MoMA (MUSEUM of MODERN ALUMINUM) BY HAS DESIGN AND RESEARCH โชว์รูมอะลูมิเนียมร่วมสมัยจากความเรียบง่ายที่ขยายขอบเขตสถาปัตยกรรมและวัสดุ สู่พิพิธภัณฑ์อะลูมิเนียมแห่งศตวรรษใหม่ | IAMEVERYTHING.CO

LOOKING ON EVERYTHING ?

EXPLORE ON EVERYTHING

Project Name: MoMA
Project Location: Nonthaburi, Thailand
Design Firm: HAS design and research
Design Team: Jenchieh Hung, Kulthida Songkittipakdee, Jiaqi Han, Qin Ye Chen

Landscape Design: TROP : terrains + open space
Lighting Design: Light Is
Photo Credit: W Workspace

Façade Construction Consultant: AB&W Innovation Co., Ltd.
Aluminum Technology Development: Goldstar Metal Co., Ltd.
Lighting Product: Neowave Technology
Constructor: SL Window Co., Ltd. 

MoMA (MUSEUM of MODERN ALUMINUM) BY HAS DESIGN AND RESEARCH
โชว์รูมอะลูมิเนียมร่วมสมัยจากความเรียบง่ายที่ขยายขอบเขตสถาปัตยกรรมและวัสดุ สู่พิพิธภัณฑ์อะลูมิเนียมแห่งศตวรรษใหม่

   อะลูมิเนียมเป็นวัสดุอุตสาหกรรมโลหะที่มีความทนต่อความร้อน การหัก กร่อน สะท้อนแสงได้ดี มีน้ำหนักเบาถูกนำมาใช้ภาคครัวเรือนในลักษณะผลิตภัณฑ์ตกแต่ง วัสดุก่อสร้างเพื่อทดแทนไม้และเหล็ก พบเห็นใกล้ตัวในรูปแบบผลิตภัณฑ์ประเภทอะลูมิเนียมที่ถูกขึ้นรูป (Aluminum Extrusion) หลากร้อยพันแบบแปรรูปเพื่อใช้งานร่วมกับวัสดุอื่น
   HAS design and research ผู้เคยขยายภาพความเป็นไปได้ของการใช้ท่อเหล็กจากโครงการ Phetkasem Artist Studio เมื่อรับหน้าที่ออกแบบโดยเริ่มจากฟาซาด (Facade) และนำเสนอให้อาคารแสดงสินค้าของบริษัทผู้นำนวัตกรรมออกแบบ ผลิต และจัดจำหน่ายอะลูมิเนียมของไทยให้เป็นมากกว่าพื้นที่แสดงสินค้า เพื่อแสดงศักยภาพวัสดุอุตสาหกรรมในยุคการเปลี่ยนแปลงและต่อยอด (Disruption) ที่หลอมรวมเข้ากับเมืองให้น่าสนใจขึ้นมาอีกหนึ่งโครงการ

   อะลูมิเนียมเป็นวัสดุอุตสาหกรรมโลหะที่มีความทนต่อความร้อน การหัก กร่อน สะท้อนแสงได้ดี มีน้ำหนักเบาถูกนำมาใช้ภาคครัวเรือนในลักษณะผลิตภัณฑ์ตกแต่ง วัสดุก่อสร้างเพื่อทดแทนไม้และเหล็ก พบเห็นใกล้ตัวในรูปแบบผลิตภัณฑ์ประเภทอะลูมิเนียมที่ถูกขึ้นรูป (Aluminum Extrusion) หลากร้อยพันแบบแปรรูปเพื่อใช้งานร่วมกับวัสดุอื่น
   HAS design and research ผู้เคยขยายภาพความเป็นไปได้ของการใช้ท่อเหล็กจากโครงการ Phetkasem Artist Studio เมื่อรับหน้าที่ออกแบบโดยเริ่มจากฟาซาด (Facade) และนำเสนอให้อาคารแสดงสินค้าของบริษัทผู้นำนวัตกรรมออกแบบ ผลิต และจัดจำหน่ายอะลูมิเนียมของไทยให้เป็นมากกว่าพื้นที่แสดงสินค้า เพื่อแสดงศักยภาพวัสดุอุตสาหกรรมในยุคการเปลี่ยนแปลงและต่อยอด (Disruption) ที่หลอมรวมเข้ากับเมืองให้น่าสนใจขึ้นมาอีกหนึ่งโครงการ

ป้ายโฆษณาและ MoMA บนถนนราชพฤกษ์เสมือนแสงหิ่งห้อยในเวลากลางคืน

   พื้นที่แสดงสินค้าของโครงการได้ดัดแปลงจากที่พักอาศัยเดิมเป็นอาคารพาณิชย์สามชั้นเลียบถนนราชพฤกษ์มุ่งหน้าสู่จังหวัดนนทบุรี เป็นถนนทางหลวงชนบทเส้นหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ รถยนต์วิ่งค่อนข้างเร็ว มีโครงสร้างและป้ายโฆษณาขนาดใหญ่เรียงรายเรียกร้องความสนใจอย่างไม่บดบังกันตลอดเส้น มีประเภทสถาปัตยกรรมขนาดหลากหลาย อาคารริมถนนมีขนาดและความเป็นพื้นที่สาธารณะมากกว่าอาคารประเภทบ้านพักอาศัยซึ่งตั้งอยู่ลึกกว่า เป็นเอกลักษณ์หนึ่งของถนนเชื่อมต่อระหว่างเมืองจากงานวิจัย “Bangkok Chameleon” ที่มีคุณเจอร์รี่ หง และคุณกุลธิดา ทรงกิตติภักดี สองผู้ก่อตั้งบริษัท HAS design and research ศึกษาการพัฒนาของเมืองหลากหลายพื้นที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

   เมื่อพื้นที่โครงการมีความเข้มข้นเชิงสเกลความเป็นเมือง HAS design and research ผู้ออกแบบสร้างสมดุล ความกลมกลืนให้สิ่งเดิมและใหม่ในพื้นที่ จึงจำลองพฤติกรรมธรรมชาติจากบริเวณใกล้เคียงอย่างเกาะเกร็ด ซึ่งอยู่ห่างจากสถานที่ตั้งออกไป 2 กิโลเมตร มีแสงหิ่งห้อยดึงดูดความสนใจ เช่น ป้ายโฆษณาเตะตาผู้ขับรถผ่านไปมา ด้วยแสง “ธรรมชาติประดิษฐ์”

(ซ้าย) Site Plan ของงาน MoMA แสดงถึงความหลากหลายของสเกลอาคารและถนนของบริบท
(ขวา) Isonometric Diagram
Aluminium Profle “ชุดบานเลื่อนตลาด” ที่ถูกเลือกจากหลายร้อยแบบคือที่หนีบประตูบานเลื่อนอลูมิเนียมที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป
ระหว่างการทำ Mock-up HAS ได้ศึกษาเรื่องการติดตั้ง ความหนาแน่นของการกระจายตัว และการยื่นตัวออกมาของอลูมิเนียม รวมทั้งเรื่องไฟที่ได้ Light is มาเป็นผู้ออกแบบแสงไฟตามช่วงเวลา
ฟาซาดของอาคารจำลองแสงและของธรรมชาติของหิ่งห้อย ทดลองกับการยื่นแสงและลมกับ Mock-up 1:1 ขนาด 2 เมตร
Detail ฟาซาดอลูมิเนียมแปรรูปทั้ง 4 ขนาด เชื่อมยึดโครงสร้างและไฟ LED สองชนิด
รูปแบบการออกแบบที่สะท้อนเอกลักษณ์ย่านชานเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกรูปแบบหนึ่ง

บริเวณด้านหน้าอาคารประกอบด้วยฟาซาดออกแบบแสงไฟโดย Light is และสวนออกแบบพันธุ์ไม้และ Hardscape ทางลาดพื้นอลูมิเนียมปรับระดับโดย TROP: terrains + open space

อุโมงค์ทางเข้าด้านซ้ายมือแสดงศักยภาพอลูมิเนียมเป็นพื้นที่ปรับอารมณ์เชื่อมต่อบริบทภายนอก และโปรแกรมหลักภายในอาคาร

ฟาซาดด้านข้างอาคารเสริมมิติภาพรวมของอาคารให้พุ่งไปในทิศทางดียวกัน ด้วยการออกแบบแสงไฟที่กระทบความยาว และความตื้นลึกลึกของฟาซาดอลูมิเนียม ในรูปแบบที่แตกต่างจากด้านหน้า ได้ผลลัพธ์ซึ่งเสริมภาพรวมให้อาคารเป็นหนึ่งเดียวกัน

ภาพมุมสูงเห็นภาพรวมบริบท การออกแบบ และองค์รวมสถาปัตยกรรมเสริมภาพรวมให้อาคารเป็นหนึ่งเดียวกัน

อุโมงค์ทางเข้า หรือแกลเลอรี่ปฐมบท ทำหน้าที่ปรับอารมณ์ก่อนนำทางสู่เนื้อหาหลัก สร้างประสบการณ์เชื่อมต่อบริบทและศักยภาพของอลูมิเนียม

  ผู้ออกแบบคัดเลือกอลูมิเนียมแปรรูปจากการทดลองผลิตภัณฑ์หลายร้อยชนิด โดยนำลักษณะของเส้นอลูมิเนียมที่พลิ้วไหวมาเล่นกับแสงไฟ ผ่านการทดลองเรียงรูปแบบการกระจายตัว ความหนาแน่น และความยาวในการยื่นของฟาซาดให้อยู่ในขอบเขตระยะร่นอาคาร โดยมี Light Is ร่วมออกแบบแสงไฟสร้างความรู้สึกเสมือนหิ่งห้อยที่กำลังบินอยู่ในธรรมชาติจากอลูมิเนียมแปรรูปที่เรียบง่ายเพียงชนิดเดียว ให้เป็นทั้งฟาซาด และอุโมงค์ทางเข้า VIP หรือแกลเลอรี่ปรับอารมณ์ก่อนเข้าพื้นที่หลักซึ่งเป็นส่วนเพิ่มเติมเชื่อมต่อบริบทกับโปรแกรมภายใน เพื่อแสดงศักยภาพของอลูมิเนียมแปรรูปธรรมดาให้พิเศษขึ้นมาแตกต่างจากอลูมิเนียมในยุคเดิม
  อลูมิเนียมแปรรูปชนิดเดียวกันนี้ถูกใช้เป็นวัสดุเฟอร์นิเจอร์บนดาดฟ้าที่ได้ TROP: terrains + open space เป็นผู้ออกแบบสวนทั้งหน้าทางเข้าหลักและสวนกลางแจ้งชั้นบนสุด โดยใช้อลูมิเนียมเป็นวัสดุสำหรับ Hardscape และเลือกพันธุ์พืชสำหรับ Softscape ที่คงรูปทรงไดนามิคเพื่อเป็นหนึ่งเดียวกับภาพรวมการใช้อลูมิเนียมลักษณะพุ่งในสถาปัตยกรรมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

  HAS design and research คงเอกลักษณ์การออกแบบสมดุลความเป็นเมืองและธรรมชาติ เชื่อมบริบทและเนื้อหาด้วยพื้นที่ปรับอารมณ์จากวัสดุและการต่อยอดในผลงานได้อย่างแยบยล เพิ่มคุณค่าให้อาคารแสดงสินค้าหลังหนึ่งสามารถเปลี่ยนบทบาทเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ส่งผลต่อมุมมองธุรกิจ อุตสาหกรรม เมือง และแรงบันดาลใจ

ผนังแปรอักษรจากอลูมิเนียมแปรรูปชนิดเดียวกับฟาซาดอาคารเป็นชื่อบริษัทติดตั้งเป็นพื้นหลังลึกของอุโมงค์ เป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์งานออกแบบของ HAS design and research ด้วยการออกแบบงานช่างประณีตจากวัสดุอุตสาหกรรม

มุมมองจากพื้นที่จัดแสดงสินค้าออกไปภายนอกอาคาร

ฟาซาดอาคารไม่ได้เปลี่ยนภาพอาคารอลูมิเนียมจากภายนอกเท่านั้น เมื่อมองผ่านกรอบหน้าต่างออกไปภายนอกสามารถสัมผัสจังหวะของทิวทัศน์ที่เปลี่ยนไปเพราะไดนามิคของเส้นอลูมิเนียมด้วยเช่นกัน

(ขวา) เส้นอลูมิเนียมฟาซาดส่วนที่ห้อยลงมาด้วยโครงสร้างเหนืออุโมงค์ทางเข้า นำสายตาสู่เส้นอลูมิเนียมอุโมงค์ภายใน
(ซ้าย) เมื่ออลูมิเนียมพ่นขาวต่างเฉดและพื้นผิวโดนแสงเกิดเงาในเวลากลางวันสร้างสัมผัสที่แตกต่างกันไปแก่สายตา

อลูมิเนียมฟาซาดสร้างสัมผัสเอกลักษณ์ให้ผิวอาคาร

สวนดาดฟ้ากลางแจ้งเป็นพื้นที่รองรับกิจกรรมเอกประสงค์ของอาคาร โดยทาง TROP: terrains + open space ออกแบบให้พื้นที่สวนและเฟอร์นิเจอร์ออกมาเป็นหนึ่งเดียวกับภาพรวมอาคารจากอลูมิเนียมแปรรูปชนิดเดียวกัน และใช้พื้นอลูมิเนียมเสมือนเป็นเกาะที่อยู่ท่ามกลางแมกไม้

รูปด้านดาดฟ้าซึ่งเห็นการแสดงโลโก้บริษัทด้วยช่องไฟ LED และการเปลี่ยนสีอลูมิเนียม การเลือกใช้สีอาคารและโครงสร้างฟาซาดโทนเดียวกัน ทำให้อลูมิเนียมเสมือนลอยรอบตัวอาคารอยู่ทุกช่วงเวลา

แสงและเงา องค์ประกอบซึ่งช่วยก่อรูปทรงให้สถาปัตยกรรมโดยสร้างประสบการณ์ต่างออกไปตามช่วงเวลา

ป้ายอาคารที่ได้รับการออกแบบอย่างมีเอกลักษณ์ให้โดดเด่นและเป็นส่วนหนึ่งกับงาน

“อุโมงค์” ทางเข้าไร้ที่สิ้นสุด เป็นพื้นที่ปรับอารมณ์โดยกรองเสียงและความรู้สึกก่อนเข้าสู่โลกอลูมิเนียม ทางเข้าสู่ห้องถัดไปแฝงไปกับผนังอลูมิเนียมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการจัดแสดงคุณสมบัติของสินค้า

ความต่อเนื่องไร้ขอบบอกบริเวณแสดงถึงองค์ประกอบจากฟาซาดภายนอกสู่อุโมงค์ภายในล้อมรอบจากฝ้าผนังและอาคารเพื่อแสดงความเป็นไปได้ในรูปแบบที่แตกต่างจากเดิมของอุตสาหกรรมจากอลูมิเนียม “ชุดบานเลื่อนตลาด”

Project Name: MoMA
Project Location: Nonthaburi, Thailand
Design Firm: HAS design and research
Design Team: Jenchieh Hung, Kulthida Songkittipakdee, Jiaqi Han, Qin Ye Chen

Landscape Design: TROP : terrains + open space
Lighting Design: Light Is
Photo Credit: W Workspace

"Façade Construction Consultant: AB&W Innovation Co., Ltd.
Aluminum Technology Development: Goldstar Metal Co., Ltd.
Lighting Product: Neowave Technology
Constructor: SL Window Co., Ltd. 

    TAG
  • MoMA
  • HAS DESIGN AND RESEARCH
  • Phetkasem Artist Studio
  • The MANufAcTURE
  • design
  • architecture

MoMA (MUSEUM of MODERN ALUMINUM) BY HAS DESIGN AND RESEARCH โชว์รูมอะลูมิเนียมร่วมสมัยจากความเรียบง่ายที่ขยายขอบเขตสถาปัตยกรรมและวัสดุ สู่พิพิธภัณฑ์อะลูมิเนียมแห่งศตวรรษใหม่

ARCHITECTURE/SHOWROOM
2 years ago
CONTRIBUTORS
Nada Inthaphunt
RECOMMEND
  • DESIGN/SHOWROOM

    3 นักออกแบบแถวหน้า แชร์หลากมุมมองและประสบการณ์เปิดไอเดียสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ที่ Space Studio แหล่งรวมวัสดุปิดผิวชั้นนำระดับโลก

    หลากแนวคิดการออกแบบ แตกต่างของการตั้งคำถามและการตอบโจทย์ การค้นหาความเป็นไปได้ใหม่ ๆ จนถึงการเชื่อมจินตนาการสู่ความจริง ท่ามกลางส่วนผสมที่เฉพาะตัวไม่เหมือนกันในการคิดสร้างสรรค์ของนักออกแบบแต่ละคน จุดร่วมเหมือนกันของพวกเขาคือต้องการพื้นที่สร้างสรรค์ ที่จะส่งเสริมกระบวนการทำงาน พร้อมได้ค้นพบกับวัสดุปิดผิวที่จะเติมเต็มงานให้สมบูรณ์ หรือต่อยอดไอเดียการออกแบบที่สร้างความท้าทายใหม่ ๆ ได้ นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไม 3 นักออกแบบแถวหน้าอย่าง คุณจือ - ณัฎฐา สุนทรวิเนตร์ Founder และ Design Director แห่ง Double V Space Interior Studio, คุณทีโน่ - อโนทัย มอร์เกนโรธ Founder และ Design Director แห่ง DOT.X และคุณหยก-ภารดี เสนีวงศ์ ณ อยุธยา นักออกแบบและผู้ร่วมก่อตั้ง Trimode Studio จึงยกให้ Space Studio เป็นสถานที่โปรดของพวกเขา เพราะนอกจากจะเป็นโชว์รูมรวบรวมวัสดุปิดผิวหลายประเภทจากหลากแบรนด์ชั้นนำระดับโลกมาแล้ว ที่นี่ยังมาพร้อมคอนเซ็ปต์ “Inspire Your Design Everyday.” ที่พร้อมจุดประกายไอเดียสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นได้ทุกวันที่ Space

    EVERYTHING TEAM6 days ago
  • DESIGN/SHOWROOM

    เปิดโลกวัสดุปิดผิว เปิดไอเดียการออกแบบ เปิดประสบการณ์แห่งจินตนาการที่ Space Studio

    ชวนทุกคนมาเปิดมุมมองใหม่ในโลกของวัสดุปิดผิว (Surface Materials) ที่ Space Studio ที่เป็นมากกว่าโชว์รูมลามิเนตแห่งแรกของประเทศไทย

    EVERYTHING TEAMFebruary 2024
  • DESIGN/SHOWROOM

    คอนเทนเนอร์ที่ถูกออกแบบให้เป็นร้านล้างรถ by Archimontage Design Fields Sophisticated

    ตู้เหล็กในอุตสาหกรรมขนส่งถูกแปลงเป็นอาคารสามชั้น เป็นส่วนขยายของคาร์แคร์ และเตรียมสำหรับร้านอาหาร และออฟฟิศในเมืองทองที่ออกแบบโดย Archimontage Design Fields Sophisticated

    EVERYTHING TEAMMarch 2019
  • FASHION/SHOWROOM

    FASHION DIARY

    นอกเหนือจากแฟชั่นโชว์ใหญ่รอบเมือง ยังมีรองเท้า, เสื้อผ้า, กระเป๋า, เครื่องประดับของแบรนด์ต่างๆจากหลากประเทศรอบโลกที่เกิดจากการคัดสรรอย่างดีจากเหล่าดีไซเนอร์ชื่อดัง และถูกขมวดรวมอยู่ใน “Showroom” ที่กระจายอยู่ตามตัวเมืองปารีส

    Mark Maruwut5 years ago
  • DESIGN/GARAGE

    “PG” by AAd - Ayutt and Associates design Project Garage อาคารการาจและแกลเลอรี่ ที่เหมือนประติมากรรมชิ้นเอกท่ามกลางขุนเขา

    ในหมู่บ้านจัดสรรแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา ติดกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีสถาปัตยกรรมหลังหนึ่งที่ดูคล้ายงานประติมากรรมตั้งเคียงข้างขุนเขา นี่คือ PG หรือย่อมาจาก Project Garage ออกแบบโดย AAd - Ayutt and Associates design นี่ไม่ใช่บ้านพักอาศัย แต่คืออาคารที่ฟอร์มขึ้นจากแพสชั่นของเจ้าของบ้านผู้เป็นนักสะสมทั้งรถยนต์และงานศิลปะ

    EVERYTHING TEAMFebruary 2024
  • DESIGN/RESORT

    “Riva Vista Riverfront Resort” By IDIN Architects รีสอร์ทริมน้ำกก ที่กกกอดธรรมชาติและความเป็นพื้นถิ่น ภายใต้สถาปัตยกรรมร่วมสมัยมุมมองใหม่

    ให้ลองนึกถึงอาหารหนึ่งจานที่มีหลากวัตถุดิบพื้นถิ่นที่เรารู้จักดี แต่เมื่อผ่านการปรุงด้วยเทคนิคที่แตกต่าง ก็เกิดการรังสรรค์อาหารจานใหม่ให้เราพอได้สัมผัสถึงกลิ่นอายบางอย่างที่คุ้นเคย แต่ในขณะเดียวกันก็เผยรูปลักณ์ใหม่ที่ไม่เคยผ่านประสบการณ์รับรู้มาก่อน นี่คือคำเปรียบเผยสำหรับการอธิบายผลงานออกแบบโปรเจกท์ใหม่นี้ของ IDIN Architects ที่เกิดจากแนวคิด Deconstruct ในการนำความร่วมสมัยให้มาอยู่ร่วมกับเอกลักษณ์พื้นถิ่นภาคเหนือของไทย เกิดเป็นงานสถาปัตยกรรมที่สร้างความน่าสนใจใหม่

    EVERYTHING TEAM6 months ago
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION

We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )