The Rock House ปาล์มสปริงแห่งสามร้อยยอด by Sunday*Architects | IAMEVERYTHING.CO

LOOKING ON EVERYTHING ?

EXPLORE ON EVERYTHING

The Rock House ปาล์มสปริงแห่งสามร้อยยอด by Sunday*Architects
บ้านหลังใหญ่ในสามร้อยยอดที่มองไปแล้วด้วยรูปแบบอาจนึกว่าถูกสร้างมาหลายสิบปี แต่ถ้าลองดูดีๆ แล้วจะเห็นถึงความลงตัวของไลฟ์สไตล์ร่วมสมัย ความสวยงามของธรรมชาติ จนถึงความทรงจำของผู้อยู่อาศัย
  ‘‘บ้านไม่ควรตั้งอยู่ ‘บน’ เนินเขาหรือบนสิ่งใด หากแต่ควรเป็นส่วนหนึ่งของมัน บ้านและเนินเขาควรดำรงอยู่ร่วมกัน เพื่อความสุขยิ่งขึ้นแก่ทั้งสองฝ่าย” คำกล่าวของสถาปนิกผู้ทรงอิทธิพลอย่าง Frank Lloyd Wright ที่เคยได้นิยามอุดมคติของสถาปัตยกรรมที่นักออกแบบรุ่นหลังนำประโยคดังกล่าวมาขบคิดต่อยอดมากมาย The Rock House บ้านสวยที่ถูกสร้างขึ้น ณ สามร้อยยอด เป็นหนึ่งในผลผลิตนั้น
  เมื่อกล่าวถึงอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประขวบคีรีขันท์ ปฎิเสธไม่ได้ว่าสำหรับหลายๆ คนอาจหมายถึงแหล่งท่องเที่ยวที่ต้องไปสูดอากาศธรรมชาติเพื่อหลบความวุ่นวายในเมืองกรุงเป็นครั้งคราว แต่สำหรับการสร้างบ้านสักหลัง อาจเป็นหน้าที่ของสถาปนิกที่ต้องตอบโจทย์ให้ลึกซึ้งกว่า ทั้งในแง่ความทรงจำและประสบการณ์ของผู้อยู่อาศัย
  คุณป้อ สรัณ ไชยสุต และคุณปอน ปรัชญา วนากุล แห่ง Sunday* Architects บริษัทสถาปนิกผู้รับผิดชอบการออกแบบครั้งนี้ ได้รับโจทย์จากผู้อยู่อาศัยหลักๆสองอย่างได้แก่ ต้องการบ้านที่สร้างความรู้สึกคล้ายกับบ้านที่โตมาในวัยเด็ก และเห็นบ้านที่ตอบรับกับไลฟ์สไตล์ของเจ้าของบ้านที่ชอบเข้าสังคม และชอบกิจกรรมกลางแจ้ง ด้วยเหตุนี้คำตอบของผู้ออกแบบตัดสินใจใช้แนวคิด นำด้านนอกเข้าด้านใน ( Outside-in) และเลือกใช้สไตล์การออกแบบ Mid-Cenrury Modern กลิ่นอายแบบ Palm Springs California ที่ได้รับความนิยมมากในช่วงปี 50-60 ซึ่งเป็นขวบปีที่คาบเกี่ยวกับวัยเยาว์ของเจ้าของบ้าน ซ้ำยังเป็นสถาปัตยกรรมที่ให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมที่มีธรรมชาติสวยงาม เหมาะกับบริบทและโจทย์ที่ได้รับมา โดยมีคำกล่าวของ Frank Lloyd Wright ที่ยกมาข้างต้นเป็นหลักยึดในการออกแบบ
  เราสามารถเห็นวิธีการ ‘นำด้านนอกเข้าด้านใน’ ที่หลากหลายจากตัวบ้านไม่ว่าจะเป็นการใช้วัสดุอย่าง ‘หินแดง’ หินภูเขาที่พบได้เฉพาะพื้นที่ซึ่งปกติมักใช้ในการสร้างถนนซึ่งถูกนำมาเป็นวัสดุปิดผิวของผนังที่เห็นได้ทั้งภายนอกและในตัวบ้าน รวมถึงใช้หินเหล่านี้มาเป็นองค์ประกอบของการออกแบบภูมิทัศน์ภายนอก สเปซของบ้านที่ชั้นสามมีโซนสระว่ายน้ำเป็นกึ่งกลางแจ้ง เปิดรับทิวทัศน์สวยงามจากภายนอกและแสงธรรมชาติที่ถูกทอดผ่านมายังชั้นล่างที่โถงกลางมีเสปซเปิดโล่ง
  นอกจากการเลือกวัสดุแล้ว ความงามในแบบ Mid-Century Modern ถูกแสดงออกมาผ่านการใช้สีสันที่สดใสในตัวบ้าน ตั้งแต่บันไดสีเหลืองจนถึงโซฟาสีฟ้าน้ำทะเล และกำแพงหินสีแดงส่วนของภายนอกอาคารใช้สีในเอิร์ธโทน ที่มีความสดใสขณะเดียวกันก็สะท้อนรับกับบริบทของธรรมชาติภายนอก เอกลักษณ์สำคัญของสถาปัตยกรรมแบบ Mid-Century Modern คือการปูพื้นหินขัด (Terrazzo) และการใช้กราฟิกจากรูปทรงเรขาคณิตมาเป็นองค์ประกบในการออกแบบ ซึ่งสำหรับ The Rock House มีความน่าสนใจคือการใช้ผนังอิฐบล็อคที่มีลวดลายดังกล่าวมาเป็นช่องแสงที่ก่อให้เกิดกราฟิกของเงาที่มีความเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลา และมีประโยชน์ในการรับแสงปะทะจากทางทิศใต้ที่ต้องรับแดดช่วงกลางวันเป็นส่วนมา
The Rock House
  มีความน่าสนใจคือการใช้ผนังอิฐบล็อคที่มีลวดลายดังกล่าวมาเป็นช่องแสงที่ก่อให้เกิดกราฟิกของเงาที่มีความเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลาและมีประโยชน์ในการรับแสงปะทะจากทางทิศใต้ที่ต้องรับแดดช่วงกลางวันเป็นส่วนมาก
  สำหรับไฮไลท์ของบ้านหลังนี้อยู่โซนกึ่งภายนอกที่ชั้นสามซึ่งทำหน้าที่เหมือนเป็นคลับเฮาส์ รวมถึงมีสระว่ายน้ำเปิดรับทิวทัศน์สวยงามภายนอกเหมาะกับไลฟ์สไตล์ที่ชอบการเข้าสังคมของเจ้าของเป็นอย่างมาก รวมถึงการเลือกใช้ลวดลายเฟอร์นิเจอร์ซึ่งมีเซนส์ของความย้อนยุค ปลุกสไตล์ยอดนิยมช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองให้กลับมาทำหน้าที่อีกครั้ง บริเวณนี้จึงเป็นจุดที่สมบูรณ์แบบในการรับความงามแบบ Mid-Century Modern ขณะที่สามารถชมพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปพร้อมๆ กัน
  แม้ว่าในปัจจุบันสถาปัตยกรรม Mid-Century Modern อาจไม่ได้รับความนิยมมากเหมือนในอดีต และคนส่วนใหญ่อาจนิยมพักอาศัยในบ้านที่รายล้อมด้วยสถาปัตยกรรมร่วมสมัยท่ามกลางชุมชนเมืองที่มีตึกสูงและคอนโดหรูรายรอบ The Rock House จาก Sunday* Architect เป็นการตอบคำถามของการอยู่อาศัยที่ลงตัวของการอยู่ร่วมกับบริบทธรรมชาติ รสนิยมที่มีชีวิตชีวา และวิถีชีวิตของผู้อยู่อาศัยที่ส่งเสริมกันและกันเพื่อความสุขของทุกฝ่ายได้อย่างลงตัว
อิฐบล็อกคอนกรีตที่ถูกวางเป็นฉากรับแดดทิศใต้สร้างกราฟิกเงาของช่องแสงรอบตัวบ้าน
หินแดง หินที่พบจากภูเขาบริเวณสามร้อยยอดถูกนำมาใช้เป็นผนังอาคารและตกแต่งภูมิทัศน์
    TAG
  • architecture
  • design
  • interior
  • lifestyle

The Rock House ปาล์มสปริงแห่งสามร้อยยอด by Sunday*Architects

ARCHITECTURE/Architecture
6 years ago
CONTRIBUTORS
EVERYTHING TEAM
RECOMMEND
  • DESIGN/Architecture

    OB House by THE OTHERS บ้านที่ตอบโจทย์รสนิยมและตัวตนของผู้อาศัย ภายใต้สถาปัตยกรรมมินิมอลที่มีเอกลักษณ์

    บ้านหลังแรกที่สร้างขึ้นเองของคุณออมมี่ และคุณแบงค์ -ปรีดากร เมรเกรียงชัย Co-Founder แห่งแบรนด์ Gentle RAM บ้าน ที่ตอบโจทย์รสนิยมของทั้งสองที่หลงใหลในความ Timeless และการอยู่อาศัยที่อยู่สบาย เรียบง่าย พร้อมจัดระเบียบชีวิตในบ้านได้อย่างลงตัว บ้านที่ทุกพื้นที่ และทุกฟังก์ชั่นที่ทาง THE OTHERS ผู้ออกแบบได้ขบคิดมาอย่างพิถีพิถันไม่ต่างกับเสื้อผ้าที่เทรลเลอร์เมดให้พอดีกับเจ้าของบ้าน

    EVERYTHING TEAM4 months ago
  • DESIGN/Architecture

    เรียนรู้แนวคิด “Karamarishiro” ปรัชญาทางสถาปัตยกรรมของ Akihisa Hirata สถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่ทรงอิทธิพลระดับโลก

    หนึ่งในกิจกรรมจากเวที TOSTEM Asia Design Award (TADA) ซึ่งจัดขึ้นโดย TOSTEM เพื่อเฟ้นหาผลงานสถาปัตยกรรมในเอเชีย ที่มุ่งให้ความสำคัญกับเรื่องของธรรมชาติ ผสานเข้ากับนวัตกรรมการอยู่อาศัยสมัยใหม่ ตอบโจทย์ทั้งผู้ใช้งาน และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ซึ่งนอกจากผู้ชนะรางวัลจะได้ร่วมเดินทางไปรับรางวัลที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว ยังได้พบปะกับ Akihisa Hirata สถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงระดับโลก ที่มาแชร์มุมมองแนวคิดการออกแบบโปรเจกต์ต่าง ๆ ตั้งแต่งาน Installation Art บ้านพักอาศัย จนถึงอาคารสาธารณะ ซึ่งความน่าสนใจนอกเหนือจากเอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่ถ่ายทอดผ่านฟอร์ม และสเปซที่โดดเด่น และเป็นที่จดจำแล้วนั้น สำคัญคือปรัชญาหลักที่เป็นรากฐานความคิดของ Hirata สู่การพัฒนาเป็นสถาปัตยกรรมน่าทึ่งเหล่านั้น ซึ่งเราจะมาเจาะลึกแนวคิดที่ว่านั้นกัน

    By TOSTEM
    EVERYTHING TEAM5 months ago
  • DESIGN/Architecture

    เจาะลึกแนวคิด 2 ผลงานออกแบบจากภาคเหนือ ที่ชนะรางวัล TOSTEM ASIA DESIGN AWARD 2024

    ผสานบริบทธรรมชาติ สอดรับกับวัฒนธรรมท้องถิ่นได้อย่างลึกซึ้ง พร้อมถ่ายทอดสู่เอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรม ที่เติมเต็มทั้งสุนทรียศาสตร์ และตอบโจทย์การใช้ชีวิตผู้อยู่อาศัยได้ทุกมิติ คือจุดร่วมหลักของสองผลงานออกแบบบ้านที่ตั้งอยู่ใน 2 จังหวัดทางภาคเหนือ ที่คว้ารางวัล TOSTEM ASIA DESIGN AWARD 2024 (TADA 2024) ในกลุ่มประเภท “Special Mention for Sustainable Living” มาครอง

    By TOSTEM
    EVERYTHING TEAM5 months ago
  • DESIGN/Architecture

    เชื่อมบริบทธรรมชาติของเมือง Hefei สู่จิตวิญญาณของ 3 โชว์รูมเฟอร์นิเจอร์ชั้นนำในจีน ที่ออกแบบโดย HAS design and research

    ขึ้นชื่อว่าเป็นโปรเจกต์ออกแบบโดย HAS design and research ของสองสถาปนิกฝีมือแถวหน้าอย่าง คุณเจอร์รี่ หง (Jenchieh Hung) และคุณป้อ-กุลธิดา ทรงกิตติภักดี (Kulthida Songkittipakdee) แล้วนั้นรับรองว่ามิติที่ลึกซึ้งกว่าเรื่องของฟอร์มอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ทุกคนต่างทึ่งไปกับงาน“Aluminum Grotto and Public Ground” งานอินสตอลเลชันสุดอลังการที่จัดแสดงในงานสถาปนิก’67 ก็เป็นตัวอย่างของการผสานองค์ประกอบเรื่องของพื้นผิว-พื้นที่-โครงสร้าง-ฟังก์ชั่นให้เป็นหนึ่งเดียว ภายใต้ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ และเชื่อมระหว่างภูมิทัศน์ธรรมชาติ ศิลปะเชิงช่าง และวัสดุอุตสาหกรรมได้อย่างน่าตื่นตา มาถึงโปรเจกต์ใหม่ที่เป็นงานออกแบบรีเทลนี้ ทาง HAS ได้พยายามข้ามขนบบางอย่างของการออกแบบพื้นที่เชิงพาณิชย์ทั่วไป เพื่อสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับผู้ที่ได้ไปเยือน

    EVERYTHING TEAM6 months ago
  • DESIGN/Architecture

    SANS STUDIO BANGKOK by PHTAA LIVING DESIGN สตูดิโอที่สร้างเอกลักษณ์ภายนอก จากการนำแสงธรรมชาติเข้าสู่ฟังก์ชั่นภายใน

    กลายเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ในซอยจ่าโสด เมื่อเราได้พบกับอาคารสถาปัตยกรรมโมเดิร์นเรียบเท่ที่เต็มไปด้วยไดนามิคของเส้นสาย ส่วนคว้านโค้งซึ่งออกแบบมาเพื่อฟังก์ชั่น และเพื่อแสงธรรมชาติ เป็นอาคารโทนสีขาวสะอาดตาแต่ทำให้เราไม่อาจละสายตา กับเอกลักษณ์ดีไซน์ของอาคารที่ทอดตัวยาวพร้อมมีประภาคารเล็ก ๆ นี่คือ SANS STUDIO BANGKOK สตูดิโอแห่งใหม่ที่ก่อตั้งขึ้นโดยเจ้าของผู้สนใจในงานสถาปัตยกรรมและศิลปะการถ่ายภาพ หลังจากเรียนจบมาจากฝรั่งเศส โดยให้เป็นสตูดิโอที่รองรับงานถ่ายภาพ โปรดัคชั่น จนถึงอีเวนต์ ที่ได้ทาง PHTAA LIVING DESIGN มาเป็นบริษัทสถาปนิกออกแบบให้

    EVERYTHING TEAM2 years ago
  • DESIGN/Architecture

    “สถาปนา/สถาปัตยกัม” นิทรรศการแห่งการเฉลิมฉลอง 90 ปี ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะสถาปัตยกรรมแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีการเปิดให้เรียนในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมศาสตร์ ก่อตั้งโดย อาจารย์นารถ โพธิประสาท ในปี พ.ศ. 2476 และมีการเปิดใช้ตึกคณะสถาปัตยกรรมครั้งแรกในปี พ.ศ. 2484 จนต่อมาในปี พ.ศ. 2485 ภายใต้รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มี “ประกาศปรับปรุงอักสรไทย” ขึ้นเพื่อให้การสะกดคำในภาษาไทยกะทัดรัดและลดความซ้ำซ้อนของตัวอักษรลง ชื่อคณะสถาปัตยกรรม จึงถูกเปลี่ยนแปลงและใช้ชื่อว่า คณะสถาปัตยกัม อยู่นานถึงสองปี ก่อนจะมีการกลับมาใช้ชื่อเดิมอีกครั้ง (หลังจบสงคราม) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2487 เป็นต้นไป

    EVERYTHING TEAM2 years ago
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION

We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )