LOOKING ON EVERYTHING ?
EXPLORE ON EVERYTHING
เยือนสตูดิโอใหม่ของ Trimode ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การทำงานของคนรุ่นใหม่ พร้อมแนวคิดการทำงานของพวกเขากับก้าวสู่ปีที่ 13 ในวงการออกแบบ




ตัวอักษรกลับด้านของคำว่า “Tangible” ถูกเขียนไว้บนผนังด้านบน ที่ต้องใช้วิธีอ่านผ่านกระจกเงาที่หน้าตึก เป็นด่านแรกให้ผู้มาเยือนค่อยๆ เริ่มทำความรู้จักกับตัวตนและแนวคิดความเป็น Trimode “การทำนามธรรม หรือภาพในจินตนาการ ให้เป็นรูปธรรม ที่สัมผัสและจับต้องได้นั้น เราเรียกมันว่า Tangible ดังนั้นเราจึงมองว่าทุกอย่างที่เรากำลังสร้างสรรค์ คือเปลี่ยนจากภาพสองมิติให้เป็นสามมิติ”
“อีกมุมมองหนึ่งคือ เราต้องการเปลี่ยน Angle ในการมองวัสดุและสิ่งต่างๆ โดยการลงมือทำเลย เช่น ให้วัสดุที่กำหนดการรับรู้ว่าอยู่บนพื้นให้ไปอยู่บนผนังแทน เพื่อให้มุมมองใหม่แก่น้องๆ ครีเอทีฟดีไซเนอร์ในการเปลี่ยนแปลง และไม่จำกัดความคิดตามความเข้าใจพื้นฐานของคนบนโลก”

“ข้อดีของออฟฟิศที่ทำงานร่วมกันหลายสาขา คือ เกิดการ Cross วัสดุ และเทคนิคได้ อย่าง วัสดุของงานอินทีเรีย สามารถนำมาใช้กับงานเครื่องประดับ หรือผลิตภัณฑ์ได้ ในขณะเดียวกันเทคนิคของงานจิวเวลรี่ ก็สามารถใช้กับงานเฟอร์นิเจอร์ หรืองานตกแต่งอินทีเรียได้ เพียงแต่ต้องเลือกหยิบจับ ปรับมุมมอง หรือประยุกต์ใช้ ไม่ต่างกันกับการออกแบบออฟฟิศนี้”
ออฟฟิศที่เป็นทั้ง Cafe และ Lifestyle Shop ในตัว
“เราพูดกันมาตั้งแต่ 10 ปีที่แล้ว เวลามีคนมาสัมภาษณ์ว่าเรามองตัวเองใน 10 ปีข้างหน้าอย่างไร เราก็ตอบว่าอยากมี Lifestyle Shop เป็นของตัวเอง มีไลฟ์สไตล์ทุกอย่างที่เราเป็น เราชอบ และมีแพสชั่น เมื่อมองย้อนไปเรา ก็คิดว่าตอนนี้แหละที่เราพร้อมทำให้เป็นรูปเป็นร่างแล้ว”

คือคอนเซ็ปต์ในการออกแบบสเปซออฟฟิศใหม่ของ Trimode ให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การทำงานของคนรุ่นใหม่ ที่ต้องการความเป็นอิสระ “เราเรียนรู้จากออฟฟิศเก่าว่าน้องๆ ไม่ค่อยนั่งโต๊ะตัวเองสักเท่าไหร่ แต่จะไปนั่งตรงพื้นที่ส่วนกลาง หรือในสวนบ้าง ดังนั้นการออกแบบออฟฟิศนี้จึงไม่ได้จำกัดพื้นที่ทำงานแค่คนละ 4 หรือ 5 ตารางเมตรต่อคน แต่ทุกที่เป็นที่สำหรับเขา”



ส่วนชั้น 2 เป็น Multi-function Space มุมที่น้องๆ ในออฟฟิศสามารถเปลี่ยนบรรยากาศมานั่งทำงาน หรืออาจเป็นใช้พื้นที่พรีเซนต์งาน ประชุม Brain Storm จนถึงจัดเวิร์กชอป เป็นต้น “ไม่ต้องจำกัดฟังก์ชั่นพื้นที่ครับ คนที่มาอยากมาดื่มกาแฟ หรืออยากมานั่งทำงาน ก็จะได้เจอเวิร์กชอป เรียนจัดดอกไม้ การปั้นเซรามิก หรือวาดสีน้ำ แล้วแต่ว่าจะเจออะไรที่เขาอาจอยากเรียนรู้ไปกับมันครับ” ถัดไปชั้นที่ 3 และ 4 จัดสัดส่วนเป็นห้องทำงานของนักออกแบบกว่า 15 ชีวิต ส่วนชั้นบนสุดเป็น Rooftop พร้อมห้องประชุมใหญ่ ส่วนบ้านหลังเก่าที่เคยถูกใช้เป็นออฟฟิศมาเป็น 10 ปีนั้น จะถูกเปลี่ยนฟังก์ชั่นเป็นสถานที่ทำงานเวิร์กชอปของพวกเขาแทน


ที่นี่เป็นเหมือนสนามทดลอง ให้พวกเขาได้สนุกกับการเล่นวัสดุต่างๆ ด้วยการลงมือทำจริง ผ่านการประยุกต์ใช้วัสดุในบริบทที่แตกต่างออกไป เช่น งานคิ้วอลูมิเนียมต่าง ๆ ที่ปกติอยู่ตามหัวบันไดหรือมุมเสา พวกเขาเปลี่ยนฟังก์ชั่นเป็นวัสดุตกแต่งผนัง ที่ทำให้เกิดเอฟเฟกต์ในมุมมองใหม่ๆ นี่คือ “ความไม่จำกัดตายตัว” และ “งานทดลอง” ด้านวัสดุ ที่พวกเขาพลิกมุมมองพร้อมเปลี่ยนฟังก์ชั่นใหม่ให้เกิดบางสิ่งชวนน่าสังเกต “เราอาจเคยแค่มองว่าสวย หรูดูแพง หรือดูดิบเท่ แต่ตอนนี้เราต้องการเรียนรู้ว่าวัสดุนั้นทำให้เรารู้สึกอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นความสุข ความเศร้า หรือพลังบางอย่าง ในบริบทต่าง ๆ กัน ในสภาวะแสงต่าง ๆ กัน”
ออฟฟิศนี้จึงเต็มไปด้วยงานวัสดุที่คอนทราส อย่างผนังและพื้นที่ฟินิชชิ่งปูนแบบดิบๆ ที่ตัดด้วยงานตกแต่งจากวัสดุโลหะพื้นผิวมันวาว “ออฟฟิศเก่าแสงจะมืดกว่า มีความ Dramatic ด้วยงานตกแต่งจากโลหะ หนัง และไม้สไตล์ดิบๆ แต่ออฟฟิศใหม่นี้จะให้ความรู้สึก Energetic กระฉับกระเฉง คล่องตัว มีชีวิตชีวา และสร้างความไหลลื่นทางความคิด”


“เพราะการทำงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกับสเปซ ทำให้เราต้องเกี่ยวข้องกับคนเยอะมาก ทั้งสถาปัตยกรรม อินทีเรีย วิศวะ งานระบบ งานไฟฟ้า งานประปา งานสุขาภิบาล ปรับอากาศ งานจัดสวน งานสไตลิสต์ เยอะแยะไปหมดเลย เพราะฉะนั้นเราจะได้เห็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ในสายงานวิชาชีพของเราเยอะมากขึ้น ทำให้เห็นว่าโลกยุคต่อไป เป็นยุคที่ต้อง Cooporation กันในหลาย ๆ หน้าที่ หลาย ๆ บทบาท”
“ออฟฟิศใหม่เลยออกแบบ Composition พื้นที่ให้ไม่ตายตัว เมื่อเราเดินจากสเปซระยะหนึ่งไปสู่อีกระยะหนึ่ง จะมองเห็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่ลื่นไหลไปเรื่อยๆ เกิดเป็น Creative Flow Space ไม่ต่างกับสมองด้านสร้างสรรค์ของมนุษย์เราที่จะพัฒนาและลื่นไหลไปเรื่อยๆ เราอยากสร้างสเปซที่เปิดความคิดสร้างสรรค์ ไม่อยากให้ฟินิชชิ่งทุกอย่างมันจบในตัว แต่อยากให้เวลาที่เดินผ่านทุกๆ วัน แล้วเกิดคำถาม หรือต่อยอดทางความคิดไปได้เรื่อยๆ”
“อีกอย่างนักออกแบบต้องเป็นคนช่างสังเกต ไม่ว่าจะเรื่องการใช้ชีวิต หรือสิ่งต่าง ๆ รอบตัว เราก็อยากให้นำความช่างสังเกตเข้ามาใช้ในระหว่างการทำงานด้วย เพราะบางทีเราอาจจะไปเจอไอเดียหรือมุมมองอะไรใหม่ๆ ในระหว่างทาง ซึ่งอาจจะไม่ใช่สิ่งที่เราตั้งเป้าหรือคิดไว้ตั้งแต่แรกก็ได้”
“สมัยก่อนตอนเรายังเด็ก เราก็จะมองแต่ผลลัพธ์ปลายทาง แต่ตอนนี้เราพยายามให้ทุกขั้นตอนการทำงาน เป็นความสนุกและสร้างความภูมิใจ เพื่อให้ปลายทางความสุขนั้นยั่งยืน ไม่ใช่สุขแป๊บเดียวแล้วหายไป ดังนั้นเราจะคุณค่าอย่างมากกับการคิดคอนเซ็ปต์ เพื่อสร้างคุณค่าทางจิตใจให้กับทั้งผู้ผลิต นักออกแบบ และลูกค้า ไม่ว่าจะผลิตภัณฑ์สินค้า หรืองานโปรเจกท์ที่เราออกแบบ มันจะต้องสร้างความประทับใจ หรือสร้าง Emotion ให้คงอยู่ไปตลอด ไม่ใช่เป็นผลิตภัณฑ์ที่หมดซีซั่นแล้วก็โยนมันทิ้งไป แต่เป็น Collectible Piece ที่คนอยากเก็บไว้”

Trimode เป็นสำนักออกแบบที่อยู่กันแบบเป็นครอบครัวเล็กๆ โดยมีนิ หงส์ และหยก เปรียบเสมือนโค้ชพี่ใหญ่ที่คอยผลักดันให้น้องๆ เรียนรู้วิธีการใหม่ๆ ในการทำงาน พร้อมโจทย์ที่ให้คิดจนเป็นวัฒนธรรมองค์กรเลยว่า “จะทำอย่างไรให้เวลาที่เราทำงานจริงตอนนี้ เป็นเวลาที่แท้จริงบนโลก”
“คืออย่างนี้ครับ เรารู้สึกว่าเวลาบนโลกตอนนี้มันสั้นลงด้วยเทคโนโลยี จะทำอย่างไรให้เราทำงานแมตช์กับเวลาบนโลกในวงการครีเอทีฟ มันอาจทำให้มันเร็วขึ้นได้ด้วยประสบการณ์ แต่สำหรับน้องๆ ที่ยังไม่มีประสบการณ์มากเท่าไหร่ ก็ต้องทดลองหาอะไรมาช่วยในการทำงานและหาวิธีการที่จะตอบโจทย์ได้อย่างเหมาะสมกับโลกปัจจุบัน” พวกเขายกตัวอย่างการนำแนวคิดมาประยุกต์กับการทำงานคอลเลคชั่นเครื่องประดับ คือ การคิดหาวิธีการจัดการให้ผลิตงานได้เร็วขึ้น โดยใช้นวัตกรรมการออกแบบหรือวิธีการบางอย่างที่ช่วยให้ผลิตง่าย ประหยัดต้นทุน ทั้งสามารถผลิตงานที่มีเอกลักษณ์ออกมาได้ “สิ่งที่เราเน้นมากสุดคือ Quality ไม่ใช่ Quantity ดังนั้นเราจะพยายามหาโซลูชั่น วิธีการ หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะทำให้เมื่อประหยัดเวลาแล้วยังแม็ตซ์กับเรื่อง Quality ได้ด้วย”
ยกตัวอย่าง โปรเจกท์งานออกแบบจิวเวลรี่ล่าสุดของ Trimode Accessory ว่าด้วยการ ‘จำกัดเพื่อปลดปล่อย’ “เราตั้งโจทย์เรื่องการจำกัดวิธีการผลิตไว้ เช่น ห้ามใช้ความร้อนใด ๆ ในการทำจิวเวลรี่ เป็นแนวคิดการจำกัดวิธีการผลิตเพื่อปลดปล่อยความคิดของผู้ออกแบบ ด้วยเราไม่ใช่โรงงานผลิต จึงหันมาใช้ความถนัดของเราในด้านความคิดและมุมมองการออกแบบ มาคิดหาวิธีเพื่อลดเวลาหรือลดตุ้นทุนการผลิต เช่น เราจะนำวัตถุดิบจากอุตสาหกรรมมาจัดการอย่างไร โดยที่ไม่ต้องผ่านกระบวนการผลิตเครื่องประดับในรูปแบบเดิมที่มีหลายขั้นตอน” เป็นที่มาของเครื่องประดับคอลเลคชั่น Tube Research ที่ทำจากท่อโลหะจากระบบอุตสาหกรรมที่ผลิตแบบ Mass Production โดยเขาใช้วิธีชิ้นเชิงการออกแบบและแง่มุมการจัดการให้เข้ากับโจทย์และธีมคอนเซ็ปต์
“เพราะงานส่วนใหญ่ของเรามันเป็น Comercial Space และงานรีเทลด้วย ซึ่งงานเหล่านี้ต้องการความน่าสนใจ และความน่าตื่นเต้น เราจึงมีหน้าที่สร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับผู้ที่เข้ามาใช้งานในพื้นที่ ทำให้เราสนใจที่จะคุยกับ Engineer ต่างๆ เพื่อที่จะนำเทคโนโลยีมาผนวกเข้ากับดีไซน์ให้เกิดเป็น Art Piece ที่ทำหน้าที่ตกแต่งสเปซให้เกิด Emotional และ Experience ใหม่ ๆ ขึ้น ให้เทคโนโลยีสัมผัสกับ Fine Art และสัมผัสกับเรา”
“นอกจากคุยกับวิศวะแล้ว เรายังเคยปรึกษากับคุณหมอว่า เราจะสามารถวัดคลื่น หรืออัตราการเต้นต่างๆ ของอวัยวะภายในร่างกายเรา แล้วเปลี่ยนค่าสู่การประมวลผลที่สามารถชี้วัดได้ในทางวิศวกรรมหรือโรบ็อต จากนั้นสามารถพิมพ์ Output ออกมามาเป็น 3D Print ได้ ซึ่งเราเรียกมันว่า Live Pixel พิกเซลที่มีชีวิต เพราะฉะนั้นหน้าตาของพิกเซลแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน เหมือนมีอาร์ตพีซของตัวเอง ที่ค่าความเข้มอ่อนของสีจะแตกต่างกันตามระดับอุณหภูมิของเราร่างกาย หรือในแต่ละวัน เป็นโปรเจกท์ที่เรากำลังทดลองอยู่ และรู้สึกตื่นเต้นดี”



“สิ่งเหล่านี้ทำให้เรารู้สึกว่า เราทำงานต่อแล้วเราสนุก เราไม่อยากหยุดคิด ไม่อยากหยุดที่จะนั่งคุยหรือนั่งทดลองกับมัน เพราะว่ามันเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญจากข้างในที่ทำให้เรากลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง และรู้สึกสดใหม่ตลอดเวลา เพราะพื้นฐานของ Trimode เป็นบริษัทออกแบบเชิงทดลอง และตั้งคำถามปลายเปิดไว้อยู่เสมอ ไม่ว่าจะการทดลองกับวัสดุ หรือนวัตกรรม แม้แต่การได้นำภูมิปัญญา กระบวนการ หรือวัตถุดิบดั้งเดิมที่เราเคยมองข้าม ให้กลับมาอยู่ในบริบทของยุคสมัยใหม่ ก็เป็นความสนุกท้าทายอย่างหนึ่ง”
“ไม่ว่าจะเป็นภาพ บรรยากาศ ดนตรี แสง หรือส่วนประกอบต่างๆ สำคัญกับพวกเรามากจริงๆ ที่เราชอบตึกนี้ เพราะเป็นตึกหัวมุมที่มีกระจกสองด้านให้ความรู้สึกโปร่ง เปิดรับแสงธรรมชาติ บวกกับมองเห็นพื้นที่สีเขียวด้านนอก ทำให้เรารู้สึกสดชื่น และได้รับพลังงานที่ดี”
“ดังนั้นมนุษย์ในสายครีเอทีฟอย่างเราจะให้ความสำคัญกับเรื่องของสเปซมาก เมื่ออยู่ในบริบทไหน บริบทนั้นจะนำพาเราไปซึ่งมุมมอง หรือซึ่งอารมณ์อะไรบางอย่างได้รวดเร็วกว่า”
เมื่อออฟฟิศ คาเฟ่ โชว์รูม รวมอยู่ใน Creative Flow Space แห่งใหม่ของ Trimode
/
ห้องแล็บลับใต้ดิน ศูนย์บัญชาการอวกาศในหนัง Space Age ลานโรลเลอร์สเก็ตยุค 80s... นี่คือสิ่งที่กำลังตีกันยุ่งเหยิงในหัวเราเมื่อเห็นอาคารหน้าตาแปลกประหลาดลักษณะเป็นโดมกระจกครอบไว้ด้านนอกผุดขึ้นมากลางลานสโมสรของหมู่บ้าน แต่เมื่อเดินลงบันไดที่ซ่อนอยู่ตรงนั้น ทอดยาวไปสู่ชั้นใต้ดินด้านล่าง เรากลับพบความรู้สึกประหลาดยิ่งกว่า!
/
ในครั้งแรกที่เรามีโอกาสได้เดินทางไปยังเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ นอกจากความตั้งใจในการชมงานศิลปะชั้นเยี่ยมในพิพิธภัณฑ์ชั้นนำของโลกที่นี่แล้ว ความหวังอีกอย่างคือการได้เยี่ยมเยือนสตูดิโอดีไซน์ในดวงใจของเรามาเนิ่นนาน สตูดิโอแห่งนี้มีชื่อว่า droog นั่นเอง
/
‘DOT.X’ ดีไซน์สตูดิโอ การรวมตัวกันของคนเจนฯ ใหม่ที่ทำงานบนความหลากหลาย ลื่นไหล และพร้อมปรับตัวไปกับทุกภารกิจที่ถาโถมเข้ามา เพื่อจัดการความชอบของผู้คนให้เข้าที่เข้าทาง
/
ก่อนที่ทุกคนจะได้สัมผัสนาฬิกาชั้นสูงเรือนจริงที่บูทีคของ Grand Seiko แห่งแรกในประเทศไทย ที่เกษรวิลเลจ เราจะพาเจาะลึกไปยังเบื้องหลังแหล่งกำเนิดที่จะตอบคำถามได้ว่าทำไมนาฬิกา Grand Seiko จึงได้รับการยกย่องให้เป็นหัตถศิลป์แห่งเครื่องบอกเวลาระดับโลกที่คู่ควรแก่การสะสมและครอบครอง
/
ครั้งแรกในรอบ 8 ปีที่คุณตุ่ย - ขวัญชัย สุธรรมซาว ผู้ก่อตั้งบริษัทสถาปนิกแผลงฤทธิ์ ปรากฏตัวในหน้าสื่ออีกครั้ง หลังจากหมกมุ่นอยู่กับการทดลองเพื่อค้นหามุมมองใหม่ๆ ที่ลงลึกไปมากความงามภายนอกของงานสถาปัตยกรรม เพื่อความยืนหยัดอยู่รอดของอาชีพสถาปนิกในต่างจังหวัด
/
ภายใต้บรรยากาศบ้านๆ สถาปนิกและนักออกแบบสร้างสรรค์ผลงานที่มีมากกว่าบ้าน ภายใต้ชื่อสำนักงานจูน เซคิโน อาร์คิเทคต์ แอนด์ ดีไซน์ บ้านเก่าที่ยังคงเอกลักษณ์ของรูปแบบสถาปัตยกรรม Post Modern ซึ่งมักจะเห็นในบ้านจัดสรรยุค 60-70
We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )