ยถึงองค์ประกอบสำคัญต่องานออกแบบศาสนสถานผ่านความรู้สึกของพวกเขาออกมาหลังผ่านการเดินทางมาถึงจุดนี้
“ความรู้สึกเมื่อเข้าไปในผลงานครั้งแรกคือความรู้สึกเดียวกับการผ่านประสบการณ์การเดินทางหนักหน่วงต่างๆ แล้วพบปลายทางโปร่งโล่งเช่นการถูกยกความรู้สึกหนักๆ ออก เหมือนได้เดินผ่านพื้นที่แคบทึบในช่วงแรกสู่แสงสว่างของโบสถ์ เป็นความสัมพันธ์เมื่อประสบการณ์ และสถานที่เดินทางมาพบกันได้ถูกสื่อสารออกมาส่งผลกับผู้ใช้งาน และผู้มาเยือนในรูปแบบที่แตกต่างไปตามแต่ตัวคน”

ภาพ การเดินทาง บริบท ผู้คน และสถานที่ ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรม
ภาพ “ความรู้สึกเมื่อเข้าไปในโบสถ์ครั้งแรก มันเป็นความรู้สึกเดียวกับการผ่านประสบการณ์การเดินทางหนักหน่วงต่างๆ แล้วพบปลายทางโปร่งโล่งเช่นการถูกยกความรู้สึกหนักๆ ออก”


ภาพขวา แปลนและรูปตัด
Project : Sohelou St. Marc Catholic Chapel
Architect: Only Human
Design team: Chayaluck Peechapat, Runn Charksmithanont
Collaborating architect: Artit Markshom Project manager: father Camille Rio m.e.p.
Builder: Banjong Nithiwangsomjit and team
Area : 80 sq.m.
Project Loacation : Tak Province, Thailand
Project Complete Year : 2021
Photographer: Acki
SOHELOU ST. MARC CATHOLIC CHAPEL BY ONLY HUMAN การเดินทางสู่โบสถ์คริสต์หลังคากางเขนกลางดอยในจังหวัดตาก
/
ถึงแม้วงการสื่อสารมวลชนโดยทั่วไปจะจับตาและสนใจในงานออกแบบสถาปัตยกรรมโครงการใหญ่ๆ อย่างการออกแบบสํานักงาน, พิพิธภัณฑ์, วิหาร, ศาสนสถาน ไปจนถึงอาคารรัฐสภาต่างๆ หากยังมี งานสถาปัตยกรรมที่โครงการไม่ใหญ่นัก แต่ถือว่าเป็นปัจจัยสําคัญอันจําเป็นสําหรับมนุษย์ที่สุดอย่าง หนึ่ง นั่นก็คือ ที่อยู่อาศัยที่เราเรียกกันว่า “บ้าน” นั่นเอง
/
เราเคยนำเสนอ 3 โปรเจกต์ออกแบบของ Jenchieh Hung + Kulthida Songkittipakdee / HAS design and research ที่สร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับงานรีเทลด้วยการผสานรูปแบบพิพิธภัณฑ์เข้ากับความเป็นโชว์รูมเฟอร์นิเจอร์ชั้นนำระดับโลก ที่ตั้งอยู่ในเมืองเหอเฝย์ ประเทศจีน ครั้งนี้เรายังมีอีก 2 โปรเจกต์ซึ่งตั้งอยู่ภายนอกอาคาร ประกอบด้วย Simple Art Museum และ Simple Design Archive โดยเรื่องของบริบทเชิงพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นที่สภาพแวดล้อม ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และสังคม ยังคงนำมาเป็นส่วนประกอบในแนวคิดการออกแบบที่ถ่ายทอดผ่านภาษาทางสถาปัตยกรรมในแบบ HAS design and research อยู่
/
บ้านหลังแรกที่สร้างขึ้นเองของคุณออมมี่ และคุณแบงค์ -ปรีดากร เมรเกรียงชัย Co-Founder แห่งแบรนด์ Gentle RAM บ้าน ที่ตอบโจทย์รสนิยมของทั้งสองที่หลงใหลในความ Timeless และการอยู่อาศัยที่อยู่สบาย เรียบง่าย พร้อมจัดระเบียบชีวิตในบ้านได้อย่างลงตัว บ้านที่ทุกพื้นที่ และทุกฟังก์ชั่นที่ทาง THE OTHERS ผู้ออกแบบได้ขบคิดมาอย่างพิถีพิถันไม่ต่างกับเสื้อผ้าที่เทรลเลอร์เมดให้พอดีกับเจ้าของบ้าน
/
หนึ่งในกิจกรรมจากเวที TOSTEM Asia Design Award (TADA) ซึ่งจัดขึ้นโดย TOSTEM เพื่อเฟ้นหาผลงานสถาปัตยกรรมในเอเชีย ที่มุ่งให้ความสำคัญกับเรื่องของธรรมชาติ ผสานเข้ากับนวัตกรรมการอยู่อาศัยสมัยใหม่ ตอบโจทย์ทั้งผู้ใช้งาน และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ซึ่งนอกจากผู้ชนะรางวัลจะได้ร่วมเดินทางไปรับรางวัลที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว ยังได้พบปะกับ Akihisa Hirata สถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงระดับโลก ที่มาแชร์มุมมองแนวคิดการออกแบบโปรเจกต์ต่าง ๆ ตั้งแต่งาน Installation Art บ้านพักอาศัย จนถึงอาคารสาธารณะ ซึ่งความน่าสนใจนอกเหนือจากเอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่ถ่ายทอดผ่านฟอร์ม และสเปซที่โดดเด่น และเป็นที่จดจำแล้วนั้น สำคัญคือปรัชญาหลักที่เป็นรากฐานความคิดของ Hirata สู่การพัฒนาเป็นสถาปัตยกรรมน่าทึ่งเหล่านั้น ซึ่งเราจะมาเจาะลึกแนวคิดที่ว่านั้นกัน
By TOSTEM/
ผสานบริบทธรรมชาติ สอดรับกับวัฒนธรรมท้องถิ่นได้อย่างลึกซึ้ง พร้อมถ่ายทอดสู่เอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรม ที่เติมเต็มทั้งสุนทรียศาสตร์ และตอบโจทย์การใช้ชีวิตผู้อยู่อาศัยได้ทุกมิติ คือจุดร่วมหลักของสองผลงานออกแบบบ้านที่ตั้งอยู่ใน 2 จังหวัดทางภาคเหนือ ที่คว้ารางวัล TOSTEM ASIA DESIGN AWARD 2024 (TADA 2024) ในกลุ่มประเภท “Special Mention for Sustainable Living” มาครอง
By TOSTEM/
ขึ้นชื่อว่าเป็นโปรเจกต์ออกแบบโดย HAS design and research ของสองสถาปนิกฝีมือแถวหน้าอย่าง คุณเจอร์รี่ หง (Jenchieh Hung) และคุณป้อ-กุลธิดา ทรงกิตติภักดี (Kulthida Songkittipakdee) แล้วนั้นรับรองว่ามิติที่ลึกซึ้งกว่าเรื่องของฟอร์มอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ทุกคนต่างทึ่งไปกับงาน“Aluminum Grotto and Public Ground” งานอินสตอลเลชันสุดอลังการที่จัดแสดงในงานสถาปนิก’67 ก็เป็นตัวอย่างของการผสานองค์ประกอบเรื่องของพื้นผิว-พื้นที่-โครงสร้าง-ฟังก์ชั่นให้เป็นหนึ่งเดียว ภายใต้ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ และเชื่อมระหว่างภูมิทัศน์ธรรมชาติ ศิลปะเชิงช่าง และวัสดุอุตสาหกรรมได้อย่างน่าตื่นตา มาถึงโปรเจกต์ใหม่ที่เป็นงานออกแบบรีเทลนี้ ทาง HAS ได้พยายามข้ามขนบบางอย่างของการออกแบบพื้นที่เชิงพาณิชย์ทั่วไป เพื่อสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับผู้ที่ได้ไปเยือน
We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )