ศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะเยียวยาจิตวิญญาณ และสร้างความเข้าใจระหว่างมนุษย์ Yujin Lee | IAMEVERYTHING.CO

LOOKING ON EVERYTHING ?

EXPLORE ON EVERYTHING

ศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะเยียวยาจิตวิญญาณ
และสร้างความเข้าใจระหว่างมนุษย์ Yujin Lee
เรื่อง: ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์

  “ศิลปะ” นอกจากจะเป็นเครื่องมือชุบชูและกล่อมเกลาจิตใจผู้คนด้วยสุนทรียะและความงามแล้ว ในบางครั้ง ศิลปะอาจเป็นเครื่องมือในการบําบัดเยียวยารักษาจิตวิญญาณ หรือแม้แต่เป็นเครื่องมือใน การสร้างความเข้าใจระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ หรือแม้แต่มนุษย์กับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ได้ด้วย ดังเช่นผลงานของศิลปินผู้หนึ่งที่มีชื่ิอว่า ยูจิน ลี (Yujin Lee)
  ศิลปินร่วมสมัยชาวเกาหลีใต้ ผู้ทํางานในหลากหลายบทบาท ทั้งศิลปิน นักเขียน ภัณฑารักษ์ นักแปล อาจารย์ ฯลฯ หลังจากอาศัยในกรุงเบอร์ลินและนิวยอร์กอยู่ราวครึ่งทศวรรษ เธอย้ายตัวเองไปปักหลักอยู่บนเกาะเชจู ประเทศเกาหลีใต้ โดยเปลี่ยนบ้านไร่เก่าในชนบทให้กลายเป็นสตูดิโอและที่พํานักในชื่อ “Next Door to the Museum” ที่ได้แรงบันดาลใจจากสตูดิโอของ วินเซนต์ ฟาน โก๊ะห์ และมูลนิธิ ที่นา (The Land Foundation) ของ ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช (ศิลปินระดับโลกที่เธอเคยร่วมงานด้วย) สตูดิโอแห่งนี้ยังเป็นที่รองรับโครงการศิลปินในพํานักอีกด้วย ยูจิน ลี ทํางานศิลปะในเชิงสหวิทยาการ ที่ ผสมผสานสื่อและศาสตร์หลายหลากแขนง ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากชีวิตชนบทบนเกาะที่เธออาศัยอยู่ โดยมุ่งเน้นไปที่แนวคิดเชิงนิเวศวิทยาและการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ผลงานของเธอถูกจัดแสดงในหอศิลป์และพิพิธภัณฑ์ในหลากหลายประเทศ ทั้งในเกาหลีใต้, ประเทศจีน, นิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา, เอเธนส์ ประเทศกรีซ, มอสโก ประเทศรัสเซีย, เบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี และประเทศไทย เธอยังได้รับเชิญให้เป็นภัณฑารักษ์ในงานเทศกาลศิลปะ Jeju Biennale ครั้งที่ 3 และเป็นเจ้าภาพแสดงผลงานของ ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช ในสตูดิโอของเธออีกด้วย

  ในปี 2019 ยูจิน ลี เคยแสดงผลงานในกรุงเทพฯ ประเทศไทยเป็นครั้งแรก ที่ แกลเลอรี่เว่อร์ (Gallery VER) ในนิทรรศการ “Under the Rainbow” “ภายใต้สายรุ้ง” ที่ประกอบด้วยผลงานภาพวาดสองมิติ, ศิลปะจัดวางเฉพาะพื้นที่, ภาพวาดลายเส้นและตัวหนังสือ อันมีจุดประสงค์ในการเป็นสื่อกลางที่สร้างความรับรู้และความเข้าใจให้แก่พื้นที่ในโลก ที่ร่างกาย ภาษา วัฒนธรรม และความเชื่อถูกแบ่งแยกออกจากกัน

  นิทรรศการนี้มีแนวคิดหลักมาจากความรู้สึกของยูจินที่ว่า ในปัจจุบัน มนุษย์เรามีชีวิตอยู่ในห้วงเวลาที่แตกต่างกัน ทั้งจากความตึงเครียดทางการเมืองที่เกิดขึ้นอย่างมากทั่วโลก ทั้งในฮ่องกง ใน สหรัฐอเมริกา และในเกาหลีเอง ที่เพิ่งมีการประท้วงขับไล่ประธานาธิบดีในช่วงเวลานั้น ด้วยความที่เธอเองก็ใช้ชีวิตอยู่ระหว่างหลายประเทศ ทั้งในเกาหลี และประเทศอื่นๆ การอยู่ในที่ที่ห่างไกลจากบ้านให้ความรู้สึกเหมือนเป็นคนแปลกหน้า ทําให้เธอตั้งคําถามว่า ท้ายที่สุดแล้วเราต่อสู้กับอะไรและเพื่ออะไรอยู่กันแน่?

In The Beginning Was___(2019)

  เริ่มจากผลงานที่เป็นจุดเริ่มต้นของนิทรรศการนี้อย่าง In The Beginning Was___(2019) ผลงานวาด เส้นเหมือนจริงบนกระดาษ ที่แสดงภาพของยูจินกําลังทําอากัปกิริยาบางอย่างร่วมกับศิลปินอเมริกัน นิโคล มาลูฟ (Nicole Maloof) ชาวเกาหลีผู้ถูกชาวอเมริกันรับเป็นบุตรบุญธรรม โดยนําเสนอภาพวาด ของทั้งสองในหลายอากัปกิริยา ท่าทางราวกับพวกเธอกําลังสนทนาอะไรบางอย่างกันอยู่ ในภาพยังถูกแต่งเติมด้วยตัวหนังสือและสัญลักษณ์ที่แฝงถึงการเคลื่อนผ่านของเวลาเอาไว้ด้วย งานชุดนี้เป็นงานศิลปะแสดงสดและวิดีโอที่สํารวจตัวตนและพื้นเพของศิลปินทั้งสอง

  และผลงานที่ต่อเนื่องจากผลงานชิ้นแรกอย่าง Whisper (2017) ภาพพิมพ์สี่สี เทคนิคโฟโตกราวัวร์ (photogravure) (การใช้ภาพถ่ายทําเป็นแม่พิมพ์โลหะ) แสดงภาพของหญิงสาวคู่เดิมที่ทําท่าทางเหมือนกําลังกระซิบกระซาบความลับแก่กันอยู่ โดยมีที่มาจากภาพถ่ายของยูจินกับนิโคลขณะกําลังทําโครงการศิลปะที่ถ่ายที่เชียงใหม่ ที่ดูเหมือนทั้งคู่เป็นกระจกเงาสะท้อนซึ่งกันและกัน ด้วยการใส่เสื้อผ้าเหมือนกัน นั่งประจันหน้ากัน

Whisper (2017)

  หรือผลงานที่มีชื่อเดียวกับนิทรรศการอย่าง Under the Rainbow (2019) ภาพวาดลายเส้นบนผนัง ขนาดใหญ่สูงเกือบจรดเพดาน เป็นผลงานหลักในนิทรรศการครั้งนี้ โดยภาพของมือที่กําลังทํารูป หัวใจ(กลับหัว) เป็นลักษณะหนึ่งของการสื่อสารและการใช้ภาษามือ ซึ่งเป็นภาษาที่ไร้คําพูด ส่วนรูปทรงโค้งด้านบนเป็นรูปทรงของสายรุ้ง องค์ประกอบทั้งสองประกอบกันเป็นเหมือนสัญลักษณ์อินฟินิตี้ (∞) เป็นเส้นที่ต่อเนื่องอย่างไม่รู้จบ

  และผลงาน Under the Rainbow ภาพวาดหลากสีสันประกอบประโยคตัวหนังสือ ที่วาดด้วยสีน้ําและ หมึกบนกระดาษเกาหลี จํานวนแปดภาพ แขวนเรียงรายบนผนังห้องแสดงงาน ที่คลับคล้ายคลับคลา กับบรรดาสเตตัสในโซเชียลมีเดียอยู่ไม่หยอกเหมือนกัน ผลงานชิ้นนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากข้อความจาก Story ในอินสตาแกรมของเพื่อนชาวเกาหลีที่เติบโตและเรียนหนังสือในโลกตะวันตกนั่นเอง

  หรือผลงาน Learning Thai (2019) ศิลปะจัดวางเฉพาะพื้นที่รูปกระดานดําทรงโค้งเหมือนเงาของ สายรุ้ง ที่เปิดโอกาสให้ผู้ชมเข้าไปมีส่วนร่วมกับผลงานได้ โดยให้ผู้ชมมีส่วนร่วมด้วยการให้เขียนเพลง ไทยที่พวกเขาคิดว่าอยากให้เธอเรียนรู้ แล้วเธอจะเลือกเพลงมาหนึ่งเพลง และวานให้ล่ามไทย/เกาหลี สอนเกี่ยวกับเพลงที่ว่านี้ เพื่อที่เธอจะได้หัดร้องเพลงนี้ในวันปิดนิทรรศการ

   ในนิทรรศการยังมีผลงานศิลปะแสดงสด Drawing Conversation 2.0 (2019) ที่ยูจิน ลี ทําร่วมกับศิลปินไทยอีก 7 คนอย่าง ดุจดาว วัฒนปกรณ์, นัทพล สวัสดี, ธนพล อินทร์ทอง, โอ๊ต มณเฑียร, ธนชัย อุชชิน, อุทิศ เหมะมูล, และดุษฎี ฮันตระกูล ในห้องแสดงงานเล็กของหอศิลป์ และจัดแสดงนอกสถานที่ใน Siri House Bangkok โดยเปิดให้ผู้ชมเข้าชมการแสดงฟรีโดยไม่เสียค่าเข้าชม

  ล่าสุด เมื่อต้นปี 2024 ที่ผ่านมา ยูจิน ลี กลับมาแสดงนิทรรศการเดี่ยวในประเทศไทย ที่แกลเลอรี่เว่อร์ อีกครั้ง ในนิทรรศการ “The Temple of Venus and Cosmic Serpent” “วิหารแห่งดาวศุกร์และนาคันตฤก” ที่ได้แรงบันดาลใจจากเหตุการณ์ที่ศิลปินต้องปลิดชีวิตสัตว์ชนิดหนึ่งด้วยความจําเป็น ในวัน ครบรอบ 3 ปี ของการย้ายไปพํานักบนเกาะเชจู เธอจึงใช้งานศิลปะที่ได้แรงบันดาลใจจากศาสตร์และ ปรัชญาตะวันออกเพื่อเป็นการเยียวยาตัวเองจากบาดแผลของความพลาดพลั้งในครั้งนั้น

  “นิทรรศการครั้งนี้ได้แรงบันดาลใจจากเหตุการณ์ที่ฉันฆ่างูตายด้วยความจําเป็น ที่บ้านของฉันในเกาะเชจู หลังจากฉันย้ายมาอยู่ที่นี่ได้ 3 ปี ฉันรู้สึกผิดมาก นิทรรศการนี้เป็นการไถ่ถอนความผิดของฉันในการกระทําความรุนแรงในการฆ่างู ซึ่งสําหรับฉันเป็นเรื่องใหญ่มากๆ นอกจากนี้งานชุดนี้ยังเกี่ยวกับ การที่เราจะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันกับสิ่งที่แตกต่างจากเราได้อย่างไร นั่นเป็นแรงจูงใจของงานชิ้นนี้ นอกจากนี้ ฉันยังได้แรงบันดาลใจจากการที่สงครามอิสราเอล-ปาเลสไตน์ในฉนวนกาซ่าปะทุขึ้น สงครามนี้ส่งผลกระทบต่อฉันอย่างมาก เพราะเกาหลีมีประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการล่าอาณานิคม และปู่ของฉันเพิ่งเสียชีวิตไปในขณะที่ฉันกําลังอยู่ในเมืองไทย และเขาเคยมีชีวิตอยู่ในยุคล่าอาณานิคม เขาเกิดในญี่ปุ่นและเติบโตที่นั่นจนเป็นหนุ่ม, ก่อนที่เขาจะเสียชีวิต เขาเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับช่วงวัยเด็กของเขา ซึ่งน่าสะเทือนใจมาก ก่อนหน้านี้เขาไม่เคยพูดถึงเรื่องนี้เลย เขามาเล่าเรื่องนี้ตอนช่วงเวลาไม่กี่ปีสุดท้ายในชีวิตของเขาเท่านั้น ฉันรู้สึกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในฉนวนกาซ่าหรือปาเลสไตน์นั้นเชื่อมโยงกับสิ่งที่เกิดขึ้นในเกาหลี ฉันจึงรู้สึกถูกกระทบอย่างรุนแรงมากจากเรื่องนี้ ทําให้ฉันมีความรู้สึกร่วมไปกับสีสันของธงชาติปาเลสไตน์ สีสันทั้งหมดในนิทรรศการนี้จึงประกอบด้วยสีแดง เขียว ขาว และดํา (สีธงชาติปาเลสไตน์) เท่านั้น แต่ฉันก็ไม่ต้องการพูดถึงเรื่องสงครามนี้แต่เพียงอย่างเดียว แต่ฉันคิดว่ามันเป็นบทสนทนาที่เชื่อมโยงกับสิ่งอื่นๆ อีกมากมาย แกนหลักของนิทรรศการนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการที่เราจะเยียวยาจากบาดแผลหรือความรู้สึกผิดได้อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นบาดแผลส่วนตัวหรือส่วนรวม อันเป็นบาดแผลจากผลกระทบของสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกในปัจจุบัน”

  ผลงานในนิทรรศการครั้งนี้ยังมีจุดร่วมกับนิทรรศการครั้งแรกในเมืองไทยของเธอ ตรงรูปทรงโค้งครึ่งวงกลมที่ดูคล้ายกับเงาทรงโค้งของสายรุ้งของผลงานในนิทรรศการ Under the Rainbow อีกด้วย

  “รูปทรงครึ่งวงกลมที่เป็นรูปทรงหลักในนิทรรศการครั้งนี้ ได้แรงบันดาลใจจากรูปทรงของสัญลักษณ์ หยินหยาง ซึ่งเกี่ยวกับความสมดุล ที่ปรากฏในภาพวาดของไก่ตัวผู้และไก่ตัวเมีย หรือภาพวาดร่างกายของผู้ชายและผู้หญิงบนประตูหมุน แต่สิ่งที่ฉันสนใจมากกว่าความสมดุลและหยินหยาง คือ การที่สองสิ่งที่ตรงข้ามกันมีความเชื่อมโยงกันในขณะที่กําลังเคลื่อนไหวอยู่ นั่นแสดงให้เห็นในผลงาน ประติมากรรมรูปครึ่งวงกลมสองอันที่มีภาพเคลื่อนไหวอยู่ตรงกลาง และงานศิลปะจัดวางรูปประตู สองบานก็เป็นประตูที่เคลื่อนไหวได้ แนวคิดของหยินหยางนั้นมาจากลัทธิเต๋าซึ่งเป็นปรัชญาของจีน และในลัทธิเต๋า เลข 5 ก็เป็นสัญลักษณ์ของความสมดุล เพราะเลข 5 ประกอบด้วยเลข 2 สองตัวที่เคลื่อนไหวระหว่างเลข 1 เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างกัน (หรือนิ้วมือของเราก็มีข้างละ 5 นิ้วเช่นกัน) สรรพสิ่งในโลกนี้ก็อยู่ในความสมดุลที่ว่านี้ เมื่อสมดุลถูกทําลาย เราก็จะรู้สึกว่าบางอย่างแตกหัก สูญหายไป เราจึงทําบางสิ่งบางอย่างขึ้นมา ในอดีตอาจจะเป็นการประกอบพิธีกรรม การบวงสรวง เซ่นไหว้ต่างๆ เพื่อรักษาเยียวยาสิ่งที่แตกหักสูญหายไปที่ว่า นั่นเป็นเหตุผลที่ฉันตั้งชื่อนิทรรศการนี้ของฉันว่า “วิหาร” อาจเป็นเพราะฉันต้องการเยียวยาบางสิ่งบางอย่างที่แตกหักสูญหายไปจากฉัน และเสาะแสวงหาสิ่งใหม่ๆ ซึ่งในแง่หนึ่ง เมื่อเกิดสถานการณ์เลวร้ายขึ้น ฉันคิดว่าสิ่งที่สามารถเยียวยาเราได้มากที่สุดคืออารมณ์ขัน คุณยังสามารถหัวเราะได้ และแบ่งปันอารมณ์ขันให้แก่คนอื่นได้”

  ซึ่งตัวเลข 5 ที่ว่าก็ถูกทําขึ้นเป็นผลงานประติมากรรมหลอดไฟนีออนดัดเป็นเลข 5 ในภาษาเกาหลี ที่ส่องสีสันสีแดง เขียว ขาว ซึ่งเป็นสีเดียวกับสีธงชาติของปาเลสไตน์นั่นเอง
  “สําหรับฉัน ผลงานประติมากรรมหลอดไฟนี้เกิดขึ้นทีหลังสุดในนิทรรศการนี้ เพราะพอทํางานเสร็จ ฉันคิดว่า นิทรรศการนี้มีเนื้อหาที่ค่อนข้างหนักและเครียดไปหน่อย ฉันคิดว่าสิ่งที่จะผ่อนคลายผู้คน จากความเครียดได้ก็คือการหัวเราะ นั่นเป็นสิ่งที่ฉันขาดไป ฉันก็นึกถึงตัวเลข 555 (ห้าห้าห้า) ซึ่งแทนเสียงหัวเราะของคนไทย และเลข 5 ก็คือเลขสําคัญในลัทธิเต๋า เมื่อคุณสามารถหัวเราะในท้ายที่สุดได้ คุณก็สามารถไปถึงความสมดุลของชีวิตได้เช่นกัน”

  ในนิทรรศการนี้ของเธอยังมีผลงานศิลปะจัดวางที่ดูคล้ายเกมการละเล่นที่ใครๆ ก็รู้จักันดีอย่าง เกม บันไดงู ติดตั้งอยู่บนพื้น แต่ในความเป็นจริงแล้วกลับเป็นงานศิลปะในเชิงเกมปรัชญาตะวันออกเสีย มากกว่า
  “งานชิ้นนี้เป็นเหมือนเกมที่คล้ายกับตารางอี้จิง ศาสตร์ที่ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของจีน ช่วงหลังฉันค่อนข้างอินกับอี้จิง อี้จิงนั้นถูกเรียกว่าคัมภีร์แห่งการเปลี่ยนแปลง เพราะเมื่อคุณติดขัดหรือเกิด อุปสรรคใดขึ้นมา คุณสามารถอ่านคัมภีร์แห่งการเปลี่ยนแปลง เพื่อมองหาว่า ความเปลี่ยนแปลงแบบใดที่คุณสามารถจะทําได้เพื่อก้าวออกมาจากความติดขัดหรืออุปสรรคนั้น ฉันใช้อี้จิงบนเกาะที่ฉันอยู่ หลายครั้งมันคล้ายกับไพ่ทาโรต์อยู่เหมือนกัน เพราะมันเกี่ยวกับความเป็นไปได้ต่างๆ เมื่อคุณทอยลูกเต๋าหรือโยนเหรียญ และเปิดหนังสือเพื่อหาคําตอบสําหรับคุณได้ ฉันคิดว่าอี้จิงเป็นอะไรที่คุณทําด้วยตัวเองได้ มีคนกล่าวว่าในอดีตอี้จิงถูกสร้างขึ้นให้กษัตริย์เพื่อให้ทรงตัดสินใจเลือกในสิ่งที่ถูกต้องได้ ฉันคิดว่ามันเป็นอะไรที่คุณสามารถนั่งลงในพื้นที่สงบๆ และหาคําตอบด้วยตัวเองได้ และฉันก็ทํากิจกรรมกับตารางอี้จิงนี้กับผู้ชมที่มาชมนิทรรศการนี้ มันเป็นอะไรที่เรียบง่ายมาก คุณโยนลูกเต๋า และหาคําตอบจากหนังสืออี้จิงที่อยู่ในงานนี้ได้ด้วยตัวเอง เหมือนเป็นหนทางในการทําให้ตัวเองอยู่ในสภาวะทางจิตใจที่ถูกต้อง และถามคําถามที่ต้องการได้ และคุณสามารถตีความคําตอบที่เหมาะสําหรับคําถามของคุณได้ การโยนลูกเต๋าหาคําตอบก็เป็นเหมือนการสุ่ม ซึ่งการสุ่มที่ว่านี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบชีวิตของเราด้วยเช่นกัน”

  “นิทรรศการนี้ยังพูดถึงการปริแตก หรือ รอยแยก ซึ่งเป็นสิ่งที่ฉันครุ่นคิดมาตลอด และเป็นส่วนหนึ่ง ของชีวิตฉัน ส่วนหนึ่งก็คือการที่ฉันเป็นผู้หญิง เราต้องมีประจําเดือนทุกเดือน เราต้องหลั่งเลือด ปกติการหลั่งเลือดเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของการที่บางสิ่งบางอย่างบาดเจ็บ หรือแตกหัก ฉีกขาด แต่ความพิเศษของการหลั่งเลือดในรอบประจําเดือนของผู้หญิงคือการที่เราหลั่งเลือดด้วยตัวเอง และเยียวยารักษาตัวเอง และหลังจากนั้นคือการมีศักยภาพในการให้กําเนิดชีวิตด้วย ฉันมองว่าสิ่งนี้เป็นการเปรียบเปรยที่ดี ถึงสถานการณ์เกี่ยวกับสงครามที่ผู้คนถูกกดขี่ แต่ในขณะเดียวกัน เราก็มีพลังจากภายในที่เยียวยารักษาตัวเราเอง นั่นคือสิ่งที่เรียกว่าความหวัง ไม่ใช่พลังหรือความช่วยเหลือที่มาจากภายนอก แต่เป็นสิ่งที่มาจากภายในตัวของเรา รอยแยกที่ว่านี้ยังหมายถึงช่องคลอดของผู้หญิง ซึ่งแทนด้วยสัญลักษณ์สามเหลี่ยมกลับหัว การแตกออกยังหมายถึงการเกิด เช่นเดียวกับการแตกของเปลือกไข่ การไหลของเลือดประจําเดือน (Period breakouts) สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการครั้งนี้”
  การปริแตกและรอยแยกที่ว่านี้ยังปรากฏในผลงานศิลปะจัดวางขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วย ประติมากรรมครึ่งวงกลมสองชิ้น ที่ประกบกันไม่สนิท ตรงกึ่งกลางปรากฏจอวิดีโอจัดวางที่นําเสนอภาพเคลื่อนไหวของกิจกรรมบางอย่าง ด้านบนของประติมากรรมหุ้มด้วยผ้าใบและหมอนข้างที่วาดด้วยลวดลายศิลปะนามธรรม ให้ผู้ชมขึ้นไปเหยียบย่างบนงานได้อีกด้วย

  “ผลงานชิ้นนี้เป็นการนําเอาองค์ประกอบของความเคลื่อนไหวเข้ามาอยู่ในความนิ่งงันของงาน จิตรกรรม รอยแยกของงานชิ้นนี้จึงมีภาพความเคลื่อนไหวของงานวิดีโอจัดวาง ฉันยังชอบความคิดใน การมองลงไปยังรอยแตกและพบบางสิ่งบางอย่าง ในวิดีโอเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพิธีบวงสรวงต่างๆ ที่ฉันเคยเห็นในฮ่องกง บาหลี ในวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ในการบูชาดวงวิญญาณเพื่อแสวงหาความสมดุล และฉันยังนึกถึงสัตว์ต่างๆ ที่ฉันเคยพานพบในการเดินทาง สัตว์เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของเรา ในขณะที่ผู้คนพยายามทําพิธีกรรมเพื่อเสาะหาความสมดุล สัตว์ต่างๆ ก็พยายามหาที่ทางของตัวเองในโลกที่ครอบครองโดยมนุษย์ ภาพวาดบนผลงานชิ้นนี้ฉันร่วมกันทํากับเพื่อนศิลปินของฉันบนเกาะพงัน โดยวาดด้วยสีธรรมชาติลงบนผืนผ้าใบ งานชิ้นนี้จึงไม่ต่างอะไรกับสิ่งของที่เราใช้ในชีวิตประจําวัน ผู้ชมสามารถสัมผัส จับต้อง หรือแม้แต่ขึ้นไปเดินหรือนั่งบนงานได้”
  ที่น่าสนใจก็คือแทนที่จะจัดแสดงผลงานในพื้นที่สว่างไสว ฝาผนังขาวสะอาดตาเหมือนนิทรรศการ ศิลปะทั่วๆ ไป นิทรรศการนี้กลับจัดแสดงในห้องที่ผนังส่วนใหญ่ทาสีดําสนิท มีแสงสว่างส่องให้เห็น เฉพาะจุดที่ติดตั้งผลงาน ให้บรรยากาศในการชมงานที่แปลกตาไปอีกแบบ

  “ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา ฉันแสดงงานและทํางานหลายโครงการในพื้นที่ชนบท ที่ไม่ใช่พื้นที่ใน สถาบันทางศิลปะหรือ White cube (พื้นที่ทางศิลปะที่มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมสีขาว) เมื่อฉันรู้ว่าฉันจะได้มาแสดงงานที่นี่ ฉันรู้สึกว่าที่นี่มีลักษณะเป็น White cube ฉันจึงต้องการเปลี่ยนโครงสร้างของพื้นที่แสดงงานแห่งนี้ ด้วยการใช้ความมืด และแสงสีสลัวๆ (ของโคมไฟตัวหนังสือ) เพื่อให้มีความแตกต่างจากพื้นที่แสดงงานศิลปะตามขนบทั่วๆ ไป ผนังสีดําของนิทรรศการนี้ยังเป็นสีผนังเดิมที่เหลือจากนิทรรศการที่แล้วด้วย เพราะนิทรรศการเดิมบังเอิญทาผนังสีดํา ซึ่งตรงกับสิ่งที่ฉันต้องการพอดี ฉันจึงปล่อยให้สีผนังเป็นเหมือนเดิมโดยไม่ต้องทาสีใหม่ เหมือนเป็นการรีไซเคิลนั่นเอง”
  เมื่อเราชมผลงานจากทั้งสองนิทรรศการของ ยูจิน ลี เรารู้สึกว่าผลงานของเธอไม่ต่างอะไรกับการกระตุ้นให้ผู้ชมอย่างเราตระหนักได้ว่า ถึงแม้มนุษย์เราจะแตกต่างกันด้วยเชื้อชาติ ภาษา และวัฒนธรรม หรือแม้กับสิ่งมีชีวิตต่างสายพันธุ์ก็ตาม แต่ถ้าหากเราเปิดใจสื่อสารกันด้วยเครื่องมืออันเรียบง่ายและเป็นสากลอย่างศิลปะ เราก็อาจจะเข้าใจซึ่งกันและกัน หรือแม้แต่อาศัยอยู่ร่วมกันบนโลกนี้อย่างเป็นมิตรและถ้อยทีถ้อยอาศัยกันได้บ้างไม่มากก็น้อย.

ขอบคุณภาพจาก Gallery VER
    TAG
  • design
  • art
  • exhibition
  • Yujin Lee

ศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะเยียวยาจิตวิญญาณ และสร้างความเข้าใจระหว่างมนุษย์ Yujin Lee

ART AND EXHIBITION/EXHIBITION
April 2024
CONTRIBUTORS
Panu Boonpipattanapong
RECOMMEND
  • DESIGN/EXHIBITION

    Re/Place การปิดทับอดีตเพื่อเปิดเผยความจริงทางการเมือง ของ วิทวัส ทองเขียว

    ในอดีตที่ผ่านมา ในแวดวงศิลปะ(กระแสหลัก)ในบ้านเรา มักมีคํากล่าวว่า ศิลปะไม่ควรข้องแวะกับ การเมือง หากแต่ควรเป็นเรื่องของอารมณ์ ความรู้สึก ความงาม สุนทรียะ และจิตวิญญาณภายในอัน ลึกซึ้งมากกว่า แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าจะในยุคสมัยไหน ศิลปะไม่เคยแยกขาดออกจาก การเมืองได้เลย ไม่ว่าจะในยุคโบราณ ที่ศิลปะถูกใช้เป็นเครื่องมือรับใช้ชนชั้นสูงและผู้มีอํานาจ หรือใน ยุคสมัยใหม่ที่ศิลปะถูกใช้เป็นเครื่องมือแสดงออกถึงอุดมการณ์ทางสังคมการเมือง หันมามองในบ้าน เราเอง ก็มีศิลปินไทยหลายคนก็ทํางานศิลปะทางการเมืองอย่างต่อเนื่องยาวนาน ในการสะท้อนและ บันทึกประวัติศาสตร์การเมืองไทยได้อย่างเข้มข้น จริงจัง

    Panu BoonpipattanapongFebruary 2025
  • DESIGN/EXHIBITION

    The Grandmaster : After Tang Chang บทสนทนากับ จ่าง แซ่ตั้ง ศิลปินระดับปรมาจารย์แห่งศิลปะสมัยใหม่ไทย โดย วิชิต นงนวล

    เหตุการณ์นี้เป็นอุทาหรณ์ให้เรารู้ว่า การก๊อปปี้ก็ไม่ได้เลวร้ายเสมอไป เพราะอย่างน้อยที่สุด ก็ทําให้ เราได้รู้ว่าผลงานต้นฉบับของจริงในช่วงเวลาที่เสร็จสมบูรณ์นั้นมีความดีงามขนาดไหน ไม่ต่างอะไรกับศิลปินร่วมสมัยสัญชาติไทยอย่าง วิชิต นงนวล ที่หลงใหลศรัทธาในผลงานของศิลปิน ระดับปรมาจารย์ในยุคสมัยใหม่ของไทยอย่าง จ่าง แซ่ตั้ง ตั้งแต่ครั้งยังเยาว์ ในวัยของนักเรียน นักศึกษา เรื่อยมาจนเติบโตเป็นศิลปินอาชีพ ความหลงใหลศรัทธาที่ว่าก็ยังไม่จางหาย หากแต่เพิ่มพูน ขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดก็สุกงอมออกดอกผลเป็นผลงานศิลปะในนิทรรศการ The Grandmaster : After Tang Chang ที่เป็นเสมือนหนึ่งการสร้างบทสนทนากับศิลปินระดับปรมาจารย์ผู้นี้

    Panu BoonpipattanapongJanuary 2025
  • DESIGN/EXHIBITION

    Monte Cy-Press ศิลปะจากกองดินที่สะท้อนน้ําหนักของภัยพิบัติ โดย อุบัติสัตย์

    “ยูบาซาโตะ เดินผ่านตามแนวต้นสนขึ้นไปบนภูเขาศักดิ์สิทธิ์ เพื่อไปก่อสร้างสถูปดิน และมักจะโดน ทีมงานช่างบ่นทุกวันเกี่ยวกับการก่อสร้าง ที่มีเวลาอยู่อย่างจํากัด เขาเพียงได้แต่ตอบไปว่า .. บุญกุศล นําพาและเวลามีเท่านี้ ขอให้ทําสิ่งดีๆ ให้เต็มที่ ต่อสถานที่บนภูเขานี้เถอะ อย่าบ่นไปเลย เราอาจจะ พบกันแค่ประเดี๋ยวเดียว แต่สิ่งเหล่านี้จะอยู่ต่อไปอีกหลายร้อยปี ... ทีมงานทุกคนเพียงส่งรอยยิ้มที่ เหนื่อยล้ากลับมา ก็เพราะต้องทนร้อนทนแดด และเปียกฝนสลับกันไป จากสภาวะโลกเดือด ที่ทุกคน ต่างพูดถึง แต่ก็จะมาจากใคร ก็จากเราเองกันทั้งนั้น ... แม้จะมาทํางานบนภูเขาก็จริง แต่เขาก็ยังคง คิดถึงเหตุการณ์ภัยน้ําท่วมดินโคลนถล่มที่ผ่านมา อีกทั้งความเสียหายต่อข้าวของที่ต้องย้ายออกจาก บ้านเช่าและค่าใช้จ่ายหลังน้ําท่วมที่ค่อนข้างเยอะพอควร และยิ่งในสภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจแบบนี้...

    Panu Boonpipattanapong5 months ago
  • DESIGN/EXHIBITION

    Kader Attia กับศิลปะแห่งการเยียวยาซ่อมแซมที่ทิ้งร่องรอยบาดแผลแห่งการมีชีวิต ในนิทรรศการ Urgency of Existence

    หากเราเปรียบสงคราม และอาชญากรรมที่กระทำต่อมนุษย์ อย่างการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การสังหารหมู่ และการล่าอาณานิคม เป็นเหมือนการสร้างบาดแผลและความแตกร้าวต่อมวลมนุษยชาติ ศิลปะก็เป็นหนทางหนึ่งในการเยียวยาซ่อมแซมบาดแผลและความแตกร้าวเหล่านั้น แต่การเยียวยาซ่อมแซมก็ไม่จำเป็นต้องลบเลือนบาดแผลและความแตกร้าวให้สูญหายไปเหมือนไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้น หากแต่การเหลือร่องรอยแผลเป็นและรอยแตกร้าวที่ถูกประสาน ก็เป็นเสมือนเครื่องรำลึกย้ำเตือนว่า สิ่งเหล่านี้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว และไม่ควรปล่อยให้เกิดขึ้นอีกซ้ำเป็นครั้งที่สอง เช่นเดียวกับสิ่งที่ปรากฏในนิทรรศการ “Urgency of Existence” นิทรรศการแสดงเดี่ยวครั้งแรกในเอเชียของ คาแดร์ อัทเทีย (Kader Attia) ศิลปินชาวฝรั่งเศส - แอลจีเรีย ผู้มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ เขาเป็นหัวหอกในการทำงานศิลปะผ่านสื่ออันแตกต่างหลากหลาย ที่นำเสนอแนวคิดหลังอาณานิคม และการปลดแอกอาณานิคม จากมุมมองของตัวเขาเอง ที่มีประสบการณ์ทางตรงและทางอ้อมของผู้ที่เคยถูกกดขี่และถูกกระทำจากลัทธิล่าอาณานิคมในศตวรรษที่ผ่านมา

    Panu Boonpipattanapong5 months ago
  • DESIGN/EXHIBITION

    Roma Talismano ชำแหละมายาคติแห่งชาติมหาอำนาจด้วยผลงานศิลปะสุดแซบตลาดแตก ของ Guerreiro do Divino Amor

    ในช่วงปลายปี 2024 นี้ มีข่าวดีสำหรับแฟนๆ ศิลปะชาวไทย ที่จะได้มีโอกาสชมผลงานศิลปะร่วมสมัยของเหล่าบรรดาศิลปินทั้งในประเทศและระดับสากล ยกขบวนมาจัดแสดงผลงานกันในเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2024 ที่จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 แล้ว โดยในเทศกาลศิลปะครั้งนี้นำเสนอผลงานศิลปะจาก 76 ศิลปิน 39 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ภายใต้ธีมหลัก “รักษา กายา (Nurture Gaia)” ที่ได้แรงบันดาลใจจากเทพี ไกอา (Gaia) ในตำนานเทพปรณัมกรีก หรือพระแม่ธรณีผู้ให้กำเนิดและหล่อเลี้ยงสรรพชีวิต เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์อันสอดประสานกลมกลืนกันระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ

    EVERYTHING TEAM6 months ago
  • DESIGN/EXHIBITION

    Apichatpong Weerasethakul : Lights and Shadows นิทรรศการครั้งยิ่งใหญ่ใน Centre Pompidou ของศิลปินผู้สร้างแสงสว่างในความมืด อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล

    เมื่อพูดถึงชื่อ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล หรือ เจ้ย มิตรรักแฟนหนังหลายคนน่าจะรู้จักเขาในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทยผู้เปี่ยมไปด้วยความเป็นศิลปะที่สุด ไม่เพียงแค่ในประเทศไทย แต่หมายรวมถึงในสากลโลก ยืนยันด้วยรางวัลสำคัญจากเทศกาลภาพยนตร์ระดับโลกหลายต่อหลายรางวัล ไม่ว่าจะเป็นรางวัลยอดเยี่ยมในการฉายสายรอง (Un Certain Regard) จากภาพยนตร์เรื่อง สุดเสน่หา (Blissfully Yours) (2002) และรางวัลขวัญใจคณะกรรมการ (Jury Prize) จากภาพยนตร์เรื่อง สัตว์ประหลาด! (Tropical Malady) (2004) จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ ในปี 2002 และ 2004, หรือภาพยนตร์เรื่อง แสงศตวรรษ (Syndromes and a Century) (2006) ของเขาก็ได้รับเลือกให้เข้าชิงรางวัลสิงโตทองคำในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองเวนิส ในปี 2006 และคว้ารางวัลกรังปรีซ์จากเทศกาลภาพยนตร์ Deauville Asian Film Festival ในปี 2007, และภาพยนตร์เรื่อง รักที่ขอนแก่น (Cemetery of Splendor) (2015) ของเขาก็คว้ารางวัลยอดเยี่ยมจากเวที Asia Pacific Screen Awards ในปี 2015, ที่สำคัญที่สุด อภิชาติพงศ์ยังเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทยคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้รับรางวัล ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมปาล์มทองคำ (Palm d’or) จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ ครั้งที่ 63 ในปี 2010 จากภาพยนตร์เรื่อง ลุงบุญมีระลึกชาติ (Uncle Boonmee Who Can Recall His Past Lives) (2010), และล่าสุด ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องล่าสุดของเขาอย่าง Memoria (2021) ยังคว้ารางวัล Jury Prize ในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ครั้งที่ 74 ในปี 2021 มาครองได้อีกครั้ง อีกทั้งยังได้รับเสียงวิจารณ์เชิงบวกอย่างท่วมท้นจากสื่อมวลชนนานาชาติ

    Panu Boonpipattanapong7 months ago
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION

We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )