LOOKING ON EVERYTHING ?
EXPLORE ON EVERYTHING
DESIGN:——
IN RESIDENCE
เปลี่ยนธรรมชาติของเขาใหญ่เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์เสียงดนตรี Erix Design Concepts กับการออกแบบบ้านพักตากอากาศที่มีรูปลักษณ์แบบโรงนากับบรรยากาศเรียบง่าย อยู่สบาย และมีที่ว่างไว้ให้ป๊อด ธนชัย อุชชิน ได้ค้บพบความคิดดีๆ กับอิสระในการทำเพลง
Owner:
Thanachai Ujjin
Architect:
Erix Design Concepts
Nattapak Phatanapromchai
Peempat Kodstree
Watcharawut Kokanutpong
Lighting Designer:
Lightboxplus Co., Ltd.
Writer:
Dorsakun Srichoo
Photographers:
Binn Buameanchol
Tanit Phramthed
“ก่อนท้องฟ้าจะสดใส...ก่อนความอบอุ่นของไอแดด” บ้านสีเทาเข้มเตรียมตัวต้อนรับธรรมชาติกับบรรยากาศสบายๆ พร้อมสายลมจากเขาใหญ่ให้พัดเข้ามาเติมเต็มบรรยากาศที่เรียบง่ายภายในบ้านที่เปิดโล่งใต้หลังคาจั่วทรงสูงแบบโรงนาของป๊อด ธนชัย อุชชิน “ผมอยากมีบ้านที่อยู่กับธรรมชาติมาประมาณสิบปีแล้วนะ” ธนชัยผู้เป็นเจ้าของบ้านกล่าว “อากาศที่มัน Fresh หรือว่าแสง ประสาทสัมผัสของเรามันได้สัมผัสกับลม ซึ่งปกติเราไม่ได้ปะทะกับลมแบบนี้ในชีวิตประจำวันเลย”
จากความต้องการบ้านที่อยู่กับธรรมชาติ ณัฐภาคย์ พัฒนาพรหมชัย นำทีมสถาปนิกจาก Erix Design Concepts ออกแบบบ้านพักตากอากาศหลังนี้ให้สอดคล้องและกลมกลืนกับต้นไม้ ไร่นา และวิวภูเขาที่อยู่รอบข้าง อีกทั้งยังสะท้อนบุคลิกและความต้องการเจ้าบ้านออกมาอย่างลงตัวในเวลาเดียวกัน
บนที่ตั้งซึ่งแวดล้อมด้วยธรรมชาติ และอากาศสดชื่นของเขาใหญ่ การออกแบบบ้านหลังนี้มีจุดเริ่มต้นจากโจทย์ที่เจ้าของต้องการบ้านสำหรับการพักผ่อนในบรรยากาศง่ายๆ โดยมีพื้นที่โล่งๆ ไว้รองรับกิจกรรมต่างๆ ของเขา เพื่อนๆ และแขกที่แวะมาหาความสงบ ที่นี่เป็นครั้งคราว “จริงๆ แล้วความต้องการมีน้อยมากเลยนะ ฟังก์ชั่นของเขามีไม่เยอะมาก” ณัฐภาคย์เล่า “สิ่งที่พี่ป๊อดต้องการคือความโล่ง มีพื้นที่ให้ใช้ทำงานได้ มีหนึ่งห้องนอน และมีชั้นลอยเป็นที่ซึ่งเพื่อนๆ มาแล้วกลิ้งไปกลิ้งมาได้”
จากความโล่งของพื้นที่สู่ความเบาสบาย ของการจัดวางองค์ประกอบต่างๆ ภายในบ้าน ข้าวของเครื่องใช้ทุกชิ้นล้วนผ่านการคัดเลือกอย่างถ้วนถี่โดยผู้เป็นเจ้าของบ้าน เพื่อคัดสรรเฉพาะสิ่งที่ทำให้เขามีอาการหัวใจเต้นแรงและรู้สึกดีทุกครั้งที่เห็น “ปกติชีวิตมันเต็มไปด้วยข้าวของ มันเต็มไปด้วยเรื่องที่เข้ามาปะทะกับเราเยอะ ก็เลยคิดว่าถ้าเราได้อยู่ในที่ที่มันโล่งที่สุด มันน่าจะทำให้เราเบาสบาย” ธนชัยอธิบาย “ก็เลยเป็นที่มาของบ้านหลังนี้ คือเป็นบ้านที่โล่งแบบศาลาวัด มันให้ความรู้สึกสงบ เหมือนกำลังนั่งเจริญสติอยู่ เพราะที่นี่ชื่อวิลล่าสติ”
อาคารหลังคาจั่วที่มีหน้าตาคล้ายโรงนากลายเป็นคำตอบที่ลงตัวกับโจทย์ความต้องการจากเจ้าของบ้าน Living Area ของบ้านมีลักษณะเป็นพื้นที่เปิดโล่งที่ทำหน้าที่คล้ายผืนผ้าใบว่างเปล่า เปิดโอกาสให้ผู้อยู่อาศัยสามารถเลือกทำกิจกรรมต่างๆ แต่งแต้มลงไปในที่ว่างได้ตามความต้องการ นอกจากนั้น ใต้หลังคาจั่วทรงสูงยังมีพื้นที่เพียงพอสำหรับจัดสรรเป็นชั้นลอยที่สามารถรองรับการใช้สอยที่หลากหลายอีกด้วย “มันคือการใช้ประโยชน์จากความสูงของหลังคา” ณัฐภาคย์อธิบาย “ชั้นลอยก็เป็นพื้นที่โล่งซึ่งเป็นสามเหลี่ยมหน่อยๆ มันเป็นพื้นที่อเนกประสงค์ นอนได้ นั่งเล่นกีต้าร์ได้ นั่งอ่านหนังสือได้ มีหลายๆ มุมให้เลือกได้ว่าอยากจะอยู่ตรงไหน”
ความโล่งภายในบ้านเชื่อมต่อและเปิดรับธรรมชาติที่แวดล้อมอยู่ภายนอกเข้ามาผ่านผนังกระจกบานเลื่อนผืนใหญ่ที่ล้อมอยู่ทั้งสามด้านของห้องโถง ประกอบกับการวางผังอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตามแนวยาวโดยสัมพันธ์กับทิศทางของดินฟ้าอากาศในที่ตั้ง ทำให้แสงแดดและสายลมเข้ามาเป็นสมาชิกสำคัญของบ้านหลังนี้ “ข้อดีของที่ดินตรงนี้คือลมดีมากและไม่มีอะไรมาบัง” ณัฐภาคย์อธิบาย “เราเลยทำอาคารที่มีลักษณะโล่ง อากาศถ่ายเทดี รับลมรับแดดพอดี ลมจะผ่านทางนี้ทั้งปี อยู่ที่นี่แทบไม่ต้องเปิดพัดลมเลย”
ผังอาคารที่เรียบง่ายตรงไปตรงมามีการไล่ลำดับการเข้าถึงของพื้นที่ใช้งานส่วนต่างๆ และการจัดองค์ประกอบของบ้าน ทั้งกำแพงสูงด้านหน้าบ้าน ผนังห้องนอน ไปจนถึงการใช้ต้นไม้ภายนอก ทำให้บ้านที่เปิดโล่งหลังนี้ไม่เพียงเปิดรับบรรยากาศของธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในบ้าน หากยังทำให้เกิดความเป็นส่วนตัวปราศจากสิ่งรบกวนภายนอก ทั้งรถราบนท้องถนนและเพื่อนบ้านข้างเคียง “เราใช้วิธีการเรียงลำดับของฟังก์ชั่นในแต่ละห้อง” ณัฐภาคย์อธิบาย “ข้างหน้ามีผนังเป็นตัวกั้นโดยที่ยังมีช่องเปิดให้ลมและแสงเข้ามา ฝั่งถนนมีต้นไม้บังทำให้เกิด Privacy ด้านขวาของที่ดินก็เป็นสวนยาง ส่วนที่เหลือมันเป็นแค่ทุ่งที่โล่งกว้างเปิดรับวิวไปถึงภูเขา”
วัสดุที่เลือกใช้และเทคนิคในการก่อสร้างมีการนำเอกลักษณ์แบบไทยๆ มาประยุกต์ใช้และผสมผสานความร่วมสมัยเข้าไปอย่างลงตัว ตั้งแต่ผนังไม้ตีเกล็ดติดตายสีไม้ธรรมชาติที่อยู่ร่วมกับแผงวีว่าบอร์ดสีดำภายในบ้าน ไปจนถึงหลังคามุงกระเบื้องหม่อมแบบดั้งเดิมที่ได้รับการปรับโฉมให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้นด้วยการใช้สีพิเศษเป็นสีเทาเข้ม “วิธีการก่อสร้างมีการผสมกัน ฐานรากข้างล่างเป็นปูน เรือนใหญ่เป็นโครงสร้างไม้ โครงหลังคาเป็นโครง Truss ไม้ มีผนังข้างล่างบางส่วนเป็นก่ออิฐฉาบปูน มันเป็นการ Adapt เอาบ้านไทยมาทำใน Scale ที่เปลี่ยนความสูงจากความเป็นบ้านมาเป็นโถงสูง” ณัฐภาคย์เล่า “ของที่ใช้เป็นไทยหมดเลย ทั้งหลังคากระเบื้องหม่อมและผนังโครงไม้ตีเกล็ดติดตาย”
รูปทรงบ้านที่ดูเรียบง่ายในบรรยากาศที่นิ่งและสงบเกิดจากแนวคิดที่ต้องการสะท้อนตัวตนและบุคลิกเจ้าของบ้านออกมาในการออกแบบที่สงบนิ่ง เปิดรับบรรยากาศจากภายนอกให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบภายในบ้าน และเปิดโอกาสให้เจ้าของได้ลองค้นหาแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการสร้างสรรค์ผลงาน “สิ่งที่แปลกคือความคิดดีๆ มันชอบแว่บเข้ามาเวลาที่อยู่บ้านหลังนี้” ธนชัยกล่าว “คือเรารู้สึกอยากจะทำดนตรี ทำงานที่มันมีความลอยตัวมีความเป็นอิสระ แต่งเพลงที่มัน Simple มากๆ หรือว่าเราลอง Mix เพลงเลยดูมั้ย”
ในบ้านที่เรียบง่ายหลังนี้ องค์ประกอบต่างๆ ได้รับการลดทอนให้เหลือไว้เพียงแค่ส่วนที่เป็นเนื้อหาสาระสำคัญโดยไม่มีส่วนตกแต่งที่เกินจำเป็น โครงสร้างส่วนฐานของบ้านเป็นคอนกรีตเรียบๆ เผยให้เห็นใต้ถุนที่เปิดโล่งอย่างตรงไปตรงมา ระเบียงไม้รอบบ้านซึ่งไม่สูงจากพื้นมากนักจึงไม่มีราวกันตกและมีเพียงหินก้อนใหญ่ตั้งไว้ใช้แทนบันไดขึ้นลง แม้แต่โครงสร้างหลังคาไม้ก็เผยให้เห็นจันทันยื่นออกมาจากชายคาโดยไม่มีเชิงชายมาตกแต่ง “จริงๆ มันคือตัวพี่ป๊อดเต็มๆ เลยนะ ความเรียบง่ายที่ไม่ซับซ้อนเกินไป” ณัฐภาคย์อธิบาย “อะไรที่เยอะเกินเราก็ตัดทิ้ง เพราะมันไม่จำเป็นต้องมี เราเลือกที่จะโชว์โครงสร้างให้ชัดเจน เลือกดึงบาง Detail ออก เพื่อที่จะให้เห็น Fine Line ของบ้าน”
ท่ามกลางสีสันของธรรมชาติแวดล้อม ผนังและหลังคาสีเข้มทำให้บ้านหลังนี้ค่อยๆ ละลายหายเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งกับบริบทรอบข้างอย่างกลมกลืน “เราคิดว่าสีเทาเข้มกับสีเขียวของธรรมชาติมันน่าจะไปด้วยกันได้มากที่สุด” ณัฐภาคย์พูด “เราใช้สีเข้มในการทอนอาคารที่ขนาดค่อนข้างใหญ่ให้ค่อยๆ หายไป ธรรมชาติที่เป็นต้นไม้ที่อยู่รอบนอกก็เด่นขึ้นมา”
โลกภายนอกมีดอกไม้นานาพรรณ สีสันมากมายกันไป บ้านหลังนี้มีห้องโถง และชั้นสอยที่เปิดโล่งเหมือนผืนผ้าใบว่างเปล่าไว้รองรับกิจกรรมต่างๆ มากมาย มีระเบียงไม้ไว้ให้นั่งห้อยขาลงมาสบายๆ สัมผัสกับสายลมแผ่วพริ้วลิ่วลอยมา ปล่อยให้แสงแดดอ่อนๆ สาดส่อง สายตาพลันสว่างขึ้นมาที่บ้านทรงโรงนาอันสงบ และเรียบง่ายของผู้ชายที่รักติ๋มคนเดียวไม่เคยจะเหลียวใคร
VILLA SATI บ้านตากอากาศเพื่อการเจริญสติ ของป๊อด ธนชัย อุชชิน
/
ผสานบริบทธรรมชาติ สอดรับกับวัฒนธรรมท้องถิ่นได้อย่างลึกซึ้ง พร้อมถ่ายทอดสู่เอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรม ที่เติมเต็มทั้งสุนทรียศาสตร์ และตอบโจทย์การใช้ชีวิตผู้อยู่อาศัยได้ทุกมิติ คือจุดร่วมหลักของสองผลงานออกแบบบ้านที่ตั้งอยู่ใน 2 จังหวัดทางภาคเหนือ ที่คว้ารางวัล TOSTEM ASIA DESIGN AWARD 2024 (TADA 2024) ในกลุ่มประเภท “Special Mention for Sustainable Living” มาครอง
By TOSTEM/
ขึ้นชื่อว่าเป็นโปรเจกต์ออกแบบโดย HAS design and research ของสองสถาปนิกฝีมือแถวหน้าอย่าง คุณเจอร์รี่ หง (Jenchieh Hung) และคุณป้อ-กุลธิดา ทรงกิตติภักดี (Kulthida Songkittipakdee) แล้วนั้นรับรองว่ามิติที่ลึกซึ้งกว่าเรื่องของฟอร์มอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ทุกคนต่างทึ่งไปกับงาน“Aluminum Grotto and Public Ground” งานอินสตอลเลชันสุดอลังการที่จัดแสดงในงานสถาปนิก’67 ก็เป็นตัวอย่างของการผสานองค์ประกอบเรื่องของพื้นผิว-พื้นที่-โครงสร้าง-ฟังก์ชั่นให้เป็นหนึ่งเดียว ภายใต้ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ และเชื่อมระหว่างภูมิทัศน์ธรรมชาติ ศิลปะเชิงช่าง และวัสดุอุตสาหกรรมได้อย่างน่าตื่นตา มาถึงโปรเจกต์ใหม่ที่เป็นงานออกแบบรีเทลนี้ ทาง HAS ได้พยายามข้ามขนบบางอย่างของการออกแบบพื้นที่เชิงพาณิชย์ทั่วไป เพื่อสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับผู้ที่ได้ไปเยือน
/
ในหมู่บ้านจัดสรรแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา ติดกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีสถาปัตยกรรมหลังหนึ่งที่ดูคล้ายงานประติมากรรมตั้งเคียงข้างขุนเขา นี่คือ PG หรือย่อมาจาก Project Garage ออกแบบโดย AAd - Ayutt and Associates design นี่ไม่ใช่บ้านพักอาศัย แต่คืออาคารที่ฟอร์มขึ้นจากแพสชั่นของเจ้าของบ้านผู้เป็นนักสะสมทั้งรถยนต์และงานศิลปะ
/
ให้ลองนึกถึงอาหารหนึ่งจานที่มีหลากวัตถุดิบพื้นถิ่นที่เรารู้จักดี แต่เมื่อผ่านการปรุงด้วยเทคนิคที่แตกต่าง ก็เกิดการรังสรรค์อาหารจานใหม่ให้เราพอได้สัมผัสถึงกลิ่นอายบางอย่างที่คุ้นเคย แต่ในขณะเดียวกันก็เผยรูปลักณ์ใหม่ที่ไม่เคยผ่านประสบการณ์รับรู้มาก่อน นี่คือคำเปรียบเผยสำหรับการอธิบายผลงานออกแบบโปรเจกท์ใหม่นี้ของ IDIN Architects ที่เกิดจากแนวคิด Deconstruct ในการนำความร่วมสมัยให้มาอยู่ร่วมกับเอกลักษณ์พื้นถิ่นภาคเหนือของไทย เกิดเป็นงานสถาปัตยกรรมที่สร้างความน่าสนใจใหม่
/
ใครที่กำลังมองหาไอเดียใหม่ ๆ ในการออกแบบสถาปัตยกรรม หรือกำลังมองหานิทรรศการที่จะไปเดินชมในช่วงวันหยุด เราก็ขอแนะนำนิทรรศการสถาปัตยกรรม “Infinity Ground – Thailand and Taiwan Contemporary Architecture Exhibition” ที่จัดโดยสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย ผ่านการสนับสนุนของกระทรวงวัฒนธรรม สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ร่วมกับ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่เปิดให้เข้าชมแล้วที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC)
/
ในภาษามลายูคำว่า “กำปง” มีความหมายถึงหมู่บ้าน “กำปงกู” หรือ “หมู่บ้านกู” เป็นชุมชนค่อนข้างปิดอยู่บนชายขอบของสองชุมชนใหญ่อย่างบือติง และสะบารังในเมืองปัตตานี ชาวบ้านผู้อาศัยในแถบนี้มีรายได้น้อย และมีที่อยู่ลักษณะกึ่งแออัด ซึ่งมักมีปัญหามั่วสุม ส่งผลต่อการเกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนควบคู่กันตามไปด้วย ทั้งนี้ยังมีกลุ่มอาสาพัฒนาเมืองได้วางแผนพัฒนา “หมู่บ้านกู” แห่งนี้ด้วยโปรแกรมอาหารและกีฬาเข้ามาเปิดสมดุลในพื้นที่ชุมชน
We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )